ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ

          สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญร่วมฟังการเสวนา เรื่อง "ศุภวารดิถี ปีใหม่สุขสราญ" ในกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน NLT Edutainment ปีที่ ๖ ครั้งที่ ๑ ซึ่งจะมีเนื้อหาการเสวนาว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมและประเพณีอันเกี่ยวเนื่องกับการขึ้นปีใหม่ แนวปฏิบัติทางศาสนาที่เกี่ยวกับการขึ้นปีใหม่ ตลอดจนเรื่องราวของคำอวยพรและบัตรอวยพรปีใหม่ วิทยากรโดย นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอักษรศาสตร์: ภาษาและวรรณกรรม) และนางจุฑาทิพย์ อังศุสิงห์ (อดีตผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ) ดำเนินรายการโดยนางอัจฉรา จารุวรรณ (บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ สำนักหอสมุดแห่งชาติ) ในวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. ณ โถงกลาง ชั้น ๑ อาคาร ๑ สำนักหอสมุดแห่งชาติ             นอกจากนี้ยังสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live ของหอสมุดแห่งชาติ https://www.facebook.com/NationalLibraryThailand ได้ในวันและเวลาดังกล่าว


ชื่อเรื่อง                               เวสาทิเอกูนวีสติวคฺค(คัมภีร์เวสาทิเอกูนวิสติวรรล) สพ.บ.                                 อย.บ.15/21ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           54 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวด                                           พระวินัย                                            คำสอน บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 154/4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนีเผด็จ) ชบ.บ 181/10เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : โรคภัยไข้เจ็บ ชื่อผู้แต่ง : เสนอ อินทรสุขศรีปีที่พิมพ์ : 2515สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรุงสยามการพิมพ์จำนวนหน้า : 94 หน้าสาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้พิมพ์แจกเป็นบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ พันโท โกศล ตระกูลแพทย์ ต.ม. เรื่องราวในหนังสือเกี่ยวกับโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดแดงที่แขนและขา เชื้อรา เป็นต้น มีวิธีการสังเกตอาการ สัญญาณอันตรายของแต่ละโรคนั้นๆ พร้อมบอกเคล็ดลับยาอายุวัฒนะ 7 ขนานไว้ในเล่มนี้อีกด้วย


๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖"๑๙๒ ปี ชาตกาล พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ"เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ ๖๓--- พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เป็นโอรสของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครเมืองน่านกับแม่เจ้าสุนันทา ประสูติเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๓๗๔ (จุลศักราช ๑๑๙๓ ตรงกับรัชกาลที่ ๓)--- พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ รับราชการเรื่อยมาจนกระทั่งในปีพุทธศักราช ๒๓๙๘ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระยาราชวงษ์ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๓๐ เจ้าอุปราชเกิดโรคลมปัจจุบันถึงแก่อนิจกรรม จึงมีพระบรมราชานุญาตแต่งตั้งให้เจ้าราชวงศ์ว่าราชการในตำแหน่งเจ้าอุปราชเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ร.ศ.๑๐๘ (พุทธศักราช ๒๔๓๒) --- จนกระทั่งในปีพุทธศักราช ๒๔๓๔ เจ้าอนัตวรฤทธิเดช ถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ร.ศ.๑๑๐ เวลา ๑๑ ทุ่ม กรมการเมืองน่านได้พร้อมกันทำขวดใส่ศพไว้ตามธรรมเนียม ในการนั้นเจ้าอุปราชหอหน้าและพระยาสุนทรนุรักษ์ข้าหลวงใหญ่ประจำเมือง และเจ้าราชวงศ์เสนาอำมาตย์ได้กะเกณฑ์ไพร่พลบ้านเมืองให้สร้างพระเมรุหลวงหลังใหญ่ที่ข่วงดอนไชยลุ่ม วัดหัวเวียง ต่อมาได้อัญเชิญพระบรมศพของเจ้าอนัตวรฤทธิเดชลงจากหอคำราชโรงหลวงเพื่อไปถวายพระเพลิงเมื่อวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ จุลศักราช ๑๒๕๕ (พุทธศักราช ๒๔๓๖) --- ปีพุทธศักราช ๒๔๓๔ ภายหลังเสร็จจากงานพระเมรุเจ้าอนันตวรฤทธิเดชแล้ว เจ้าอุปราชหอหน้าก็เสด็จลงไปทูลเกล้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ที่กรุงเทพฯ ถวายเครื่องราชบรรณาการ ในการนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระมหากรุณาโปรดเกล้าให้แต่งตั้งเจ้าอุปราชหอหน้าเป็นเจ้านครเมืองน่าน พระราชทานนามว่า “เจ้าสุริยพงศ์ผริตเดชกุลเชษฐมหันต์ไชยนันทบุรมหาราชวงศาธิบดี เจ้านครเมืองน่าน” แล้วพระราชทานเครื่องยศ คือพานหมากคำ เครื่องในคำทั้งมวล กระโถนคำ คนโทคำ พระมหามาลาหมวกจิกคำ กับเสื้อผ้าเครื่องครัวทั้งมวล ครั้นเสร็จราชกิจแล้วก็กราบทูลลาพระมหากษัตริย์เจ้ากลับขึ้นมาเมืองน่าน จากนั้นพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้ปกครองบ้านเมืองด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โอบอ้อมอารี เป็นที่นิยมนับถือทั้งในหมู่เจ้านายและราษฎร อีกทั้งมีความจงรักภักดีปฏิบัติราชการด้วยความเข้มแข็งอย่างสม่ำเสมอ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการให้สถาปนาเลื่อนฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นพระเจ้านครเมืองน่าน มีนามตามจาฤกในสุพรรณบัตร์ว่า “พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐ์มหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงษาธิบดี สุจริตจารีราชานุภารักษ์ วิบูลยศักดิกิติไพศาล ภูบาลพิตร์ สถิตย์ ณนันทราชวงษ์ พระเจ้านครเมืองน่าน” เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๔๖--- พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ถึงแก่พิราลัย ในวันที่ ๕ เมษายน ๒๔๖๑ ด้วยโรคชรา อายุได้ ๘๗ ปี


ชื่อผู้แต่ง         อนุมานราชธน, พระยา ชื่อเรื่อง           เล่าเรื่องในไตรภูมิ ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๗ สถานที่พิมพ์    พระนคร สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์สามมิตร ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๔ จำนวนหน้า      ๘๕ หน้า หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระธรรมนาถมุนี [ใส ถาวโร ป.ธ.6]ณ เมรุวัดหน้าพระบรมธาตุ วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๑๔                       หนังสือเล่าเรื่องในไตรภูมิ เล่มนี้ เป็นถ้อยคำสำนวนโบราณ อ่านเข้าใจยาก เลยนำมาเขียนใหม่เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนรกสวรรค์ บาป-บุญ คุณ-โทษ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการศึกษาด้านวรรณคดีแล้ว ยังมีคุณค่าทางปรัชญาและจิตวิทยาอีกด้วย




ห้องท่านจันทร์ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่         หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ในพระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ต้นราชสกุลรัชนี และหม่อมพัฒน์ รัชนี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ สำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร ทรงมีความสนพระทัยและเชี่ยวชาญด้านวรรณคดี กวีนิพนธ์ต่างประเทศ เมื่อเสด็จกลับประเทศไทยได้ตั้งต้นเรียนภาษาไทยใหม่ โดยทรงฝึกฝนการแต่งฉันทลักษณ์ไทยทุกประเภททำให้ทรงมีความเชี่ยวชาญด้านกวีนิพนธ์เป็นอย่างยิ่ง และมีนามแฝงในการนิพนธ์ว่า “พ.ณ ประมวญมารค” นอกจากนี้ ทรงเป็นผู้รอบรู้ทั้งทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ และผู้เชื่อมโยงงานกวีในอดีตกับปัจจุบันของไทย เผยแพร่ให้กวีชาติอื่นได้รู้จักงานกวีไทยจนได้รับเกียรติให้เป็นกวีโลกและรัตนกวีตะวันออก         หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี เสด็จมาประทับ ณ จังหวัดเชียงใหม่กว่า ๒๐ ปี และสิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ ที่จังหวัดเชียงใหม่ สิริชันษา ๘๑ ปี โดยมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๓๕          กรมศิลปากร พระประยูรญาติ พระสหาย และคณะศิษย์ของหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี ได้ร่วมกันจัดตั้งห้อง “ท่านจันทร์” เพื่อเป็นอนุสรณ์และเผยแพร่เกียรติคุณดังกล่าว ปัจจุบันห้องท่านจันทร์ ตั้งอยู่ ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ จัดแสดงผลงานด้านวรรณกรรม กวีนิพนธ์ ต้นฉบับเอกสารงานวิชาการ ผลงานศิลปะ รางวัลเชิดชูพระเกียรติคุณต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องใช้ โต๊ะทำงาน ตู้หนังสือ เครื่องแต่งกาย รูปถ่าย เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษา ค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุที่เป็นต้นฉบับผลงานของหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี รวมทั้งระลึกถึงท่านในฐานะปราชญ์คนสำคัญด้านกวี ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีของประเทศไทยภาพ : หอจดหมายเหตุห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่เอกสารอ้างอิง๑. สุรินทร์ มุขศรี. ๒๕๓๖. “เชิญมาใช้ห้องขวัญ ‘ท่านจันทร์’ เอย : เปิดห้องท่านจันทร์ที่เชียงใหม่.” ศิลปวัฒนธรรม. ๑๔, (๙-๑๒ กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๓๖), ๔๖-๔๗.๒. นิรนาม.  ๒๕๓๕.  หนังสือที่ระลึกเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี.  กรุงเทพมหานคร : บริษัท พิฆเนศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด. (พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ๓๐ เมษายน ๒๕๓๕).


เลขทะเบียน : นพ.บ.554/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 16 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ลานดิบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 182  (311-323) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : วิสุทธิยา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง : รายงานการลูกเสือแห่งสยาม ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2467 สถานที่พิมพ์ : - สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์กรมตำรา จำนวนหน้า : 170 หน้าสาระสังเขป : เป็นรายงานลูกเสือแห่งสยาม มีทั้งการฝึกตามหลักสูตร การเดินทางค้างแรม การทำสาธารณประโยชน์ พร้อมทั้งทำเนียบสภากรรมการจัดการลูกเสือ ทั้งกรุงเทพฯ มณฑลต่างๆ




วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๑๐  พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙) เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ณ สี่แยกท่าเรือ บ้านท่าเรือ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต


ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา.  ถึงหญิงใหญ่ ลายพระหัตถ์สมเด็จกรมพระยา     ดำรงราชานุภาพประทาน ม.จ.จงจิตรถนอม ดิศกุล พระธิดาองค์ใหญ่.  พิมพ์ครั้งที่ ๒. นครหลวงฯ:      บรรณกิจเทรดดิ้ง, ๒๕๑๕.           พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นหนังสือที่รวบรวมจดหมายโต้ตอบของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีถึงหม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม ดิศกุล พระธิดาองค์ใหญ่ ระยะเวลานานกว่า ๑๐ ปี ในช่วงระหว่างที่พระองค์ได้เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ และเสด็จไปประทับที่ปีนัง หลังจากที่ทรงถูกคณะราษฎรควบคุมพระองค์ในเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕


Messenger