ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,342 รายการ

ครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๕วันอาทิตย์ที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครเวลา ๑๗.๓๐ – ๑๙.๓๐ น. การบรรเลงขับร้องดนตรีสากลโดย มูลนิธิสุนทราภรณ์ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีบัตรราคา ๒๐ บาท (จำหน่ายบัตรก่อนเข้าชมการแสดง ๑ ชั่วโมง)สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐๒๒๒๑ ๐๑๗๑การจัดการแสดงอยู่ภายใต้มาตรการป้องกันโรคตามแผนมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยและมาตรการที่ทางราชการกำหนด 


          กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำหนดจัด การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “เล่าเรื่องของเล่น ของสะสม (ของจิ๋ว) เจ้านายในราชสำนัก” ในวันศุกร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ผู้สนใจลงทะเบียนสำรองที่นั่ง (จำนวนจำกัด ๔๐ คน) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓ และ ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ หรือชมผ่าน Facebook Live: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้ปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในพระตำหนักแดงในหัวข้อเรื่องวิถีชีวิตของเด็กไทย และเปิดให้บริการประชาชนอย่างเป็นทางการแล้ว โดยมีส่วนจัดแสดงชุดเครื่องเล่น เครื่องเรือน และของใช้จำลอง ของพระบรมวงศานุวงศ์และเจ้านายในราชสำนัก ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมค่อนข้างมาก ทั้งรูปแบบ ขนาด วิธีทำ และผู้เป็นเจ้าของ จึงได้จัดการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “เล่าเรื่องของเล่น ของสะสม (ของจิ๋ว) เจ้านายในราชสำนัก” เพื่อเผยแพร่ความรู้บางมุมมองของวิทยากรและทายาทผู้เป็นเจ้าของ ประกอบด้วย การบรรยาย เรื่อง ขนบธรรมเนียมการสะสมของเล่น (ของจิ๋ว) เจ้านายในราชสำนัก วิทยากรโดย ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ การบรรยาย เรื่อง เล่าเรื่องของสะสม ของเล่น (ของจิ๋ว) ของคุณยายในวัง (เจ้าจอมเลียม ในรัชกาลที่ ๕) วิทยากรโดย ทันตแพทย์หญิง พิมสวาท วัฒนศิริโรจน์ ดำเนินรายการโดยนายยุทธนาวรากร แสงอร่าม ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          ปัจจุบันพระตำหนักแดง จัดแสดงของสะสมส่วนตัวและผลงานประดิษฐ์ของเจ้าจอมเลียมในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยของชิ้นเด่นที่น่าสนใจของเจ้าจอมเลียมคือ “บ้านตุ๊กตา” ซึ่งเป็นของที่ทำขึ้นในช่วงรัชกาลที่ ๗ เนื่องจากมีการตกแต่งด้วยรูปพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและ พระราชินี สำหรับบ้านตุ๊กตาของเจ้าจอมเลียม เป็นเสมือนการจำลองการตกแต่งบ้านอย่างตะวันตก การออกแบบบ้านทำเป็นอาคารขนาดสามชั้นและมีบันไดอยู่ภายในบ้าน แตกต่างจากบ้านเรือนไทยแบบจารีต ที่มักจะทำเป็นบ้านยกใต้ถุนสูง ทำห้องน้ำ ห้องครัว รวมถึงบันไดแยกอยู่นอกเรือน อย่างไรก็ตาม ข้าวของเครื่องใช้แบบไทยยังมีปรากฏรวมอยู่ด้วย เช่น โอ่งเคลือบเขียว กระต่ายขูดมะพร้าว และภาชนะเครื่องจักสาน ดังนั้นบ้านตุ๊กตาจึงเป็นเสมือนการเปลี่ยนผ่านของแบบแผนการสร้างที่อยู่อาศัยในสังคมไทย จากแบบจารีตสู่แบบสมัยใหม่ที่รับอิทธิพลตะวันตก          ผู้สนใจร่วมการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “เล่าเรื่องของเล่น ของสะสม (ของจิ๋ว) เจ้านายในราชสำนัก” ในวันศุกร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ลงทะเบียนสำรองที่นั่งได้ที่ โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓ และ ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ หรือชมผ่าน Facebook Live: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม



องค์ความรู้จากสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่เรื่อง "เมืองเชียงรายจากหลักฐานทางโบราณคดี ตอนที่ 2 : หลักฐานใหม่จากการขุดค้นทางโบราณคดีเมืองเชียงราย"เรียบเรียงโดย : นางสาวนงไฉน  ทะรักษา.     ปี พ.ศ.2560  มณฑลทหารบกที่ 37 ค่ายเม็งรายมหาราชได้แจ้งมายังสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ว่า พบโบราณวัตถุในบริเวณที่จะดำเนินการก่อสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพื้นที่ค่ายฯ จึงขออนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ เพื่อตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าว สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ จึงได้มีโอกาสดำเนินการทางโบราณคดี.     สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้ดำเนินการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดีโบราณสถานดอยเจดีย์ และสำรวจทางโบราณคดีในพื้นที่ค่ายฯ ทั้งหมด ผลจากการศึกษาทางโบราณคดีเบื้องต้นพบแหล่งโบราณคดี ทั้งประเภทที่เป็นศาสนสถานและแหล่งที่อยู่อาศัย.     โดยพื้นที่บนเขาเป็นที่ตั้งของศาสนสถาน ทั้งที่ตั้งอยู่บนยอดเขาและกลางเนินเขา ซึ่งนอกจากจะเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังเป็นทำเลที่สามารถมองเห็นพื้นที่โดยรอบได้ ใช้สังเกตการณ์ได้เป็นอย่างดี ส่วนพื้นที่ราบเป็นพื้นที่ชุมชนหรือที่อยู่อาศัย ซึ่งพบหลักฐานทางโบราณคดีอย่างหนาแน่นในบริเวณสนามหญ้าหน้าตึกกองร้อยของค่ายฯ เช่น กล้องยาสูบดินเผา ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา ชิ้นส่วนเครื่องเคลือบทั้งจากเตาในล้านนาและจากแหล่งเตาในประเทศจีน นอกจากนั้น ยังมีบริเวณที่ใกล้กับแหล่งน้ำธรรมชาติ เหมาะสมแก่การอยู่อาศัย พบหลักฐานทางโบราณคดีบนผิวดินเป็นสิ่งของเครื่องใช้ ประเภทภาชนะแบบเคลือบสีเขียว ได้แก่ ฝากระติก และผางประทีป จากแหล่งเตาวังเหนือ ไห กระปุก และพาน จากแหล่งเตาพาน แสดงให้เห็นว่าผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณนั้น คงเป็นผู้มีฐานะสูงหรือมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เนื่องจากคนทั่วไปจะใช้ภาชนะดินเผาเนื้อดินที่พบโดยทั่วไปมากกกว่า.     โบราณสถานที่พบภายในมณฑลทหารบกที่ 37 เกือบทั้งหมดก่อสร้างด้วยอิฐ ยกเว้นเพียงแห่งเดียว ที่ใช้ศิลาแลงก่อ ซึ่งปัจจุบันสำรวจพบแหล่งตัดศิลาแลงที่บ้านป่าอ้อดอนไชย แต่ยังไม่มีการศึกษาถึงขนาดของแหล่งฯ ว่ามีความสามารถในการผลิตมากน้อยเท่าไหร่ อาจเป็นไปได้ว่ามีแหล่งตัดศิลาแลงในพื้นที่จังหวัดเชียงรายมากกว่าหนึ่งแห่ง เนื่องจากมีโบราณสถานหลายแห่งในเมืองเชียงแสน และโบราณสถานในอำเภอเทิงที่ใช้ศิลาแลงในการก่อสร้าง เป็นองค์ประกอบของส่วนฐานและเสา.     โบราณวัตถุที่พบจากการสำรวจและขุดศึกษาภายในค่ายเม็งรายมหาราช ทั้งชิ้นส่วนภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาพานและเตาเวียงกาหลง ชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินควอร์ตซ์ รูปแบบเจดีย์แปดเหลี่ยม และรูปแบบของพระพุทธรูปที่ถูกกล่าวอ้างว่าค้นพบบนโบราณสถานดอยเจดีย์ สามารถกำหนดอายุโดยการเปรียบเทียบรูปแบบศิลปะได้ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 20 – พุทธศตวรรษที่ 21 รวมทั้ง ค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ของอิฐที่ได้จากการขุดแต่งโบราณสถานดอยเจดีย์ โดยวิธีเรืองแสงความร้อน (TL) ได้ค่าอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21.     ในห้วงเวลานี้ เป็นช่วงที่เมืองเชียงรายถูกปกครองด้วยขุนนาง แต่ก็ยังคงเป็นเมืองที่มีความสำคัญ เนื่องจากเราพบการกล่าวถึงเมืองเชียงราย ในแง่ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ตามเอกสารทางประวัติศาสตร์ต่างๆของล้านนา.     เป็นที่น่าสังเกตว่า โบราณวัตถุที่พบมีความหลากหลายของวัสดุที่ใช้ผลิตค่อนข้างมาก ทั้งชิ้นส่วนภาชนะดินเผา ชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินควอร์ตซ์ เครื่องมือหินกะเทาะ เครื่องมือเครื่องใช้สำริด แสดงให้เห็นว่ามีการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่หลากหลายในช่วงสมัยเดียวกัน ไม่ได้มีการแบ่งเครื่องมือเครื่องใช้จากวัสดุที่ใช้ผลิตตามเกณฑ์การแบ่งอายุสมัยตามแบบแผน.     ข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการนี้ ก่อให้เกิดองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ไม่เฉพาะในพื้นที่ค่ายฯ เท่านั้น แต่เป็นหลักฐานที่ยืนยันว่าพื้นที่เทศบาลนครเชียงรายในปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งของเมืองโบราณเชียงรายที่สร้างขึ้นอย่างน้อยตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย ตลอดจนเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่สามารถยืนยันอายุของเมืองเชียงรายได้ในเบื้องต้น และถือเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการอยู่อาศัยในพื้นที่เมืองเชียงรายได้ดีที่สุด- เอกสารอ้งอิง -กองโบราณคดี. โบราณคดีเชียงราย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2533.บวรเวท  รุ่งรุจีและคณะ, โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคเหนือ). ม.ป.ท., 2529.สุภาพร นาคบัลลังก์ บรรณาธิการ. จากยุคน้ำแข็งไพลสโตซีนสู่สมัยล้านนา. เชียงใหม่ : โครงการจัดตั้งศูนย์โบราณคดีภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550.สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่. นามานุกรมแหล่งมรดกวัฒนธรรมในพื้นที่ล้านนาตะวันตก. เชียงใหม่ : เชียงใหม่สแกนเนอร์, 2560.อภิชิต ศิริชัย. รู้เรื่องเมืองเชียงราย. เชียงราย : สำนักพิมพ์ล้อล้านนา, 2559.- เอกสารนำเสนอ -ปริวรรต ธรรมาปรีชากร. เอกสารประกอบการอบรมเครื่องปั้นดินเผาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. 2558.- บุคคล -ดร.ฐานนท์ จิตเขม้น นักโบราณคดีอิสระ (เฉพาะทางเทคโนโลยีเครื่องมือหิน Lithic Technology)


ชื่อผู้แต่ง        พุทธทาส ชื่อเรื่อง         คู่มือมนุษย์ (ย่อจากคำบรรยายอบรมผู้พิพากษา ๒๔๙๗ ) ครั้งที่พิมพ์     -         สถานที่พิมพ์   กรุงเทพ สำนักพิมพ์     สมชายการพิมพ์ ปีที่พิมพ์        2524 จำนวนหน้า    164 หน้า รายละเอียด              หนังสือคู่มือมนุษย์ฉบับนี้คุณนุ่น จงประเสริฐ ผู้ก่อตั้งองค์การฟื้นฟูพุทธศาสนา ได้นำคำบรรยายหลักพระพุทธศาสนาเล่ม ๑ ชุดตุลาการิกธรรมของพุทธทาสภิกขุแล้วนำมาจัดพิมพ์ชื่อคู่มือมนุษย์เป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมไปยังต่างประเทศโดยแปลเป็นภาษาต่างประเทศ เช่น สิงค์โปร์ อเมริกา ลาว



ชื่อผู้แต่ง              - ชื่อเรื่อง               วรรณคดี วรรณกรรมและวรรณศิลป์ ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์       กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์          โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ปีที่พิมพ์              ๒๕๑๖ จำนวนหน้า         ๒๕๒  หน้า หมายเหตุ           บรรณการในงานฌาปนกิจศพ ณ เมรุวัดชลประทานรังสฤษฎ์                            หนังสือฉบับนี้ รวบรวมมาจกคำบรรยายวิชาวรรคดี สำหรับนักศึกษาปีที่ ๑ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปรากฏว่ามีข้อบกพร่องหลายประการ เช่นภาษที่ใช้ในการบรรยาย ดร.บรรจบ พันธุเมธา แนะนำให้ใช้หนังสือที่เป็นงานของ รองศาสตราจารย์ กุหลาบ  มัลลิกะมาส ผู้ถึงแก่กรรม หนังสือฉบับนี้ จึงมีขึ้นโดยมีเจตนาจะให้เป็นอนุสรณ์แห่งความสัมพันธ์ทางจิตใจของพี่น้อง สำคัญ


องค์ความรู้สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่เรื่อง แหล่งโบราณคดีบ้านนาตุ้ม ตำบลบ่อเหล็ก อำเภอลอง จังหวัดแพร่ : การขุดค้นทางโบราณคดีระยะที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๖๕เรียบเรียงโดย นายพลพยุหะ ไชยรส นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่.     เหล็ก ถือเป็นสินค้าสำคัญของพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยตั้งแต่มีการผลิตในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓ จากหลักฐานที่พบในแหล่งถลุงเหล็กสันห้วยทกหิน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในแหล่งถลุงเหล็กบ้านนาตุ้มของเมืองลองโบราณ จังหวัดแพร่ ในบทความนี้จะกล่าวถึงผลการศึกษาทางโบราณคดีของแหล่งโบราณคดีบ้านนาตุ้ม ซึ่งถือเป็นแหล่งโบราณคดีตัวแทน (Key Site) ของแหล่งถลุงเหล็กของภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ - ๒๕.     เอกสารทางประวัติศาสตร์ระบุว่าเมืองลองโบราณเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครลำปาง (จังหวัดลำปาง)    มีพันธะที่จะต้องส่งส่วยเหล็กทุกๆปี ปีละ ๔๐ หาบ (๒,๖๐๐ กิโลกรัม) ดังปรากฎในเอกสารจดหมายเหตุความว่า “...ที่เมืองลองเสียส่วยแก่เมืองนคร (ลำปาง) มีแต่เหล็กสิ่งเดียว...เรียกส่วยปีละ ๔๐ หาบเท่านั้น...”   การถลุงเหล็กจะทำขึ้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านนาตุ้ม บ้านนาตุ้ม ตำบลบ่อเหล็ก อำเภอลอง จังหวัดแพร่ อยู่ห่างจากแหล่งโบราณคดีดอยเหล็กซึ่งเป็นเหมืองแร่เหล็กประมาณ ๑ กิโลเมตร โดยปรากฏในเอกสารของชาวต่าวชาติกล่าวถึงเหล็กของดอยเหล็กว่าเป็นเหล็กที่มีคุณภาพ เช่น บันทึกของคาร์ล อัลเฟรด บ็อค (Carl Alfred Bock) พ.ศ. ๒๕๒๔ ความว่า “...เห็นได้ชัดว่าเมืองละครนี้ร่ำรวย ไม่เพียงแต่ร่ำรวยป่าไม้เท่านั้นแต่ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุ ใกล้ตัวเมือง (เมืองลอง) มีเหมืองแร่เหล็กที่อุดมสมบูรณ์อย่างยิ่ง...”.     สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร สำรวจพบแหล่งเนินตะกรันเหล็กแหล่งโบราณคดีบ้านนาตุ้ม ในปี พ.ศ.๒๕๖๑ จากการสำรวจทางโบราณคดีพบซากเตาถลุงเหล็ก ปลายหุ้มท่อลมดินเผา (tuyère) พะเนินหิน ทั่งหิน เศษแร่ และตะกรันก้นเตาจำนวนมาก ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๖๒ ได้ดำเนินงานขุดค้นทางโบราณคดี จากการขุดค้นพบเตาถลุงเหล็กจำนวน ๘ เตา เรียงตัวเป็นแนวเดียวกันในทิศเหนือ - ใต้ และการขุดค้นในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ พบเตาถลุงเหล็กเพิ่มเติมอีกจำนวน ๑๑ เตา เรียงตัวในแนวเดียวกันกับกลุ่มเตาที่ขุดค้นพบในระยะที่ ๒.     สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ได้นำตัวอย่างถ่านภายในก้อนตะกรันก้นเตาไปหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธี AMS ได้ค่าอายุได้ค่าอายุที่ ๒๐๒±๑๖ ปีมาแล้ว หรือราว พ.ศ. ๒๓๔๗ – ๒๓๗๙ ซึ่งค่าอายุมีความสอดคล้องกับเศษเครื่องถ้วยจีน เนื้อแกร่ง เขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบจากแหล่งเตามณฑลฝู้เจี่ยนที่ขุดค้นพบโดยกำหนดอายุอยู่ในปลายรัชศกเจียฉิ้งถึงต้นรัชศกเต้ากวงแห่งราชวงศ์ชิง ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ และเมืองลองมีการถลุงเหล็กต่อเนื่องมาจนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕ จากเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น.     จากการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดีที่พบและข้อมูลทางโบราณโลหวิทยา สันนิษฐานว่า เตาถลุงเหล็กบ้านนาตุ้มเป็นเตาถลุงเหล็กทรงสูง (Sharft Furnance) สูงประมาณ ๘๐ เซนติเมตร ใช้ระบบลมแบบสองลูกสูบ (เส่า) หรือ “Double piston bellow” โดยมีช่องสอดท่อลมและปลายหุ้มท่อลมดินเผาอยู่ทางด้านหลังเตาเพียงช่องเดียว สำหรับเทคนิคการถลุงเป็นการถลุงเหล็กทางตรง (Direct Process) ที่มีอุณหภูมิอยู่ประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๒๐๐ องศาเซลเซียส เหล็กที่ได้จะถูกขนส่งไปยังราชสำนักเมืองนครลำปาง โดยในท้องตลาดถือว่าเหล็กเมืองลองเป็นเหล็กที่มีคุณภาพ ดังปรากฏในงานวรรณกรรม เช่น ค่าวฉลองคุ้มหลวงของเจ้าหลวงนครแพร่ของศรีวิไชยกวีในราชสำนักแพร่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ความว่า “...ห้าสิบสอง เหล็กลองไหลดั้นข่ามคงกะพันมากนัก...”  หรือสำนวนของชาวล้านนาที่กล่าวว่า “เหล็กดีเมืองลอง ตองดีเมืองพะเยา” เป็นต้น


          นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากรเป็นประธานในพิธีเจริญชัยมงคลคาถา เพื่อเป็น ปฐมฤกษ์ในการประกอบคืนบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น ในโครงการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย ณ พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕          “ความร่วมมือนับเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินงานอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมให้เกิดสัมฤทธิผล อย่างยั่งยืนในปัจจุบัน ทั้งแง่มุมการรักษาอันเป็นภารกิจของกรมศิลปากรเอง ความร่วมมือทางวิชาการจากสถาบันทั้งในและต่างประเทศ การให้ความสำคัญร่วมทำหน้าที่ปกป้องของวัดอันเป็นที่ตั้งของมรดกศิลปวัฒนธรรมนั้น ตลอดจนแรงสนับสนุนด้วยความศรัทธาเห็นคุณค่าจากภาคเอกชน” อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวหลังเป็นประธานในพิธีเจริญชัยมงคลคาถา นำโดยพระพรหมวัชราจารย์ (พูนศักดิ์ วรภทฺโก) พร้อมด้วย Mr. Shigeki Kobayashi ที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย คุณมุกดา จิราธิวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล และคุณจุฬาลักษณ์ ปิยะสมบัติกุล เพื่อเป็นปฐมฤกษ์ในการประกอบคืนบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น ภายในพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม          นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๘ กรมศิลปากรร่วมกับสถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม นำโดยพระวชิรธรรมเมธี ศึกษาแผ่นไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นบนบานประตูและหน้าต่างภายในพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ซึ่งสั่งนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อประดับพระวิหารเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘ เพื่อหาวิธีการอนุรักษ์ซ่อมแซมที่ถูกต้องตามเทคนิควิธีงานประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากภาคเอกชน ได้แก่ คุณมุกดา จิราธิวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล และคุณจุฬาลักษณ์ ปิยะสมบัติกุล กระทั่ง พ.ศ. ๒๕๖๔ กรมศิลปากรจึงจัดสรรงบประมาณโครงการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทยแก่สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ เพื่อเริ่มดำเนินการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นภายในพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม จำนวน ๗๖ แผ่น และบานไม้ประดับรักลายนูน จำนวน ๓๘ แผ่น ร่วมกับสำนักช่างสิบหมู่ และการให้คำปรึกษาด้านเทคนิควิทยาจาก Ms.Yoko Futakami และ Mr.Yoshihiko Yamashita ผู้เชี่ยวชาญแห่งสถาบัน วิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น กำหนดดำเนินงานระหว่าง พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๖๘          การดำเนินงานหนึ่งปีที่ผ่านมาของโครงการ มีผลสัมฤทธิ์ในส่วนขององค์ความรู้เรื่ององค์ประกอบงานลงรักประดับมุก นำไปสู่การอนุรักษ์ซ่อมแซมแผ่นประดับมุกบานหน้าต่างด้วยวัสดุดั้งเดิมจำนวน ๑ คู่ ที่ได้นำมาประกอบคืนบานหน้าต่างเป็นปฐมฤกษ์พร้อมทำพิธีเจริญชัยมงคลคาถา เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน เป็นสิริมงคลแก่ทุกภาคส่วนที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานตลอดมา          อธิบดีกรมศิลปากร ได้กล่าวอีกว่า กรมศิลปากรมุ่งหวังให้โครงการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทยนี้ เป็นต้นแบบของการดำเนินงานอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ที่ประกอบด้วยกระบวนงานศึกษาเทคนิควิทยาการอนุรักษ์อย่างรอบคอบ การบันทึกองค์ความรู้วิธีการอนุรักษ์เพื่อเป็นจดหมายเหตุสำหรับอนาคต และการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม มาร่วมดำเนินงานกับกรมศิลปากร ทั้งวัด สถาบันวิจัย ตลอดจนภาคเอกชน


หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี ขอนำเสนอสาระความรู้ ในหัวข้อ จดหมายเหตุเล่าเรื่อง ตอนที่ ๘ การสร้างหน้าบันพระอุโบสถวัดพระธาตุประสิทธิ์ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม (ตอนจบ)


องค์ความรู้ เรื่อง ศรีวิชัยในกาลเวลา ตอน : ศรีวิชัยในความทรงจำของพระภิกษุอี้จิ้งค้นคว้า/เรียบเรียงโดย นางสาวสุขกมล วงศ์สวรรค์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช




          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากรร่วมกับสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร และโรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม จัดกิจกรรมเสริมสร้างให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นแหล่งเรียนรู้ ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย วันเสาร์ที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๕ เรื่อง ศิลปะการร้อยมาลัย อุบะ เครื่องแขวนไทยในงานพระราชพิธี และการทำพวงมาลัยจากกระดาษทิชชู มอบเป็นของขวัญพิเศษสำหรับวันแม่ วันเสาร์ที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๕ เรื่อง ลายรดน้ำ วิจิตรศิลปกรรมเรือพระราชพิธี และการทำผลิตภัณฑ์ ของที่ระลึกจากลายรดน้ำ เรียนรู้ พัฒนา สร้างอาชีพ สร้างรายได้           ผู้สนใจสามารถร่วมกิจกรรมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี สำรองที่นั่งหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร ๐ ๒๔๒๔ ๐๐๐


องค์ความรู้สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่เรื่อง : ตามหาเมืองเงินยาง ตอน 3เรียบเรียงโดย : นายสายกลาง จินดาสุ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี.          จากตามหาเมืองเงินยางในตอน 1 และ 2 จะพบว่าตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และตำนานสิงหนวัติในพงศาวดารภาคที่ 61 ชี้ถึงที่ตั้งเมืองเงินยางต่างกัน โดยตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ชี้ว่าเงินยางน่าจะเป็นพื้นที่บริเวณไม่ไกลจากดอยตุง ซึ่งเมืองที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดคือ เวียงพางคำ บริเวณตัวอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ส่วนตำนานสิงหนวติ ในพงศาวดารภาคที่ 61 ชี้ถึงที่ตั้งเมืองเงินยางว่าน่าจะเป็นเมืองเชียงแสน ในตัวอำเภอ      เชียงแสน คราวนี้มาดูเอกสารอีกฉบับที่กล่าวถึงเมืองเงินยาง คือ พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน.          พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน กล่าวถึงเมืองเงินยาง ดังนี้1. ชื่อพงศาวดารเขียนชัดเจนว่าเป็น เงินยาง-เชียงแสน (มีคำว่า “เชียงแสน” ต่อท้าย) / ประเด็นชื่อเมืองมีความเหมือนกันกับตำนานสิงหนวัติที่ชื่อเมืองมีคำว่า เชียงแสน กำกับตั้งแต่ต้น) 2. ลวจังกราช โอปาติกกะลงมา โดยมีบันไดพาดลงมาจากสวรรค์ ลงมาที่หินเลาและหินกอง (ถ้าดูจากคำที่แสดงภูมิสัญฐานพื้นที่ จะเห็นว่า มีก้อนหินหรือภูเขาหิน ซึ่งตั้งเป็นข้อสังเกตว่า แนวเขาดอยตุงต่อเนื่องไปทางทิศเหนือคือดอยนางนอน เป็นเทือกเขาหินปูน ดังนั้นอาจมีความเป็นไปได้ว่าอาจเป็นพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มน้ำแม่สาย ในเขต อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย) / ประเด็นที่ตั้งเมืองมีความเหมือนตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ที่เมืองน่าจะอยู่บริเวณไม่ไกลจากดอยตุง3. พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน กล่าวแตกต่างจาก ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และตำนานสิงหนวติเล็กน้อย โดยกล่าวว่า ลวจังกราชลงบันไดเงินมาประทับอยู่ใต้ต้นพุดซา แต่พื้นเมืองเชียงใหม่และสิงหนวติ กล่าวว่ามาอยู่ใต้ต้นไม้ตัน ซึ่งความในตอนนี้มีความหมายตรงกันคือต้นพุดทรา หรือที่ล้านนาเรียกว่า “มะตัน” แต่ความน่าสนใจอยู่ที่การเลือกใช้คำในพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน ที่น่าจะมีนัยยะของการเลือกใช้คำพ้องเสียงที่ต้องการให้สัมพันธ์กับการพุทธศาสนา จึงอาจเลือกคำว่า พุด (พุทธ) – ซา หรืออาจแสดงนัยยะของคำที่ได้รับอิทธิพลจากภาคกลาง (ที่อาจแสดงให้เห็นว่าพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนเรียบเรียงขึ้นในสมัยหลังที่มีปฏิสัมพันธ์กับภาคกลางมากขึ้นแล้ว)4. พื้นที่ที่ลวจังกราชโอปาติกกะลงมาชื่อว่า “เชียงสา”  ต่างจากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และตำนานสิงหนวัติกุมาร ที่เรียกว่า “เชียงราว หรือ เชียงลาว” แต่สอดคล้องที่ว่า ในรัชกาลนี้มีการเรียกชื่อเมืองว่า “เงินยาง” ต่อมา5. มีการกล่าวถึงเมืองเงินยางในอีกชื่อหนึ่งว่า “เหรัญนคร” โดยกล่าวว่า ลวะจังกราช เสวยเมืองเหรัญนครและไปนมัสการดอยตุงทุกปี และให้พวกทำมีละ(ลัวะ) เป็นผู้รักษาเจดีย์ (ความในตอนนี้ทำให้นึกย้อนถึง คราวที่ตำนานสิงหนวัติกล่าวถึงปู่เจ้าลาวจกถวายตัวเป็นข้าเฝ้าพระธาตุบนดอยตุงจนเมื่อตายจึงไปจุติเป็นเทวดาบนสวรรค์ จึงเป็นข้อสันนิษฐานว่า ลาวจกอาจเป็น ทำมีละ หรือ ลัวะ)6. จากเนื้อหาจะเห็นว่า ลวะจังกราช โอปาติกกะลงมาในพื้นที่บ้านเมืองของชาวยวน โดยต่อมาอีก 6 ปี ชาวยวนได้ยกให้ลวะจังกราชเป็นใหญ่7. เนื้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ปูยักษ์กัดกินข้าวและทำร้ายชาวเมือง โดยปูได้หนีลงแม่น้ำละว้า (ชื่อแม่น้ำมีนัยยะบอกถึงกลุ่มคนในพื้นที่) และล่องไปถึงแม่น้ำของ(น้ำโขง) ความตอนนี้แสดงให้ว่า พื้นที่เมืองเงินยางของลวะจังกราชน่าจะอยู่ค่อนมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (เมื่อพิจารณาย้อนทวนทิศทางจากแม่น้ำโขงที่อยู่ทางทิศตะวันออก ไปหาน้ำแม่สายซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) ตำแหน่งของเมืองเงินยางจากความในตอนนี้จึงน่าจะเป็นเวียงพางคำ ไม่ใช่เชียงแสน8. มาจนกระทั่ง 10 รัชกาล ถึงยุค ลาวเคียง จึงมีการสร้างกำแพงเมือง โดยมีเขตแดนด้านทิศเหนือถึงน้ำแม่ละว้า ทิศตะวันออกเอาแม่น้ำเป็นแดน โดยให้ราษฏรทำพื้นที่ให้ราบเสมอดีทุกแห่ง ถ้าพิจารณาจากภาพถ่ายทางอากาศ จะเห็นว่า พื้นที่ตั้งแต่ตัวอำเภอแม่สาย ต่อเนื่องมาทางทิศตะวันออกและทิศใต้เป็นบริเวณกว้างเป็นที่ราบผืนใหญ่ ถ้าพิจารณาตามนี้พอทำให้คิดได้ว่า เงินยาง ที่ลาวเคียงสร้างอาจเป็นเมืองใดเมืองหนึ่งในแอ่งแม่สายนี้ โดยเมืองที่เข้าข่าย คือ “เวียงพางคำ”9. ในตอนที่ลาวเคียงสร้างเมือง มีการขุดฝังเสาอินทขีล จึงพอเห็นเค้าลางว่าวงศ์ลวะจังกราช มีความเกี่ยวข้องหรืออาจมีเชื้อสายลัวะ10. มีความเปลี่ยนแปลงชื่อนำหน้ากษัตริย์ โดยใช้คำว่า “ขุน” (ขุนเงิน) จึงเป็นข้อคำถามว่า ธรรมเนียมการใช้คำว่าขุนนำหน้ากษัตริย์เกิดขึ้นมาด้วยเหตุใด (คำนำหน้าที่ถูกเปลี่ยนไปแต่ละห้วงเวลาน่าจะมีนัยยะของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมบางอย่าง อย่างเช่น มังราย ไม่ใช้คำว่า ลาว นำหน้าเช่นเดียวกัน แสดงให้เห็นนัยยะนี้)11. มาปรากฏคำเรียกว่า “เมืองเงินยางเชียงแสน” ครั้งแรกในสมัยขุนเจือง เนื้อความกล่าวถึงทัพแกวยกทัพมาต่อสู้กับเมืองเงินยางเชียงแสน (ถ้าถือตามเนื้อหานี้ ชื่อ “เงินยางเชียงแสน” ปรากฏขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17) และบ่งชี้ว่า “เงินยาง” และ “เชียงแสน” คือเมืองเดียวกันจากชื่อ12. ตำนานแสดงให้เห็นว่าพุทธศตวรรษที่ 17 - 18 เมืองใหญ่แยกเป็น 2 สาย คือ เมืองเงินยางและ        ภูกามยาว โดยบทบาทสำคัญน่าจะเป็นภูกามยาวเพราะขุนเจืองปกครอง (แต่ต่อมาขุนเจืองปกครองควบ 2 เมือง) 13. ขุนเจืองตายในปี 1705 โดยสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิในเมืองเหรัญนครเชียงแสน (เห็นได้ว่าในสมัยขุนเจือง เมืองเงินยางถูกเรียกทั้งในชื่อ เงินยางเชียงแสน และ เหรัญนครเชียงแสน)14. พอถึงรัชกาลขุนแพง (หลานขุนเจือง) ไม่มีการสืบวงศ์กษัตริย์ต่อ (จะเห็นได้ว่ายังคงใช้ “ขุน” นำหน้านามกษัตริย์) เลยไปเอาเชื้อสายเมืองพะเยามาครอง15. พญามังรายเอาช่างฆ้อง 300 ครัวมาไว้ที่เมืองเชียงแสน (แสดงให้เห็นว่าเชียงแสนน่าจะเป็นเมืองสำคัญและอาจเป็นเมืองต้นวงศ์ของพญามังราย / นั่นคือ เชียงแสนคือเมืองเงินยางที่สืบมา) .          ถ้าดูจากเนื้อหาที่ปรากฏในพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนจะเห็นว่ามีความปะปนกันระหว่างเนื้อหาที่ชี้ว่าเมืองเงินยางคือบริเวณใกล้ดอยตุง-น้ำแม่สาย จากการที่ระบุเชิงเปรียบเทียบทิศทางของเมืองเงินยางว่าอยู่ใกล้น้ำแม่ละว้าทางทิศตะวันตกของแม่น้ำโขง (จากเหตุการณ์ปูยักษ์อาละวาดแล้วหนีลงไปตามน้ำแม่ละว้าไปลงน้ำโขง) รวมถึงการกล่าวถึงการสร้างกำแพงเมืองในสมัยลาวเคียงโดยมีเขตแดนด้านทิศเหนือถึงน้ำแม่ละว้า(น้ำแม่สาย) ซึ่งพอจะสรุปได้ว่าเงินยางในแนวคิดแรกนี้อาจเป็น “เวียงพางคำ” ส่วนเนื้อหาที่ย้อนแย้ง คือ การกล่าวถึงชื่อเมืองเป็นชื่อเดียวว่า “เงินยางเชียงแสน” และ “เหรัญนครเชียงแสน” ในพุทธศตวรรษที่ 17 สมัยขุนเจือง แสดงให้เห็นว่า เงินยางกับเชียงแสน คือพื้นที่เดียวกัน รวมถึงเนื้อความที่กล่าวถึงพญามังรายเอาช่างฆ้อง 300 ครัวมาไว้ที่เมืองเชียงแสน แสดงการให้ความสำคัญกับเมืองเชียงแสนมากอย่างมีนัยยะ (ตอนหนึ่งในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงการที่พญามังรายให้รื้อองค์ประกอบวิหารจากเมืองเชียงแสนมาประกอบสร้างใหม่ที่เวียงกุมกาม ซึ่งถ้าเราตั้งคำถามว่าทำไมไม่เป็นวิหารจากเมืองอื่น นั่นก็อาจเพราะเมืองเชียงแสนเป็นเมืองต้นวงศ์ ที่วงศ์ลวจังกราชของพญามังรายอยู่สืบเนื่องมายาวนานจนถึงสมัยพญามังรายก่อนย้ายไปยังเชียงใหม่) .          ถ้าสรุปจากเอกสารประวัติศาสตร์ทั้งสามฉบับ คือ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานสิงหนวติ และพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน ก็ต้องกล่าวว่า การที่เมืองเงินยางจะเป็น เวียงพางคำ หรือ เมืองเชียงแสน นั้นยังไม่เป็นที่สรุปได้ (ถ้าเป็นการแข่งกีฬาก็ต้องบอกว่าผลเสมอกัน)  แต่ทั้งนี้มีข้อมูลทางโบราณคดีที่น่าสนใจที่ผู้เขียนอยากนำมาบอกเล่าเพิ่มเติมนอกเหนือจากข้อมูลจากเอกสารประวัติศาสตร์ นั่นคือข้อมูลจากการขุดค้นทางโบราณคดีกำแพงเมืองเชียงแสนในปี 2543 และ 2552-2557 ที่กรมศิลปากรได้ขุดตัดผ่ากำแพงเมืองเชียงแสนเพื่อตรวจสอบชั้นดินทับถมของคันกำแพงเมือง จากการขุดทางโบราณคดีพบว่า กำแพงเมืองเชียงแสนที่เราเห็น แท้จริงมีกำแพงเมืองสมัยแรกอยู่ด้านใน จากการส่งตัวอย่างอิฐและดินหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีเรืองแสงความร้อน ปี 2543 ดำเนินการโดยคุณศิริพงษ์ สมวรรณ นักศึกษาภาคฟิสิกส์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปี 2557 โดยภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ค่าอายุกำแพงเมืองเชียงแสนสมัยแรกราวพุทธศตวรรษที่ 10-12 (พ.ศ.900-1200) และกำแพงเมืองสมัยที่สองที่ครอบทับอยู่มีช่วงเวลาราวพุทธศตวรรษที่ 19 - 20 (พ.ศ.1800-2000) ค่าอายุดังกล่าวมีนัยยะอย่างไร.          หากเชื่อว่าปีพุทธศักราชในเอกสารประวัติศาสตร์อาจพอมีเค้าความจริง การสถาปนาเมืองเงินยางในปี 1181 และการที่พญาแสนภูฟื้นเมืองเชียงแสนอีกครั้ง (“แสนภูสร้างเมืองทับเวียงรอยเดิม”) ก็สอดคล้องกับค่าอายุกำแพงเมืองเชียงแสนสมัยแรก และการสร้างเมืองครอบทับเมืองรอยเดิมในปี 1871 ก็สอดคล้องกับค่าอายุกำแพงเมืองสมัยที่สองที่ครอบทับอยู่ เมื่อดูข้อมูลดังนี้ ก็ต้องบอกว่า การที่เมืองเงินยาง คือ เมืองเชียงแสน มีความเป็นไปได้ไม่น้อย เพราะหลักฐานการมีขึ้นของกำแพงเมืองสมัยแรกค่อนข้างใกล้เคียงกับช่วงเวลาการเกิดขึ้นของเมืองเงินยางในต้นพุทธศตวรรษที่ 12 รวมถึงการที่แสนภูเสริมสร้างกำแพงเมืองทับกำแพงเดิมที่มีอยู่ ก็น่าจะเป็นการที่พญาแสนภูกลับมารื้อฟื้นเมืองที่เป็นต้นวงศ์ (หากไม่คิดว่าเนื้อความในตำนานสิงหนวติที่กล่าวถึงพญาแสนภูฟื้นเมืองเงินยางเชียงแสนเป็นความจริง การวิเคราะห์ตามเหตุและผลว่าเหตุใดจึงต้องฟื้นเมืองเชียงแสน ก็พอเห็นเค้าลางของความสำคัญของเมืองนี้ในอดีต) .           ทั้งนี้สิ่งที่นำมาบอกเล่าแก่ทุกท่านครั้งนี้ก็ยังมิได้ถือเป็นข้อยุติว่า เงินยาง คือเมืองใด ระหว่างเชียงแสนและเวียงพางคำ (แม้ตอนนี้จะเริ่มพอเห็นเค้าความเป็นไปได้ที่เมืองเชียงแสน) เพราะต้องไม่ลืมว่า เรายังไม่มีการขุดค้นศึกษาทางโบราณคดีคันกำแพงเมือง ชั้นดินทับถมและโบราณวัตถุภายในเมืองเวียงพางคำมาก่อน ดังนั้นเราจึงยังไม่มีชุดข้อมูลของเวียงพางคำ การที่จะสรุปว่า เมืองเงินยาง คือ เมืองเชียงแสน จึงอาจยังเร็วเกินไป ในอนาคตการศึกษาทางโบราณคดีเวียงพางคำ เป็นหนึ่งในแผนงานศึกษาที่สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ วางไว้เพื่อค่อยๆประกอบภาพของพัฒนาการบ้านเมืองยุคแรกในแอ่งที่ราบเชียงราย-เชียงแสน อันเป็นรากฐานและที่มาของอาณาจักรล้านนา             ...และหากวันนั้นมาถึง ผมคงได้นำเรื่องราวและข้อมูลมาบอกเล่าทุกท่านอีกครั้ง



Messenger