ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,342 รายการ
เรือพระราชพิธี หมายถึง เรือที่เกี่ยวข้องกับงานพิธีกรรมของราชสำนัก เป็นพระราชพาหนะของพระมหากษัตริย์ไทยใช้สำหรับการเสด็จ ฯ ทางชลมารค เพื่อประกอบพระราชกรณียกิจต่าง ๆ เช่น การพระราชสงคราม การเสด็จพระราชดำเนิน และการประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ในสมัยโบราณ เรื่องราวเกี่ยวกับเรือพระราชพิธีนี้มีปรากฏอยู่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายชิ้น ได้แก่ ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ กฎหมายตราสามดวง พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา บันทึกของชาวตะวันตก และคำให้การชาวกรุงเก่า อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า เรือพระราชพิธีนี้เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และมีพัฒนาการเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ทั้งรูปแบบของเรือ การใช้งาน และการจัดริ้วกระบวนเรือพระราชพิธีที่ใช้ในการจัดกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
เรือพระราชพิธี มักใช้ในการประกอบการพระราชดำเนิน และประกอบการพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก การอัญเชิญพระพุทธรูปที่สำคัญจากหัวเมืองมาประดิษฐานในเมืองหลวง การอัญเชิญพระบรมศพหรือพระอังคาร ตลอดจนการต้อนรับทูตจากต่างประเทศ เป็นต้น โดยจัดเป็นกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งเป็นริ้วกระบวนเรือที่จัดขึ้นในการที่พระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปในการต่าง ๆ การจัดกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค กล่าวได้ว่ามีวิวัฒนาการมาจากการจัดกระบวนทัพเรือ โดยกองเรือเหล่านี้จะตกแต่งอย่างสวยงาม และมีการประโคมดนตรีไปในกระบวน การจัดริ้วกระบวนแบ่งออกเป็น ๒ สาย เรียกว่า กระบวนพยุหยาตราใหม่ ซึ่งจัดเป็น ๔ สาย และกระบวนพยุหยาตราน้อย จัดเป็น
๒ สาย ต่างกันโดยทราบได้จากจำนวนเรือในริ้วกระบวนว่ามีมากน้อยเท่าใดนั่นเอง
ลักษณะและชื่อเรือพระราชพิธีที่ใช้ประกอบกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
สามารถแบ่งออกตามลักษณะหน้าที่และการใช้งาน ดังนี้
๑. เรือพระที่นั่ง เป็นเรือที่สำคัญที่สุดในกระบวน เนื่องจากเป็นเรือที่พระมหากษัตริย์ทรงประทับ มีชื่อเรียกต่างกันออกไป ได้แก่ เรือต้น เรือพระที่นั่งทรง เรือพระที่นั่งรอง เรือพระที่นั่งกิ่ง เรือพระที่นั่งเอกชัย เรือพระที่นั่งศรี เรือพระที่นั่งกราบ เรือพลับพลา และเรือพระประเทียบ
๒. เรือเหล่าแสนยากร เป็นเรือประกอบกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคที่นอกเหนือจากเรือพระที่นั่ง ซึ่งมีลักษณะหน้าที่ต่างกันออกไป ได้แก่
- เรือดั้ง ทำหน้าที่ป้องกันหน้ากระบวนเรือ ใช้เป็นเรือกระบวนสายนอก
- เรือพิฆาต เป็นเรือรบไทยโบราณ มีปืนจ่ารงตั้งที่หัวเรือ ในเรือนำเหล่านี้ใช้ขุนศาลเป็นนายเรือ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เรือขุนศาล” เหตุที่เรียกว่าเรือพิฆาตเพราะในเวลารบจริง ต้องออกจากกระบวนไปลาดตระเวนหาข่าวข้าศึก มักมีชื่อเป็นสัตว์ต่าง ๆ เช่น มังกร เหรา สิงโต กิเลน เสือ เป็นต้น
- เรือคู่ชัก เป็นเรือไชยรูปสัตว์ ทำหน้าที่ชักลากเรือพระที่นั่งในกรณีที่มีฝีพายไม่พอ
- เรือโขมดยา เป็นเรือไชยที่หัวเขียนด้วยลายน้ำยา หัวท้ายงอนคล้ายเรือกัญญา
- เรือแซง ใช้เรือกราบกัญญา เป็นเรือทหาร เรือแซงจะขนาบทั้งสองข้างของเรือพระที่นั่ง โดยอยู่ในริ้วนอกสุดของกระบวน
- เรือตำรวจ เป็นเรือที่พระตำรวจลงประจำ มีหน้าที่เป็นองครักษ์ ซึ่งเป็นข้าราชการในพระราชสำนัก
- เรือศีรษะสัตว์ หรือเรือรูปสัตว์ เป็นได้ทั้งเรือพิฆาตและเรือพระที่นั่ง แต่ถ้าเป็นเรือพิฆาต จะต้องเป็นศีรษะสัตว์ชั้นรอง ส่วนเรือพระที่นั่ง หัวเรือจะเป็นรูปสัตว์ตามพระราชลัญจกร
- เรือกลอง เป็นเรือสัญญาณเพื่อให้เรืออื่นในกระบวนหยุดพายหรือจ้ำ โดยใช้กลองเป็นสัญญาณ
- เรือประตู เป็นเรือคั่นระหว่างกระบวนย่อย
- เรือกัน เป็นเรือที่ทำหน้าที่ป้องกันศัตรูมิให้จู่โจมมาถึงเรือพระที่นั่ง
- เรือริ้ว เป็นเรือที่เข้ากระบวนยาวเป็นสายเรียงขนานกัน มีธงประจำเรือ
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ศิลปกรรมทางสายน้ำที่ได้รับการยกย่องให้เป็นเรือมรดกโลก
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เป็นเรือที่มีความงดงามทางด้านศิลปกรรม และแสดงให้เห็นถึงความอัจฉริยะในการต่อเรือของช่างไทยโบราณ ซึ่งแสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติได้อย่างดียิ่ง อีกทั้งยังมีความสำคัญในแง่ประวัติศาสตร์ชาติไทยมาอย่างยาวนาน ด้วยความสำคัญดังกล่าว องค์การเรือโลกแห่งสหราชอาณาจักร (World Ship Trust) ได้ยกย่องให้เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์เป็นเรือมรดกโลก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ และมอบเหรียญรางวัลเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ หรือ เหรียญรางวัลมรดกทางทะเลขององค์กรเรือโลกให้กับประเทศไทย
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำปัจจุบันสร้างขึ้นในปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ เพื่อทดแทนเรือลำเดิมที่ได้สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ และแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ ๖ ประกอบพิธีลงน้ำเมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔ หัวเรือพระที่นั่งมีโขนเรือรูปหัวหงส์ ลำตัวเรือทอดยาวคือส่วนตัวหงส์ จำหลักไม้ลงรักปิดทองประดับกระจกมีพู่ห้อย ปลายพู่เป็นแก้วผลึก ภายนอกทาสีดำ ท้องเรือทาสีแดง ตอนกลางลำเรือมีที่ประทับเรียกว่า ราชบัลลังก์กัญญา สำหรับพระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เรือมีความยาว ๔๖.๑๕ เมตร กว้าง ๓.๑๗ เมตร ลึกจนถึงท้องเรือ ๙๔ เซนติเมตร กินน้ำลึก ๔๑ เซนติเมตร ใช้กำลังพลประกอบด้วยฝีพาย ๕๐ คน นายเรือ ๒ คน นายท้าย ๒ คน คนถือธงท้าย ๑ คน พลสัญญาณ ๑ คน คนถือฉัตร ๗ คน และคนขานยาว ๑ คน
เรื่องราวของเรือพระราชพิธียังมีอีกหลายแง่มุมที่น่าสนใจและชวนให้ศึกษา นับเป็นหนึ่งในงานศิลปกรรมของไทยที่มีคุณค่ายิ่ง อีกทั้งยังมีความสำคัญในแง่ประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน หากผู้อ่านสนใจสามารถค้นคว้าและอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือเรือพระราชพิธีและหนังสืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ที่ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
เรียบเรียงโดย นางสาวปริศนา ตุ้มชัยพร บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี กรมศิลปากร
แหล่งข้อมูลเอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. เรือพระราชพิธี. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๘.
นงค์นุช ไพรพิบูลยกิจ. เรือพระราชพิธี. กรุงเทพฯ: เอส.ที.พี. เวิลด์ มีเดีย, ๒๕๔๒.
เรือพระราชพิธี. กรุงเทพฯ: โครงการสืบสานมรดกวัฒนธรรมไทย, ๒๕๔๘.
ศานติ ภักดีคำ. พระเสด็จโดยแดนชล: เรือพระราชพิธีและขบวนพยุหยาตราทางชลมารค. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๖๒.
การขออนุญาตส่งหรือนําโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุ หรือชิ้นส่วนของโบราณวัตถุ หรือชิ้นส่วนของ
ศิลปวัตถุในความครอบครองของกรมศิลปากรออกนอกราชอาณาจั กร เพื่อการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
ซ่อมแซม หรือประกอบการเป็นการชั่วคราว รวมทั้งการนําไปแปรสภาพ หรือทําลายโดยกระบวนการ
วิเคราะห์โดยไม่นํากลับเข้ามา
ชื่อเรื่อง : ปริวรรตภาษาชื่อบ้านนามเมือง ผู้แต่ง : เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ ปีที่พิมพ์ : 2548 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : โซตนา พริ้นท์ ปริวรรตภาษาชื่อบ้านนามเมือง เปรียบเสมือนการนำองค์ความรู้ที่ได้ข้อสรุปจากนักวิชาการหลายสาชา มาเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ เพื่ออธิบายถึงข้อมูลความเป็นมาและความหมายของการเขียนชื่อเมือง “หริภุญไชย”-“หริภุญชัย” ว่าเหตุใดจึงมีการเขียนเป็นสอบแบบ และแบบใดใช้ในเงื่อนไขใด ด้วยเหตุผลใด ที่จะส่งผลให้ประชาชนหายสงสัยในการเขียนชื่อเมืองของลำพูน นอกจากนี้แล้วยังมีคุณค่าเสมือนสารานุกรม หรืองานวิจัยทางวิชาการ สามารถใช้ค้นคว้าอ้างอิงต่อไปได้ในอนาคต
พิพิธภัณฑสถานถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในดินแดนสยามหรือประเทศไทย ตั้งแต่ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีพิพิธภัณฑสถานส่วนพระองค์ ณ พระที่นั่งราชฤดี โดยเป็นที่จัดตั้งแสดงสิ่งสะสมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงรวบรวมไว้ตั้งแต่ครั้งก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายสิ่งของจัดแสดงมาไว้ยังพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ในหมู่พระอภิเนาวนิเวศน์ อันเป็นที่มาของคำว่า "พิพิธภัณฑ์" ในเวลาต่อมา
เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ จากพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ มาจัดแสดงในหอมิวเซียม (Museum) ณ หอคองคอเดีย ซึ่งเป็นอาคารใหม่ภายในพระบรมมหาราชวัง โดยมีพิธีเปิด หอมิวเซียม หรือพิพิธภัณฑสถานหอคองคอเดีย เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๔๑๗ ถือเป็นวันกำเนิดพิพิธภัณฑสถานของชาติแห่งแรกในราชอาณาจักรไทย เพราะเป็นพิพิธภัณฑสถานของหลวงหรือทางราชการที่จัดตามหลักวิชาการสากล และเปิดให้ประชาชนเข้าชมเฉพาะในการเฉลิมพระชนมพรรษาต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
ปีพุทธศักราช ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้าย “มิวเซียม” จากพระบรมมหาราชวังไปจัดตั้งในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) โดยใช้พระที่นั่งส่วนหน้าสามองค์เป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุ คือ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทธไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้พระราชทานอาคารหมู่พระวิมานทั้งหมดรวมเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร
นับเนื่องจากนั้นเป็นต้นมา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้รับการจัดตั้ง สืบทอด และพัฒนาเรื่อยมาทุกยุคทุกสมัย สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในสังกัดกรมศิลปากร ยังมีพิพิธภัณฑสถานทั้งที่เป็นของภาครัฐและเอกชนในประเทศไทยมากมาย ไม่ว่าจะเป็น พิพิธภัณฑ์สถานศึกษา พิพิธภัณฑ์ชุมชน พิพิธภัณฑ์วัด พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ของคนในชาติ โดยเฉพาะเยาวชนที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติต่อไปในอนาคต ด้วยเหตุนี้คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘ ประกาศให้วันที่ ๑๙ กันยายน ของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทยเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานขึ้นในประเทศไทย
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ ได้มุ่งเน้นพัฒนาและปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สู่การเป็น “พิพิธภัณฑสถานมีชีวิต”มีความทันสมัย และมีกิจกรรมเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการจัดแสดงและการให้บริการ อาทิ เทคโนโลยี AR Code , QR Code , Virtual Museum รวมไปถึงระบบจัดเก็บ การสืบค้นข้อมูลโบราณวัตถุ การเชื่อมโยงข้อมูลผ่านฐานข้อมูลของแต่ละพิพิธภัณฑ์ การนำเข้าส่งออกโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุด้วยระบบ National Single Windows ตลอดจนการจัดกิจกรรมรถพิพิธภัณฑ์สัญจรไปยังสถานศึกษาต่างๆ รวมทั้งสถานศึกษาผู้บกพร่องทางสายตาและผู้พิการอื่นๆ ด้วย
การจัดสร้างหม้อนามนต์ประดับมุกกลุ่มวิชาการด้านช่างศิลปะไทย สานักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ๒๕๕๓
สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ร่วมรณรงค์ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรน่าภายในบริเวณสำนักงาน โดยให้บริการสบู่เหลวล้างมือและหน้ากากอนามัยแก่เจ้าหน้าที่ และผู้มาติดต่อราชการ เพื่อลดอัตราเสี่ยงการติดเชื้อดังกล่าว
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์
ได้จัดแสดงศิลปะวัตถุ โบราณวัตถุ
แบ่งเป็น 4 ส่วนการจัดแสดง ได้แก่
1. ห้องจัดแสดง ยุคก่อนประวัติศาสตร์การจัดแสดงในส่วนห้องก่อนประวัติศาสตร์นี้ ได้จัดแสดงโบราณวัตถุที่เป็นเครืองมือเครื่องใช้สำหรับการดำรงชีพในยุคก่อนประวัะติศาสตร์ โดยแบ่งเป็น 2 ยุคด้วยกัน คือ ยุคหิน และ ยุคโลหะ โดยมีโบราณวัตถุที่จัดแสดงอาทิ ขวานหิน อายุราว 5,000 ปี มีดโลหะในยุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,000 ปี เป็นต้น โดยขุดค้นพบในจังหวัดนครปฐมและพื้นที่ใกล้เคียง2. ห้องจัดแสดงการรับวัฒนธรรม อารยะธรรม เข้าสู่เมืองนครปฐมโบราณสำหรับการจัดแสดงในส่วนของห้องการรับอารยะธรรมจากภายนอกเข้าสู่เมืองนครปฐมโบราณนี้จัดแสดงถึงที่ตั้งของเมืองนครปฐมโบราณรวมถึงการรับวัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อจากชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาค้าขายที่เมืองนครปฐมโบราณ
เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมเป็นประธานเปิดงานโครงการวัฒนธรรมสัญจร สำหรับคณะทูตานุทูต ครั้งที่ 10 ณ พิพิธภัณฑ์บ้านดำ ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย โดยมีข้าราชการสังกัดกรมศิลปากร นำโดย นางประนอม คลังทอง รองอธิบดีกรมศิลปากร นายสุพจน์ พรหมมาโนจ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียง พร้อมด้วยคณะข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัด ให้การต้อนรับและเตรียมการตรวจเยี่ยมพื้นที่
เว็ปไซต์หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ยะลา : www.finearts.go.th/yalaarchives
ประวัติการก่อตั้ง
พ.ศ. 2532 ร.ต. อนุกูล สุภาไชยกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้มอบหมายให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา (นายภิญโญ เฉลิมนนท์) รับผิดชอบประสานงานเกี่ยวกับการขอใช้ที่ดินราชพัสดุบริเวณหน้าโรงเรียนสตรียะลา มีเนื้อที่ประมาณ 9 ไร่ เพื่อสร้างอาคารสำนักงานการศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม โดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติงบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารในบริเวณที่ดินแปลงดังกล่าว
พ.ศ. 2535 กระทรวงศึกษาธิการได้พิจารณาเห็นว่าส่วนราชการต่าง ๆ มีเอกสารที่ใช้แล้วเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถทำลายเอกสารต่าง ๆ เหล่านั้นได้ เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจวิธีการทำลายตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 จึงได้อนุมัติให้ขยายงานกองจดหมายเหตุ กรมศิลปากรมายังส่วนภูมิภาค โดยจัดตั้งสำนักงานหอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคที่เขตการศึกษาและจังหวัด ซึ่งกรมศิลปากรได้ประกาศจัดตั้งหน่วยงานหอจดหมายเหตุแห่งชาติในส่วนภูมิภาค จำนวน 12 หน่วยงาน ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2535
กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ได้ขอพระราชานุญาตใช้ชื่อ "หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาุ ยะลา" เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พ.ศ. 2535 และได้รับพระราชทานพระราชานุญาต เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 และจากนั้นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคาร เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2536
เมื่อก่อสร้างอาคารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 แล้วเสร็จในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 14,700,000 บาท เปิดทำการตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยมีนายประเสริฐโชค พุงใจ ตำแหน่ง นักจดหมายเหตุ 5 ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2536 (โดยในเบื้องต้นได้อาศัยอาคารสำนักงานการศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรมเป็นที่ทำการชั่วคราว)
พ.ศ. 2548 นายประเสริฐโชค พึงใจ หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา ได้ย้ายไปปฏิบัติราชการในตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรม 6 ว สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ กระทรวงวัฒนธรรม และกรมศิลปากรได้แต่งตั้งนางสาวกษมาณัชญ์ นิติยารมย์ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 6 ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักศิลปากรที่ 13 สงขลา รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา อีกหน้าที่หนึ่งตามคำสั่งกรมศิลปากรที่ 577/2558 ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2548
พ.ศ. 2550 กรมศิลปากรได้แต่งตั้ง นายวิโรจน์ ศรีไสย นักวิชาการวัฒนธรรม 7 ว สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา กระทรวงวัฒนธรรม ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา ตามคำสั่งกรมศิลปากรที่ 196/2550 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2555 นายวิโรจน์ ศรีไสย ตำแหน่ง นักจดหมายเหตุชำนาญการ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา ขอโอนไปดำรงตำแหน่งนักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ กลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และกรมศิลปากรให้โอนตัดตำแหน่งได้ ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555
กรมศิลปากรได้แต่งตั้งนางสาวกษมาณัชญ์ นิติยารมย์ ตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักศิลปากรที่ 13 สงขลา รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา อีกหน้าที่หนึ่ง ตามคำสั่งกรมศิลปากรที่ 1016/2555 ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555 ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555
และต่อมากรมศิลปากรได้มีคำสั่งที่ 87/2556 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ย้ายข้าราชการ นางสาวกษมาณัชญ์ นิติยารมย์ ตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ ตำแหน่งเลขที่ 525 ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักศิลปากรที่ 13 สงขลา ให้ดำรงตำแหน่ง นักจดหมายเหตุชำนาญการ ตำแหน่งเลขที่ 1258 หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ/ภารกิจ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ยะลา เป็นที่เก็บรักษา อนุรักษ์ และให้บริการ การศึกษา การค้นคว้าหรือวิจัยเอกสารจดหมายเหตุ ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล และมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติจดหมายเหตุ พ.ศ. 2556 ซึ่งได้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ดังนี้
1. เก็บรักษาและอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุ
2. ติดตาม รวบรวม หรือรับมอบเอกสารจดหมายเหตุจากหน่วยงานของรัฐ
3. จัดหา ซื้อ หรือรับบริจาคเอกสารที่มีคุณค่าเป็นเอกสารจดหมายเหตุจากเอกชน
4. จัดหมวดหมู่และจัดทำเครื่องมือช่วยค้นเอกสารจดหมายเหตุ
5. จดบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพระราชพิธี รัฐพิธี และศาสนพิธี
6. รวบรวมเอกสารเหตุการณ์สำคัญของชาติ
7. จัดทำบันทึกประวัติศาสตร์บอกเล่าโดยพิจารณาให้ครอบคลุมข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน
8. ให้บริการการศึกษา การค้นคว้า หรือการวิจัยเอกสารจดหมายเหตุ
9. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ จัดให้มีสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ นิทรรศการ และกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุ
10. สนับสนุนด้านวิชาการแก่หอจดหมายเหตุของหน่วยงานของรัฐ หอจดหมายเหตุท้องถิ่น และหอจดหมายเหตุเอกชน
11. ดำเนินการอื่นตามที่อธิบดีมอบหมาย
ภาพบรรยากาศในกิจกรรมของขวัญจากรัฐบาลถึงประชาชน โดยกระทรวงวัฒนธรรม มอบความสุขแบบวิถีไทย ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๓ ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ - ๑ มกราคม ๒๕๖๓ เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมโดยไม่เก็บค่าธรรมเนียม และร่วมสักการะพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดสุรินทร์ พร้อมรับโปสการ์ด