ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ





องค์ความรู้ของสำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น เรื่อง ธาตุปูนอีสาน เรียบเรียงโดย นางสาวทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น


     กรมศิลปากรได้รับมอบหมายจากกระทรวงวัฒนธรรมให้จัดพิมพ์หนังสือ “ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ สุโขทัยเมืองมรดกโลก” เพื่อเป็นคู่มือในการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับประเพณีลอยกระทง เนื้อหาของหนังสือนี้ประกอบด้วย เรื่องความเป็นมา ตำนาน และคติความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทง เรื่องงานประเพณี “ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย” มรดกไทยสู่มรดกโลก และเรื่องประเพณี “ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย” ในมิติเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ      กรมศิลปากรหวังว่าหนังสือ “ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ สุโขทัย เมืองมรดกโลก”จะเป็นสื่อในการสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทง อันจะส่งเสริมให้คนไทยรักและหวงแหนในมรดกวัฒนธรรมของชาติโดยทั่วกัน


       เหรา หนึ่งสัตว์หิมพานต์ประดับงานศิลปกรรมไทย      เหรา (อ่านว่า เห-รา) เป็นสัตว์หิมพานต์ประเภทหนึ่ง มีประวัติว่า เหรา เป็นลูกของพญานาค และมีแม่คือมังกร ดังความที่ปรากฏในบทดอกสร้อย บทหนึ่ง กล่าวว่า   ๏ เจ้าเอยเหรา  รักแก้วข้าเหราเอ๋ย บิดานั้นนาคา มารดานั้นเป็นมังกร มีตีนทั้งสี่ หน้ามีครีบหลังมีหงอน เป็นทั้งนาคทั้งมังกร เรียกชื่อว่าเหราเอย ฯ        กล่าวกันว่าเหรามีลักษณะคือ ส่วนหัวและตัวเป็นนาค มีเท้าและหนวดเป็นมังกร และมีอีกชื่อหนึ่งว่า “เหราพต” อย่างไรก็ตามเอกสารบางฉบับกล่าวว่า ลักษณะของเหราในศิลปะไทยนั้นไม่ปรากฏ เขา หนวด และเครา อย่างมังกรจีน แต่กลับมีฟันหรือเขี้ยวคล้ายจระเข้ ดังนั้นเหราที่ปรากฏในงานศิลปกรรมไทยจึงน่าจะเป็นการผสมรูปแบบระหว่าง จระเข้ (ส่วนหัวและเท้า) กับนาค (ลำตัวและหาง) มากกว่า        ตัวเหรานั้นเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏชื่อเรือลำหนึ่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคสมัยสมเด็จพระนารายณ์ นามว่า เรือเหรา ปัจจุบันตัวเหรายังปรากฏในรูปแบบงานประติมากรรมประดับสถาปัตยกรรม เช่น ประติมากรรมเหราบริเวณราวบันได ประติมากรรมเหราประดับชั้นหลังคาส่วนปลายของสันตะเข้ ส่วนประกอบของซุ้มหน้าบัน บริเวณปลายของรวยระกา ที่เรียกว่า “รวยระกาเหรา”        สำหรับที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีตัวอย่างงานศิลปกรรมที่ปรากฏรูปจำหลัก “เหรา” ได้แก่    แผงพระพิมพ์ไม้      แผงพระพิมพ์ไม้ จำหลักลาย ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ จัดแสดงอยู่ที่ มุขเด็จในหมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นงานจำหลักไม้รูปเหราคายนาคที่ส่วนปลายรวยระกาของกรอบหน้าบัน ตู้พระธรรมขาหมูลงรักประดับมุก      ตู้พระธรรมขาหมูลงรักประดับมุก ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๓ จัดแสดงอยู่ที่ มุขหน้าพระที่นั่งพรหมเมศธาดา ในหมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ฝาตู้ด้านซ้ายมีงานประดับมุกรูปเหรา พระวอ      พระวอ ศิลปะธนบุรี-รัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ จัดแสดงอยู่ที่ พระที่นั่งภิมุขมณเฑียร ในหมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นงานไม้จำหลักรูปเหราคายนาค ส่วนปลายรวยระกาของชั้นหลังคาพระวอ  เขนง       เขนง (เครื่องเป่าบอกอาณัติสัญญาณในการศึก หรือภาชนะใส่ดินปืน) งาช้างจำหลักลายเหรา ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕ จัดแสดงอยู่ที่ พระที่นั่งบูรพาพิมุข ในหมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ลักษณะเป็นงาช้างจำหลักรูปเหราปรากฏส่วนหัว ลำตัวและเท้าของเหรา   อ้างอิง กรมศิลปากร. สมุดภาพสัตว์หิมพานต์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๖๑. สมคิด จิระทัศนกุล. อภิธานศัพท์ช่างสถาปัตยกรรมไทย เล่ม ๔ องค์ประกอบ “ส่วนหลังคา”. กรุงเทพฯ: คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๙. สมใจ นิ่มเล็ก. สรรพสัตว์ ในงานสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๗.    


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.36/1-2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


พฺรยาสุนนฺทราช (พฺรยาสุนนฺทราช)  ชบ.บ.67/1-1ง  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-นครกัณฑ์) สพ.บ.                                  415/11ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           42 หน้า กว้าง 4.6 ซม. ยาว 55.7 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           เทศน์มหาชาติ                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.288/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 121  (258-265) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์(8หมื่น) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ละครเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวยแตกทัพ รอบพิเศษชุดศิลปินชาย วันเสาร์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๕ ชุดศิลปินหญิง วันอาทิตย์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๕เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ โรงละครแห่งชาติกำกับการแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ บัตรราคา ๒๐๐, ๑๕๐, ๑๐๐ บาท เริ่มจำหน่ายบัตรตั้งแต่วันนี้ ณ ห้องจำหน่ายบัตร โรงละครแห่งชาติ (เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๕.๓๐ น.) และจำหน่ายบัตรออนไลน์ที่ https://ntt.finearts.go.th (เปิดด้วยโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ อาทิ Safari, Google Chrome, Firefox, Internet Explorer)***ท่านที่ซื้อบัตรชมการแสดงทั้งสองรอบจะได้รับของที่ระลึกสุดพิเศษจากศิลปิน กรมศิลปากรหมายเหตุ บัตรชมการแสดงที่ซื้อไปแล้วยังสามารถใช้ได้ดังเดิม หรือจะนำมาเปลี่ยนที่ได้ในวันแสดง หากประสงค์จะคืนบัตร สามารถคืนและรับเงิน ณ ห้องจำหน่ายบัตร โรงละครแห่งชาติ ในวันจันทร์ที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๕ - วันศุกร์ที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๕ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑#การจัดการแสดงอยู่ภายใต้มาตรการป้องกันโรคตามแผนมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยและมาตรการที่ทางราชการกำหนด


ชื่อเรื่อง                     นิทานย่านสุพรรณครั้งที่พิมพ์                  2ผู้แต่ง                       กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นหมวดหมู่                   ประเพณี ขนบธรรมเนียมเลขหมู่                      398.2 ว546นสถานที่พิมพ์               กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์                 คุรุสภาลาดพร้าวปีที่พิมพ์                    2526ลักษณะวัสดุ               58 หน้า หัวเรื่อง                     นิทาน                              นิทานพื้นบ้าน--สุพรรณบุรีภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                           “นิทานย่านสุพรรณ” เป็นกลอนสุภาพ เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับประวัติชื่อต่างๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน และให้ประโยชน์และความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน แล้วยังเป็นหนังสือส่งเสริมการอ่านระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น


          แหล่งภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์เขาหัวหมวก ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก พบภาพเขียนปรากฏอยู่บนก้อนหินโดดขนาดใหญ่วางตัวตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก มีหินก้อนเล็กรูปทรงสามเหลี่ยมวางอยู่ด้านบนคล้ายกับสวมหมวก จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก “เขาหัวหมวก”          ลักษณะภาพเขียนสีที่พบเขียนด้วยสีแดง กระจายตัวอยู่บนผนังก้อนหินใหญ่ ใช้เทคนิคการลงสีแบบโครงร่างภายนอก (outline) คือ การเขียนโครงร่างภายนอกเป็นเส้นกรอบรูปและปล่อยพื้นที่ภายในว่างหรือตกแต่งภายในด้วยลวดลายประกอบ และแบบการลงสีแบบเงาทึบ (silhouette) คือ การวาดโครงร่างและทาสีทับภายใน จากการสำรวจสามารถแบ่งกลุ่มภาพเขียนสีออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่          ๑. กลุ่มภาพบนผนังก้อนหินทิศเหนือ พบภาพเขียนสีแดงกระจายตัวอยู่เป็นจำนวนมากกว่าด้านอื่น ๆ ภาพที่พบส่วนใหญ่เป็นภาพลายเรขาคณิต เช่น เส้นตรง เส้นหยัก (ซิกแซค) เรียงกันในแนวตั้ง สภาพซีดจางและเลือนหายบางส่วน          ๒. กลุ่มภาพบนผนังก้อนหินทิศใต้ พบภาพเขียนสีแดงอยู่บริเวณที่มีร่องรอยของหินกะเทาะหลุดร่วง จำนวน ๓ ภาพ ภาพสัตว์ ๒ ภาพ หันหน้าไปทางทิศตะวันตก เป็นสัตว์มีเขาและโหนกบนสันหลังคล้ายกับ วัวป่า/กระทิง และภาพไม่ทราบรูปแบบที่แน่ชัด ๑ ภาพ          ๓. กลุ่มภาพบนผนังก้อนหินทิศตะวันตก พบภาพเขียนสีแดง ๖ ภาพ เป็นภาพสัตว์มีเขาและโหนกบนสันหลัง วัว/กระทิง หันหน้าไปทางทิศเหนือ คล้ายกับภาพที่พบบนผนังทิศใต้ และภาพที่ไม่สามารถระบุได้ แน่ชัด เนื่องจากมีสภาพซีดและเลือนลาง          การพบภาพเขียนสีดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าบริเวณเขาหัวหมวกน่าจะเป็นพื้นที่สำคัญของกลุ่มคนใน ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์และเป็นจุดสำคัญที่สามารถมองเห็นสภาพภูมิประเทศหรือภูเขาโดยรอบและพื้นที่บริเวณหุบเขาด้านล่างในมุมกว้าง ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับ การดำรงชีวิตหรือความเชื่อ เช่น การล่าสัตว์ สภาพธรรมชาติ จากการศึกษาเปรียบเทียบสันนิษฐานว่าภาพเขียนสีเขาหัวหมวกน่าจะเขียนขึ้นในช่วงสมัยสังคมกสิกรรม หรือเมื่อประมาณ ๓,๕๐๐ - ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว โดยภาพที่พบส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับภาพเขียนสีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทย เช่น ภาพวัวป่า/กระทิง มีการสำรวจพบที่เขาปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี ถ้ำผาฆ้อง ๒ จังหวัดเลย ภูถ้ำมโฬหาร จังหวัดเลย ถ้ำวัว อุทยานแห่งชาติภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี เขาวังกุลา จังหวัดกาญจนบุรี ภาพลายเรขาคณิตหรือลายเส้น เช่น เส้นตรง เส้นหยักฟันปลา (ซิกแซก) มีการสำรวจพบที่ถ้ำช้าง เพิงหินร่อง จังหวัดอุดรธานี ถ้ำแต้ม 4 จังหวัดอุบลราชธานี ถ้ำลายมือ ๑ จังหวัดขอนแก่น เขาพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี-------------------------------------------------------------ผู้จัดทำและเรียบเรียงข้อมูล : นางสาววิไลวรรณ อยู่ทองจุ้ย นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา


องค์ความรู้จากสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่เรื่อง "เวียงกุมกาม ปริศนาแห่ง ปิงเก่า กานโถม น้ำท่วม"เรียบเรียงโดย : นายสายกลาง จินดาสุ นักโบราณคดีชำนาญการ.     เวียงกุมกาม เมืองโบราณสำคัญของอาณาจักรล้านนาที่หลายคนขนานนามว่า “ราชธานีก่อนเมืองเชียงใหม่” ด้วยเป็นเมืองที่พญามังราย ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย สร้างขึ้นหลังจากยึดครองเมืองหริภุญชัย และก่อนการสถาปนาเมืองเชียงใหม่ นอกจากนั้น หลายท่านยังรู้จักเมืองแห่งนี้ในฉายาที่ชวนตื่นเต้นติดตามว่า “นครโบราณใต้พิภพ” เนื่องจากหลักฐานโบราณสถานวัดร้างอยู่ลึกกว่าผิวดินปัจจุบันร่วม 2.5 เมตร  เอกสารประวัติศาสตร์เกือบทุกฉบับกล่าวถึงการสร้างเวียงกุมกามโดยพญามังรายว่า สร้างในปี 1829 หลังจากที่ยึดครองเมืองหริภุญชัยได้ 2 ปี (มีเพียงเอกสารชินกาลมาลีปกรณ์ที่กล่าวว่า สร้างในปี 1846 ซึ่งน่าจะเป็นเนื้อหาและปีที่คลาดเคลื่อนเนื่องจากเอกสารระบุว่าสร้างขึ้นหลังการก่อสร้างเมืองเชียงใหม่ ในปี 1839).     ชื่อของเวียงกุมกาม ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ของล้านนาหลายฉบับ โดยปรากฏชื่อเรียกทั้ง “กูมกาม”  “กุมกาม” และ “เชียงกุ่มกวม”  เนื้อหาจากเอกสารประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นว่าพื้นที่เวียงกุมกามเป็นที่ลุ่มต่ำที่น่าจะประสบปัญหาน้ำท่วมตั้งแต่ก่อนที่พญามังรายจะสร้างเมือง บริเวณที่พญามังรายเลือกสร้างเมือง คือ บ้านเชียงกุ่มกวม โดยเอกสารระบุว่า “ตั้งอยู่บ้านเชียงกุ่มกวม แม่น้ำระมิงค์...”  เนื้อความดังกล่าวมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ หากลองเว้นวรรคคำใหม่ จะเห็นบริบทที่แสดงกายภาพเมือง คือ “ตั้งอยู่บ้านเชียงกุ่ม กวมน้ำแม่ระมิงค์” นั่นคือการตั้งเมืองของพญามังราย กวม หรือ คร่อมทับ แม่น้ำปิง.      ในครานั้นพญามังรายตั้งหมู่บ้าน 3 แห่ง คือ บ้านนกลาง บ้านลุ่ม และบ้านแห้ม จากนามบ้านพบว่า ชื่อ “บ้านลุ่ม” กับ “บ้านแห้ม” แสดงกายภาพการเป็นพื้นที่ที่น่าจะประสบเรื่องน้ำท่วมขัง (ภาษาล้านนา คำว่า “แห้ม” หมายถึง ลักษณะพื้นที่หรือสิ่งของที่กำลังกลายสภาพจากเปียกเป็นแห้ง).     ในการสืบค้นความเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่หลักฐานสำคัญชิ้นแรกที่ช่วยคลี่คลายอดีตของเวียงกุมกาม คือ ภาพถ่ายทางอากาศปี 2497 จากภาพถ่าย ปรากฏร่องน้ำที่ไหลผ่านเวียงกุมกาม 3 แนว คือ 1.ร่องน้ำที่ไหลผ่านด้านทิศตะวันตกขนาบลำน้ำปิงสายปัจจุบัน 2.ร่องน้ำที่ไหลผ่านกลางเวียง ด้านทิศตะวันตกของวัดกานโถมช้างค้ำ 3.ร่องน้ำที่ไหลผ่านทิศเหนือของเวียงกุมกามแล้วโค้งวกลงด้านตะวันออกเฉียงใต้.     หากท่านเคยไปเที่ยวชมเวียงกุมกาม จะสังเกตเห็นกายภาพหนึ่งที่ชวนสงสัย คือ ระดับชั้นดินเดิมของแต่ละวัดและความลึกในการทับถมของดินแตกต่างกันออกไป โดยบริเวณ วัดอีค่าง หนานช้าง ปู่เปี้ย กู่ป้าด้อม ที่อยู่บริเวณกลางเมือง มีระดับชั้นทับถมที่ลึกกว่าบริเวณอื่น คือ ลึก1.5 - 2.5 เมตร.     ประเด็นดังกล่าวได้ถูกไขให้กระจ่างด้วยจากการศึกษาทางธรณีวิทยา โดยการเจาะสำรวจชั้นตะกอนทรายลงไปที่ความลึก 10 เมตร (ตะกอนทรายคือดัชนีชี้ถึงการเป็นท้องน้ำเดิม) ซึ่งดำเนินการโดย รศ.ฟองสวาท สุวคนธ์ สิงหราชวราพันธ์ จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าบริเวณร่องน้ำที่ไหลผ่านกลางเวียง ด้านทิศตะวันตกของวัดช้างค้ำ (ร่องน้ำนี้ครอบคลุมพื้นที่ของวัดอีค่าง หนานช้าง ปู่เปี้ย กู่ป้าด้อม) ที่ระดับความลึก 8 - 10 เมตร พบตะกอนทรายกระจายเป็นพื้นที่กว้างเทียบเท่ากับความกว้างแม่น้ำปิงในปัจจุบัน และตะกอนทรายได้ค่อยๆลดความกว้างของแนวจนเริ่มตื้นเขินที่ความลึก 4 เมตร และสิ้นสภาพการเป็นลำน้ำที่ระดับความลึก 2 - 3 เมตร จึงได้กลายเป็นระดับที่ตั้งของวัดอีค่าง หนานช้าง ปู่เปี้ย กู่ป้าด้อม.     จึงสรุปได้ว่าร่องน้ำที่ไหลผ่ากลางเวียง คือแม่น้ำปิงสายที่มีอายุเก่าที่สุดของพื้นที่ ที่ได้สิ้นสภาพการเป็นลำน้ำลงและกลายเป็นพื้นที่ตั้งวัดทั้ง 4 แห่งในเวลาต่อมา.     ซึ่งเมื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาพิจารณาประกอบกับอายุสมัยของวัดทั้ง 4 แห่ง ที่กำหนดอายุอยู่ในช่วงต้น - กลางพุทธศตวรรษที่ 21 กล่าวได้ว่า ลำน้ำปิงสายที่ผ่ากลางเวียงกุมกามนี้น่าจะสิ้นสภาพไปก่อนต้นพุทธศตวรรษที่ 21 (จึงปรากฏวัดที่มีศิลปกรรมช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 ในบริเวณร่องน้ำปิงนี้) ขณะเดียวกันก็ได้เกิดแนวร่องน้ำปิงหลักสายใหม่ คือ ร่องน้ำปิงที่ไหลผ่านเวียงกุมกามทางทิศเหนือขึ้นมาแทนที่ พร้อมกับการเริ่มมีวัดและชุมชนขึ้นกระจายตามแนวน้ำปิงสายใหม่ ดังเห็นได้จากโบราณสถานของเวียงกุมกามที่ตั้งอยู่ตามแนวลำน้ำปิงสายใหม่ที่ไหลผ่านทางทิศเหนือของเมือง อาทิ วัดพญาเม็งราย วัดพระเจ้าองค์ดำ วัดอีค่าง วัดหนานช้าง วัดกุมกามทีปราม วัดหัวหนอง โดยทุกวัดล้วนแต่หันหน้าไปทางทิศเหนือเข้าหาแม่น้ำปิงสายนี้.     ผลการศึกษาทางธรณีวิทยาที่ยืนยันถึงแนวลำน้ำปิงที่มีอายุเก่าสุดที่ผ่ากลางเวียงกุมกาม ได้ช่วยไขปริศนาเกี่ยวกับทิศทางการหันหน้าของวัดกานโถม(ช้างค้ำ) ที่อยู่ในความสงสัยของนักประวัติศาสตร์ โบราณคดีมาเนิ่นนาน เนื่องด้วยเป็นเพียงวัดเดียวในเวียงกุมกามที่หันหน้าแตกต่างจากวัดอื่น โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ขณะที่วัดอื่นๆ ล้วนแต่หันไปทางทิศตะวันออกตามคติการสร้างวัดในล้านนา และหันไปทางทิศเหนือหรือตะวันออกเฉียงเหนือรับกับแม่น้ำปิงสายใหม่ที่เป็นเส้นทางคมนาคม เมื่อพิจารณาที่ตั้งของ วัดกานโถมช้างค้ำ พบว่าตั้งอยู่บริเวณริมน้ำปิงสายที่เก่าที่สุดที่ผ่ากลางเวียง ดังนั้นการหันหน้าไปทางทิศตะวันตก คือ การหันหน้าเข้าหาแม่น้ำปิงสายเดิมสายแรกของพื้นที่ที่น่าจะเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในเวลานั้นนั่นเอง.     จากที่กล่าวไปในข้างต้น จึงสรุปในตอนแรกนี้ได้ว่า เวียงกุมกามน่าจะสร้างคร่อมแนวลำน้ำปิงเดิม โดยมีวัดที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน คือ กู่คำ(วัดเจดีย์เหลี่ยม) และ วัดกานโถม(ช้างค้ำ) ที่หันหน้าเข้าหาร่องน้ำปิงเก่านี้.     จากข้อวิเคราะห์ในข้างต้น นำมาซึ่งประเด็นที่ต้องอภิปรายขยายความต่อในเรื่องกายภาพเมืองครั้งแรกสร้างว่า ในเมื่อความเป็นเวียงกุมกามตั้งอยู่ทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกของแม่น้ำปิงสายเก่าสายแรกสุด แล้วความเป็นเวียงที่เป็น คู-คันดิน ที่ปรากฏเห็นในภาพถ่ายทางอากาศและถูกกล่าวถึงในเอกสารประวัติศาสตร์หลายฉบับที่ว่า พญามังรายสร้างเมืองโดยขุดคูเมืองทั้งสี่ด้านและชักน้ำปิงเข้าคู เกิดขึ้นเมื่อใด.     เมื่อกลับมาตั้งต้นที่ภาพถ่ายทางอากาศปี 2497 จะเห็นแนวกำแพงเมือง - คูเมืองด้านทิศใต้ ทับร่องน้ำปิงสายเก่า(สายแรก) จากหลักฐานดังกล่าววิเคราะห์ได้ในทันทีว่า กำแพง - คูของเวียงกุมกาม ควรถูกสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 21 ที่ลำน้ำปิงสายเก่านี้ได้สิ้นสภาพไปแล้ว ดังนั้นเวียงกุมกามที่พญามังรายสถาปนาขึ้นในปี 1829 น่าจะมิได้มีกายภาพเมืองที่มีขอบเขตเป็นคูน้ำ - คันดิน แต่น่าจะมีสภาพเป็นชุมชนขนาดใหญ่ (โดยความเห็นส่วนตัว ผู้เขียนคิดว่าพญามังรายมิได้ตั้งใจสร้างเวียงกุมกามให้เป็นราชธานี แต่พญามังรายอาจมีหมุดหมายในใจเป็นพื้นที่บริเวณเมืองเชียงใหม่หรือบริเวณที่ราบระหว่างดอยสุเทพและแม่น้ำปิงมาแต่เดิม แต่การมาใช้พื้นที่เวียงกุมกามอาจเป็นการมาปักหลักอิทธิพลในพื้นที่บริเวณนี้เพื่อรอเวลาที่เหมาะสมในการสร้างเมืองเชียงใหม่).     และมาถึงประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้เวียงกุมกามถูกพูดถึงและเป็นที่รู้จักอย่างมาก คือ ความเข้าใจที่ว่าเวียงกุมกามเป็นเมืองที่ร้างไปจากสาเหตุน้ำท่วมใหญ่.     ประเด็นนี้ได้รับการพิสูจน์โดยการศึกษาชั้นดินทับถมทางโบราณคดีโบราณสถานในเวียงกุมกาม ซึ่งพบว่า เหตุการณ์น้ำท่วมได้เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การทิ้งร้างพื้นที่.     กล่าวคือ ชั้นดินจากการขุดค้นโบราณสถานหลายแห่งพบชั้นปรักหักพังของสิ่งก่อสร้างของโบราณสถานอยู่ใต้ชั้นดินน้ำท่วม(คนละชั้นดิน) แสดงให้เห็นว่า ณ ช่วงเวลาหนึ่ง โบราณสถานได้ขาดการทำนุบำรุงไปก่อนหน้า (สาเหตุที่จะทำให้โบราณสถานขาดการดูแลได้ทั่วทั้งเมือง คงมาจากการอพยพของชาวเมืองไปจากพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งน่าจะมีเหตุปัจจัยจากการศึกสงคราม) ทำให้โบราณสถานถูกทิ้งร้าง เมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่ในเวลาต่อมา น้ำจึงพัดพาตะกอนดินมาทับถมซากปรักหักพังของโบราณสถานที่อยู่บนพื้นใช้งานเดิม หลักฐานจากการขุดทางโบราณคดีที่วัดหนานช้าง คือตัวอย่างที่สามารถวิเคราะห์ช่วงเวลาการเกิดน้ำท่วมใหญ่ได้ว่าเกิดในห้วงพุทธศตวรรษที่ 22 สิ่งที่ช่วยยืนยันห้วงเวลาการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวคือ การฝังไหที่มีเครื่องถ้วยจีนและเครื่องใช้สำริดบรรจุอยู่กว่า 51 รายการ ใต้ผิวดินของวัด โดยหนึ่งในจำนวนนั้น คือ เครื่องถ้วยเขียนสีครามใต้เคลือบ ลายนกฟีนิกซ์ (บ้างเรียกว่าลาย “หงส์”) ที่ก้นเครื่องถ้วยปรากฏตราประทับอักษรจีนความว่า “ต้า หมิง วัน ลี่”  นั่นคือ เครื่องถ้วยชิ้นนี้ถูกทำขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าวันลี่แห่งราชวงศ์หมิงที่ครองราชย์ในปี 2116 - 2162 เมื่อเครื่องถ้วยชิ้นนี้อยู่ใต้ชั้นทับถมของตะกอนน้ำท่วม จึงหมายความว่า เหตุการณ์น้ำท่วมต้องเกิดขึ้นหลังห้วงเวลาของเครื่องถ้วยชิ้นนี้ คือ เกิดขึ้นในปีใดปีหนึ่งระหว่าง พ.ศ.2116 - 2162 หรือ อาจเกิดขึ้นหลัง พ.ศ.2162 จากหลักฐานดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า เวียงกุมกามได้ร้างลงไปก่อนหน้าเหตุกาณ์น้ำท่วมใหญ่ในปลายพุทธศตวรรษที่ 22.     ทั้งหมดนี้ คือเรื่องราวในร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดี ผ่านสายน้ำปิง โบราณสถาน และชั้นดินทับถม ดังชื่อตอน “เวียงกุมกาม :  ปิงเก่า กานโถม น้ำท่วม”


ชื่อผู้แต่ง        ทัศนัยย์ พิกุลและศรีอุทัย เศรษฐพานิช ชื่อเรื่อง         หอสมุดแห่งชาติสาขาวัดดอนรัก สงขลา และวัดดอนรัก จังหวัดสงขลา ครั้งที่พิมพ์     -         สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์     ศักดิ์โสภาการพิมพ์ ปีที่พิมพ์        2525 จำนวนหน้า    20 หน้า รายละเอียด              หนังสือที่ระลึกเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จำระเจ้าอยู่หัว (ร.๙)ทรงโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามกุฏราชกุมาร (ร.๑๐)เสด็จพระราชดำเนินแทน ทรงประกอบพิธีเปิดอาคารหอสมุดแห่งชาติสาขา วัดดอนรัก เมื่อ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๕ เนื้อหาประกอบด้วยประวัติจัดตั้งหอสมุดแห่งชาติวัดดอนรักและประวัติวัดดอนรัก



Messenger