ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
ชื่อเรื่อง เสด็จประพาสจันทบุรี ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยวเลขหมู่ 915.932 จ247สกสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์สหกรณ์แห่งประเทศไทยปีที่พิมพ์ 2508ลักษณะวัสดุ 78 หน้า หัวเรื่อง จันทบุรี -- ภูมิประเทศ – นำเที่ยว จันทบุรี -- ความเป็นอยู่และประเพณีภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จประพาสชายทะเลฝั่งตะวันออกจังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่อง โพธิปกฺขิยธมฺม (โพธิปักขิยธรรม เผด็จ)สพ.บ. 146/1กประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 56 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 54 ซ.ม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา--เทศนา วรรณคดีพุทธศาสนา บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง โคลงกวีโบราณ
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ นิวสเตนซิลการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๖
จำนวนหน้า ๗๖ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฉลองกุฎิคณะกลาง ก.๒ วัดพระเชตุพนฯ พระนคร ๒๙ มีนาคม ๒๕๐๖
โคลงกวีโบราณเป็นหนังสือที่รวบรวมโคลงของกวีที่มีชื่อเสียงแต่โบราณหลายท่าน เป็นโคลงที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา บางโคลงก็บอกว่าเป็นพระราชนิพนธ์ แต่ไม่ทราบว่าพระราชนิพนธ์รัชกาลไหน บางโคลงก็บอกว่าเป็นของพระมหาราชบ้าง พระเทวีบ้าง และพระเยาวราชบ้าง แต่ก็ยังไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าท่านเหล่านั้นเป็นใครและอยู่ในรัชกาลไหน
ต้นฉบับประชุมโคลงกวีโบราณ ซึ่งได้มาจากพระราชวังบวรฯ มีบานแพนกว่า “ข้าพระพุทธเจ้าพญาตรัง จ่าโคลงบุราณไว้ได้ถวาย” พระยาตรังคนนี้เป็นกวีมีชื่อเสียงคน๑ เมื่อในรัชกาลที่ ๒ได้แต่โคลงนิราศไว้เรื่องหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “นิราศพระยาตรัง”
ยาแก้ไข้และยาแก้งูกัด ชบ.ส. ๑๒๓
พระครูวิจิตรธรรมรัตน์ เจ้าอาวาสวัดนามะตูม ต.นามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๓ มิ.ย. ๒๕๕0
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.34/1-5
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
กรมศิลปากร ขยายเวลาจัดแสดงนิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ประจำปี ๒๕๖๔ "ศักย ขุนพลพิทักษ์" ถึงวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ณ อาคารนิทรรศการ ๔ พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเรียนรู้เทคนิคการเขียนภาพเหมือนของจิตรกรเอกของกรมศิลปากรได้มีเวลาในการเข้าชมมากขึ้น นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร ได้จัด นิทรรศการพิเศษในโครงการเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโสประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ เพื่อเชิดชูเกียรติศิลปิน “ศักย ขุนพลพิทักษ์” อดีตผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ศิลปินผู้ประสานจิตรกรรมไทยและตะวันตกเข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยกำหนดจัดนิทรรศการถึงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๔ แต่เนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ทำให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ปิดให้บริการไประยะหนึ่ง และขณะนี้มติที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๑๖/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๔ เห็นชอบมาตรการผ่อนคลายการดำเนินการกิจการและกิจกรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งรวมถึงพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถาน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น รวมถึงพิพิธภัณฑ์ในลักษณะเดียวกัน แหล่งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โดยให้เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๔ กรมศิลปากรจึงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในพื้นที่กรุงเทพมหานครตั้งแต่วันที่ ๑๖ มิถุนายน เป็นต้นไป และขยายเวลาการจัดแสดงนิทรรศการพิเศษเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส ศักย ขุนพลพิทักษ์ ไปจนถึงวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ พร้อมย้ำให้ทุกหน่วยงานดำเนินตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด นายศักย ขุนพลพิทักษ์ ถือเป็นบุคคลหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในแวดวงศิลปะแนวภาพเหมือน เชี่ยวชาญทั้งในงานจิตรกรรมภาพเหมือนบุคคลแบบสากลและงานจิตรกรรมไทย เป็นศิลปินที่สามารถเขียนภาพจิตรกรรมไทยแบบดั้งเดิมและภาพจิตรกรรมแบบใหม่ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ได้อย่างลงตัว โดยฝากฝีมือการออกแบบเขียนภาพจิตรกรรมไทยในวัดสำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศไว้เป็นจำนวนมาก นิทรรศการครั้งนี้ได้รวบรวมผลงานการสร้างสรรค์ทางด้านทัศนศิลป์ ทั้งที่อยู่ในความครอบครองของกรมศิลปากร ผลงานในครอบครองของครอบครัวขุนพลพิทักษ์ และผลงานในครอบครองของเอกชน โดยเป็นงานจิตรกรรม จำนวน ๓๑ รายการ และประติมากรรม จำนวน ๔ รายการ นอกจากนี้ยังมีผลงานร่วมจัดแสดงภายในนิทรรศการจากศิลปินทรงคุณวุฒิ อาทิ อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติ ศาสตราจารย์เกียรติคุณพงศ์เดช ไชยคุตร ศาสตราจารย์เกียรติคุณรสริน กาสต์ สมภพ บุตราช ศิลปินรับเชิญ และศิลปินสำนักช่างสิบหมู่ รวมทั้งสิ้น ๕๒ รายการ นำมาจัดแสดงเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและเผยแพร่เกียรติคุณของศิลปินอันทรงคุณค่าของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และของประเทศ ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการได้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
องค์ความรู้ เรื่องวันอาสาฬหบูชา การบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๘
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (ก่อนวันเข้าพรรษา ๑ วัน) ในปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์
ที่ ๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓
คำว่า “อาสาฬหบูชา” ย่อมาจากคำว่า “อาสาฬหบุรณมีบูชา” หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ (ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลัง)
วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง ในโอกาสเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธองค์
ทรงประกาศพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก โดยแสดงปฐมเทศนา คือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร เป็นผลให้เกิดพระอริยสาวกสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา จึงถือได้ว่าเป็นวันแรกที่ครบองค์พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน ๖ หรือที่รู้จักว่าคือวันวิสาขบูชา
ต่อมาทรงคำนึงว่า ธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก ทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ที่เคยมีอุปการคุณแก่พระองค์ จึงเสด็จออกจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เดินทางไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ถึงในตอนเย็นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ประทับแรมอยู่กับปัญจวัคคีย์ ในวันรุ่งขึ้นเป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หรือเดือนอาสาฬหะ พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ ต่อจากนั้นทรงแสดงอริยสัจ ๔ คือ หลักความจริงของชีวิตที่จะช่วยให้คนพ้นจากห้วงความทุกข์ ๔ ประการ ได้แก่
ทุกข์ หมายถึง ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
สมุทัย หมายถึง เหตุให้เกิดทุกข์ คือความอยากต่างๆ
นิโรธ หมายถึง ความดับทุกข์ คือ นิพพาน
มรรค หมายถึง ทางที่จะปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
หลังจากพระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาแล้ว ท่านโกณฑัญญะ ซึ่งเป็นหัวหน้าปัญจวัคคีย์มีความเข้าใจหลักธรรมของพระพุทธองค์ก่อนผู้ใด จึงทูลขออุปสมบทเป็นคนแรก นับเป็น “ปฐมสาวก” พระพุทธองค์ประทานอนุญาต จึงนับว่าท่านโกณฑัญญะเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา
แต่เดิมวันนี้ไม่มีพิธีใดเป็นการพิเศษ คงเนื่องมาจากเป็นวันก่อนวันเข้าพรรษาเพียงวันเดียว
และพุทธศาสนิกชนก็ทำบุญตักบาตรในวันพระเป็นปกติอยู่แล้ว ต่อมาพุทธศักราช ๒๕๐๑ พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) ขณะดำรงตำแหน่งสังฆมนตรี ได้เสนอให้เพิ่มวันศาสนพิธีทำพุทธบูชาอีกวันหนึ่ง คือ
วันอาสาฬหบูชาหรือวันธรรมจักร ด้วยเป็นวันสำคัญที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมที่เรียกว่า ธรรมจักกัปปวัตนสูตร คณะสังฆมนตรีลงมติรับหลักการดังกล่าว และเสนอให้รัฐบาลเห็นชอบ จากนั้นจึงนำความกราบบังคมทูล
พระกรุณาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ขอพระราชทานพระบรมราชานุมัติ และต่อมาจึงออกประกาศคณะสงฆ์ เรื่อง กำหนดวันสำคัญทางศาสนา เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๑ กำหนดระเบียบปฏิบัติการบำเพ็ญกุศลในวันอาสาฬหบูชาเพื่อให้ทุกวัด
ถือปฏิบัติโดยทั่วกัน สืบมาตราบจนถึงทุกวันนี้
.......................................................................
อรวรรณ ทรัพย์พลอย
นักอักษรศาสตร์เชี่ยวชาญ
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอักษรศาสตร์
(ประวัติศาสตร์และจารีตประเพณี)
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
ค้นคว้าเรียบเรียง
....................
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วันอาสาฬหบูชา วัดสระกระเทียม
เครดิตภาพ ธวัชชัย รามนัฎ
ชื่อเรื่อง มาเลยฺยสูตฺต (มาลัยสุตร) สพ.บ. 412/5หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง พุทธศาสนา มาลัยสูตรประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 57.2 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี