ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง ธาตุ แง่พุทธศาสนา ธรรมเทศนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 28 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากพระครูวิมลสังวร วัดแค ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.35/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 62 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 20 (205-216) ผูก 7หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.60/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 26 หน้า ; 3.7 x 53 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 39 (382-387) ผูก 4หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ในภาคใต้ได้พบเครื่องประดับที่แกะลายลึกลงไปในเนื้อหินแบบที่เรียกว่า Intaglio ทั้งในฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย ยกตัวอย่างเช่น ฝั่งอันดามันที่แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง จังหวัดระนอง เมืองท่าที่เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙ พบเครื่องประดับทำจากหินคาร์เนเลียนและอาเกต แกะสลักรูปบุคคลโรมัน รูปคนขี่ม้า และรูปม้า ที่แหล่งโบราณคดีคลองท่อม (ควนลูกปัด) จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นเมืองท่าที่เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙ เครื่องประดับที่พบทำจากหินคาร์เนเลียนและหินตระกูลควอร์ทซ์ แกะเป็นรูปบุคคลเลียนแบบศิลปะโรมัน และรูปสัตว์ คือ ไก่คู่ และโค สำหรับในฝั่งอ่าวไทยพบที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร เมืองท่าที่เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓– ๙ แกะเป็นรูปสัตว์และสัญลักษณ์มงคล อาทิ สิงห์ ตรีรัตนะหรือนนทิบาท และศรีวัตสะ เป็นต้น และที่แหล่งโบราณคดีโคกทอง ซึ่งเป็นเมืองท่าที่เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖– ๙ แกะเป็นรูปสัตว์และสัญลักษณ์มงคล คือ โคหมอบ และสวัสดิกะ ส่วนเครื่องประดับที่แกะเป็นลายนูนต่ำ หรือ Cameo พบเพียงชิ้นเดียวที่แหล่งโบราณคดีนางย่อน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ทำจากหินอาเกตแกะรูปช้าง จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าเครื่องประดับหินแกะสลักที่พบทั้งทางฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ในแหล่งโบราณคดีซึ่งเป็นเมืองท่าที่เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙ เป็นหลักฐานที่แสดงว่าคนในสมัยนั้นมีความนิยมเครื่องประดับที่แกะสลักลงบนหิน หินที่นิยมนำมาทำเครื่องประดับรูปแบบนี้ คือ หินคาร์เนเลียน และหินอาเกต ลวดลายที่แกะมีทั้งลายบุคคล สัตว์ และสัญลักษณ์มงคล การค้นพบเครื่องประดับหินแกะสลักในแหล่งโบราณคดีคลองท่อม ภูเขาทอง นางย่อนเขาสามแก้ว และโคกทองยังแสดงให้เห็นว่าแหล่งโบราณคดีเหล่านี้เป็นเมืองท่าของทั้งสองชายฝั่งทะเลที่เจริญอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันอีกด้วย เรียบเรียงข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ที่มาข้อมูล- บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ. ทุ่งตึก เมืองท่าการค้าโบราณ. กรุงเทพ : บริษัท สำนักพิมพ์สมาพันธ์ จำกัด, ๒๕๕๐. - พรทิพย์ พันธุโกวิท และคณะ. โครงการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์และแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในเขตพื้นที่จังหวัดสงขลาและสตูล. กรุงเทพฯ : บริษัท บางกอกอินเฮ้า จำกัด, ๒๕๕๗.
ชื่อเรื่อง ประเพณีมีเทศน์มหาชาติ และ เวสสันดรชาดก ในมหานิบาต กัณฑ์ ทศพร และหิมพานต์ผู้แต่ง -ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ศาสนา เลขหมู่ 294.304 น234ปสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ การศาสนาปีที่พิมพ์ 2502ลักษณะวัสดุ 76 หน้าหัวเรื่อง ชาดก เทศน์มหาชาติภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกการแสดงมหาเวสสันดรชาดก หรือเรียกทั่วไปว่ามีเทศน์มหาชาติ เป็นทานมัยกุศลเป็นที่นิยมในพุทธศาสนิกชน ธรรมเนียมที่เทศนามหาชาติ เรียง 13 กัณฑ์ คือ 1. ทศพร 2.หิมพานต์ 3.ทานกัณฑ์ 4.วันประเวส 5.ชูชก 6.จุลพน 7.มหาพน 8.กุมาร ๙.มัทรี 10.สักกบรรพ 11.มหาราช 12.ฉกษัตริย์ 13.นครกัณฑ์
ครูโป๊ะ ชยาภา อานามวัฒน์. มาดึง "สติ" กันสักหน่อย.จันท์ยิ้ม.(2):3;ก.พ.-มี.ค.2560
เรามักจะพบคำกล่าวที่ว่า สติมา ปัญญาเกิด สติเกิดจากการมีสมาธิ และจะมีปัญญาด้วยในที่สุด แต่ปัจจุบันนี้เราพบว่า สติ เป็นอะไรที่ดึงกันยากมาก ไม่เฉพาะผู้ใหญ่ เด็ก ๆ เองก็ต้องถูก "ดึงสติ" ด้วย.
ชื่อผู้แต่ง กรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง การพิจารณาปัญหาเรื่องเจดีย์โบราณที่อำเอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์การศาสนา
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๘ จำนวนหน้า ๑๕๒ หน้า
หมายเหตุ หนังสือเล่มนี้เป็นรายงานการประชุมเพื่อพิจารณาปัญหาเจดีย์โบราณที่อำเภอ พนมทวน จ.กาญจนบุรีของคณะกรรมการพิจารณาปัญหาฯ ประกอบด้วยสรุปผลการประชุม ๗ ครั้ง ประเด็นปัญหาที่หยิบยกมาพิจารณา ๓ ประเด็นและภาคผนวก เรื่อง วาดพงศาวดารเส้นทางเดินทัพและการสำรวจพื้นที่เดินทัพ
วันพฤหัสบดีที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ชั้น ๕ กรมศิลปากร เทเวศร์ นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร และ รศ.ดร. ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กับกรมศิลปากร ฉบับที่ ๒ เพื่อร่วมศึกษา วิจัย และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในการสนับสนุนการศึกษาวิจัย ฟื้นฟู อนุรักษ์ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากรกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ร่วมกันจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เพื่อร่วมศึกษา วิจัย และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในการสนับสนุนการศึกษาวิจัย ฟื้นฟู อนุรักษ์ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ภายในกรอบระยะเวลา ๕ ปี โดยมีผลงานความร่วมมือทั้งด้านการวิจัย พัฒนา การสำรวจและวิเคราะห์ตัวอย่างในพื้นที่โบราณสถานอย่างน่าสนใจ ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่มีในปัจจุบันมาใช้สนับสนุนภารกิจของกรมศิลปากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความเห็นร่วมกันให้มีการขยายระยะเวลาความร่วมมือต่อไป โดยกำหนดระยะเวลา ๕ ปี ทั้งการศึกษา วิจัย และพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ พัฒนาระบบฐานข้อมูลอัตลักษณ์โบราณวัตถุชิ้นพิเศษและองค์ประกอบทางเคมีของโบราณวัตถุและวัสดุเพื่องานอนุรักษ์ การศึกษาระบบการจัดการน้ำในอดีตของชุมชนโบราณ การวิเคราะห์ตัวอย่างจากการขุดค้นเพื่อหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาโครงสร้างภายในวัตถุโดยใช้รังสี รศ. ดร. ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการตรวจสอบหาอายุของโบราณวัตถุ เพราะเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ที่ไม่ทำลายตัวอย่าง หรือใช้ตัวอย่างในปริมาณที่น้อยมาก สทน. ได้จัดตั้งห้องปฏิบัติการไอโซโทปรังสีและใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อตรวจวิเคราะห์หาอายุโบราณวัตถุมาเป็นเวลากว่า ๑๐ ปี ทำให้ไม่ต้องส่งชิ้นส่วนของโบราณวัตถุไปตรวจสอบอายุในต่างประเทศเช่นในอดีตที่ผ่านมา เป็นเทคโนโลยีที่สามารถดำเนินการได้เองในประเทศไทย จากขีดความสามารถในเรื่องดังกล่าว สทน. และกรมศิลปากร จึงได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ โดยดำเนินกิจกรรมร่วมกันหลายอย่าง เช่น ร่วมกันวิจัยกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา ในการวิเคราะห์ทองคำโบราณจากกรุวัดราชบูรณะ และวัดมหาธาตุ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลทองคำโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งโครงการดังกล่าวยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์จะถูกนำเสนอไว้ในพิพิธภัณฑ์ทองหลังใหม่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
การเดินทางไปเที่ยวยังถ้ำพระยานครปัจจุบันนี้ มี ๒ เส้นทางหลักคือ เดินเท้าข้ามสันเขาจากหาดบางปูมายังหาดแหลมศาลาซึ่งเป็นที่ตั้งของถ้ำพระยานคร หรือโดยทางเรือโดยนั่งเรือโดยสารจากหาดบางปูมายังหาดแหลมศาลาและเดินเท้าเพื่อขึ้นเขาไปยังถ้ำประยานคร บริเวณพื้นราบเชิงเขาของทางเดินขึ้นสู่ถ้ำ ด้านขวามือ จะมีบ่อน้ำอยู่ ๑ บ่อ มีการสร้างศาลาคลุมบ่อน้ำไว้ เรียกว่า “บ่อพระยานคร” มีลักษณะเป็นบ่อน้ำกรุด้วยอิฐฉาบปูน ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางขอบบ่อด้านในประมาณ ๑.๓๘ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางขอบบ่อด้านนอกประมาณ ๑.๘๔ เมตร ลึกประมาณ ๔ เมตร ไม่ทราบประวัติการก่อสร้างที่ชัดเจนว่าสร้างขึ้นสมัยใด สันนิษฐานน่าจะสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ เจ้าพระยานครผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช ได้พักหลบพายุที่ชายหาดแห่งนี้เป็นเวลานาน จึงได้สร้างบ่อน้ำเพื่อใช้ดื่ม* และในเอกสารจดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ จ.ศ. ๑๒๐๐ ชื่อ รายงานระยะทาง จ.ศ.๑๒๐๐ (พ.ศ.๒๓๘๑) จดหมายเหตุลมเมื่อออกมาแต่กรุง... (ระยะทางยกกองทัพไปตีเมืองไทรย) หน้า ๘-๑๑ ได้กล่าวถึงเส้นทางเดินเรือจากช่องแสมสารไปยังเขาสามร้อยยอด และมีการแวะพักเติมน้ำจืดตรงบริเวณเขาสัตกูด ซึ่งน่าจะหมายถึงบ่อน้ำนี้เช่นกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้ “...๘ ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๘ ค่ำ พอสว่างเห็นช่องแสมสารพอเป็นเงาๆ ลมสลาตันพัดกล้าไปจนบ่ายโมงหนึ่งแล้ว ..เปลี่ยนเป็นลมสำเภาพัดอ่อนๆมาจนบ่ายสามโมง น้ำขึ้นลมสำเภาพัดกล้าหนักๆ มาจนเพลาบ่ายสี่โมงเศษ เห็นเขาสามร้อยยอด ครั้นเพลาบ่ายหกโมงเศษ เรือมาถึงฝั่งทางตะวันตกตรงเขากะโหลก ทอดนอนอยู่ที่นั่นคืนหนึ่ง ลมสลาตันพัดกล้าหนักอยู่จนสว่าง ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันจันทร์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เพลาเช้าออกเกา** ลมสลาตันอีกร้อยหนึ่งจึงเข้ายังสัตกูดได้ พอได้ตักน้ำในวันนั้น... ในหนังสือชีวิวัฒน์ นิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช ใน พ.ศ.๒๔๒๗ เมื่อครั้งเสด็จประพาสในแหลมมลายูฝั่งตะวันออก ในส่วนหัวเมืองตะวันตก ได้มีการกล่าวถึงเขาสามร้อยยอด และบ่อน้ำนี้ ว่า "เรือสุริยมณฑลทอดสมอน้ำลึก ๑๐ ศอก ไกลจากฝั่งประมาณ ๖๐ เส้น ในเกาะตะกูดตรงหน้าอ่าวศาลาบ่อน้ำ ปากทางที่จะขึ้นถ้ำสามร้อยยอด ดูไปจากเรือมีเขาหลายชั้นแลเห็นศาลาแต่ไกล ศาลานั้นตั้งอยู่ไกลจากทะเลประมาณ ๒๐ เส้น ศาลานั้นขื่อกว้าง ๑๐ ศอก ๓ ห้อง ห้องกลางนั้นมีบ่อน้ำๆ จืดสนิท ...” ส่วนในสมุดราชบุรี ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๘ กล่าวถึงบ่อน้ำนี้ไว้ว่า "ที่ชายทเลหน้าเขาถ้ำนี้มีบ่อน้ำ ๑ บ่อ กลม ขุดกว้างประมาณ ๔ ศอก ลึก ๖ ศอก ก่ออิฐเป็นขอบโดยรอบแต่ท้องบ่อขึ้นมา และศาลา ๑ หลัง มุงกระเบื้องไทยครอบบ่อน้ำนั้นพื้นศาลาก็โบกปูนเต็มไปถึงขอบบ่อ น้ำในบ่อจืดพอใช้ได้ บ่อนี้เรียกว่าบ่อพระยานครประมาณว่าทำมาได้สัก ๗๐ ปีแล้ว สันนิษฐานว่าจะเปนเจ้าพระยานคร "น้อยกลาง" เปนผู้สร้างเพราะในสมัยนั้นการไปมาระหว่างกรุงเทพพระมหานคร กับเมืองนครศรีธรรมราชใช้เรือแจวเรือพายเลียบไปตามฝั่งแวะหยุดพักเปนระยะ ที่น่าเขาสามร้อยยอดนี้น่าจะเปนที่พักแรมทางแห่งหนึ่ง และเปนเขาที่มีถ้ำงดงามน่าดู ท่านคงจะเห็นถ้ำนั้นมีผู้คนไปเที่ยวมาก จึงได้สร้างบ่อน้ำไว้ให้เปนสาธารณทาน ด้วยเหตุนี้ถ้ำนั้นจึงมีนามว่าถ้ำบ่อพระยานคร อีกชื่อ ๑ คือหมายความว่า ถ้ำที่มีบ่อน้ำพระยานครสร้าง" ภาพ : บ่อพระยานคร ภาพ : สภาพปัจจุบันบ่อพระยานคร*ทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ ๒ กองโบราณคดี กรมศิลปากร,๒๕๓๘ หน้า ๑๐๐**เกา หมายถึง อาการที่สมอเรือครูดไปตามพื้นท้องน้ำ ไม่ยึดอยู่กับที่-------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวกรรณิการ์ เปรมใจ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี -------------------------------ที่มาของข้อมูล : กรมศิลปากร. ทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ ๒. กรุงเทพฯ: กองโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๓๘. พยุง วงษ์น้อย และคณะ. พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์. รายงานการสำรวจทางโบราณคดี กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี, ๒๕๔๑ สมุดราชบุรี สยามรัฐพิพิธภัณฑ์ พ.ศ.๒๔๖๘. โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย:พระนคร(กรุงทพฯ),๒๔๖๘. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช. “เขาสามร้อยยอดแขวงเมืองปราณ” ใน ชีวิวัฒน์ เรื่องเที่ยวต่าง ๆ ภาค ๗. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๑. (จัดพิมพ์เผยแพร่ในงานเฉลิมพระเกียรติ จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงษาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช ครบ ๑๕๐ ปีประสูติ). สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. จดหมายเหตุลม เรื่องระยะทางยกกองทัพไปตีเมืองไทรย เลขที่ ๒๒/๑, ๒๒/๒ (จดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ จ.ศ. ๑๒๐๐)
***บรรณานุกรม***
ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ
ปีที่ 7
ฉบับที่ 292
วันที่ 16 มกราคม 2526
ผู้แต่ง : สำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช
ฉบับพิมพ์ : -
สถานที่พิมพ์ : -
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : -
หมายเหตุ : -
นำเสนอเนื้อหาเรื่องประวัติการก่อสร้างและการบูรณะปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช โดยสังเขป