ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.552/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 16 หน้า ; 3.5 x 53 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ลานดิบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 182  (311-323) ผูก 1ก (2566)หัวเรื่อง : เถราภิเสกกถา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง : พระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา ฉบับ สมเด็จพระพนรัตน์ชื่อผู้แต่ง : ศิลปากรปีที่พิมพ์ : 2515 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : โพธิ์สามต้นการพิมพ์ จำนวนหน้า : 670 หน้าสาระสังเขป : "พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน" เล่มนี้ ได้รวบรวมประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา เริ่มตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง สร้างกรุงศรีอยุธยา เมื่อ จ.ศ.712 (พ.ศ.1893) จนกระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่พม่าในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ (กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) เมื่อ จ.ศ.1129 (พ.ศ.2310) ถือเป็นเอกสารอ้างอิงสำคัญที่มีคุณค่ายิ่งต่อชนรุ่นหลัง และผู้ที่สนใจศึกษาประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นยุคสมัยหนึ่งของพัฒนาการสู่สังคมไทยในปัจจุบัน




องค์ความรู้ทางวิชาการ เรื่อง พระพุทธสิหิงค์ พระคู่เมืองนครศรีธรรมราช    พระพุทธสิหิงค์ เมืองนครศรีธรรมราช ประดิษฐานอยู่ที่ "หอพระพุทธสิหิงค์" ในบริเวณศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ตั้งวังของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช พระพุทธสิหิงค์องค์นี้ถือเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราชอย่างช้านาน เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่สักการบูชาของชาวเมืองนครศรีธรรมราชตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน   ในประเทศไทยมี "พระพุทธสิหิงค์" หลายองค์ประดิษฐานตามจังหวัดต่าง ๆ แต่พระพุทธสิหิงค์ที่เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวไทยสักการบูชามาแต่ครั้งโบราณมี ๓ องค์ คือ  ๑) พระพุทธสิหิงค์ที่กรุงเทพมหานคร ประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ในวังหน้าของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร ๒) พระพุทธสิหิงค์ที่เชียงใหม่ ประดิษฐานอยู่ในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์  จังหวัดเชียงใหม่ ๓) พระพุทธสิหิงค์ที่เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งนำมากล่างถึงในองค์ความรู้ชุดนี้   ลักษณะของพระพุทธสิหิงค์ แห่งเมืองนครศรีธรรมราช เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะสำริด พุทธลักษณะ ประทับนั่ง ปางมารวิชัย “ขัดสมาธิเพชร” มีขนาดหน้าตักกว้าง ๓๒ เซนติเมตร สูง ๔๒ เซนติเมตรพระวรกายอวบอ้วน มักเรียกว่า “แบบขนมต้ม” วงพระพักตร์กลม ขมวดพระเกศาค่อนข้างใหญ่ พระรัศมีรูปดอกบัวตูม พระอุระนูน ครองจีวรห่มเฉียง มีชายสังฆาฏิสั้นเป็นแบบเขี้ยวตะขาบเหนือพระอังสาซ้าย ซ้อนทบกันหลายชั้น เรียกว่า “เล่นชายจีวร” ฐานเตี้ยและเรียบไม่มีบัวรอง ส่วนที่เป็นฐานบัวทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ ซึ่งตรงกับสมัยอยุธยา แต่มีเอกลักษณ์ทางศิลปะแห่งเมืองนครศรีธรรมราช จึงกำหนดเรียกรูปแบบศิลปะว่าเป็น "ศิลปะอยุธยา สกุลช่างนครศรีธรรมราช"    เรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธสิหิงค์มีผู้แต่งไว้หลายฉบับ เช่น พระโพธิรังสี นักปราชญ์ทางพุทธศาสนาชาวเชียงใหม่ได้แต่งไว้เป็นภาษามคธ เรียกว่า "สิหิงคนิทาน" ซึ่งน่าจะเป็นฉบับที่นักประวัติศาสตร์มีความเห็นว่าเก่าแก่ที่สุด นอกจากนี้ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ได้แต่งไว้โดยสังเขปเล่มหนึ่ง และหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ได้แต่งเป็นตำนานโดยย่อและเรียบเรียงข้อวิจารณ์ทางศิลปกรรมและโบราณคดีไว้ด้วยอีกเล่มหนึ่ง    เนื้อหาใน "สิหิงคนิทาน" มีลักษณะเชิงตำนาน โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๘ ปริเฉท มีเนื้อความสรุปได้ว่า พระพุทธสิหิงค์สร้างขึ้นในประเทศลังกา โดยพระราชาชาวลังกา ๓ องค์พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๒๐ รูป ได้ร่วมกันสร้างขึ้นราว พ.ศ. ๗๐๐ เพื่อให้เป็นที่สักการะของทวยเทพ ท้าวพระยาและมหาชนโดยทั่วกัน ก่อนสร้างได้ปรึกษาสอบสวนถึงพุทธลักษณะอย่างถี่ถ้วน โดยหมายจะให้ได้รูปที่เหมือนองค์พระพุทธเจ้ามากที่สุด ถึงกับมีตำนานเล่าว่ามีพญานาคตนหนึ่งซึ่งเคยเห็นองค์พระพุทธเจ้า ได้นิรมิตให้เห็นเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับสมาธิเหนือรัตนบัลลังก์ สมบูรณ์ด้วยพระมหาปุริสลักษณะ เมื่อถึงสมัยสุโขทัยกษัตริย์องค์หนึ่งทรงพระนามว่า"ไสยรงค์" ทรงทราบถึงลักษณะอันงดงามของพระพุทธสิหิงค์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยานครศรีธรรมราชแต่งทูตไปขอพระพุทธสิหิงค์จากพระเจ้ากรุงลังกา พระเจ้ากรุงลังกาก็ถวายมาตามพระราชประสงค์ พระเจ้าไสยรงค์ทรงโสมนัสมาก เสด็จไปรับพระพุทธสิหิงค์ถึงเมืองนครศรีธรรมราช แล้วอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ กรุงสุโขทัย หลังจากนั้นกล่าวถึงการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐานที่เมืองต่างๆ ตามลำดับดังนี้ คือเมืองพิษณุโลก กรุงศรีอยุธยา เมืองกำแพงเพชร เมืองเชียงราย จนถึงไปประดิษฐานอยู่ที่เมืองเชียงใหม่  เรื่องราวพระพุทธสิหิงค์ที่พระโพธิรังษีแต่งไว้ก็จบลงเพียงเท่านี้ แต่พระพุทธสิหิงค์ยังมีเรื่องราวในพงศาวดารและมีผู้แต่งต่อเติมขยายความต่อมาอีกมาก   ที่มาของชื่อ "พระพุทธสิหิงค์" นั้นกล่าวกันว่าอาจมาได้ ๒ ทาง คือทางหนึ่งมาจากการเปรียบลักษณะของพระพุทธรูปนี้ว่าสง่างามดั่งพญาราชสีห์ ความเชื่อนี้มีมาแต่สิหิงคนิทาน ดังที่ แสง มนวิทูร ได้แปลเป็นภาษาไทยไว้ว่า "...มีลักษณะท่าทางเหมือนราชสีห์จึงเรียกชื่อว่า พระสิหิงค์ อีกนัยหนึ่งลักษณะท่าทางของราชสีห์เหมือนลักษณะท่าทางของพระผู้มีพระภาค จึงเรียกชื่อว่า สิหิงค์ (สีหอิงค)" ส่วนอีกทางหนึ่งอาจมาจากการที่เราเรียกชาวลังกาอีกชื่อหนึ่งว่า "ชาวสิงหล"และด้วยที่เชื่อกันว่ามีประวัติความเป็นมาเกี่ยวข้องกับชาติลังกาดังกล่าวแล้ว ต่อมาจึงเรียกพระพุทธรูปนี้ว่า "พระสิงห์"หรือ "พระพุทธสิหิงค์" ซึ่งก็คือพระพุทธรูปสิงหลนั่นเอง   เรียบเรียง/ภาพ: นายทัศพร กั่วพานิช นักวิชาการวัฒนธรรม กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช   อ้างอิง กรมศิลปากร. นิทานพระพุทธสิหิงค์ : ว่าด้วยตำนาน พระพุทธสิหิงค์. D-Library | National Library of Thailand, accessed March 28, 2023, http://digital.nlt.go.th/items/show/1105 เข้าถึงเมื่อ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๖ ดิเรก พรตตะเสน."แห่พระพุทธสิหิงค์ : นครศรีธรรมราช." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม ๑๘.  กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, ๒๕๔๒. ๘๗๔๔-๘๗๔๕ พรศักดิ์ พรหมแก้ว. "พระพุทธสิหิงค์ : นครศรีธรรมราช." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม ๑๑.  กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, ๒๕๔๒. ๕๐๙๐-๕๐๙๔. หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์.เรื่องพระพุทธสิหิงค์ กับวิจารณ์เรื่องพระพุทธสิหิงค์.กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๔๗๗


ไซอิ๋ว เล่ม ๖.  พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๑๒.           ไซอิ๋ว เป็นพงศาวดารจีนที่ได้รับการแปลเป็นหนังสือชุดภาษาไทยลำดับที่ ๑๖ นับเป็นเรื่องที่แยกออกจากพงศาวดารซุยถังในแผ่นดินของพระเจ้าถังไทจงฮ่องเต้กษัตริย์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์ถัง   


ชื่อเรื่อง                         ทุกนิบาตปาลิ องคฺตรนิกาย (ทุกกนิปาตชาดก) อย.บ.                            389/6 หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                  58 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57.8 ซม. หัวเรื่อง                         พระธรรมเทศนา                                                                       บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา



สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร วันที่ ๑๔ กันยายน ถึงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕




ชื่อเรื่อง                      ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นต้น, คาถาธมฺมปท)อย.บ.                           244/15หมวดหมู่                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                60 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ; ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง                        พุทธ                                      ศาสนา                                                           บทคัดย่อ/บันทึก     เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด


ชื่อเรื่อง                     อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระเทพสุทธฺโมลี (ผึ้ง โรจโน)ผู้แต่ง                       -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ศาสนาเลขหมู่                      294.30922 พ332อสถานที่พิมพ์               กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์ศรีอนันต์ปีที่พิมพ์                    2526ลักษณะวัสดุ               214 หน้าหัวเรื่อง                     พระเทพสุทธฺโมลี (ผึ้ง โรจโน)ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกกล่าวถึงประวัติและผลงานของพระเทพสุทธิโมลี (ผึ้ง โรจโน) เจ้าอาวาสวัดโบสถ์ เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี-อุทัยธานี (ธรรมยุต)  


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “น้อมรำลึกในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระมหากรุณาธิคุณต่อชาวจันท์” แม้กาลเวลาจะผ่านเนิ่นนานไปหลายปี แต่เชื่อว่ายังไม่มีใครลืมพระผู้ให้ พระผู้เป็นศูนย์รวมดวงใจของคนทั้งชาติ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระองค์จะเป็นพระผู้สถิตอยู่ในดวงใจของคนเมืองจันท์และคนไทยทุกคนตราบนิรันดร์ เหตุการณ์ที่ยังคงจดจำไปอีกนาน เพราะนำมาซึ่งความวิปโยคของคนไทยทั้งชาติ ถึงแม้จะเป็นเพียงความทรงจำ แต่ก็เป็นความทรงจำที่มิรู้ลืม ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๕๙ พสกนิกรที่รักในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพล อดุลยเดชฯ (พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร) ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ต่างเดินทางมาที่โรงพยาบาลศิริราชกันอย่างเนืองแน่นหลังจากได้ทราบข่าวทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจที่พระอาการประชวร ของพระองค์ท่านทรุดลง ทุกคนต่างมารวมจิตรวมใจเป็นหนึ่งเดียวกัน ส่งกำลังใจ หวังให้อาการพระประชวรของพระองค์ทุเลาลง นับตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ได้เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับรักษาพระอาการ พระโรคไข้หวัดและพระปัปผาสะอักเสบ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ตลอดมา แต่พระอาการประชวรได้ทรุดหนักลงตามลำดับ พสกนิกรทุกหมู่เหล่าที่มาเฝ้ารอคอยที่โรงพยาบาลศิริราช ต่างสวมใส่เสื้อสีชมพูและอธิษฐานขอพรให้พระอาการประชวรของพระองค์ดีขึ้น จนผู้คนล้นหลามแน่นโรงพยาบาลในวันที่ ๑๓ ตุลาคม ช่วยกันส่งกำลังใจเพื่อให้พระอาการประชวรดีขึ้น ในวันนั้นมีกระแสข่าวว่าพระองค์เสด็จสวรรคต ผู้คนต่างไม่เชื่อว่าเป็นความจริง ต่างภาวนาอย่าให้เป็นเช่นนั้นเลย แต่แล้วคำอธิษฐานของหลายคนที่หวังให้ศูนย์รวมดวงใจ ได้คงอยู่เป็นมิ่งขวัญจะไม่เป็นผล เหมือนสายฟ้าฟาดผ่าเปรี้ยงลงมากลางใจ เมื่อโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจออกแถลงการณ์ถึงข่าวการเสด็จสวรรคตของพระองค์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕:๕๒ น. สิริพระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา ๓๑๓ วัน เสียงร้องระงมร่ำไห้ คร่ำครวญ ของประชาชนในโรงพยาบาล และที่ติดตามทางจอโทรทัศน์ ดังไปทั่วประหนึ่งว่าน้ำตาจะท่วมท้นแผ่นดิน เพราะคนที่รักมาจากไป ต่อแต่นี้ไม่มีอีกแล้วสำหรับพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์นั้นยิ่งใหญ่สุดที่จะพรรณนา ชาวจันทบุรีเองต่างรักและอาลัยพระองค์ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ ที่พระราชทานคลองภักดีรำไพ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมเมืองจันท์ นับเป็นโครงการในพระราชดำริสุดท้ายที่พระราชทานแก่ชาวจันท์ก่อนที่จะเสด็จสวรรคต คงไม่มีใครรู้ว่าช่วงเวลาที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่เมืองจันท์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้มีเครื่องบินลำหนึ่งบินอยู่เหนือน่านฟ้าจันทบุรี เพื่อสำรวจอุทกภัยครั้งนี้ และเครื่องบินลำนี้ได้เป็นที่มาของการสร้างคลองภักดีรำไพ มีใครรู้บ้างว่าผู้ที่อยู๋ในเครื่องบิน ลำนี้เป็นใคร คำตอบคงอยู่ที่ใจของชาวจันท์ เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ มีพระราชดำริกับคณะมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ณ วังไกลกังวล สรุปความได้ว่า “จังหวัดจันทบุรีประสบปัญหาอุทกภัยเนื่องจากมีถนน ๓ สาย ขวางกั้นเส้นทางน้ำ วิธีแก้ไข คือ ต้องไปสำรวจดูว่า น้ำผันมาจากทางไหน แล้วหาช่องระบายน้ำให้สอดคล้องกัน” ต่อมา เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ มีพระราชดำริกับนายสุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการบริหารสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สรุปบางส่วนได้ ดังนี้ “...พื้นที่จังหวัดจันทบุรี ระยอง และชลบุรี เป็นที่เป็นเขาอยู่ใกล้ชายหาด ฝนก็พอ แต่การจัดเก็บทำได้ยากเนื่องจากพื้นที่จากเขาที่ลาดลงมาถึงชายฝั่งนั้น ทำให้น้ำไหลเร็วเก็บไว้ลำบาก น้ำมานองท่วมตามแนวถนน หากช่วงฤดูฝนระบายน้ำทิ้งทะเล แก้ปัญหาน้ำท่วมก็จะขาดน้ำในฤดูแล้ง...” ทรงรับสั่ง “ให้ศึกษาหาแนวทางแก้ไขจัดการน้ำให้พอดี” และทรงย้ำเรื่อง “การประสานความร่วมมือกัน” นี่คือที่มาของคลองภักดีรำไพ คลองนี้ที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระราชทานแก่ชาวจันทบุรี นอกจากนี้ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ยังได้เสด็จพระราชดำเนินมายังจันทบุรี เพื่อประกอบพระราชกรณียกิจถึง ๖ ครั้ง เป็นที่ปลาบปลื้มแก่พสกนิกรชาวจันท์ยิ่งนัก ชาวจันทบุรีต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริสำคัญหลายโครงการให้กับประชาชนในพื้นที่ อาทิ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริ รวมถึงโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรี (คลองภักดีรำไพ) จึงทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจและความตั้งมั่นของ ชาวจันทบุรี ขอน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ผู้เขียน : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง ลาวสุพรรณผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ


         พระเจ้าสุทโธทนะ          แบบศิลปะ : ทวารวดี          อายุสมัย : ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 - 14 (หรือราว 1,200 – 1,300 ปีมาแล้ว)          ลักษณะ : ประติมากรรมรูปบุรุษนั่งขัดสมาธิราบประนมมือ (อัญชลีมุทรา)สวมมงกุฎหรือเครื่องประดับศีรษะ สวมตุ้มหูทรงกลม ต้นแขนประดับด้วยพาพุรัดเป็นลายใบไม้สามเหลี่ยม สันนิษฐานว่าเป็นลักษณะเครื่องทรงของกษัตริย์สมัยนั้น ใต้ฐานประติมากรรมมีจารึก “ศุทโธทนะ” หมายถึงพระนามพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา ประติมากรรมรูปพระเจ้าสุทโธทนะ ถือเป็นประติมากรรมสำคัญทางพุทธศาสนา เนื่องจากรูปเคารพบุคคลที่ทำเป็นรูปพุทธบิดาเป็นโบราณวัตถุที่พบน้อยมากในวัฒนธรรมทวารวดี และยังไม่พบในที่อื่นเลย          ประวัติ : เจดีย์หมายเลข 11 บริเวณเมืองโบราณอู่ทอง          สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/uthong/360/model/01/   ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/uthong


Messenger