ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.36/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
พฺรยาสุนนฺทราช (พฺรยาสุนนฺทราช)
ชบ.บ.67/1-1ฆ
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-นครกัณฑ์)
สพ.บ. 415/10ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57.8 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา เทศน์มหาชาติ ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.288/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 121 (258-265) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์(8หมื่น) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
องค์ความรู้จากสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่เรื่อง : อุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือหินในพื้นที่ อำเภอเมือง และอำเภอเวียงสา จังหวัดน่านเรียบเรียงโดย : นายจตุรพร เทียมทินกฤต นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี. เครื่องมือหินเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่มีความสำคัญในการศึกษาเกี่ยวเรื่องราวในอดีตชนิดหนึ่งเนื่องด้วยเป็นวัสดุคงทนที่หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันมากที่สุด การที่เราสามารถศึกษาได้ถึงรูปแบบและเทคนิคของการผลิตเครื่องมือหิน จากร่องรอยที่ปรากฏอยู่บนเครื่องมือ นำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลทางชาติพันธ์วิทยาที่ยังใช้รูปแบบหรือวัสดุใกล้เคียงกัน และการทดลองผลิตเครื่องมือเลียนแบบโบราณวัตถุ ซึ่งนอกจากเทคนิคการผลิตแล้วยังใช้สันนิษฐานถึงลักษณะที่ถูกนำไปใช้งาน ว่าสามารถใช้งานได้จริงตามที่สันนิษฐานหรือไม่. ในการผลิตเครื่องมือหินนั้นมีความผิดพลาดในการผลิตค่อนข้างสูงมากจากวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตเนื่องจากไม่สามารถปรับแต่งคุณสมบัติของวัตถุดิบได้มากนัก ไม่เหมือนเช่นในกรณีของ ดินที่นำใช้ในการผลิตภาชนะดินเผาหรือ แร่ที่มาใช้การผลิตโลหะ แหล่งผลิตที่พบในพื้นที่จังหวัดน่านนี้มีการใช้ผลิตเพียงแค่ในขั้นตอนขึ้นรูปเครื่องมือเท่านั้น เนื่องจากบนภูเขาในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบ ตามลักษณะทางธรณีสัณฐานไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีปริมาณน้ำตลอดทั้งปี น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการขัดผิวเครื่องมือ และจากการสำรวจเท่าที่ปรากฏไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับหินลับหรือทั่งหินที่ใช้ในการขัด ซึ่งน่าจะมีการนำมาทำการขัดขึ้นรูปหรือตกแต่งขั้นสุดท้ายในบริเวณอื่น เช่น บริเวณริมน้ำซาว ที่อยู่ห่างจากภูซางประมาณ ๑ กม.เศษ. พื้นที่แหล่งโบราณคดีในพื้นที่ตำบลดู่ใต้และตำบลนาซาว อำเภอเมือง จังหวัดน่าน พื้นที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองน่านปัจจุบัน ประกอบไปด้วย เขาหินแก้ว เขาชมพู ดอยปู่แก้ว เป็นเขาที่อยู่ในเทือกเดียวกันวางตัวเป็นแนวยาววางตัวตามทิศเหนือ-ใต้ ยาวประมาณ ๓.๕ กิโลเมตร แหล่งโบราณคดีภูซาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของดอยปู่แก้ว ได้มีการสำรวจพบร่องรอยหลักฐานเกี่ยวกับการผลิตเครื่องมือหินกระจายตัวเป็นอาณาบริเวณที่กว้างมากประมาณ ๑๐-๑๒ ตารางกิโลเมตร โดยมีพื้นที่ซึ่งใช้ในประกอบกิจกรรมในการขึ้นรูปเครื่องมือหินเป็นจุดๆ ทั่วไปตามแนวเขา โดยในพื้นที่ที่ถูกใช้เป็นพื้นที่ผลิตเครื่องมือหินจะพบสะเก็ดหิน ที่เกิดจากการกะเทาะตกแต่งแล้วไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จึงถูกทิ้งไว้เป็นจำนวนมาก ค้อนหินจะเป็นก้อนหินทรงกลมที่มีขนาดเหมาะซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหินกรวดแม่น้ำซึ่งไม่พบในสภาพพื้นที่ตามธรรมชาติ เครื่องมือหินที่ยังขึ้นรูปไม่เรียบร้อยและที่เสียหายในระหว่างขั้นตอนการขึ้นรูป และจากพื้นที่บริเวณร่องน้ำไหลพบว่าชั้นหินที่ทับถมจากการผลิตเครื่องมือมีความหนาเป็นชั้นๆตั้งแต่ ๖๐-๘๐ ซม.ในบริเวณ ถนนบ้านสะไมย์มีชั้นทับถมของเศษหินที่ถูกทิ้งการผลิตหนาถึงกว่า ๒ เมตร ซึ่งจากขนาดของพื้นที่ที่พบหลักฐานกระจายตัวและปริมาณที่สูงมากทำให้สันนิษฐานได้ว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นแหล่งที่ใช้ในการผลิตเครื่องมือหินโดยเฉพาะ (Industrial Site)ในการศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งผลิต เพื่อที่จะใช้ข้อมูลจากการศึกษามาใช้ในการสร้างภาพเกี่ยวกับ ลำดับขั้นตอนการผลิต และเทคนิควิธีการผลิตเครื่องมือ โดยใช้เศษวัสดุที่หลงเหลือและเครื่องมือที่เสียหายจากการผลิตหรือผลิตไม่ได้ตามที่ต้องการ รูปแบบของเครื่องมือหินที่พบในบริเวณนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องมือในรูปแบบขวาน เครื่องขูด แต่ยังมีการพบหินงบน้ำอ้อย ซึ่งเป็นการเจาะหินเพื่อนำมาใช้ทำกำไล หรือแกนหินที่มีข้อสันนิษฐานใช้ถ่วงน้ำหนักเครื่องมือขุดหลุมเพื่อเพาะปลูก อีกด้วย นอกจากนี้จากการสำรวจของ สายันต์ ไพชาญจิตร ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้พบ กลุ่มหินที่วางล้อมรอบเนินดินขนาดเล็กซึ่งลักษณะดังกล่าวมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ปรากฏอยู่หลายแห่งในบริเวณเขาชมพูและดอยปู่แก้ว ในการทำงานทางโบราณคดีในพื้นที่แหล่งโบราณคดีภูซางได้มีการส่งตัวอย่างไปหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ ทั้งวิธี RadioCarbon dating และ Thermoluminescence ได้ค่าอายุ ๔,๐๐๐-๖๕๐ ปีมาแล้ว อาจแสดงให้เห็นความต่อเนื่องของกิจกรรมของมนุษย์ในพื้นที่. วัตถุดิบที่ถูกนำมาใช้ผลิตเครื่องมือหินซึ่งพบในการสำรวจในพื้นที่คือ กลุ่มหินภูเขาไฟ ได้แก่หินชนิด Andesite, Ash, Diabase , Tuff,Rhyolite, Quartzite และ หินกึ่งหินแปร ชนิด Metamorphose mudstone และ sandstone (หรือ Argillite) จากงานที่ศึกษาเกี่ยวการผลิตเครื่องมือหินใน พื้นที่ มีหินสองชนิดที่พบว่ามีความนิยมในการผลิต คือ หินแอนดิไซด์ (Andisite) กับ หินกึ่งหินแปร(Metamorphose mudstone). แหล่งโบราณคดีภูทอก บ้านทุ่งผง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เป็นเนินเขา บนยอดเนินเป็นพื้นราบกว้าง อยู่ทางทิศใต้ของดอยภูซางประมาณ ๒ กิโลเมตร หินที่พบเป็นหินภูเขาไฟกลุ่มหิน Tuff พบหลักฐานประเภท สะเก็ดหิน เครื่องมือหินที่ยังขึ้นรูปไม่เรียบร้อย แกนหิน ค้อนหินกระจัดกระจายตัวอยู่ทั่วไป แท่นหิน จากเอกสารการสำรวจในระยะแรกพบว่าพื้นที่บริเวณดอยภูทอกยังไม่มีการรบกวนมากเท่าใดนัก มีสภาพเหมือนกับการผลิตเครื่องมือหินพึ่งแล้วเสร็จ แต่ในปัจจุบันถูกรบกวนจากการเข้าไปใช้พื้นที่ทำการเกษตร รูปแบบเครื่องมือที่พบส่วนใหญ่เป็น แบบขวาน (Adze Type) ซึ่งมีทั้งแบบมีบ่าและไม่มีบ่า มีเครื่องขูด ลักษณะกลมแบน (Disc/round scrapper) แหล่งโบราณคดีภูทอกนี้หากพิจารณาจากที่ตั้งและรูปแบบของเครื่องมือที่พบ คงจะมีความสัมพันธ์กับแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ตำบลดู่ใต้และตำบลนาซาวได้ ซึ่งถ้าหากรวมอาณาบริเวณทั้งหมดแล้วน่าจะมากกว่า ๑๗-๑๘ ตารางกิโลเมตร ซึ่งยังมีพื้นที่ที่มีความเป็นไปได้ที่จะพบหลักฐานในลักษณะเดียวกัน/แตกต่างกันในบริเวณที่ยังไม่มีการสำรวจอย่างละเอียด. การสำรวจพบความหลากหลายของชนิดวัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตเป็นเครื่องมือหิน อาจเนื่องมาจากการเลือกโดย ปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ๑.หน้าที่ใช้งาน เครื่องมือเครื่องใช้อย่างหนึ่งใช้หินชนิดหนึ่งเป็นการ เฉพาะ ๒. เทคนิคในการผลิตของช่างแต่ละคนหรือแต่ละชุมชน ๓.ความยากง่ายในการแสวงหาวัตถุดิบ ความใกล้ไกลของชุมชนกับ แหล่งวัตถุดิบ. การผลิตเครื่องมือหินเริ่มจากการแยกเอาเปลือกหินหรือที่เรียกกันว่า สะเก็ดหิน ออกจากแกนหิน เพื่อนำเอาส่วนสะเก็ดหรือแกนหิน ไปใช้ทำเป็นเครื่องมือ ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ผลิตหรือรูปแบบเทคโนโลยีที่เลือกใช้ในแต่ละวัฒนธรรมซึ่งมีความแตกต่างไปตามสภาพทางนิเวศวิทยา. รูปแบบและเทคนิคการผลิตเครื่องมือหินที่มีการนำมาใช้ผลิตเครื่องมือหินแบ่งได้เป็นรูปแบบใหญ่ๆ คือ ๑.การกะเทาะโดยตรงโดยใช้มือข้างหนึ่ง ถือวัตถุดิบไว้และใช้ค้อนหินต่อยลงไปให้กะเทาะเปลือกหินออกเป็นสะเก็ดเพื่อขึ้นรูปตามที่ต้องการและกะเทาะตกแต่งให้เกิดคมให้เป็นแนวเดียวและกะเทาะให้ผิวหน้าแต่ละด้านให้มีระดับใกล้เคียงกัน วิธีนี้จะใช้กับเครื่องมือขนาดเล็ก ๒. ใช้หินที่เป็นวัตถุดิบมากระแทกเข้ากับก้อนหินขนาดใหญ่ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งถูกใช้เป็นค้อน ซึ่งมักจะเป็นเครื่องมือขนาดใหญ่หรือเพื่อกะเทาะสะเก็ดหินออกมาใช้ค้อนหินขนาดเล็กตกแต่งเป็นเครื่องมือต่อไป ๓. ใช้ก้อนหินขนาดใหญ่เป็นทั่งในการวางก้อนหินวัตถุดิบและใช้ค้อนหินหรือสกัดที่ทำจากเขาสัตว์หรือกระดูกสัตว์ กะเทาะตกแต่งให้เป็นรูปแบบตามที่ต้องการ. จากการทำงานด้านโบราณคดีในพื้นที่จังหวัดน่านตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีการพบร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับการใช้โลหะมาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้น้อยมาก รวมทั้งยังไม่ปรากฏแหล่งโบราณคดีที่มีการผลิตโลหะในปริมาณที่มากพอใช้ในชุมชนในพื้นที่ แม้แต่ในยุคสมัยที่เราถือกันว่ามีการพัฒนาสังคมสู่ระดับสังคมเมืองและระดับแว่นแคว้น ก็ไม่ได้หมายความว่าเครื่องมือที่ใช้จะเปลี่ยนแปลงมาใช้โลหะทั้งหมด เครื่องมือเครื่องใช้ที่ผลิตจากโลหะน่าจะมีการนำเข้าวัตถุดิบมาจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งถือได้ว่าเครื่องมือที่ทำจากโลหะนั้นมีมูลค่าสูงและเป็นความสิ้นเปลืองจากความยากลำบากในการขนส่งที่ต้องส่งผ่านกันมาหลายทอด ดังนั้นเครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปจึงน่าจะมีการใช้ไม้และหินเป็นวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งในส่วนของเครื่องมือหินนั้นน่าจะเป็นเครื่องมือปฐมภูมิ ซึ่งถูกนำมาผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ไม้นั้นซึ่งวัสดุไม้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้กันทั่วไปจนกระทั่งไม่กี่สิบปีมานี้ในพื้นที่จังหวัดน่าน เครื่องใช้ในการดำรงชีวิตของคนทั่วไปยังมีการผลิตขึ้นมาจากไม้เป็นหลักแม้ว่าเครื่องมือปฐมภูมิจะเปลี่ยนเป็นโลหะแล้วก็ตาม อาจจะมาจากเครื่องมือไม้สามารถตอบสนองความต้องการในการใช้งานและสร้างผลผลิตเพื่อการดำรงชีวิตได้อย่างพอเพียงแก่ความต้องการของชุมชน ภายใต้ระบบนิเวศวิทยาที่มีสภาพแวดล้อมที่สามารถสนับสนุนปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีวิตได้อย่างพอเพียง จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำเข้าเครื่องมือโลหะที่เกินต่อความจำเป็นในการใช้งาน----------------------------------อ้างอิง- คณะกรรมการประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดน่าน. พิมพ์ครั้งที่ ๑ กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,๒๕๔๔. จตุรพร เทียมทินกฤต. การศึกษากระบวนการผลิตเครื่องมือหิน กรณีศึกษาหลุมขุดค้น N - Hill ปีพ.ศ. 2548แหล่งโบราณคดีภูชาง ตำบลนาซาว อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร , 2552. ชวนันท์ จันทร์ประเสริฐ. การศึกษาแหล่งหินและชนิดหินชองแหล่งผลิตเครื่องมือหินดอยภูซาง ต.นาซสว อ.เมือง จ.น่าน. ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๐. ศิลปากร,กรม. เมืองน่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร์และศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ ๒ กรุงเทพฯ:อมรินทร์พริ้นติ้ง,๒๕๓๙. สายันต์ ไพรชาญจิตร .โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของเมืองน่าน : ข้อมูลเก่าและข้อมูลใหม่. เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง สืบสานอดีตอันเรืองรอง ของเมืองน่านข้อมูลใหม่ทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์และชาติพันธ์ ม.ป.ท. ๒๕๔๐. “__________”. โบราณคดีชุมชน:การจัดการอดีตของชาวบ้านกับการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ:โครงการโบราณคดีชุมชน,๒๕๔๖. องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน. รายงานการขุดค้นแหล่งเตาดงปู่ฮ่อ บ้านบ่อสวก ต.สวก อ.เมือง จ.น่าน. ม.ป.ท.. ๒๕๔๖
ชื่อผู้แต่ง พระราชสุมนตมุนี (ประยูร สนฺตงฺกุโร)
ชื่อเรื่อง อนุสสรณ์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย
ปีที่พิมพ์ 2512
จำนวนหน้า 97 หน้า
รายละเอียด หนังสือที่ระลึกในพิธีพระราชทานเพลิงศพ ม.ร.ว โต จิตรพงศ์ เนื้อหาเป็นสำนวนเทศน์ เนื่องในพิธีทักษิณานุปทานกิจ สตมวาร , ม.ร.ว.โต จิตรพงศ์ เรื่องอนุสสรณ์ณกถา บทความเรื่องผู้ใหญ่ผู้น้อย
ชื่อผู้แต่ง อิทธิเทพสรรค์ กฤดากร
ชื่อเรื่อง เรื่องเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทย หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๕
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ แผนกการพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เกษมสุวรรณ
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๑
จำนวนหน้า ๑๒๘ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจโท มานิต อุทัยวรรณ์ และตำรวจตรี สุเทพ สัมปัตตะวนิช
หนังสือเรื่องเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมนี้ หม่อมเจ้าอิทธิเทพสวรรค์ กฤดากร ผู้ททรงความรู้เชื่ยวชาญเป็นพิเศษในวิชาสถาปัตยกรรม ไดทรงนิพนธ์ประทานแก่หนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ในระหว่า พ.ศ. ๒๔๗๖ และ พ.ศ. ๒๔๗๗
ภายในห้องจัดแสดงชั้นล่างของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี มีการจัดแสดงพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทรอยู่ ๑ องค์ เป็นพระพุทธรูปยืนที่หล่อขึ้นจากโลหะผสมประเภทสำริด มีการตกแต่งพระพุทธรูปองค์นี้ด้วยการลงรักปิดทองและประดับกระจก
..
พระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทรองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปที่มีการครองจีวรห่มเฉียง โดยจีวรนั้นมีการตกแต่งลวดลายให้เป็นจีวรลายดอกพิกุล ซึ่งเป็นลวดลายจีวรที่เป็นที่นิยมมากในการสร้างพระพุทธรูปในสมัยรัตนโกสินทร์เลยก็ว่าได้
..
พระพุทธรูปยืนองค์นี้พระรัศมีได้หักหายไป และยังมีความชำรุดของผิวพระพุทธรูปด้วยลวดลายบางส่วนแตกหลุดหายไป ตามกาลเวลา พระพุทธรูปยืนองค์นี้ ยืนบนฐานบัวทรงกลม ที่รองรับด้วยฐานแปดเหลี่ยมที่ซ้อนกัน ๔ ชั้น บริเวณฐานพระพุทธรูปชั้นล่างสุด ด้านหน้า ปรากฎจารึกว่า “นายพุ้ม เป็นที่หลวงประชุ่ม คุนแม่ทิมภรรยา ทร่างไว้แต่ปีระกา ๑๑๖” จากจารึกดังกล่าวทำให้ทราบว่าพระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
..
ความเป็นมาของการสร้างพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร มีอยู่ว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปประกาศพระศาสนา ยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ทรงขอประทับอยู่ในสำนักของอุรุเวกัสสปะ ซึ่งเป็นหัวหน้าชฎิล (นักบวชผู้บูชาไฟ) และเป็นที่เลื่อมใสของชาวแคว้นมคธ พระพุทธองค์ทรงแสดงความจริงที่ได้ตรัสรู้มาแก่อุรุเวกัสสปะ แต่หัวหน้าชฎิลผู้นี้ยังทนง ตนว่าตัวเองมีฤทธิ์ เป็นอรหันต์ ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์หลายครั้ง เพื่อให้อุรุเวกัสสปะคลายความทนงตนลง โดยครั้งสุดท้ายได้แสดงปาฏิหาริย์โดยการห้ามน้ำที่กำลังไหลบ่ามาจากทุกสารทิศ มิให้เข้ามาในที่ประทับ เนื่องจากได้เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมใหญ่ อุรุเวกัสสปะคิดว่าพระพุทธเจ้าคงจะจมน้ำเสียแล้ว แต่เมื่อพายเรือไปดูก็ปรากฏว่า พระพุทธเจ้ากำลังเสด็จจงกรมบนพื้นดินภายในวงล้อมที่มีน้ำเป็นกำแพง ด้วยปาฏิหาริย์ และหลักธรรมทั้งหมดที่ทรงแสดง ทำให้อุรุเวกัสสปะคลายความทนงตน และเกิดความเลื่อมใสในพุทธานุภาพ จึงทูลขออุปสมบทกับพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งเหล่าชฎิล ๕๐๐ ซึ่งเป็นบริวาร
..
พระพุทธรูปปางห้ามสมุทรองค์นี้ เดิมอยู่ที่วัดพระบรมธาตุวรวิหาร โดยพระชัยนาทมุนี (นวม สุทัตโต) เป็นผู้รวบรวมไว้ ภายหลังจึงมอบให้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี เก็บรักษาและจัดแสดง
วันศุกร์ที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร ให้สัมภาษณ์องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS) ในเรื่อง การบูรณะโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร การบุกรุกโบราณสถาน และการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นเป็นผู้ดูแล โดยมีนายธีรยุทธ สุวลักษณ์ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการ นายณัฐพงศ์ ศิริวัฒนพิเชษฐ์ นักโบราณคดีชำนาญการ เป็นผู้จัดทำข้อมูลรับชมได้ ที่นี่ https://www.youtube.com/watch?v=-EnjO-2sU2cอ่านข่าวได้ ที่นี่ theactive.net
การดำเนินการยกฐานะกิ่งอำเภอศรีรัตนะขึ้นเป็นอำเภอศรีรัตนะ
ประวัติอำเภอศรีรัตนะ
เดิมอำเภอศรีรัตนะ มีพื้นที่อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอกันทรลักษ์ ประชาชน คณะครู กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พ่อค้า ฯลฯ ในพื้นที่ ๔ ตำบล คือ ตำบลศรีแก้ว ตำบลพิงพวย ตำบลตูม และตำบลสระเยาว์ เห็นว่าพื้นที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีอาณาเขตกว้างขวาง มีพลเมืองมาก กรอปกับท้องที่ของ ๔ ตำบลนี้อยู่ห่างไกลจากอำเภอ ประชาชนต้องใช้เวลานานและเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในการเดินทางไปติดต่อราชการ จึงได้ประชุมกันเพื่อขอตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๔๙๑ มติที่ประชุมตกลงเลือกให้บ้านสำโรงระวี เป็นที่ตั้ง และใช้ชื่อว่า “กิ่งอำเภอสำโรงระวี”แต่เมื่อดำเนินการขอไปยังอำเภออำเภอได้พิจารณาแล้วเห็นว่าที่ดินที่จะมอบให้เป็นที่ตั้งกิ่งอำเภอนั้นมีเนื้อที่น้อยไม่เพียงพอที่จะตั้งได้ ทั้งเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมถึง จึงได้ระงับไป
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้มีการขอตั้งกิ่งอำเภอ ในพื้นที่ ๔ ตำบลขึ้นอีก โดยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล คณะครู พ่อค้า ประชาชน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (นายประเทือง ธรรมสาลี) ประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๔๙๓ ที่โรงเรียนวัดบ้านสะพุง ตำบลตูม มติที่ประชุมได้เลือกโนนหนองทึม ที่บ้านตูม ตำบลตูม เป็นที่ตั้งกิ่งอำเภอโดยให้ใช้ชื่อว่า “กิ่งอำเภอหนองทึม” แต่ได้ล้มเลิกไป เนื่องจากอำเภอไม่เห็นด้วย
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้มีการขอตั้งกิ่งอำเภอขึ้นอีก โดยมีการประชุมคณะกรรมการดังกล่าว เพื่อปรึกษาหารือและดำเนินการขอตั้งกิ่งอำเภอ เมื่อ ๘ พฤษภาคม ๒๕๑๓ ที่โรงเรียนบ้านตระกาจ ตำบลศรีแก้ว ซึ่งมติที่ประชุมให้ดำเนินการขอตั้งกิ่งอำเภอที่บ้านตระกาจ ตำบลศรีแก้ว ให้ชื่อว่า “กิ่งอำเภอสระแก้วมโนสุข” แต่ก็ยังไม่สามารถขอตั้งเป็นกิ่งอำเภอได้ เนื่องจากอำเภอพิจารณาเห็นว่าที่ดินที่มอบให้ตั้งเป็นกิ่งอำเภอน้อยเกินไปไม่เพียงพอที่จะขยายพื้นที่ได้
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๙ สมัยนายรังสฤษฏ์ มณีนิล รักษาการในตำแหน่งนายอำเภอกันทรลักษ์ ได้ให้กำนันตำบลศรีแก้ว เชิญกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล คณะครู พ่อค้า ประชาชน ตำบลศรีแก้ว ตำบลพิงพวย ตำบลตูม และตำบลสระเยาว์ มาประชุมดำเนินการขอตั้งกิ่งอำเภออีกครั้ง เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๑๙ ที่โรงเรียนบ้านตระกาจ โดยมีสมาชิกสภาจังหวัดประจำอำเภอกันทรลักษ์ เข้าร่วมประชุมด้วย มติที่ประชุมตกลงเอาที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินของนายหนูเล็ก พรหมมานนท์ ซึ่งเป็นประชาชนตำบลศรีแก้ว มอบให้ที่บ้านโคน หมู่ที่ ๑๑ ตำบลศรีแก้ว เป็นที่ตั้งกิ่งอำเภอ ได้ดำเนินการขอตั้งกิ่งอำเภอผ่านไปอำเภอ จังหวัด และกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติให้จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๒๔ โดยใช้ชื่อว่า “ กิ่งอำเภอศรีรัตนะ” โดยแบ่งท้องที่การปกครองออกจากอำเภอกันทรลักษ์ จำนวน ๔ ตำบล ดังกล่าวข้างต้น
ต่อมาได้มีการดำเนินการเพื่อขอยกฐานะกิ่งอำเภอศรีรัตนะขึ้นเป็นอำเภอในปีงบประมาณ ๒๕๓๐ ตามโครงการวางแผนจัดตั้งฯ และยกฐานะระยะ ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๓๐-๒๕๓๔) เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๖ โดยหลักเกณฑ์ในการขอยกฐานะกิ่งอำเภอเป็นอำเภอ ดังนี้
๑. มีจำนวนพลเมืองตั้งแต่ ๒๕,๐๐๐ คนขึ้นไป
๒. ได้ยกฐานะจากกิ่งอำเภอที่ตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปี หรือไม่น้อยกว่า ๓ ปี ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น
๓. มีรายได้จากภาษีบำรุงท้องที่ตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐ บาทต่อปีขึ้นไป
๔. ต้องได้รับความเห็นชอบที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดและสภาจังหวัด
และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาตั้งเป็นอำเภอ ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๑๐๖ ตอนที่ ๘๓ หน้าที่ ๒๔๙ ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๓๒ และได้ยกฐานะเป็นอำเภอศรีรัตนะ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๓๒
เรียบเรียงโดย
นางสาวอุไรวรรณ แสงทอง นักจดหมายเหตุชำนาญการ
อ้างอิง https://www.govesite.com
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี : เอกสารสำนักทางหลวงที่ ๗ อุบลราชธานี
(๖) คค ๒.๑.๕.๖/๗๗
กรมศิลปากรขอเชิญชมการถ่ายทอดสด Facebook Live การแถลงข่าวนิทรรศการ "เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก" ในวันพฤหัสบดีที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร