ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขอเชิญร่วมโครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านศิลปะ ประวัติศาสตร์และโบราณคดี เรื่อง “จิตรกรรมฝาผนังกรุปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” ในวันเสาร์ที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๗ ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ อาคารเครื่องทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
---------------------------------------
กำหนดการ
เวลา ๑๒.๓๐ น. - ลงทะเบียนร่วมกิจกรรมฯ
เวลา ๑๓.๐๐ น. - บรรยายทางวิชาการ ในหัวข้อ “คติการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏภายในกรุปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” วิทยากร : ดร.อมรา ศรีสุชาติ อดีตนักโบราณคดีทรงคุณวุฒิ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณคดี (โบราณคดีและพิพิธภัณฑ์)) กรมศิลปากร
เวลา ๑๔.๓๐ น. - บรรยายทางวิชาการ ในหัวข้อ “ภาพจิตรกรรมที่ปรากฏภายในกรุปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” วิทยากร : ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม
เวลา ๑๖.๐๐ น. - ตอบข้อซักถามและประชาสัมพันธ์กิจกรรมครั้งต่อไป
-----------------------------------------
*รับจำนวนจำกัดเพียง ๑๐๐ ท่าน* ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมฯ ทาง Qr code (ฟรี) สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๒๔ ๑๕๘๗ (ทุกวัน ในเวลาราชการ)
พระธาตุเชิงชุมจำลอง
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ประทานเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕
พระธาตุเชิงชุมจำลองนี้ หล่อด้วยเงินประดับฉัตรทองคำ มีจารึกที่ฐานพระธาตุเชิงชุมจำลองทั้ง ๔ ด้าน ด้วยอักษรไทน้อย อักษรธรรมอีสาน อักษรไทย และอักษรขอมไทย มีเนื้อความเดียวกันความว่า “รูปธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร จำลอง เมื่อ พ,ศ,๒๔๖๙” โดยคณะกรมการจังหวัดสกลนคร ถวายเป็นที่ระลึกในคราวสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสด็จตรวจราชการจังหวัดสกลนคร เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙
จัดแสดงภายในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในนิทรรศพิเศษการเอกสารล้ำค่าจารึกสยาม เนื่องในสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ - ว่าด้วย “จารจารึกบันทึกสยาม” : ภาพรัฐจารีตถึงรัฐสมัยใหม่ก่อนปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๕
อุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) เป็นศาสนานครนิทานซึ่งพระอรหันต์แปลไว้ เริ่มต้นกล่าวถึงเมืองสุวรรณภูมิว่า มีกษัตริย์ผู้รักษาธรรม พร้อมด้วยผู้คนนับถือพระรัตนตรัย และเป็นสถานที่อยู่ของเหล่านาคทั้งหลาย เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมา จึงมีพุทธพยากรณ์ว่าพญาศรีโคตรบูรณ์จะไปเกิดเป็นพระยาสุมิตรธรรมได้ก่อตั้งอุรังคธาตุขึ้น ทั้งนี้ยังแสดงให้เห็นคติการนับถือรอยพระพุทธบาทและสถานที่สำคัญในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงด้วย
พระธาตุเชิงชุมนั้น นับเป็นสถานที่สำคัญที่มีการประดิษฐานรอยพระพุทธบาทในหนังสืออุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) ความว่า “ ...เราจักไปชุมรอยบาทที่แคมหนองหานหลวงที่นั้นก่อน และในหนองหานหลวงนี้มีพระยาองค์หนึ่ง มีพระนามว่าพระยาสุวรรณภิงคาร พระยาองค์นี้มีกระโจมหัวคำ และสังวาลย์คำ น้ำเต้าคำใหญ่ เสวยราชสมบัติอยู่ณเมืองนี้...”
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึง ได้ประทับรอยพระบาทและกระทำปาฏิหาริย์ต่อพระพักตร์พระยาสุวรรณภิงคาร ให้บังเกิดแก้วออกมาจากรอยพระบาทนั้น ทั้งนี้พระพุทธเจ้าได้อธิบายลักษณะของรอยพระบาทและมีพุทธพยากรณ์ไว้ ดังนี้
“รอยพระบาทพระกกุสันธ ยาวสามวากว้างหนึ่งวา รอยพระบาทพระโกนาคมน และพระกัสสป ยาวและกว้างโดยลำดับ รอยตถาคตยาวหนึ่งวาสองศอก สั้นกว่าทุกพระองค์ พระอริยเมตไตรยที่จักมาภายหน้านั้น จักได้เหยียบทับลงไปณะที่นั้น
...พระยาสุวรรณภิงคารพร้อมด้วยพระราชเทวี ได้ทรงสดับพระธรรมเทศนาพระปาทลักษณ์และอปหาริยธรรม อันพระศาสดาตรัสเทศนาดังนั้น ก็ทรงปีติปราโมทย์ยิ่งนัก แล้วทรงสร้างอุโมงด้วยหินปิดรอยพระพุทธบาทพร้อมทั้งมงกุฎ เหตุนั้นจึงได้เรียกชื่อว่าพระธาตุเชิงชุม มาเท่ากาลทุกวันนี้”
หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระมหากัสสปได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนหน้าอก (อุรังคธาตุ) มาประดิษฐาน ณ ภูกำพร้า (ปัจจุบันคือพระธาตุพนม) พระยาสุวรรณภิงคารก็ได้นำหินมุกมาก่ออุโมงค์ประดิษฐานพระอุรังคธาตุด้วย ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในพระพุทธศาสนา
พระธาตุเชิงชุมนี้ นับเป็น “พระธาตุชุมนุมรอยพระบาท” โดยคำว่า “เชิง” หมายถึง เบื้องล่าง, เท้า ส่วนคำว่า “สุม” หรือ “ชุม” มาจากภาษาถิ่น หมายถึง “การรวมกัน” มาจากประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ๔ รอย คือ รอยพระบาทของพระกกุสันธ พระโกนาคมน พระกัสสป และพระโคตม นั้นเอง
อ้างอิง
กรมศิลปากร. อุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม). [ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ อ.ต. หลวงประชุมบรรณสาร (พิณ เดชะคุปต์) วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ณสุสานวัดมกุฏกษัตริยาราม]. พระนคร: โรงพิมพ์ไทยเขษม. ๒๔๘๓.
กรมศิลปากร. อุรังคธาตุนิทาน (ตำนานการสร้างและการบูรณะพระธาตุพนมยุคโบราณ) . นครพนม : หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม กรมศิลปากร. ๒๕๖๓
กรมศิลปากร. เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม. กรุงเทพ : กรมศิลปากร. ๒๕๖๗
ยุทธพงศ์ มาตย์วิเศษ. บ้านเมืองอีสาน-สองฝั่งโขง ใน “อุรังคธาตุ” ตำนานพระธาตุพนม. เข้าถึงเมื่อ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๗ เข้าถึงได้จาก : https://www.silpa-mag.com/history/article_115115
องค์ความรู้ เรื่อง 5 ขุนเขาแห่งเมืองอู่ทอง
เรียบเรียง นางสาวกาญจนา ศรีเหรา บรรณารักษ์
สำนักช่างสิบหมู่ ขอเชิญรับฟังการเสวนาทางวิชาการ หัวข้อ " ในกาลปัจจุบัน " วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม 2567 เวลา 13:30 น. ณ เวทีเสวนาวิชาการ อาคารศูนย์ศิลปะและการช่างไทย วิทยากรโดย นายจักรพันธ์ หิรัญสาลี : จิตรกรผู้สร้างผลงานจิตรกรรมร่วมสมัย อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนที่สร้างชื่อเสียงไว้อย่างมากมาย นายวิสูตร ศรีนุกูล : จิตรกรผู้รังสรรค์ผลงานจิตรกรรมไทยประเพณี และจิตรกรรมไทยร่วมสมัยที่อ่อนช้อยงดงาม นายวิริยะ ชอบกตัญญู : ผู้ออกแบบตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ดำเนินรายการโดย นางสาวชุตินันท์ กฤชนาวิน : นักวิชาการช่างศิลป์ผู้ผลิตสื่อด้านศิลปกรรมเชิงวิชาการ และผู้ดูแลระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
การเสวนาทางวิชาการ เป็นกิจกรรมเนื่องในงานนิทรรศการศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ “สิปปกรวรราชสามิภักดิ์” วันที่ 9 - 11 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 - 16:00 น. ณ สำนักช่างสิบหมู่ ศาลายา จังหวัดนครปฐม และภายในงานพบกับการจัดแสดงผลงานศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ การบรรยายพิเศษ การแสดงดนตรีสากล การสาธิตงานศิลปกรรม การทำกิจกรรม Workshop และ Art Market
สำนักพระราชวัง ขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๗ ผ่านระบบออนไลน์ ที่เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ www.royaloffice.th ระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
การขออนุญาตเก็บรักษาโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินและ
อยู่ ในความดูแลรักษาของกรมศิลปากร
สารคดีเชิงข่าว “วังหน้าแห่งกรุงรัตนโกสินทร์” ตอนที่ ๓ พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ออกอากาศช่วงข่าวภาคค่ำ ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘
รายงานพิเศษ พาไปชมความสวยงามของพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ที่เพิ่งบูรณะเสร็จสิ้น ภายใต้โครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระราชวังบวรสถานมงคล