ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ
องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีเรื่อง คำช่างโบราณ ตอน ฐานบัว
เลขทะเบียน : นพ.บ.186/12ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 107 (123-132) ผูก 12 (2565)หัวเรื่อง : มหาวิภงฺคปาลิ, ปาจิตฺติปาลิ(บาฬีปาจิตตี)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.262/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 26 หน้า ; 4.5 x 57.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 116 ลาน2 (226-231) ผูก 7 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตป์ปกรณาภิธมฺม(พระปัฎฐาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง : ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ชื่อผู้แต่ง : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรีปีที่พิมพ์ : 2514สถานที่พิมพ์ : พระนครสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรีจำนวนหน้า : 184 หน้าสาระสังเขป : ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ เป็นผลงานการแปลของคุณสงวน โชติสุขรัตน์ ได้แปลจากอักษรธรรมล้านนามาเป็นภาษาไทยกลาง คุณสงวน ได้ทำการแปลเอาไว้ใน พ.ศ. 2509 ได้มีการนำมาจัดพิมพ์เป็นหนังสือครั้งแรกโดยสำนักนายกรัฐมนตรี ใน พ.ศ. 2514 และถือว่าเป็นฉบับที่เป็นที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะมีผู้นำไปใช้อ้างอิงเป็นจำนวนมากในหมู่ผู้สนใจศึกษาในเรื่องราวของประวัติศาสตร์ล้านนา เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ทางวิชาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดีของชาวไทยสมัยแรกมีอาณาจักรลานนาสืบมาจนถึงปัจจุบัน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี ๒๕๖๕ ชุด “คน (เริง) เมือง ย้อนมองเมืองเชียงใหม่ยุคโมเดิร์นไนซ์ ผ่านสถานที่ ผู้คน และวัตถุเริงรมย์” ระหว่างวันที่ ๒๘ เมษายน – ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ อาคารจัดแสดงชั้น ๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ นิทรรศการในครั้งนี้ได้จัดแสดงวัตถุที่เกี่ยวข้องกับความบันเทิงในยุคบุกเบิกของชาวเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย เครื่องแต่งกายของช่างฟ้อน หรือการแสดงละครต่าง ๆ เครื่องฉายภาพยนตร์สำหรับฟิล์มขนาด ๑๖ มม. พร้อมเล่นเสียงได้ในตัว เครื่องอัดเทปแบบม้วนต่อม้วน และกระเป๋าเก็บแผ่นเสียง Your Master’s Voice หรือ แผ่นเสียงตราหมา โดยวัตถุที่นำมาจัดแสดงเกือบทั้งหมด ได้รับมอบจากคุณศิริรัตน์ บุญประเสริฐ ทายาทของแม่ครูสมพันธ์ โชตนา ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง นาฏศิลป์พื้นบ้านล้านนา ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ หนึ่งในผู้สืบทอดการแสดงฟ้อนรำล้านนาตามรูปแบบการแสดงในคุ้มพระราชชายา เจ้าดารารัศมี นอกจากนี้ยังจัดแสดงภาพถ่ายเก่าเมืองเชียงใหม่ที่สื่อให้เห็นถึงพัฒนาการของเมืองเชียงใหม่ และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้คนในทศวรรษที่ ๒๕๐๐ - ต้นทศวรรษที่ ๒๕๑๐ ขอเชิญชวนผู้สนใจชมนิทรรศการได้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ เปิดทุกวันพุธ - อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. สอบถามเพิ่มเติมโทร. ๐ ๕๓๒๒ ๑๓๐๘
สิ่งของเครื่องใช้ในอดีตจากเอกสารจดหมายเหตุ
เครื่องพิมพ์ดีดใช้ในราชการมณฑลจันทบุรี
เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๗ กระทรวงมหาดไทยได้แจ้งมายังมณฑลจันทบุรี ให้สำรวจเครื่องพิมพ์ดีดที่มีไว้ใช้ในราชการแผนกมหาดไทยและอัยการในมณฑลจันทบุรี ซึ่งจังหวัดจันทบุรีได้รายงานผลการสำรวจว่า
- แผนกมหาดไทย ใช้พิมพ์ดีดพรีเมียรเบอร์ ๔ ซื้อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ จำนวน ๑ เครื่อง ราคา ๔๕๐ บาท ใช้ราชการไม่สะดวก ตัวสึก และไม่ใคร่เห็น
- แผนกอัยการ ใช้พิมพ์ดีดพรีเมียรเบอร์ ๔ ซื้อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ จำนวน ๑ เครื่อง ราคา ๔๐๐ บาท ใช้ราชการไม่สะดวก
- อำเภอขลุง ใช้พิมพ์ดีดพรีเมียรเบอร์ ๑๐ ซื้อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ จำนวน ๑ เครื่อง ราคา ๔๗๕ บาท ใช้ได้ดี
- อำเภอเมือง ใช้พิมพ์ดีดสมิทพรีเมียร์เบอร์ ๔๐ ซื้อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ จำนวน ๑ เครื่อง ราคา ๔๗๕ บาท ใช้ได้ดี
ปัจจุบันเครื่องพิมพ์ดีดรุ่นสมิทพรีเมียร์ นัมเบอร์ ๔ (Smith Premier No.๔) ซึ่งใช้ในราชการสมัยมณฑลจันทบุรี ได้จัดแสดง ณ ห้องนิทรรศการหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ในวันและเวลาราชการ
ท่านสามารถอ่านบทความที่เกี่ยวข้อง เรื่อง เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยรุ่นแรกในสยาม “ฃ” และ “ฅ” ทำไมจึงหายไป ? โดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี
https://www.facebook.com/102943834583364/posts/pfbid023iEJFcTdRGbcpYP6wZf2A8WouQK4NBDimoqW6GuUBne2bHZLziNtB6Yv1pnyh1tel/
ผู้เขียน
นางสาวสุจิณา พานิชกุล นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี
------------------------------
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี (๑๓)มท ๒.๑/๙๙ เรื่องให้สำรวจเครื่องพิมพ์ดีด (๒๙ ส.ค. – ๑๕ ก.ย. ๒๔๖๗).
โครงการทดลองประกอบหินหล่น ในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๕
เป็นการปฏิบัติงานต่อเนื่องจากเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕ เป็นการทดลองประกอบในเรื่องของตำแหน่งติดตั้งเดิม
โดยการวิเคราะห์ตามตำแหน่งในผังหินหล่นที่อยู่ในตำแหน่งที่ใกล้และตรงจุดที่ควรจะเป็นตำแหน่งติดตั้งเดิม
ส่วนใหญ่จะเป็นส่วนประกอบที่เป็นหน้าบันและหินที่เป็นชิ้นส่วนในระดับที่เป็นเชิงชายรองรับชั้นหลังคา
ส่วนบัวเชิงชายหลังคานั้นพบเพียงสองชิ้นเท่านั้นเป็นหินทรายแกะสลัก
เป็นเศียรนาคเรียงเป็นระยะหินทดลองประกอบชุดนี้เป็นชิ้นส่วนประกอบเหนือหน้าต่างระเบียงคตด้านทิศตะวันออกซีกด้านใต้ด้านนอก
ซึ่งเป็นหน้าต่างหลอก
การวิเคราะห์ตำแหน่งเดิมนี้เป็นการคาดเดาตามตำแหน่งที่ควรจะเป็น เนื่องจากตำแหน่งเดิมที่เป็นชั้นรองรับนั้นพังทลายและหาไม่พบชิ้นส่วนเหล่านั้นเลย
ชิ้นส่วนทั้งหลายที่เห็นอยู่ไม่เป็นชิ้นส่วนของผนังอาคาร หรือไม่ใช่ชิ้นส่วนที่จะทดลองปะกอบชั้นรองรับได้
โดยเฉพาะส่วนประกอบหน้าบัน
การวิเคราะห์ส่วนที่ควรจะติดตั้งได้ตามตำแหน่งเดิมนั้นยังได้เป็นบางส่วนเท่านั้นยังไม่ได้ดำเนินการทั้งหมดโดยรอบ
นายวิเชียร อริยเดช ผู้ชำนาญการบูรณะโบราณสถานประเภทหิน
เป็นเสาประดับผนังเป็นส่วนที่รองรับเศียรนาคหน้าบัน ซึ่งเป็นส่วนประกอบอยู่หน้าประตูด้านทิศตะวันออกหรือด้านหน้า เป็นชิ้นส่วนที่ทดลองประกอบได้ ทั้งสองเป็นส่วนเชื่อมต่อเนื่องกันตั้งแต่ชั้นรองเศียรนาค หักมุมทางด้านหน้าไปซีกด้านเหนือเป็นชิ้นส่วนที่ทดลองประกอบได้ ทั้งสองเป็นส่วนเชื่อมต่อเนื่องกันตั้งแต่ชั้นรองเศียรนาค หักมุมทางด้านหน้าไปซีกด้านเหนือมุขมุมประตูด้านทิศตะวันออกซีกด้านใต้ชิ้นส่วนยังไม่พบและยังไม่มีการทดลองประกอบได้ เป็นหน้าบันประดับอยู่ประตูหลอกโคปุระด้านทิศตะวันออกซีกด้านเหนือ ซึ่งพบชิ้นส่วนที่ทดลองประกอบได้เพียงครึ่งเดียวทั้งภาพที่ ๗ และ ๘ เป็นชุดเดียวกันภาพที่ ๘ เป็นส่วนยอดประตูหลอกห้องโคปุระด้านทิศตะวันออกซีกด้านเหนือ ที่มีหน้าบันภาพที่ ๗ ประดับอยู่เหนือประตูซีกเหนือหน้าบันชุดนี้ติดตั้งอยู่เหนือห้องโคปุระด้านทิศตะวันออกช่วงต่อระเบียงคตด้านทิศตะวันออกซีกด้านเหนือ ชิ้นส่วนหินทดลองประกอบเป็นชั้นรองรับเชิงชายเหนือหน้าต่างหลอกระเบียงคต ด้านทิศตะวันออกซีกด้านทิศใต้
ประตูมุขมุมระเบียงคตด้านทิศตะวันออกซีกด้านทิศใต้ ทับหลังประกอบด้วยชุดหน้าบันชุดนี้ตามในผังหินหล่นควรจะประดับอยู่เหนือซุ้มประตูมุขมุมระเบียงคตด้านทิศตะวันออกซีกด้านทิศใต้ ช่วงสุดห้องโคปุระด้านทิศใต้ซีกด้านทิศตะวันออกทับหลังประกอบด้วยชุดหน้าบันชุดนี้ตามในผังหินหล่นควรจะประดับอยู่เหนือซุ้มประตูมุขมุมระเบียงคตด้านทิศตะวันออกซีกด้านทิศใต้ชุดนาคหน้าบันของห้องโคปุระช่วงติดกับระเบียงคตด้านทิศใต้ซีกด้านทิศตะวันตก (อยู่เหนือกำแพงอิฐห้องโคปุระด้านทิศใต้ซีกตะวันตก)ชุดนาคหน้าบันของห้องโคปุระช่วงติดกับระเบียงคตด้านทิศใต้ซีกด้านทิศตะวันตก (อยู่เหนือกำแพงอิฐห้องโคปุระด้านทิศใต้ซีกตะวันตก)ประตูทางเข้าโคปุระด้านทิศใต้ชุดหน้าบันที่ทดลองประกอบได้เป็นชิ้นส่วนที่ประกอบอยู่เหนือกรอบประตูด้านทิศใต้ประตูด้านนอกซีกด้านทิศตะวันตกการทดลองประกอบหินหล่นยังมีการทดลองประกอบอยู่อย่างต่อเนื่อง เมื่อพบชิ้นส่วนที่หน้าจะประกอบกันได้ช่างกำลังเขียนแบบชิ้นส่วนที่ทดลองประกอบได้ ซึ่งจะต้องเขียนไว้ทั้งหมดเพื่อการประกอบเข้ารูปแบบอาคารระเบียงคตและหน้าบันชุดนี้จะประดับอยู่เหนือประตูมุขมุมโคปุระด้านทิศใต้ซีกด้านทิศตะวันออก หรือซุ้มประตูกำแพงด้านทิศตะวันออกซีกด้านทิศใต้หน้าบันที่เคยทดลองประกอบไว้เป็นส่วนที่ประดับอยู่เหนือห้องกลางโคปุระด้านทิศตัวนออกซีกด้านทิศตะวันออกประตูห้องกลางของโคปุระด้านทิศตะวันออกซีกด้านทิศตะวันออกวงกบตัวบนหาไม่พบ มีหน้าบันประดับอยู่เหนือห้องกลางของโคปุระด้านทิศตะวันออกซีกด้านทิศตะวันออก
ธนิต อยู่โพธิ์. มาร. พระนคร : กรมศิลปากร, 2513. เรื่องมารเล่มนี้ประกอบด้วยเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับมาร ได้แก่ ชื่อมาร กามเทพ มารหมายถึงอะไร ภพของมาร ธิดามาร เสนามาร พาหนะมาร บ่วงมาร อุบายชำระมาร เป็นต้น ท้ายเล่มจะเป็นบทส่ง
รูปพระสุภูติมหาเถร
สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๓-๒๔
เป็นของอยู่ในพิพิธภัณฑสถานมาแต่เดิม ได้มาจากไหนไม่ปรากฏ
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้อง ธนบุรี-รัตนโกสินทร์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
----------------------------------------------
ประติมากรรมรูปบุคคล เงยศีรษะขึ้น ใบหน้ากลม คิ้วโก่ง ดวงตาเหลือบต่ำ จมูกใหญ่ ริมฝีปากหนา แสดงอาการยิ้มเล็กน้อย ใบหูยาว รูปร่างอ้วนครองจีวรแบบห่มดอง*แสดงการคาดผ้ารัดอก มีท้องพลุ้ย มือซ้ายโอบหน้าท้อง ส่วนมือขวายกขึ้น (กิริยากวักเรียกฝน) นั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัว รูปแบบดังกล่าวจึงทำให้ประติมากรรมพระสุภูติมีลักษณะบางประการคล้ายกับประติมากรรมพระมหากัจจายนเถระ
ประวัติของพระสุภูติปรากฏในคัมภีร์วิสุทธชนวิลาสินีอรรถกถา พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน กล่าวถึงประวัติพระสุภูติว่า
ครั้งหนึ่งพระสุภูติจาริกถึงกรุงราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารได้อาราธนาให้พระสุภูติประทับอยู่ ณ เมืองราชคฤห์ พร้อมทั้งสัญญาว่าจะสร้างกุฏิถวายให้ แต่เนื่องจากทรงมีพระราชกิจหลายอย่าง ทำให้ทรงลืมข้อสัญญาดังกล่าว ครั้นถึงฤดูฝนปรากฏว่าฝนไม่ตก พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงระลึกขึ้นได้ว่าพระองค์ลืมสร้างกุฏิถวายพระสุภูติ ทรงมีรับสั่งให้สร้างกุฏิที่มุงหลังคาด้วยใบไม้ถวาย เมื่อพระสุภูติเข้าไปอาศัยด้านในแล้วฝนก็ยังตกเพียงเล็กน้อย พระสุภูติจึงกล่าวคาถามีใจความว่า ตนพ้นจากภยันตราย มีอาคารกำบังแล้ว ขอให้เทพเทวดาบันดาลให้ฝนตก เมื่อกล่าวคาถาจบลง เมฆฝนก็ก่อตัวขึ้น เกิดเป็นฝนห่าใหญ่ตกทั่วเมืองราชคฤห์
จากประวัติของพระสุภูติข้างต้น จึงทำให้ประติมานของรูปเคารพพระสุภูติมีลักษณะการแสดงอิริยาบถที่สัมพันธ์กับ “เบื้องบน” หรือ “ท้องฟ้า” เช่น การแหงนหน้ามองด้านบน หรือชูแขนข้างหนึ่งขึ้นในท่ากวักมือเรียกเป็นต้น ในงานพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ พระสุภูติจึงเป็นประติมากรรมองค์สำคัญที่ใช้ประกอบพิธี
อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงมีพระบรมราชาธิบายถึงพระสุภูติในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ไว้ว่า การประดิษฐานพระสุภูติในพระราชพิธีจะตั้งไว้อยู่กลางแจ้ง ตรงกันข้ามกับคาถาที่ใช้สวดในพระราชพิธี คือ “คาถาสุภูโต” ที่มีเนื้อความตามสุภูติเถรคาถา ในพระสุตตันตปิฎก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ทรงเรียบเรียงขึ้นใหม่ และใช้มาตลอดนับตั้งแต่รัชกาลของพระองค์ในคราวที่ฝนแล้ง ดังมีประกาศให้พระอารามต่าง ๆ สวดคาถาสุภูโต และงานพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ไม่ได้มีกำหนดตายตัวว่าจะต้องจัดกี่วัน ขึ้นอยู่กับว่าฝนจะตกหรือไม่ และตกมากน้อยเพียงใด หากฝนตกไม่มากก็ยังคงทำพิธีต่อไป อีกทั้งพระราชพิธีพิรุณศาสตร์มิได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี หากแต่จัดขึ้นในคราวที่เกิดภาวะแล้งขาดแคลนน้ำฝนเท่านั้น
* ห่มดอง หมายถึง วิธีห่มผ้าของพระภิกษุสามเณรอย่างหนึ่งโดยห่มเฉวียงบ่าและมีผ้ารัดอก (ตามความหมายใน ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖ หน้า ๑๓๑๙)
----------------------------------------------
อ้างอิง :
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพิธี ๑๒ เดือน. พระนคร: แพร่พิทยา, ๒๕๑๔.
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. รวมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ (กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๔๘.
. รวมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔. กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๔๘.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๘ ภาคที่ ๒. กรุงเทพฯ: โรง พิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
---------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล : นายพนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ศิลปกรรมปูนปั้นที่วัดอาวาสใหญ่ เมืองกำแพงเพชรวัดอาวาสใหญ่ตั้งอยู่ในเขตอรัญญิกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองกำแพงเพชร ห่างจากประตูสะพานโคมประมาณ 2 กิโลเมตร ปัจจุบันมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (กำแพงเพชร-สุโขทัย) ตัดผ่านด้านหน้าวัด.วัดอาวาสใหญ่มีการใช้ปูนในการก่อสร้าง ประดับตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรมต่างๆ ดังปรากฏหลักฐานในเอกสารที่เขียนขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 ตัวอย่างเช่น .หลักฐานเชิงประจักษ์เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือในปี พ.ศ. 2450 ได้พระราชนิพนธ์ถึงวัดอาวาสใหญ่ ความว่า..“...วัดที่เรียกตามชื่อของราษฎรว่า อาวาสใหญ่ ชิ้นสำคัญในวัดนี้คือ พระธาตุใหญ่ อยู่กลางลาน รอบลานมีเป็นกำแพงสูงประมาณ 5 ศอก บนกำแพงมีเจดีย์ย่อม ๆ ก่อเป็นระยะไว้รอบ เป็นบริวารพระมหาธาตุ ตัวพระมหาธาตุเองตั้งบนฐานทักษิณ มีบันไดขึ้นสี่ด้าน มีกำแพงล้อมรอบทักษิณ ทั้งที่กำแพงและที่ประตูมีรูปสลักงาม ๆ เป็นยักษ์บ้างเทวดาบ้าง ฝีมือสลักแลงามน่าดูนัก...” (ปัจจุบันไม่พบร่องรอยรูปสลักยักษ์ และเทวดาแล้ว)..จากรายงานการขุดแต่งและบูรณะวัดอาวาสใหญ่ พบร่องรอยการฉาบและสอปูนบริเวณกำแพงแก้ว ร่องรอยปูนฉาบวิหาร และพบร่องรอยการดาดปูนที่พื้นฉนวนทางเดินโดยรอบ บริเวณที่ชิดกับผนังบ่อน้ำ.จากการสำรวจพบร่องรอยปูนที่ปรากฏในงานศิลปกรรมของวัดอาวาสใหญ่ประเภทปูนฉาบหรือปูนตกแต่ง และปูนปั้น ดังนี้.ปูนฉาบ หรือ ปูนตกแต่ง - บ่อสามแสน พบร่องรอยปูนฉาบบริเวณผนังทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก ซึ่งสอดคล้องกับภาพถ่ายเก่าสมัยรัชกาลที่ 5 - เจดีย์รายหมายเลข 3.18 พบชิ้นส่วนบัวคลุ่ม ลักษณะภายในปรากฏอิฐหน้าวัววางเรียงต่อกันเป็นวงโค้งมีปูนตกแต่งรูปกลีบบัวอยู่ด้านนอกความหนาประมาณ 5-10 เซนติเมตร - เจดีย์รายหมายเลข 3.2 บนฐานไพที พบปูนฉาบหนาประมาณ 1-4 เซนติเมตร - บริเวณฐานไพทีรูปตัว “L” รองรับเจดีย์ราย พบปูนฉาบหนาประมาณ 1 เซนติเมตร และพบปูนฉาบบริเวณฐานบัว ส่วนลูกแก้วอกไก่หนา 3-4 เซนติเมตร ส่วนบัวคว่ำความหนาประมาณ 5 เซนติเมตร - วิหาร บริเวณฐานบัวลูกแก้วอกไก่ ส่วนหน้ากระดานพบปูนฉาบหนา 1 เซนติเมตร บริเวณลูกแก้วอกไก่หนา 3-4 เซนติเมตร ส่วนฐานบัวคว่ำหนา 5 เซนติเมตร โดยปูนฉาบส่วนบัวคว่ำพบปูนปะปนกับชิ้นส่วนศิลาแลง ชิ้นส่วนกระเบื้องดินเผา และเม็ดทรายขนาด 1 เซนติเมตร ในขณะที่อาคารวิหารพบปูนฉาบผสมทรายเนื้อละเอียดฉาบผนัง ซุ้มประตูทางเข้า และเสารองรับหลังคาหนาประมาณ 2 เซนติเมตร ส่วนฐานบัวรองรับตัวอาคารพบร่องรอยการฉาบปูนสองครั้ง โดยการฉาบครั้งแรกมีความหนาประมาณ 1 เซนติเมตร ขีดผิวหน้าเป็นรูปกากบาท (X) แล้วจึงฉาบปูนทับอีกครั้งหนึ่ง ความหนาโดยรวมประมาณ 5 เซนติเมตร - อุโบสถ และศาลาหมายเลข 4.2 พบปูนฉาบหนาประมาณ 1 เซนติเมตร และพบปูนฉาบเสาพาไลหนาประมาณ 3-4 เซนติเมตร - ศาลาหมายเลข 4.1 และศาลาหมายเลข 4.6 พบปูนฉาบอาคารความหนาประมาณ 1 เซนติเมตร - ศาลาหมายเลข 4.4 พบปูนฉาบบริเวณเสารองรับหลังคามีความหนาประมาณ 1- 2 เซนติเมตร และพบปูนฉาบบริเวณพนักระวางเสามีความหนาประมาณ 4 เซนติเมตร - กุฏิหมายเลข 5.15 พบปูนฉาบอาคารความหนาประมาณ 1 เซนติเมตร - กุฏิหมายเลข 5.20 พบร่องรอยการสอปูนโดยใช้ชิ้นส่วนกระเบื้องดินเผาแทรกในเนื้อปูนบริเวณมุมอาคารทิศตะวันตกเฉียงเหนือ..ปูนปั้น - สิงห์ประดับฐานเจดีย์รายหมายเลข 3.1 (บนฐานไพทีรูปตัว L) บริเวณฐานไพทีพบแกนศิลาแลงยื่นออกมาจากตัวฐานซึ่งคาดว่าเป็นเดือยยึดประติมากรรมกับฐาน ประติมากรรมมีลักษณะเป็นโกลนศิลาแลงตกแต่งปูนปั้นสันนิษฐานว่าเป็นรูปสิงห์ จากร่องรอยแผงคอบริเวณส่วนหัว โดยปูนมีความหนาประมาณ 4-9 เซนติเมตร..จากหลักฐานที่พบสันนิษฐานว่าปูนที่ใช้ฉาบตกแต่งอาคารวัดอาวาสใหญ่มีสองลักษณะคือ 1. การใช้ชิ้นส่วนศิลาแลง ชิ้นส่วนกระเบื้องดินเผา และเม็ดทรายขนาดใหญ่ (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร) เป็นส่วนผสมปูนฉาบ เช่น ฐานไพทีรองรับวิหาร 2. ใช้ทรายเนื้อละเอียด (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร)เป็นส่วนผสมในการฉาบปูน เช่น ผนัง ซุ้มประตูทางเข้า และเสารองรับหลังคาวิหาร นอกจากนี้ยังพบการผสมชิ้นส่วนกระเบื้องดินเผากับปูนที่ใช้ก่อสอระหว่างศิลาแลงเพื่อสร้างอาคาร และพบร่องรอยแสดงถึงการฉาบปูนสองครั้งบริเวณฐานบัวของวิหารด้วย________________________________________เอกสารอ้างอิงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. 2559. เที่ยวเมืองพระร่วง : พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว และเรื่องสืบเนื่อง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเพชรรัตน-สุวันทา.สมคิด จิระทัศนกุล. 2559. อภิธานศัพท์ช่างสถาปัตยกรรมไทย เล่ม 2 องค์ประกอบ “ส่วนฐาน”. กรุงเทพฯ : คณะ สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร. ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามเพชร. (ม.ป.ป.). รายงานการบูรณะโบราณสถานวัดอาวาสใหญ่ จังหวัดกำแพงเพชร. ม.ป.พ.: ม.ป.ท.. (อัดสำเนา)อนันต์ ชูโชติ, นารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์ และธาดา สังข์ทอง. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: บริษัท บางกอกอินเฮาส์ จำกัด, 2561.อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. (ม.ป.ป.). รายงานการขุดแต่งวัดอาวาสใหญ่ ในอรัญญิก เมืองกำแพงเพชรเก่า. ม.ป.พ.: ม.ป.ท.. (อัดสำเนา)