ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,342 รายการ

เชิญร่วมกิจกรรมสันทนาการเนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ปี ๒๕๕๖ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น ไม่เสียค่าใช้จ่าย



ดาวน์โหลดเอกสาร


กระดิ่งและวัชระ (Ghanta and Dorje)  สิ่งของสำคัญในพิธีกรรมของพุทธศาสนานิกายตันตระ ของชาวธิเบต ตามประเพณีของชาว  พุทธในธิเบต กระดิ่งใบนี้จะต้องอยู่คู่กับวัชระเพชรดอร์เจ (Dorje) ในการประกอบพิธีแบบตันตระโดยผู้ทำพิธีจะถือกระดิ่งไว้ในมือซ้าย ส่วนวัชระจะถือไว้ในมือขวาระหว่างการประกอบพิธี          กันตะ (Ghanta) ในภาษาธิเบตแปลว่า กระดิ่ง เป็นของใช้ในการประกอบพิธีตามความเชื่อของชาวธิเบตที่นับถือศาสนาพุทธนิกายตันตระ เชื่อกันว่าการใช้กระดิ่งและวัชระจะช่วยให้สามารถบรรลุธรรมได้ นอกจากนี้เสียงของกระดิ่งยังช่วยในเรื่องการกำหนดจิตภาวนาอีกด้วย      ตามหลักพุทธศาสนา กระดิ่งกันตะนี้เป็นตัวแทนพลังของความเป็นสตรีเพศ ปัญญาความสามารถในการรับรู้ และเสียงแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนวัชระนั้นเป็นตัวแทนของบุรุษเพศ                                          คำว่า Dorje เป็นคำในภาษาธิเบต หมายถึง สิ่งที่เป็นอมตะ หรือสิ่งที่ไม่สามารถทำลายได้วัชระในพุทธศาสนาของชาวธิเบตนั้นเป็นสัญลักษณ์แทนอำนาจของความเป็นบุรุษเพศ แรงดลใจและการตัดความไม่รู้ ความโง่เขลา และสิ่งลวงตาออกไป                                       ในพิธีกรรมของชาวธิเบตวัชระเพชรนี้จะอยู่คู่กับกระดิ่ง อันเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นสตรีเพศ โดยผู้ที่ทำพิธีจะนำของสองสิ่งนี้มาวางทาบบนอก จะเป็นสัญลักษณ์แทนการรวมเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างพลังของชายและหญิง เมื่อรวมเอาทั้งสองสิ่งเข้าด้วยกันจะหมายถึงการปฏิบัติแต่ความหมายของของสำคัญ ๒ สิ่งนี้ไม่ได้มีความหมายเพียงเท่านี้ หากแต่ยังมีความหมายอื่นที่ซ่อนเร้นอยู่อีก นั่นคือ กระดิ่งและวัชระยังหมายถึง การกระทำอันดีงาม และความกรุณาปรานีดังนั้นการใช้กระดิ่งและวัชระร่วมกัน จึงเป็นสัญลักษณ์ของการผสมผสานกันระหว่างปัญญาและความกรุณาปรานี                                         ในสมัยโบราณเดิมทีนั้นวัชระเป็นสัญลักษณ์ของอสุนีบาตหรือสายฟ้าที่พระอินทร์เทพเจ้าของชาวฮินดูใช้กวัดแกว่งเป็นอาวุธ แต่ในพุทธศาสนาด้วยความสว่างไสวของมัน จึงทำให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของอสุนีบาตและเพชร ในฐานะอสุนีบาตหรือสายฟ้าจะถือว่าเป็นสิ่งที่สามารถทำลายความมืดมิดในยามราตรีให้หมดไป ส่วนในฐานะเพชรก็เป็นตัวแทนที่สื่อถึงความแข็งแกร่งเหนือสิ่งอื่นใด เพราะเพชรเป็นสิ่งที่มีความแข็งแกร่งสามารถตัดสิ่งของต่างๆ ให้ขาดจากกันได้ชาวธิเบตจึงเชื่อกันว่าหากจิตใจบรรลุถึงแสงสว่างแห่งธรรมได้แล้ว ก็จะสามารถตัดม่านหมอกแห่งความโง่เขลาหรือความไม่รู้ให้หมดไปได้ รวมทั้งความสับสนว้าวุ่นใจที่มีอยู่ในจิตใจของปุถุชนทั่วไป   จาก หนังสือนัยแห่งสัญลักษณ์ ภาพประกอบ http://tibet-incense.com/blog/sand-mandala-yamantaka-mandala-day-11-part-2/ http://www.buddhafiguren.de/products/en/Ceremonial-Items/Ghanta/Ghanta-Set-bell-Lama-quality-22-cm.html http://www.dunum.ch/en/online-shop.html?page=shop.browse&category= http://www.asianart.com/lieberman/gallery2/d7441.html http://en.wikipedia.org/wiki/File:Vajrasattva_Tibet.jpg  



วันอังคารที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐ สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลนครระยอง เดินทางมาศึกษาดูงานด้านการดำเนินการทำลายหนังสือราชการ ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี



หอระฆังไม้  วัดศรีบุญเรือง ที่ตั้ง              วัดศรีบุญเรือง  บ้านนาแบก  ตำบลเวียงคำ  อำเภอกุมภวาปี  จังหวัดอุดรธานี   พิกัดแผนที่       แผนที่ระวาง  5643  III  มาตราส่วน  1: 50,000                      พิมพ์ครั้งที่  1  -RTSD  ลำดับชุด  L  7017                      พิกัดกริด  48  QTD  910933                      เส้นรุ้ง  ๑๗  องศา  ๐๖  ลิปดา  ๕๗  ฟิลิปดา  เหนือ                      เส้นแวง  ๑๐๓  องศา  ๐๒  ลิปดา  ๐๙  ฟิลิปดา  ตะวันออก       สิ่งสำคัญที่ขึ้นทะเบียน                      ๑.หอระฆังไม้       ประวัติสังเขป                      สร้างวัดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๔  ชาวบ้านเรียกว่า  วัดนาแบก  ผู้สร้างวัดคือ  คุณอบมา  คุณาวัตร  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่  ๑๕  พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๕๑๙   หอระฆังสร้างในปี  พ.ศ.  ๒๕๐๒  แล้วเสร็จในปี  พ.ศ.  ๒๕๐๔  สร้างโดยพระอธิการประสิทธิ์  ปสิทธิโก  พร้อมชาวบ้านนาแบก  ช่างผู้นำในการก่อสร้างคือ  พ่อใหญ่สี  ประสงค์สุข  ซึ่งเป็นผู้ออกแบบหอระฆังเองทั้งหมดด้วย       ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม                      เป็นหอระฆังไม้ทรงสูง  เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส  สร้างด้วยไม้ทั้งหมด  เสารองรับหอระฆัง  มีขนาดเส้นรอบวงประมาณ  ๑.๑๕  เมตร  ระยะห่างของเสาทั้ง  ๔  ต้น  ห่างกันประมาณ  ๒.๑๐  เมตร  หอระฆังเป็นหอสูง  ๔  ชั้น  แต่ละชั้นปูพื้นไม้กระดาน  มีบันไดเชื่อมต่อกันทุกชั้น  หลังคาทรงจตุรมุขลดหลั่นกัน  ๓  ชั้น  ประดับด้วยลวดลายไม้ฉลุ  ลายเครือเถาลายกนก  ศิลปกรรมแบบพื้นถิ่นอีสาน       อายุสมัย          สร้างปี  พ.ศ.  ๒๕๐๒  แล้วเสร็จปี  พ.ศ. ๒๕๐๔  อายุประมาณ  ๔๐  ปีมาแล้ว       ประเภทโบราณสถาน                      หอระฆังในบริเวณวัด       ลักษณะการใช้งานในปัจจุบัน                      เลิกใช้งานแล้ว       การดำเนินงาน  -       การขึ้นทะเบียน                      ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน  ในราชกิจจานุเบกษา  เล่ม  ๑๑๖   ตอนพิเศษ  ๑๗ ง.  วันที่  ๑๗  มีนาคม  ๒๕๔๒  พื้นที่ประมาณ  ๓  งาน  ๘๘  ตารางวา       ที่มาของข้อมูล                      ๑.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖ ตอนพิเศษ ๑๗ ง.หน้า๑๐ วันที่ ๑๗ มีนาคม  ๒๕๔๒.                      ๒.สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  ที่  ๗  ขอนแก่น , รายงานการสำรวจขึ้นทะเบียนโบราณสถานหอระฆังไม้  อำเภอกุมภวาปี  จังหวัดอุดรธานี , ๒๕๔๑



***บรรณานุกรม*** หนังสือหายาก หลวงสำเร็จวรรณกิจ.  นิทานร้อยบรรทัด เล่ม ๔ เรื่องประเทศเล็กที่สมบูรณ์ชั้นประถมปีที่ ๕.  พระนคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, ๒๕๑๙.


ชื่อผู้แต่ง       M.R.Chakrarot Chitrabongs.  ชื่อเรื่อง        Selected Articles By M.R.Chakrarot Chitrabongs. พิมพ์ครั้งที่       - สถานที่พิมพ์     Bangkok. สำนักพิมพ์       Ministry of Culture ปีที่พิมพ์          ๒๐๐๔ จำนวนหน้า      ๑๕๒ หน้า                            ผู้จัดพิมพ์ได้รวบรวมบทความของหม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ เพื่อเผยแพร่งานด้านศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า อันเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ หวังเพื่อเป็นประโยชน์แก่ ผู้อ่าน ผู้สนใจ


รายงานการเดินทางไปราชการ ณ เมืองรากุนด้า ประเทศสวีเดน ระหว่างวันที่ ๓ – ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ของนายธนารัตน์ สอดทรัพย์ สถาปนิกปฏิบัติการ ๑.ชื่อโครงการ โครงการสำรวจความเสียหายและจัดทำแบบปรังปรุงอาคารพระบรมราชานุสรณ์                           พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ เมืองรากุนด้า ประเทศสวีเดน ๒.วัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความเสียหายและจัดทำแบบปรับปรุง รวมทั้งประมาณราคาก่อสร้าง                อาคารพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเทิดพระเกียรติครบรอบ ๑๒๐ ปี การเสด็จประพาสยุโรปและสวีเดนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๓.กำหนดเวลา  ระหว่างวันที่ ๓ – ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ๔.สถานที่  อาคารพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว                                                                       ณ เมืองรากุนด้า ประเทศสวีเดน ๕.หน่วยงานผู้จัด กระทรวงการต่างประเทศ ๖.หน่วยงานสนับสนุน เทศบาลรากุนด้า ๗.กิจกรรม มีรายละเอียดดังต่อไปนี้   วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เดินทางจากกรุงเทพมหานคร ไปยังกรุงสตอกโฮล์มประเทศสวีเดน เที่ยวเวลา ๐๑.๑๐ น.          วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ถึงสนามบินที่กรุงสตอกโฮล์ม ประมาณ ๗.๐๐ น. คุณพิชญา เมธานุเคราะห์ เลขานุการเอก สำนักงานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม มารอรับและไปส่งที่ Central Station เพื่อขึ้นรถไฟไปเมือง Sunsvall และเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวไปกับผู้ประสานงานอีกท่านไปยังอาคารพระบรมราชานุสรณ์ พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ เมืองรากุนด้าเพื่อเข้าพบนายเกียรติคุณ ชาติประเสริฐ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงสตอกโฮล์มเพื่อประชุมรับทราบแนวทางการปฏิบัติงาน การประสานงานต่างๆ วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เริ่มทำการสำรวจสภาพความเสียหายของตัวอาคารพระบรมราชานุสรณ์ฯ โดยช่วงเช้าเริ่มจากสำรวจความเสียหายภายนอกอาคาร ไล่ตามลำดับจากส่วนพื้นลานโดยรอบ ส่วนฐาน ผนัง ประตู-หน้าต่าง ชั้นหลังคา ตลอดไปยังส่วนเครื่องยอดและช่วงบ่ายเข้าไปสำรวจสภาพความเสียหายภายในอาคาร ทั้งส่วนพื้น ผนัง ฝ้าเพดาน ภาพจิตรกรรมภายใน โดยเก็บข้อมูลด้วยการจดบันทึกและภาพถ่าย วันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙           ช่วงเช้าและบ่ายทำการสำรวจเฉพาะส่วนหลังคาทุกด้าน เพื่อตรวจสอบความเสียหายของกระเบื้องมุงหลังคา ระบบรางระบายน้ำ รวมทั้งองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมทั้งหมด เช่น หน้าบัน รวยระกา ช่อฟ้า หางหงส์  โดยการใช้เครนยกเพื่อขึ้นไปสำรวจในจุดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากด้านล่าง ช่วงเย็นทำการเช็คข้อมูลอีกครั้งเพื่อกันการตกหล่น แล้วเดินทางไปพักในเมือง Sunsvall เพื่อเตรียมตัวเดินทางกลับไปยังกรุงสตอกโฮล์มในช่วงเช้า วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เดินทางด้วยรถไฟจากเมือง Sunsvall ไปยังกรุงสตอกโฮล์ม เพื่อสรุปข้อมูลสำหรับดำเนินการจัดทำแบบซ่อมแซมที่ประเทศไทยและเตรียมตัวเดินทางในวันถัดไป วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙           เดินทางไปยังเมืองนีเชอปิงเพื่อทัศนศึกษาด้วยทุนส่วนตัวตามที่ได้รับอนุญาต ๘.คณะผู้แทนไทย นายธนารัตน์ สอดทรัพย์ สถาปนิกปฏิบัติการ ผู้สำรวจและประเมินความเสียหาย     ๙.สรุปสาระของกิจกรรม สำรวจและประเมินความเสียหายเพื่อจัดทำแบบปรับปรุงและเอกสารประมาณราคาก่อสร้างเพื่อนำไปดำเนินการต่อไป ๑๐.ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม ไม่มี                นายธนารัตน์ สอดทรัพย์  สถาปนิกปฏิบัติการ ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ                                                                   


เลขทะเบียน : นพ.บ.8/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า  ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 5 (47-61) ผูก 10หัวเรื่อง : สมนฺตปาสาทิกา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.32/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  16 หน้า  ; 4.7 x 57.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 18 (189-193) ผูก 4หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.55/ข/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า ; 4 x 51.3 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 36 (359-363) ผูก 5หัวเรื่อง :  มหานิปาตวณฺณนา --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger