ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.261/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 24 หน้า ; 5 x 58 ซ.ม. : ทองทึบ-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 116 (217-225) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : พทฺธปฏิมากรกตานิสํสกถา(อานิสงส์สร้างพระพุทธรูป)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง : เศรษฐกิจทางใจ โดย แส สายะเสวี ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียงจงเจริญ จำนวนหน้า : 408 หน้าสาระสังเขป : เป็นหนังสือที่เขียนตามแนวธรรมะ ทำนองหนังสือ “นำเที่ยวพระนิพพาน” ที่ได้เขียนมาแล้ว ชั้นแรกได้ตั้งใจไว้ว่า จะเขียนให้เป็นนำเที่ยวพระนิพพานรอบสอง แต่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องชื่อของหนังสือจากท่านที่เคารพหลายท่าน แต่ความตั้งใจของผู้เขียน เพียงต้องการให้ชื่อเรื่องสะกิดใจผู้อ่าน เพื่อเรียกศรัทธาเสียแต่ต้นมือ เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นหนังสือธรรมะแล้ว เรียกร้องความสนใจได้ยากนักหนา เศรษฐกิจทางใจ คือการเปิดเผยโทษของโลกเท่าที่มองเห็น และเท่าที่ทองเห็น และเท่าที่เป็นอยู่ในสมัยปัจจุบันนี้และวิธีการปลดปล่อยข้อผูกพันที่ดำเนินไปตามหลักความจริง คือ ธรรมะซึ่งถ้าไม่เข้าใจเอาเองว่าเป็น “ธรรมชั้นสูง”
วัดดงหวาย ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำป่าสัก อยู่ในเขตตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๓๔๐ ปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่า “วัดดง” สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา ได้ดำเนินการบูรณะ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๒ โบราณสถานสำคัญภายในวัด ประกอบด้วย อุโบสถ วิหารพระนอน และเจดีย์
ในส่วนของวิหารพระนอน ตั้งอยู่ห่างจากอุโบสถไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๓๐ เมตร ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนฐานบัวลูกแก้ว ขนาด ๓ ห้อง หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง เจาะช่องประตู ด้านละ ๑ ช่อง ด้านข้างเจาะช่องหน้าต่างด้านละ ๑ ช่อง บริเวณหน้าบันประดับลวดลายปูนปั้นรูปเทพนม บุคคลถือสิ่งของ ดอกไม้ ๓ ดอก และข้อความ ร.ศ. ๑๒๘ ตรงกับปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นเล่าเรื่องราวพุทธประวัติ ๒ องค์
พระนอนองค์แรก ลักษณะเป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ปางไสยาสน์ นอนตะแคงขวา พระบาทซ้ายทับพระบาทขวาวางเสมอกัน ฝ่าพระหัตถ์ยกขึ้นประคองเศียร ฝ่าพระบาททั้งสองข้างสลักเป็นรูปกงจักร ประดิษฐานอยู่บนแท่นฐานปัทม์ เบื้องพระพักตร์ด้านหน้า มีพระพุทธสาวก ๒ องค์ นั่งคุกเข่าพนมมือ
พระนอนองค์ที่ ๒ ประดิษฐานอยู่มุมห้องด้านซ้ายของประตูทางเข้าวิหารด้านหลัง อยู่ในอิริยาบถนอนหงายเหยียดยาว พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายวางอยู่เหนือพระอุทร ปลายพระบาทชิดกัน ครองจีวรห่มเฉียง ที่เบื้องพระบาทมีพระพุทธรูปหรือพุทธสาวกยืนพนมมือ
จากลักษณะรูปแบบประติมากรรมพระนอนทั้งสององค์ข้างต้น แสดงถึงเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา บันทึกอยู่ในมหาปรินิพพานสูตร (ทีฆนิกาย) มหาวรรค ซึ่งเป็นเหตุการณ์ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานและภายหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน พวกเจ้ามัลละกษัตริย์พยายามจุดไฟที่เชิงตะกอน แต่ไฟไม่ติด จึงสอบถามสาเหตุ พระอนุรุทธเถระ จึงแจ้งว่า เทวดามีความประสงค์ให้รอพระมหากัสสปะและภิกษุ ๕๐๐ รูป ผู้กำลังเดินทางมาถวายบังคมพระบาทเสียก่อน ไฟก็จะลุกไหม้ ครั้นเมื่อพระมหากัสสปะ และพระภิกษุ ๕๐๐ รูป เดินทางมาพร้อมกันที่ถวายพระเพลิงแล้ว ไฟจึงลุกขึ้นเอง โดยเหตุการณ์เรื่องราวดังกล่าวเกี่ยวข้องกับวันสำคัญทางศาสนา หรือที่เรียกกันว่า วันอัฏฐมี ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6
และจากรูปแบบทางสถาปัตยกรรมวิหารพระนอนวัดดงหวาย ซึ่งมีการผสมผสานระหว่างงานช่าง พื้นถิ่นและประเพณีนิยม สามารถกำหนดอายุอยู่ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์
----------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล : นางสาววิไลวรรณ อยู่ทองจุ้ย นักโบราณคดีชำนาญการ
ที่มาข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา. (๒๕๕๒). วัดดงหวาย ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมาพันธ์ จำกัด.
#องค์ความรู้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรปูนในงานศิลปกรรมเมืองกำแพงเพชรปูน ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในงานสถาปัตยกรรมโบราณที่นำมาใช้ในหลายวัตถุประสงค์ของกระบวนการก่อสร้าง เช่น ใช้เป็นวัสดุเชื่อมประสาน (binder) ในการก่อหรือสอให้วัสดุ เช่น อิฐ ศิลาแลง เชื่อมติดกัน เพื่อเป็นสิ่งก่อสร้าง เช่น ผนัง กำแพง ช่วยให้มีความมั่นคงของโครงสร้างมากขึ้น หรือเพื่อเป็นวัสดุที่ใช้สำหรับการฉาบวัสดุอื่น เพื่อให้ผิวชั้นนอกเกิดความเรียบ หรือใช้สำหรับเป็นวัสดุสรรค์สร้างเป็นลวดลายต่าง ๆ ประดับตกแต่งอาคาร..คำว่า “ปูน” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช ๒๕๕๔ หมายถึง หินปูน หรือเปลือกหอยเมื่อถูกเผาจนสลายตัว ตัวอย่างคำที่เกี่ยวข้อง เช่น ปูนดิบ หมายถึง ปูนที่ได้จากการเผาหินปูนหรือเปลือกหอยจนสลายตัว ปูนสุก หมายถึง ปูนดิบที่ถูกความชื้นในอากาศหรือพรมน้ำแล้วแตกละเอียดเป็นผงขาว ปูนขาว หมายถึง ปูนสุก ใช้ผสมกับปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ สำหรับฉาบทาฝาผนัง ปูนปั้น ใช้เรียกลวดลายประดับตามอาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่ทำจากปูน เป็นต้น..ปูนที่ใช้ในสมัยโบราณส่วนใหญ่ทำมาจากปูนขาว เรียกว่า ปูนหมัก และปูนตำ ประกอบด้วย หินปูน เปลือกหอย กระดูก และมีส่วนผสมพิเศษเพื่อให้เกิดความเหนียว ทำหน้าที่เป็นกาวยึดเหนี่ยวเนื้อวัสดุ เช่น ยางไม้ ไขมันที่ได้จากพืชและสัตว์..ปูนขาว (lime) เป็นปูนที่เกิดจากการนำเปลือกหอย หรือหินปูน มาย่อยเป็นก้อนขนาดเล็ก แล้วนำไปเผา เมื่อเผาสุกแล้ว จะได้ “ปูนดิบ” เมื่อทำให้ปูนดิบเปียกน้ำจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้แตกเป็นผงสีขาว เรียกว่า “ปูนสุก” นำไปบด ร่อน กรอง เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป ปูนขาวส่วนใหญ่นำไปใช้ในการก่อสร้างอาคาร และสร้างลวดลายประดับตกแต่งอาคาร• ปูนหมัก คือการนำปูนขาวไปแช่น้ำในบ่อหรือถังหมักมีลักษณะเป็นของเหลวข้นสีขาว ภายในถังหมักปูนจะประกอบด้วยเนื้อปูนขาวตกตะกอนอยู่ด้านล่าง และมีน้ำปูนหล่อไว้อยู่ด้านบน โดยปูนหมักสามารถนำไปใช้เป็นปูนสอ ปูนฉาบ หรือนำไปเป็นส่วนผสมหลักเพื่อใช้ประโยชน์ในงานสถาปัตยกรรมต่อไป ส่วนน้ำปูนสามารถนำไปเติมในส่วนผสมปูนแทนน้ำ หรือพ่นใส่ผนังปูนฉาบเพื่อเสริมความแข็งแรง • ปูนตำ คือปูนที่เกิดจากการนำปูนหมักมาตำหรือโขลกผสมกับทราย กาว (ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น) และเส้นใย (ช่วยเพิ่มความสามารถในการรับแรงดึงก่อนปูนจะแข็งตัว) เป็นส่วนผสมหลัก การตำรวมกันจนเนื้อละเอียดเข้ากัน สีขาวนวล มีความหนืดที่เหมาะสมเพื่อนำไปใช้เป็นปูนสอ ปูนฉาบ หรือปูนปั้น เมื่อเนื้อปูนสัมผัสอากาศจะเกิดปฏิกิริยา ทำให้แข็งตัว ..ทั้งนี้ กระบวนการขั้นตอนการผลิตปูนตำและปูนหมัก รวมถึงส่วนผสมปูนจะมีความแตกต่างกันตามช่างปูนในแต่ละท้องถิ่นที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อตอบสนองการใช้งานที่หลากหลาย ตัวอย่างการใช้ประโยชน์ มีดังนี้• ปูนสอ หรือปูนก่อ เป็นปูนที่ใช้ในการก่ออิฐโครงสร้าง ประสานอิฐเข้าด้วยกัน• ปูนฉาบ หรือปูนตกแต่ง เป็นปูนที่ใช้ตกแต่งอาคารให้เรียบร้อยสวยงาม ด้วยการฉาบพื้นผิวให้เรียบ หรือใช้ตกแต่งเป็นลวดบัว ขอบคิ้ว • ปูนปั้น เป็นปูนที่ใช้สำหรับการปั้น ต้องมีคุณสมบัติสำคัญคือ มีความเหนียวเหมาะสำหรับการปั้นเป็นลวดลาย หรือรูปทรงต่าง ๆ ให้ได้รายละเอียดที่ชัดเจน..จากร่องรอยที่ปรากฏในเมืองกำแพงเพชรสันนิษฐานว่ามีการฉาบปูนโดยรอบอาคาร และเจดีย์ที่ก่อด้วยอิฐหรือศิลาแลง รวมถึงนำปูนมาปั้นประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมเป็นลวดลาย หรือภาพเล่าเรื่อง และปั้นประติมากรรมรูปทรงต่างๆครอบทับโกลนศิลาแลงด้วย โดยตัวอย่างการนำปูนมาใช้ในงานศิลปกรรม อาทิ- ร่องรอยปูนฉาบ หรือตกแต่งบริเวณมณฑปวัดพระสี่อิริยาบถ วิหารวัดพระนอน และบัวปากระฆังของเจดีย์ประธานวัดพระธาตุ - พระพุทธรูปในมณฑปประธานวัดพระสี่อิริยาบถ ประติมากรรมลอยตัวรูปสิงห์ที่วัดสิงห์ และวัดอาวาสใหญ่ ประติกรรมเกือบลอยตัวรูปช้างที่ฐานเจดีย์ประธานวัดช้างรอบ และรูปสิงห์ที่ฐานเจดีย์ประธานวัดพระแก้ว- ปูนปั้นภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติบริเวณฐานหน้ากระดานกลมเหนือฐานแปดเหลี่ยมและลวดลายตกแต่งรูปต้นไม้ระหว่างประติมากรรมรูปช้างของฐานเจดีย์ประธานวัดช้างรอบ และภาพลวดลายตกแต่งต่างๆบริเวณวิหารวัดพระแก้ว________________________________________เอกสารอ้างอิงพิจิตร นิ่มงาม. การปั้นปูนตำ. กรุงเทพฯ: สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๕๐.นพวัฒน์ สมพื้น. ลายปูนปั้น งานช่างประณีตศิลป์ของไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๐.นวลลักษณ์ วัสสันตชาติ. (๒๕๖๑). “ปูนในโบราณสถานของนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาแหล่งมรดกโลก.” หน้าจั่ว ๓๓ (มกราคม-ธันวาคม): ๔๓-๙๒.สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, ๒๕๕๔.
ชื่อเรื่อง สุวรรณภูมิ, สุพรรณภูมิ, สุพรรณบุรีเหน่อ และขับเสภา ทำไม? มาจากไหน?ผู้แต่ง สุจิตต์ วงษ์เทศประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN -หมวดหมู่ ภาษาเลขหมู่ 495.917 ส752สสถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ ศูนย์สังคีตศิลป์สัญจร ธนาคารกรุงเทพปีที่พิมพ์ 2551ลักษณะวัสดุ 124 หน้า : ภาพประกอบ ; 19 ซ.ม.หัวเรื่อง ภาษาถิ่น -- ไทย – ไทย ภาษาถิ่น -- สุพรรณบุรี ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลภูมิปัญญาภาษาถิ่น ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุพรรณบุรี ความเป็นอยู่ การใช้ภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ ไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมให้แก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 148/2 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/5ชเอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อผู้แต่ง ทองหยก เลี่ยงพิบูลย์
ชื่อเรื่อง สวัสดีปีใหม่ ๒๕๒๑ กฎแห่งกรรม (ในชุดเงาบุญเงาบาป)
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์วิญญาณ
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๐
จำนวนหน้า ๑๐๔ หน้า
รายละเอียด
พิมพ์เนื่องในโอกาสสวัสดีปีใหม่ ๒๕๒๑ กล่าวถึงเรื่องกฎแห่งกรรม (ในชุดเงาบุญเงาบาป) ประกอบด้วยทั้งหมด ๗ เรื่อง ได้แก่ อำนาจพลังของจิต ความเชื่อในกฎแห่งกรรมของชาวมุสลิม กรรมที่วนเวียน กรรมของลุงแก้ว น้ำใจของพ่อ กรรมในหนอ ความรู้สึก ซึ่งในแต่ละเรื่องล้วนให้ข้อคิดคติเตือนใจแก่ผู้อ่าน นอกจากนี้ท้ายเล่มยังมีเรื่องเกี่ยวกับผู้ร่วมพิมพ์หนังสือปีใหม่ ๒๕๒๑ เนื้อสัตว์และเรื่องสิ่งทดแทนอาหารเนื้อสัตว์
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “เล่าอดีตผ่านกาลเวลา@พระนารายณ์ราชนิเวศน์” วิทยากรโดย นางสาวประภาพรรณ ศรีสุข ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ดำเนินรายการโดย นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร