ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,342 รายการ
***บรรณานุกรม***
หนังสือหายาก
กรมวิชาการ. นิทานร้อยบรรทัด เล่ม ๓ เรื่องครูที่รักเด็ก ชั้นประถมปีที่ ๔. พระนคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, ๒๕๑๕.
๑.ชื่อโครงการ โครงการออกแบบก่อสร้างศาลาไทยเพื่อใช้ในงาน EXPO 2016 ณ เมืองอัลตาเลีย ประเทศตุรกี
๒.วัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของไทย ซึ่งกรมส่งเสริม
การเกษตรเป็นตัวแทนของประเทศไทยไปจัดแสดงในงานพืชสวนโลก EXPO 2016
๓.กำหนดเวลา ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๒๘ เมษายน ๒๕๕๙
๔.สถานที่ งาน EXPO 2016 ณ เมืองอัลตาเลีย ประเทศตุรกี
๕.หน่วยงานผู้จัด กรมส่งเสริมการเกษตรตั้งโครงการของบประมาณ กรมศิลปากรออกแบบและจ้างเหมา
๖.หน่วยงานสนับสนุน ไม่มี
๗.กิจกรรม มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๙
เดินทางพร้อมทีมก่อสร้างจากกรุงเทพมหานคร ไปยังเมืองอิสตันบุลและต่อเครื่องไปลงเมืองอัลตาเลีย สถานที่จัดงาน EXPO 2016
วันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๙
กำหนดขอบเขตและตำแหน่งของชิ้นส่วนต่างๆ ติดตั้งเพลทรับเสาและเสาเหล็กโครงสร้างทั้งหมด โครงเหล็กถักคานรับหลังคาชั้นที่ ๑
วันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๙
ประกอบโครงสร้างหลังคาส่วนแนวราบ ติดตั้งโครงสร้างจันทัน ดั้ง คานย่อยของหลังคาจั่วใหญ่ ติดตั้งจันทันเอก จันทันพรางและเหล็กรับเชิงชาย
วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๙
ประชุมแผนงานรองรับกรณีเกิดฝนตก ติดตั้งจันทัน คานรับจันทัน จันทันพรางทั้งหมด แปของหลังคาชั้นกันสาด หลังคาปีกนก แปหลังคาจั่วชุดใหญ่และเริ่มหุ้มเสาไม้ประกอบ
วันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๙
ติดตั้งแผ่นไม้อัดบนโครงหลังคาเพื่อเตรียมติดระแนงสำหรับปูกระเบื้องหลังคา หาระดับในการปูกระเบิ้องพื้น ติดตั้งเสาไม้อัด ติดตั้งไม้เชิงกลอนรอบอาคาร
วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๙
ติดตั้งไม้อัดสำหรับติดระแนงครึ่งหลัง เทพื้นปรับระดับเตรียมปูกระเบื้องพื้น ติดตั้งแผ่นเหล็กปิดหัวแป เพื่อเตรียมติดตั้งปั้นลม ติดตั้งแปส่วนประดับ ฝ้าไขรา รางน้ำสังกะสีบริเวณตะเฆ่ราง
วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๙
เริ่มติดตั้งระแนงเหล็กหลังคาชั้นกันสาด ปูกระเบื้องพื้น ติดตั้งโครงเหล็กรับฝ้าเพดาน
วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๙
ปูกระเบื้องพื้น เริ่มเดินท่อระบบไฟฟ้า ติดตั้งปั้นลมหน้าจั่วทั้งหมด เริ่มติดตั้งโครงผนังอลูมิเนียม
วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๙
ปูกระเบื้องพื้น ติดตั้งแผงหน้าจั่ว ไฟกิ่ง ติดตั้งระแนงหลังคาจั่วใหญ่ ติดตั้งโครงผนังอลูมิเนียม
วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๙
ปูกระเบื้องภายในแล้วเสร็จ ติดตั้งระแนงหลังคาแล้วเสร็จ มุงหลังคาจั่วใหญ่ ติดตั้งแผ่นไม้รับฝ้าเพดานและติดตั้งไฟดาวน์ไลท์ จัดวางเฟอร์นิเจอร์ภายในตามแบบชั่วคราว หยุดงานตอน ๒๐.๐๐ น. ตามคำสั่งของทาง EXPO
วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๙
ติดตามท่านอธิบดีเพื่อเข้าร่วมพิธีเปิดงานและไปประจำที่ศาลาไทย ไม่มีการดำเนินการก่อสร้างใดๆ เนื่องจากไม่สามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้
วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๙
เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของช่วงเวลาที่สามารถดำเนินการก่อสร้างต่อได้ จึงได้ดำเนินการก่อสร้างตามเวลาปกติ โดยมุงกระเบื้องหลังคามุขด้านหน้าและหลังคาชั้นกันสาด ด้านหน้าและด้านข้าง และโดนสั่งให้หยุดงานในเวลาประมาณ ๑๕.๐๐ น. โดยให้สามารถเริ่มงานได้อีกทีหลัง ๒๒.๐๐ น. ไปจนถึง ๖.๐๐ น. ของวันใหม่ โดยเบื้องต้นทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้ประสานไปยังท่านทูตประจำกรุงอันตาเลีย เพื่อขอความอนุเคราะห์ให้สามารถดำเนินงานก่อสร้างได้ในช่วงกลางวัน
วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๙
กรมส่งเสริมการเกษตรแจ้งผลการประสานงานมาว่า ให้ดำเนินการในเวลาเดิมคือ ช่วง 22.00น. ถึง 6.00 น. จึงเอาทีมก่อสร้างมาสแตนบายตั้งแต่เวลา 18.00 น. และเริ่มงานอีกทีประมาณ 21.30 น. โดยยิงระแนงฝ้าเพดานและมุงหลังคาด้านหลังเพื่อใส่ครอบสันปูน รวมถึงงานปรับผิวทางลาดคนพิการ
วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๙
เริ่มติดตั้งครอบสันหลังคา ฝ้าเพดานภายนอก ปูกระเบื้องพื้นภายนอกโดยรอบ เคลียร์วัสดุอุปกรณ์ภายนอกอาคารบริเวณสนามหญ้า ติดตั้งพัดลม
วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๙
ติดตั้งครอบปูนด้านหลังปั้นลม ติดตั้งฝ้าเพดานภายนอกของหลังคากันสาด ติดตั้งระบบปรับอากาศ เก็บงานในจุดต่างๆ
วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๙
ติดตั้งฝ้าเพดานภายนอก และเริ่มเก็บงานในส่วนต่างๆ
วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๙
ทำความสะอาดพื้นทั้งหมด ปูพรมหญ้าเทียม จัดวางเฟอร์นิเจอร์ตามแบบ ทดสอบระบบปรับอากาศและไฟฟ้าทั้งหมด เก็บงานในจุดต่างๆ เดินทางกลับประเทศไทย (ทีมก่อสร้างยังอยู่เก็บความเรียบร้อยของงานต่อ)
๘.คณะผู้แทนไทย
นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ร่วมพิธีเปิด
นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักสถาปัตยกรรม ร่วมพิธีเปิด
นายชัยนันท์ พันธ์ภคไพโรจน์ นายช่างสำรวจอาวุโส ร่วมพิธีเปิด
นายธนารัตน์ สอดทรัพย์ สถาปนิกปฏิบัติการ ผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมและควบคุมงาน
นายพีระพงษ์ พีระสมบัติ วิศวกรโยธาปฏิบัติการ ผู้ออกแบบโครงสร้างทางวิศวกรรม
ข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตร
บริษัท กันต์กนิษฐ์ก่อสร้าง จำกัด ผู้รับจ้าง
๙.สรุปสาระของกิจกรรม ก่อสร้างศาลาไทยเพื่อใช้จัดนิทรรศการในงาน EXPO2016
๑๐.ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม ไม่มี
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง ธรรมเทศนา ชาดก นิทานคติธรรมประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 32 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
เลขทะเบียน : นพ.บ.32/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 38 หน้า ; 4.7 x 57.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 18 (189-193) ผูก 3หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เป็นที่ทราบกันดีว่าพระปรางค์วัดอรุณราชวราม มีแนวคิดและการวางผังการก่อสร้างโดยจำลองแบบมาจาก “ภูมิจักรวาล” องค์พระปรางค์ประธาน เปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ หรือ สิเนรุราชบรรพต ซึ่งเป็นแกนกลาง หรือศูนย์กลางของจักรวาล เป็นที่สถิตของเทพเจ้า ประกอบด้วยสวรรค์ ๖ ชั้น รูปพรหม ๑๖ ชั้น และ อรูปพรม ๖ ชั้น ในบรรดาสวรรค์ ๖ชั้นนั้น ที่สวรรค์ชั้นดา วดึงส์ มีไพชยนต์ปราสาทตั้งอยู่กลางนครไตรตรึงษ์ อันเป็นที่ประทับของพระอินทร์ ดังปรากฏรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณที่ซุ้มปรางค์ประธานทั้ง ๔ ทิศ ถัดจากแกนกลางนอกเขาพระสุเมรุ ล้อมรอบด้วย ทะเลสีทันดรซึ่งเป็นทะเลน้ำจืด สลับกับเขาสัตบริภัณฑ์ อย่างละ ๗ ชั้น ถัดจากเขาสัตบริภัณฑ์ออกไปเป็นมหาสมุทร ที่เรียกว่า โลณสาครหรือทะเลน้ำเค็ม ในโลณสาคร มีทวีปใหญ่อีก ๔ ทวีปโดยมีแผ่นดินเล็กๆหรือเกาะอีก ๕๐๐ เป็นบริวาร และระหว่างกลางทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ยังมีทวีปเล็กอีก ๔ ทวีป เรียกว่า ยุปรทวีป โดยมีเขาจักรวาลล้อมรอบทะเลทั้งหมดนี้ไว้ เป็นกำแพงจักรวาล ปรางค์ทิศ หรือปรางค์บริวารของพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม เปรียบได้กับทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ทวีป ได้แก่ บูรพวิเทห์ทวีป อุตตรกุรุทวีป อมรโคยานทวีป และ ชมพูทวีป แต่บ้างก็ว่า อาจหมายถึง เขายุคนธรทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองใหญ่ ๔ เมืองของท้าวมหาราชทั้ง ๔ หรือท้าวจตุโลกบาล รูปบุคคลที่ซุ้มปรางค์ทิศนี้ มีลักษณะเป็นรูปบุคคลกายสีขาว แต่งเครื่องทรง ถือพระขรรค์เป็นอาวุธ มีม้าขาวเป็นพาหนะ อยู่ในซุ้มทั้งสี่ทิศ ของปรางค์ทิศทั้ง ๔ องค์ มีลักษณะเดียวกัน ดังนั้นข้อสันนิษฐานที่ว่า ปรางค์ทิศอาจหมายถึงเขายุคนธรทั้ง ๔ ทิศ อันเป็นที่ตั้งเมืองของท้าวจตุโลกบาล อันได้แก่ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ และท้าวเวสสุวัณ จึงไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะแต่ละองค์จะมีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนกัน และไม่เหมือนกับรูปบุคคลที่ซุ้มปรางค์ทิศ ดังที่กล่าวมาแล้ว บ้างก็ว่ารูปบุคคลดังกล่าวหมายถึง พระพาย เนื่องจากพระพายเป็นบริวารของพระอินทร์ ซึ่งอยู่ในซุ้มที่พระปรางค์ประธาน บ้างก็ว่า หมายถึง พระจันทร์ จะมีกายสีนวล ทรงม้าขาวหรือแม้แต่อวตารปางที่ ๑๐ ของพระนารายณ์ซึ่งมีนามว่า กัลกี ซึ่งมีลักษณะกายสีขาว ทรงม้าขาว อวตารลงมาปราบยุคเข็ญ ซึ่งคล้ายคลึงกับการเกิดขึ้นของ พระยาจักรพรรดิราชผู้ปราบได้ทั่วทั้งจักรวาล ในที่นี้จะขอกล่าวถึง พระยาจักรวรรดิราช หรือพระยาจักรพรรดิราชผู้ปราบได้ทั่วทั้งจักรวาล มีเนื้อความกล่าวไว้ในไตรภูมิ ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน ได้นำมากล่าวโดยย่อในหนังสือเล่าเรื่องในไตรภูมิ บทมนุษภูมิเกี่ยวกับพระยาจักรพรรดิราช ไว้ว่า “...เมื่อชาติก่อนเป็นคนกระทำบุญไว้มาก ครั้นตายก็ไปเกิดในสวรรค์ แต่ลางคราวก็มาเกิดเป็นท้าวเป็นพระยา มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ปราบได้ทั่วทั้งจักรวาล ผู้มาเกิดเป็นท้าวพระยานี้ได้พระนามว่า พระยาจักรวรรดิราช ทรงพระคุณธรรมทุกประการ มีสมทานศีล ๕ (ปัญจศีล)ทุกวันและศีล ๘ (อัฐศีล)ทุกวันทุกโอสถ มิขาด...ถ้าอายุของโลก(ในช่วงเวลา)กัลป์ใดไม่มีพระพุทธเจ้า หรือพระปัจเจกโพธิ กัลป์นั้นก็มีพระยาจักรพรรดิราชแทน... พระยาจักรพรรดิราชจะเสด็จปราบทุกข์เข็ญในทวีปทั้ง ๔ ...ประทานโอวาทให้ชาวทวีปเหล่านั้นประพฤติและตั้งอยู่แต่คุณงามความดี...” พระองค์มีของคู่พระบารมี คือ จักรรัตน์ ประดับด้วยแก้วมณี ๗ ประการ หรือที่เรียกว่า สัปตรัตน์ (จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ดวงแก้ว นางแก้ว ขุนคลังแก้ว และขุนพลแก้ว) คำว่า จักร ซึ่งเป็นหนึ่งในแก้ว ๗ ประการของพระองค์ นอกจากจะเป็นอาวุธแล้วยังหมายถึง กงล้อแห่งธรรม เพราะพระองค์ทรงปราบทุกข์เข็ญในโลกมนุษย์โดยการเผยแพร่ธรรม โดยมีม้าแก้ว (อาจหมายรวมถึง ช้างแก้ว)ที่เหาะได้เป็นพาหนะสามารถเสด็จไปยังขอบจักรวาล และดินแดนต่างๆได้ในเวลาอันรวดเร็ว ดังที่กล่าวไว้ว่า “...ถ้าอายุของโลกกัลป์ใดไม่มีพระพุทธเจ้า หรือพระปัจเจกโพธิ กัลป์นั้นก็มีพระยาจักรพรรดิราชแทน...” และปรางค์ทิศทั้ง ๔ ถือเป็นตัวแทน ทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ทวีปของมนุษยภูมิ นั่นเองผู้เขียน : นางระวีวรรณ แสงวัณณ์ นักโบราณคดี ชำนาญการ กองโบราณคดี บรรณนุกรมกรมศิลปากร , กองโบราณคดี. ทะเบียนโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.โครงการสำรวจ ขึ้นทะเบียนโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีของชาติ. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์,๒๕๓๕ ระวีวรรณ แสงวัณณ์ ปรางค์บริวาร และรูปบุคคลที่ซุ้มปรางค์บริวาร พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร. เอกสารทางวิชาการ(อัดสำเนา) ประกอบการปรับระดับ, ๒๕๔๓ สมภพ ภิรมย์, นอ.ร.น. นารายณ์สิบปาง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์, พิมพ์ครั้งแรก กันยายน ๒๕๓๔ สัจจาภิรมย์ , พระยา. ตำราเทวดากำเนิด. พระนคร: โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, ๒๔๙๑ สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา, ดร. น้ำ บ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช , ๒๕๒๙ อนุมานราชธน, ศจ. พระยา . เล่าเรื่องในไตรภูมิ. เรื่องลัทธิความเชื่อ ภาคที่ ๑, งานนิพนธ์ชุดสมบูรณ์ของ ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน หมวด ศาสนา-ความเชื่อ เล่ม ๒-๓ กรมศิลปากร องค์การค้าคุรุสภา และมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคประทีป พิมพ์เผยแพร่ เนื่องในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์ พระยา อนุมานราชธน และองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ประกาศเกียรติคุณเป็น “บุคคลที่มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก” วันที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว, ๒๕๓๓
การประชุมคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าพิมาย ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมสำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา โดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่อง : บทความเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน เล่ม 1
ชื่อผู้แต่ง : สาย หุตะเจริญ
ปีที่พิมพ์ : 2510
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น
จำนวนหน้า : 206 หน้า
สาระสังเขป : การพัฒนาชุมชน เป็นขบวนการส่งเสริมความเป็นอยู่ของชุมชนให้ดีกว่าเดิม โดยประชาชนร่วมมือด้วยอย่างแท้จริง ปรัชญามูลฐานของการพัฒนาชุมชนคือ ความริเริ่มในการดำเนินกิจการใดๆ จะต้องมาจากประชาชน การเร่งเร้าและกระตุ้นเตือนย่อมจะทำให้เกิดการระดมแรงงานที่มีอยู่ในชุมชนนั้น เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
ว่าด้วยการทำนายเดือนเกิดให้ชื่อตามวัน, การดูผ้านุ่ง, ทำนายรอยผ้าที่หนูกัด, วันปลูกต้นไม้, ทำนายวันเดินทาง,ฟังสียงฟ้าร้อง, จับยามสามตา, ทำนายวันข้างขึ้นและข้างแรม, ราหูจอน ฯลฯ
ชื่อเรื่อง : บทเห่กล่อมพระบรรทม
ชื่อผู้แต่ง : -
ปีที่พิมพ์ : 2510
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์
จำนวนหน้า : 86 หน้า
สาระสังเขป : บทเห่กล่อมนี้ เป็นของกวีแต่งขึ้นสำหรับข้าหลวงร้องเห่พระเจ้าลูกเธอที่ยังพระเยาว์ เวลาไกวพระอู่ให้บรรทม โดยนำเนื้อความจากเรื่องในวรรณคดี และเรื่องในตำนานมาแต่งเป็นเนื้อร้องสำหรับเห่เป็นทำนองขับกล่อม บทกล่อมในเล่มนี้ประกอบด้วย บทกล่อมพระบรรทม เรื่องจับระบำ เรื่องกากี เรื่องพระอภัยมณี เรื่องอิเหนา เรื่องโคบุตร และเรื่องอนิรุทธ รูปแบบการแต่งเป็นคำประพันธ์คล้ายกาพย์ยานี 11 แต่จำนวนคำไม่สม่ำเสมอ เมื่อใช้ขับร้องมีการเอื้อนขับทำนองเพลง ทำให้จังหวะของบทประพันธ์กลมกลืนกันอย่างลงตัว
ประชุมกาพย์เห่เรือบริบูรณ์. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2472.
ประชุมกาพย์เห่เรือบริบูรณ์เล่มนี้ ประกอบด้วยบทเห่เรือพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ บทเห่เรือพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย บทเห่เรือพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทเห่เรือพระนิพนธ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ์ และบทเห่เรือพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ยังมีอธิบายตำนานแห่เรือในเล่มด้วย