ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,342 รายการ
วัดห้วยเสือ ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยเสือ หมู่ที่ 5 ตำบลสมอพรือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจากการเข้าไปสำรวจพบว่าวัดแห่งนี้มีการรวบรวมภาพจิตรกรรม โดยเป็นเรื่องราวของ “พระเวสสันดรชาดก” ชาติที่ 10 ของเรื่องราว “ทศชาติชาดก” หรือก็คือ 10 ชาติ ของการเล่าเรื่องราวการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ซึ่งในปัจจุบันภาพดังกล่าวได้ถูกจัดเก็บไว้เป็นอย่างดี ณ วัดห้วยเสือ เพื่อเป็นการดำรงและรักษาภาพจิตรกรรมการแสดงคำสอนอันดีงามและเรื่องราวความเป็นมาทางพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป
สำหรับ ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์ ถือได้ว่าเป็นเรื่องราวที่รู้จักมากที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาทศชาติชาดกทั้ง 10 ตอน และเป็นสาเหตุที่เวสสันดรชาดกถูกยกให้เป็นมหาชาตินั้น ก็เนื่องจากชาดกเรื่องนี้ถือเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้เป็นพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังเป็นพระชาติที่ทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง 10 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทานบารมี” ที่ทรงบริจาคทุกสิ่งทุกอย่างทุกอย่าง แม้แต่ภรรยาและบุตรของตนเองก็บริจาค ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
นอกจากนั้น สาเหตุที่ “พระเวสสันดรชาดก” นั้นเป็นที่ยกย่องและน่าเลื่อมใส เพราะเรื่องเวสสันดรชาดกนั้นมีคุณค่าที่สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับชีวิตประจำวันได้ทุกระดับ โดย 13 กัณฑ์ ของเรื่องราว “พระเวสสันดรชาดก” สามารถศึกษาเเละทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้ ดังนี้
เอกสารเเละหลักฐานสำหรับการสืบค้น
1. วัดห้วยเสือ, ภาพจิตรกรรม ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์.
2. เจริญ ไชยชนะ. (2502), มหาเวสสันดรชาดก ฉบับ 5 กัณฑ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ไชยวัฒน์.
3. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2561), เทศน์มหาชาติมหากุศล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
4. ทิวาวรรณ อายุวัฒน์. (2561). ““ทศชาติชาดก 101”, ใน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี (ผู้รวบรวม), บทความทางวิชาการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี. (หน้า 1). นครปฐม :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
วันรพี ตรงกับวันที่ 7 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ผู้ทรงได้รับการยกย่องให้เป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นนักนิติศาสตร์และทรงวางระบบแบบแผนศาลยุติธรรม รวมถึงทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยอันเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งแก่ประเทศชาติ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยประสูติจากเจ้าจอมมารดาตลับ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2417 ทรงเข้าศึกษา ในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ แล้วเสด็จไปศึกษาต่อ ณ โรงเรียนมัธยมกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 3 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมแล้ว ทรงสอบเรียนต่อกฎหมายที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดได้ด้วยพระชนมายุเพียงแค่ 14 ชันษา ได้ศึกษาต่อ จนจบหลักสูตรปริญญาตรีด้านกฎหมาย ชั้นเกียรตินิยม โดยใช้เวลาศึกษาเพียงแค่ 3 ปี ด้วยพระชันษาเพียง 20 พรรษา
เมื่อปี พ.ศ. 2439 ทรงเข้ารับราชการในกรมเลขานุการ ทรงปฏิบัติงานเป็นที่พอพระราชหฤทัยในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถ เป็นอย่างยิ่ง พระภารกิจของพระองคืนับได้ว่าเป็นภาระที่หนักยิ่ง ทรงเสียสละทุกอย่าง คิดถึงแต่งานเป็นใหญ่ ทรงยึดหลักที่ว่า “คนทุกคนต้องเคารพเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะทำอะไรต้องคิดถึง คนอื่น” ทรงยึดหลักความยุติธรรม และหลักที่ว่า “My life is service” คือ ชีวิตของข้าพเจ้าเกิดมาเพื่อรับใช้ประเทศชาติ
ปี พ.ศ. 2462 ทรงประชวรด้วยโรควัณโรคที่พระวักกะ (ไต) ไปรักษาพระองค์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พระอาการ ก็ไม่ทุเลา และพระองค์ได้สิ้นพระชนม์ ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463 รวมพระชนมายุได้ 47 พรรษา
ในวันที่ 7 สิงหาคมของทุกปี วงการนักกฎหมายได้ถือเอาวันที่พระองค์สิ้นพระชนม์ เป็นวันรำลึกถึงคุณงามความดีของท่านที่มีต่อวงการกฎหมายไทย โดยใช้ชื่อว่า “วันรพี” ขนานนามพระองค์ว่า “พระบิดาและปฐมาจารย์แห่งนักกฎหมายไทย” โดยจะมีการจัดกิจกรรมวันรพี วางพวงมาลาถวายราชสักการะเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ที่อนุสาวรีย์พระรูปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หน้าสำนักงานศาลยุติธรรม ศาลที่เป็นสถานที่ราชการทั่วประเทศ และคณะนิติศาสตร์ของทุกมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยมีการจัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507
กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ขอเชิญร่วมงานท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืน ณ เวียงกุมกาม “แอ่วกุมกามยามแลง” “Lanna Ancient Night@Kum Kam Town” กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย
- เยี่ยมชมโบราณสถานสำคัญ อดีตเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาสมัยพญามังราย อายุเก่าแก่กว่า 700 ปี และไหว้พระธาตุขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์
- ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม โขน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน ทูษณ์-ขร-ตรีเศียร - ยกรบ โดย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
- เที่ยว ชิม ช็อป “กาดกุมกาม@Night” อาหารและสินค้าหัตถกรรมพื้นเมือง
- กิจกรรมวาดภาพสีน้ำ โดย ชมรมสล่าแต้มงาม เชียงใหม่ และสาธิตการทำโคมล้านนา
วันศุกร์ที่ 1 และ วันเสาร์ที่ 2 ธันวาคม 2566 เวลา 16.00-21.00 น. ณ ลานกิจกรรม วัดอีก้าง - วัดหนานช้าง เวียงกุมกาม ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ https://g.co/kgs/zLVkt3 สอบถามเพิ่มเติมที่: สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ Tel 0 5322 2262 ---------------------------------------------
Ministry of Culture, The Fine Arts Department, The 7th Office of the Fine Arts Department, Chiangmai represent “Lanna Ancient Night @Kum Kam Town”
Activities:
- Visit the 700 years old of historical settlement and archaeological site, the old capital of Chiang Mai that was built by King Mengrai.
- Enjoy traditional and cultural performances “Khon” the Masked Dance Drama in Thailand
- Taste and shopping at night market of “Kad Kum Kam@Night”
- Watercolor painting and demonstration of Lanna lantern making
Friday 1 and Saturday 2, December 2023 Time 16.00-21.00 hrs. at Wat E-Kang and Wat Nan Chang, Kum Kam Town, Tha Wang Tan, Saraphi, Chiang Mai Thailand https://g.co/kgs/zLVkt3 More information please contact 053-222-262
วัฒนธรรมการฝังศพในบ้านเชียงยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดย นางสาวปิยะธิดา ราชวัตร นักศึกษาฝึกสหกิจ สาขามานุษยวิทยาวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว #มหาวิทยาลัยนครพนม
องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง เมืองโจรคนสุพรรณผู้เรียบเรียง :
นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
พระพุทธรูปปางแสดงธรรม จากเจดีย์หมายเลข ๑๓ เมืองโบราณอู่ทอง
พระพุทธรูปปางแสดงธรรม พบที่เจดีย์หมายเลข ๑๓ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
พระพุทธรูปยืนสำริด พระพักตร์ค่อนข้างกลม เม็ดพระศกกลม อุษณีษะเป็นกระเปาะสูง ด้านบนมีรูสำหรับเสียบเดือยของพระรัศมี พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรเหลือบต่ำ เปลือกประเนตรโปน พระนาสิกโด่ง ฐานพระนาสิกกว้าง พระโอษฐ์แย้มเล็กน้อย พระกรรณยาว พระวรกายครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาข้างขวา ส่วนพระอังสาข้างซ้ายมีชายสังฆาฏิทบกันเป็นริ้ว และมีเส้นเชื่อมจากชายสังฆาฏิพาดผ่านข้อพระกรซ้าย จีวรเรียบแนบไปกับพระวรกาย พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถยืนตริภังค์ (ยืนเอียงสะโพก) พระกรขวายกขึ้นระดับพระอุระ จีบนิ้วพระหัตถ์แสดงวิตรรกมุทรา (ปางแสดงธรรม) ส่วนพระกรซ้ายปล่อยลงข้างพระวรกาย พระหัตถ์หักหาย สันนิษฐานว่าเป็นการจับชายจีวร
จากรูปแบบศิลปกรรมของพระพุทธรูปข้างต้น ปรากฏอิทธิพลที่ได้รับจากศิลปะอินเดียสมัยหลังคุปตะ ได้แก่ การยืนตริภังค์ และการจับชายชายจีวรไม่สมมาตรกับพระหัตถ์ที่แสดงมุทรา กล่าวคือ หากพระหัตถ์ขวายกขึ้นแสดงมุทรา พระหัตถ์ซ้ายที่จับชายจีวรจะปล่อยลงข้างพระวรกาย และการทำชายสังฆาฏิพับทับกันปลายแยกเป็นเขี้ยวตะขาบบริเวณพระอังสาซ้ายพบในศิลปะอินเดียสมัยหลังคุปตะจนถึงปาละ ทั้งนี้พระพักตร์แสดงลักษณะพื้นเมืองของพระพุทธรูปในศิลปะทวารวดีแล้ว และยังแสดงวิตรรกมุทราซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่พบมากในพระพุทธรูปสมัยทวารวดี จึงกำหนดอายุในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว
พระพุทธรูปองค์นี้พบที่เจดีย์หมายเลข ๑๓ ซึ่งตั้งอยู่นอกคูเมืองโบราณอู่ทอง ห่างออกไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๒๐๐ เมตร เป็นเจดีย์ในผังแปดเหลี่ยม ส่วนฐานยกเก็จตามระเบียบเจดีย์ในสมัยทวารวดี พบโบราณวัตถุสำคัญ เช่น พระพุทธรูปนั่งปางแสดงธรรมมีพระมัสสุ สิงห์สำริด เศียรพระโพธิสัตว์ ยอดเจดีย์จำลอง เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : โรงพิมพ์ สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕.
เชษฐ์ ติงสัญชลี. ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๐.
______________. ศิลปะไทย ภายใต้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียแบบปาละ. นนทบุรี : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด. ๒๕๕๘.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
โบราณสถานวัดสุวรรณคีรีวิหาร
วัดสุวรรณคีรีวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลเขานิเวศน์ อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง เดิมมีชื่อว่า “วัดสุวรรณคีรีทาราม” สร้างขึ้นโดยพระยารัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง ณ ระนอง) บริเวณริมหาดส้มแป้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองฝั่งทะเลตะวันตก ในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ทรงเห็นว่าวัดสุวรรณคีรีทารามประสบภัยธรรมชาติเป็นวัดร้าง จึงโปรดเกล้า ฯ ให้พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง ณ ระนอง) เจ้าเมืองระนอง ดำเนินการสร้างวัดนี้ขึ้นใหม่แทน ณ สถานที่ปัจจุบัน พร้อมกับได้พระราชทานนามว่า “วัดสุวรรณคีรีวิหาร” ปรากฏตามพระบรมราชโองการ ฉบับวันที่ ๒ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๓ (พ.ศ. ๒๔๓๗) ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดหน้าเมือง”
สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ เจดีย์ ซึ่งได้รับอิทธิพลศิลปะพม่า ชื่อว่า “พระเจดีย์ดาธุ” สูงประมาณ ๘ เมตร ฐานด้านล่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๗ เมตร ถัดขึ้นไปเป็นฐานแปดเหลี่ยม ประกอบไปด้วยชุดฐานบัวซ้อนกัน ๓ ชั้น มีซุ้มจระนำขนาดเล็กอยู่ทั้ง ๔ ทิศ และซุ้มพระขนาดเล็กที่มุมทั้ง ๔ ด้าน ถัดขึ้นไปเป็นส่วนองค์ระฆังที่ตกแต่งด้วยเส้นคาดกลางองค์ (รัดอก) ถัดจากองค์ระฆังขึ้นไปเป็นปล้องไฉน คล้ายลูกแก้วซ้อนกันหลายชั้น ส่วนยอดทำเป็นบัวคว่ำบัวหงายรองรับปลียอดแล้วครอบด้วยฉัตรซึ่งทำด้วยทองเหลืองและประดับเพชรที่ฉัตรตามศิลปะแบบพม่า ภายในเจดีย์บรรจุเครื่องประดับที่มีค่า
สิ่งสำคัญอื่นๆ ได้แก่ ศาลาการเปรียญ มีอายุประมาณ ๑๐๐ ปี เป็นอาคารโถง ผังสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีมุขยื่นด้านหน้า มีผนังโปร่งเตี้ย ๆ ประดับด้วยลูกกรงปูน เสาอาคารเป็นเสาปูนสี่เหลี่ยมประดับบัวหัวเสาเรียบทั้งด้านบนและด้านล่าง รองรับโครงสร้างหลังคาไม้มุงกระเบื้องซ้อนชั้นอย่างเรียบง่าย ประดับเชิงชายด้วยไม้ฉลุโดยรอบ และพื้นปูด้วยกระเบื้องพิมพ์ลายแบบโบราณ
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตที่ดินโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๓๓ ง วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๔๔ พื้นที่ ก. (บริเวณเจดีย์) เนื้อที่ประมาณ ๑ ไร่ ๑ งาน ๔๔ ตารางวา และพื้นที่ ข. (บริเวณศาลาการเปรียญ) เนื้อที่ประมาณ ๓ งาน ๑๙.๒๗ ตารางวา
เรียบเรียง นางสาวสิริยุพน ทับเป็นไทย นักโบราณคดีปฏิบัติการ
กราฟฟิค นายทัศพร กั่วพานิช จ้างเหมาปฏิบัติงานรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการด้านวัฒนธรรม
เอกสารอ้างอิง
กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๓. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๒๗.
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดระนอง. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๔.
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ระยะทางเสด็จพระราชดำเนินประพาสทางบก ทางเรือ รอบแหลมมลายู รัตนโกสินทร์ศก ๑๐๙ เล่ม ๑. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๐๗.
นภัคมน ทองเฝือ. โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนในเขตพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช, ๒๕๖๓.
กาน้ำชา พร้อมฝา
แบบศิลปะ : รัตนโกสินทร์
ขนาด : ปากกว้าง 5.5 เซนติเมตร สูง 22.8 เซนติเมตร, ศูนย์กลางฝา 7.4 เซนติเมตร สูงฝา 24.6 เซนติเมตร
อายุสมัย : อายุราว พุทธศักราช 2300 - 2400
ลักษณะ : รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทรงกระบอก มีขา 4 ขา หูทองเหลือง
สถานที่จัดแสดง : ห้องจัดแสดงอัฐบริขาร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/inburi/360/model/06/
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/inburi
โบราณสถานวัดบ้านเจียง ตั้งอยู่ภายในวัดบ้านเจียงด้านทิศตะวันตก เดิมเรียกว่า "วัดปราสาท" มีโบราณสถานวางตัวตามแนวทิศตะวันออก - ตะวันตก ประกอบด้วยเจดีย์และวิหาร เจดีย์เป็นทรงปราสาทยอดระฆัง มีส่วนฐานบัวคว่าบัวหงายแบบล้านนา รองรับส่วนเรือนธาตุยกเก็จประดับซุ้มจระนาทั้งสี่ด้าน กรอบซุ้มจระนาตกแต่งเป็นวงโค้งประดับมกรคายนาคที่ปลายวงโค้ง เหนือขึ้นไปเป็นชุดบัวคว่า - บัวหงาย รองรับชุดหน้ากระดานแปดเหลี่ยม ส่วนยอดพังทลาย รอบฐานเจดีย์พบหลักฐานเป็นลานประทักษิณล้อมรอบทั้ง ๔ ด้าน วิหารอยู่ด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วิหารคงเหลือองค์ประกอบเพียงโถงประธานและฐานชุกชี
จากรูปแบบเจดีย์ วิหาร และโบราณวัตถุที่พบจากการขุดค้น - ขุดแต่งทางโบราณคดี พุทธศักราช ๒๕๖๔ อาทิ เครื่องถ้วยเนื้อแกร่งจากแหล่งเตาภาคเหนือ (แหล่งเตาพาน จังหวัดเชียงราย และแหล่งเตา สันกาแพง จังหวัดเชียงใหม่) กาหนดอายุโบราณสถานวัดบ้านเจียง (เจดีย์ - วิหาร) ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ -๒๒ หรือประมาณ ๓๐๐ - ๔๐๐ ปีมาแล้ว
Wat Ban Jiang Monument is located on the west side of Ban Jiang Temple. It was originally called "Wat Prasat". The ancient ruins are oriented east to west and consist of the principal chedi and vihara. The principal chedi is Stupa in prasat form with bell-shaped on top . The lowest part of this chedi is an Lanna lotus-based style which supports the chedi’s square indented body. Each side of the body features a curved shape with the Makara disgorges the Naga decoration at the end of curved roof above the niche. The upper part of the niche is a set of octagonal shaped. Unfortunately, the top of the chedi collapsed. A circumambulatory path surrounds the chedi. The vihara is on the east of the chedi which is rectangular shape. This vihara remains a feature of main hall and a brick pedestal supporting the principal Buddha image.
According to the architectural styles and archaeological evidence by archaeological excavations in 2021, stone wares were found which indicates that they were produced in the Northen Ceramics Kilns (Phan Kiln in Chiang Rai Province and San Kamphaeng Kiln in Chiang Mai Province). Wat Ban Jiang Monument can be dated between the 16th – 17th century or approximately 300 – 400 years ago.
เทศบาลตำบลบางสวรรค์ จ.สุราษฎร์ธานี (เวลา 13.00 น.) จำนวน 88 คนวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ น. ผู้เข้าร่วมโครงการศึกษาดูงานเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ จากเทศบาลตำบลบางสวรรค์ อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี จำนวน ๘๐ คน เข้าศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีนายธิริทธิ์ เรืองทวีทรัพย์ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ และว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่งพนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ปิดให้บริการชั่วคราว 23 - 25 สิงหาคม 2567 (หรือจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ปิดให้บริการชั่วคราว ระหว่างวันที่ 23 - 25 สิงหาคม 2567 (หรือจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย) เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่เมืองน่าน ส่งผลให้เส้นทางโดยรอบพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน มีน้ำท่วมขังเป็นวงกว้าง - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขออภัยมา ณ ที่นี้ -
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “พลับพลาเปลื้องเครื่อง อาคารฐานานุศักดิ์สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์” วิทยากร นายทัตพล พูลสุวรรณ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๗ - กันยายน ๒๕๖๘