ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 40,022 รายการ

          ปราสาทบ้านโคกปราสาท ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทบ้านโคกปราสาท เป็นปราสาทในวัฒนธรรมเขมร มีลักษณะเป็นเนินโบราณสถานขนาดเล็ก มีต้นไม้ขึ้นคลุมค่อนข้างหนาแน่น จากร่องรอยที่ปรากฏ สันนิษฐานองค์ประกอบได้ดังนี้           1. ปราสาท บริเวณปราสาท ปัจจุบันมีลักษณะเป็นเนินโบราณสถานขนาดเล็ก กว้างประมาณ 60 เมตร ยาวประมาณ 70 เมตร บนเนินปรากฏแท่งหินทรายและศิลาแลงกระจายตัวอยู่ทั่วทั้งเนิน จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านทราบว่า โบราณสถานหลังนี้ถูกลักลอบขุดหาโบราณวัตถุและรื้อย้ายชิ้นส่วนต่าง ๆ หลายครั้ง ทำให้ปราสาทพังทลาย และชิ้นส่วนประกอบอาคารอยู่ในลักษณะกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป           การดำเนินงานขุดลอกบารายซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของปราสาท มีการนำดินมาถมบริเวณโดยรอบปราสาท ซึ่งทำให้ไม่ปรากฏคูน้ำโดยรอบปราสาทที่ชัดเจน แต่จากร่องรอยของพื้นที่ที่เป็นร่องน้ำที่เหลืออยู่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า เดิมมีคูน้ำล้อมรอบปราสาทอยู่ด้วย คูน้ำมีความกว้างประมาณ 10-15 เมตร บริเวณเนินดินปรากฏแท่งหินทราย ศิลาแลง และอิฐ ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาคาร ได้แก่ หน้าบัน ที่ส่วนกรอบหน้าบันสลักลายก้านต่อดอกชี้ลงด้านล่าง ชิ้นส่วนกรอบประตู กรอบหน้าต่าง บัวเชิงผนัง บัวเชิงชายหลังคา ส่วนผนังอาคาร เสาประดับกรอบประตูแบบเสาแปดเหลี่ยม โบราณวัตถุส่วนหนึ่งถูกเคลื่อนย้ายไปไว้ที่โรงเรียนบ้านจรเข้มาก ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย เป็นชิ้นส่วนปลายกรอบหน้าบันสลักลายนาคห้าเศียร นาคหัวโล้นไม่มีกระบังหน้า ซึ่งเป็นลักษณะนาคในศิลปะเขมรแบบบาปวน เสาประดับผนัง บัวเชิงผนังสลักลายกลีบบัว บัวยอดปราสาท           2. บาราย ถัดจากตัวปราสาทไปทางตะวันออกประมาณ 200 เมตร มีบารายตั้งอยู่ บารายมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้างประมาณ 270 เมตร ยาวประมาณ 500 เมตร คันดินขอบบารายมีขนาดกว้างประมาณ 10 เมตร สูงจากพื้นนาโดยรอบ 2-3 เมตร บารายแห่งนี้ชาวบ้านในพื้นที่เรียกว่า หนองบ้านเก่า หรืออ่างเก็บน้ำโคกปราสาท ซึ่งได้รับการขุดลอกแล้ว ปัจจุบันมีน้ำอยู่ในพื้นที่บางส่วน บารายนี้สร้างคร่อมห้วยบ้านเก่า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิธีการกักเก็บน้ำไว้ในบาราย โดยการสร้างคร่อมลำน้ำธรรมชาติ ปัจจุบันได้มีการขุดลอกบารายไปแล้วเมื่อปี 2543 โดยสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท          จากหลักฐานที่พบ สันนิษฐานได้ว่า ปราสาทบ้านโคกปราสาท เป็นปราสาทในวัฒนธรรมเขมร สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ในศิลปะเขมรแบบบาปวน เป็นศาสนสถานของชุมชนในวัฒนธรรมเขมรบริเวณนี้ในอดีต ก่อสร้างโดยใช้ใช้หินทราย แท่งศิลาแลง และอิฐเป็นวัสดุ มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ และมีบารายตั้งอยู่ทางด้านตะวันออก-----------------------------------------------------------//ข้อมูลโดย นายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา




เลขทะเบียน: กจ.บ.5/1-7:1ก-7กชื่อเรื่อง: พระอภิธมฺมสงฺคิณีปริเฉท พระมหาปฏฺฐานปกรณมาติกาข้อมูลลักษณะ: อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาดประวัติ : ได้มาจากวัดห้วยสะพาน ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533 จำนวน 1คัมภีร์ 14 ผูกจำนวนหน้า: 442



ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-นครกัณฑ์) สพ.บ.                                  415/3ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           22 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


โคมป่อง ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑ ขนาด: สูง ๓๔ ซม. ฐานกว้าง ๑๕ ซม. ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญชัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ โคมป่อง ใช้สำหรับจุดไฟประทีปเพื่อบูชาพระบรมธาตุ ทรงสี่เหลี่ยม มีร่องรอยการปิดทองล่องชาด ตัวโคมหล่อโปร่งเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษา หลังคาเป้นลักษณะของหลังคาลาดซ้อนกัน ๒ ชั้น ที่มุมทั้ง ๔ ของหลังคา มรกระหนกตัวเหงา ยอดเป็นทรงบัวตูมระหว่างหลังคาทั้ง ๒ ชั้น คั่นด้วยท้องไม้เจาะเป็นลายลูกฟัก คล้ายกับช่องใต้ฐานหน้ากระดานของโคมป่องพระรัตนปัญญาเถระ ที่มีจารึกระบุ พ.ศ. ๒๐๕๑ และพระพุทธรูปในศิลปะล้านนาที่ร่วมสมัยกัน


เลขทะเบียน : นพ.บ.178/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 101 (80-85) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ปพฺพชฺชานิสํสกถา (ปพฺพชฺชานิสํสงฺข)  ชบ.บ.53/1-1ก  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                สลากริวิชาสุตฺต (สลากวิชาสูตร) สพ.บ.                                  319/1ข ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                               พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                           34 หน้า กว้าง 4.6 ซม. ยาว 57.7 ซม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                            บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.272/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 34 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 117  (232-239) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : นิพฺพานสุตฺต(มหามูลนิพพานสูตร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


         การสํารวจทางโบราณคดีที่ผ่านมาได้พบหลักฐานแหล่งโบราณคดี สมัยทวารวดีประมาณ ๑๐๖ แหล่ง ราว ๗๐ แหล่ง อยู่ในเขตที่ราบลุ่ม ภาคกลางตามลําน้ําเจ้าพระยา และภาคตะวันออก ส่วนที่เหลือ อยู่ในภาค อีสานประมาณ ๓๐ แหล่ง นอกเหนือจากนั้นอยู่ในเขตภาคเหนือ ๒ - ๓ แหล่ง ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มใกล้ลําน้ําสําคัญ สามารถติดต่อกับ ชุมชนอื่นได้สะดวก โดยเริ่มจากบริเวณเมืองท่าใกล้ชายฝั่งทะเล หรือตาม เส้นทางการค้าในสมัยโบราณ   ผังของเมืองโบราณ          เมืองโบราณในสมัยทวารวดีมีแผนผังไม่เป็นรูปทรงเรขาคณิต มีทั้งที่ เป็นรูปวงกลม วงรี และเกือบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ ตัว เมืองด้านหนึ่งมักตั้งอยู่ติดกับลําน้ํา มีคูน้ําและคันดินล้อมรอบ โดยทั่วไป มีเพียงชั้นเดียว อาจใช้ประโยชน์เพื่อการป้องกันอุทกภัย การสาธารณูปโภค หรือการป้องกันศัตรู ไม่พบหลักฐานสิ่งก่อสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่ เป็นฐานเจดีย์ หรืออาคารขนาดเล็กก่อด้วยอิฐ ทั้งภายในและนอกเขตกําแพง เมือง แสดงให้เห็นว่าชุมชนโบราณนั้นอยู่กระจายกันออกไปมิได้อยู่อาศัย เฉพาะภายในเขตกําแพงเมือง   สถาปัตยกรรมสมัยทวารวดี          สถาปัตยกรรมในสมัยทวารวดี ล้วนแล้วแต่เป็นศาสนสถานทั้งสิ้น อาจ จําแนกได้ ออกเป็น ๒ ประเภท คือ ศาสนสถานที่อยู่ในถ้ํา และศาสนสถาน กลางแจ้ง ศาสนสถานที่อยู่ในถ้ํา การใช้ถ้ําเป็นศาสนสถานน่าจะเกิดจากความ ต้องการใช้พื้นที่ธรรมชาติประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ด้วยการสร้าง ประติมากรรมรูปเคารพไว้ภายใน หรือสลักเป็นภาพนูนต่ําไว้บนผนังถ้ํา ก็ ถือว่าเป็นศาสนสถานได้ หรืออาจได้รับคติสืบทอดมาจากกลุ่มชนสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ตอนปลายที่ใช้ถ้ําสําหรับประกอบพิธีกรรม หรือได้รับอิทธิพล มาจากการใช้ถ้ําเป็นศาสนสถานของอินเดียที่เรียกว่า “เจติยสถาน” เป็น ถ้ําที่เจาะเข้าไปโดยฝีมือมนุษย์ ตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณ ราวพุทธศตวรรษ ที่ ๓ - ๖ และเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในสมัยคุปตะ เช่น ถ้ําอชันตา ถ้ํา เอลโลรา เป็นต้น ศาสนสถานที่อยู่ในถ้ําสมัยทวารวดีในภาคกลางมีอยู่หลาย แห่งด้วยกัน อาทิ ถ้ําฤาษี เขางู จังหวัดราชบุรี ถ้ําพระโพธิสัตว์ จังหวัดสระบุรี ถ้ําเขาถมอรัตน์ จังหวัดเพชรบูรณ์ และถ้ําคูหาสวรรค์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในภาคใต้ เป็นต้น            ศาสนสถานกลางแจ้ง คือสถาปัตยกรรมที่พบอยู่โดยทั่วไป ทุกเมือง โบราณในสมัยทวารวดี ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพุทธ เหลือเพียง ส่วนฐานเท่านั้น อาจเป็นส่วนฐานของสถูปหรือเจดีย์ ส่วนใหญ่มีแผนผังรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัส และสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่มีรูปแบบพิเศษแตกต่างออกไปพบ บ้างเป็นจํานวนน้อย ได้แก่ ผังแปดเหลี่ยม และผังกลม  


ชื่อผู้แต่ง          : ชาดก ชื่อเรื่อง           : พระคัมภีร์ชาดกแปล เรื่อง พระมหาชนก สุวรรณสาม มโหสถ วิธุร ครั้งที่พิมพ์        : พิมพ์ครั้งที่ ๑ สถานที่พิมพ์      : พระนคร สำนักพิมพ์        : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม ปีที่พิมพ์          : ๒๕๑๐           จำนวนหน้า      : ๔๖๖ หน้า หมายเหตุ         : พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ แม่กัง  พรายภู่ พระคัมภีร์ชาดกแปล เป็นหนังสือประเภทคำสอน และเป็นคำสอนที่ผู้อ่าน ผู้ฟัง จะเข้าใจได้ ง่าย ทั้งนี้จะเป็นประโยชน์แก่ชีวิตประจำวันของบุคคลอีกโสดหนึ่ง แต่คำสอนฝ่ายคดีธรรมตามหลักพระพุทธศาสนานั้นมีถึง ๓ อันดับ อันดับที่ ๑ แสดงถึงประโยชน์ปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติตามจะได้รับผลทันตาเห็นในด้านวัตถุ อันดับที่ ๒ แสดงถึงประโยชน์ข้างหน้า ผู้ปฏิบัติตามจะได้รับผลในทางคุณธรรมด้านจิตใจ อันดับที่ ๓ แสดงถึงประโยชน์ชั้นยอดสุด ผู้ปฏิบัติตามจะได้รับผลในทางปลดเปลื้อง ความทุกข์ทางใจเป็นจุดหมายปลายทาง



วันอังคารที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๑.๐๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยนางรักชนก โคจรานนท์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง นายชินณวุฒิ วิลยาลัย ผู้อำนวยการกองโบราณคดี ให้การต้อนรับดร.เซือง บิ๊ก ฮั่นห์หัวหน้าแผนกวัฒนธรรม องค์การยูเนสโก กรุงเทพฯ และคณะ ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะและประชุมหารือ เพื่อขอความอนุเคราะห์กรมศิลปากรให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกให้แก่นายไมเคิล เทอเทิล ที่ปรึกษายูเนสโก ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งมรดกโลกทางพระพุทธศานา รวมทั้งเชิญบุคลากรของกรมศิลปากรเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเล่าเรื่องผ่านสื่อดิจิทัลสำหรับแหล่งมรดกโลก ณ ห้องประชุมชั้น ๘ อาคารกรมศิลปากร เทเวศร์


Messenger