ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ

ชื่อผู้แต่ง        -  ชื่อเรื่อง         ที่ระลึกเสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาพระฤกษ์ พระมหามณฑปพุทธบาท ภปร.สก.วัดญาณสังวราราม ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์     ชวนพิมพ์ ปีที่พิมพ์        ๒๕๒๗ จำนวนหน้า    ๑๐๘ หน้า รายละเอียด                    พระมหามณฑปพุทธบาท ภปร. สก.ตั้งอยู่บนยอดเขาแก้ว สร้างเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ องค์พระมหามณฑป มีฐานกว้าง ๙ เมตร สูง ๓๓ เมตร ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทคู่แกะสลักลายมงคล ๑๐๘ ประการ ล้อมรอบด้วยรูปพระอสีมหาสาวก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๒๗


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 148/1เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/5ฉเอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อผู้แต่ง          สงวน  โรจนวงศ์ ชื่อเรื่อง           ทรงจำ รำลึก ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๑ จำนวนหน้า                ๗๓   หน้า รายละเอียด                     ทรงจำ รำลึก เป็นการบันทึกความทรงจำและรำลึกถึงเหตุการณ์ในอดีตของพลตรีสงวน โรจนวงศ์ เกี่ยวกับประวัติโดยย่อ ด้านประวัติส่วนตัว การศึกษา การทำงาน โดยเฉพาะด้านชีวิตการรับราชการตลอดจนเครื่องราชอีสสริยาภรณ์และเหรียญที่ได้รับพระราชทาน  รวมถึงการจัดตั้งทุนพลตรี สงวน   โรจนวงศ์ ท้ายเล่มมีภาคผนวกและเอกสารอ้างอิงประกอบ


         เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๘.๓๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประจำปี ๒๕๖๖ พร้อมด้วยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายอำพล อังคภากรณ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร นายกเหล่ากาชาดจังหวัดลพบุรี ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม คณะกรรมการจัดงานฯ และนักท่องเที่ยวเข้าร่วมงานจำนวนมาก ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี            ทั้งนี้ งานดังกล่าวฯ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ ๓๕ โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสานศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น ส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ สร้างความประทับใจให้แก่ผู้มาเที่ยวชมงาน กระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชาวลพบุรี


ประถมวศ์ ชื่อผู้แต่ง           จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, ๒๓๔๗ - ๒๔๑๑. ชื่อเรื่อง            ปฐมวงศ์ ครั้งที่พิมพ์        พิมพ์ครั้งที่ ๑ สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์        บริษัท สารมวลชน ปีที่พิมพ์           ๒๕๒๗ จำนวนหน้า       ๒๑๘ หน้า : ภาพประกอบ หมายเหตุ         พิมพ์เป็นอนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพหม่อมประภัศร์ เกษมศรี ณ อยุธยา ในพลตรี  หม่อมเจ้านิลประภัศร์ เกษมศรี เป็นกรณีพิเศษ ณ เมรุวัดธาตุทอง วันจันทร์ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๐.                    เป็นหนังสือเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์ พระราชหัตถเลขาและประกาศบางเรื่อง ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.       


ชื่อเรื่อง : หนังสือเตลงพ่าย พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ท้าวโสภานิเวศ ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 27 พฤศภาคม พ.ศ.2471 ชื่อผู้แต่ง : ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จกรมพระ ปีที่พิมพ์ : 2471 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : หนังสือพิมพ์ไทย จำนวนหน้า : 158 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเตลงพ่าย เป็นวรรณคดีที่แต่งขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เนื้อเรื่องจะเป็นการยอพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วีรกษัตริย์ไทยที่ทำสงครามยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ให้ความรู้ในเชิงประวัติศาสตร์ของชาติผ่านคำประพันธ์ในรูปแบบของโคลงพร้อมกับการผสมจินตนาการของผู้ประพันธ์ในการสะท้อนเรื่องราวของตัวละครในเรื่อง


         วันกำเนิด ราชกิจจานุเบกษา          เมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเมีย นพศก จุลศักราช ๑๒๑๙ ตรงกับวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้ออกหนังสือฉบับหนึ่ง ใช้ชื่อว่า “ราชกิจจานุเบกษา” อันมีความหมายว่า “ที่เพ่งดูราชกิจ”  สำหรับพิมพ์ประกาศ ข่าวสารต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวสารและประกาศของทางราชการ ซึ่งพระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการออกมาในเรื่องต่าง ๆ ทุกด้าน ทั้งด้านการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม เป็นต้น           ประกาศ พระราชบัญญัติ หรือกฎหมายต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นหลักฐานสำคัญที่สะท้อนให้เห็นสภาพวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนในรัชสมัยของพระองค์อย่างเห็นได้ชัด เพราะประกาศเหล่านั้นมีลักษณะเป็นข้อความที่เข้าใจง่าย แสดงถึงความอาทรห่วงใย หรือเป็นโอวาทแนะนำสั่งสอนประชาชนในเรื่องต่าง ๆ เช่น ประกาศตักเตือนไม่ให้ทิ้งซากสัตว์และสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำลำคลอง ประกาศแนะนำการก่อเตาไฟในครัวแบบใหม่ เพื่อไม่ให้เชื้อเพลิงลุกลามจนเกิดไฟไหม้ ประกาศแนะนำให้ปลูกฝีเพื่อป้องกันไข้ทรพิษ ประกาศคุ้มครองไม่ให้นายเงินกดขี่ข่มเหงไพร่ ทาส หรือพยายามหน่วงเหนี่ยวมิให้ทาสไถ่ถอนตนเป็นอิสระ ประกาศแนะนำให้ราษฎรระวังรักษาบ้านเรือน หรือพระราชบัญญัติลดเงินนาคู่โค และอื่น ๆ อีกมากมาย           ในครั้งนั้น หนังสือ “ราชกิจจานุเบกษา” ออกมาได้เพียงปีเศษ ก็ต้องหยุดชะงักไปด้วยพระราชกิจของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีมากขึ้น และได้รับการดำเนินการต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๑๗ กระทั่งถึงปัจจุบัน นับเป็นหนังสือราชการที่มีอายุมากที่สุดของประเทศไทย และเป็นหลักฐานสำคัญอันแสดงให้เห็นระเบียบวิธีการปกครองบ้านเมือง ที่มีการพัฒนาเมื่อกว่าศตวรรษที่แล้ว          ซึ่งหนังสือ "ราชกิจจานุเบกษา" นับเป็นหนึ่งในหลายๆสิ่งที่ เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


เลขทะเบียน : นพ.บ.394/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 145  (48-57) ผูก 8 (2566)หัวเรื่อง : กุมารกัณฑ์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.530/12ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 36 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 178  (281-290) ผูก 12 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



องค์ความรู้สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ เรื่อง พระอินทร์ : เทพแห่งพายุฝนเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน มักเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า รวมถึงสายรุ้ง บนท้องฟ้าอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งอาจทำให้หลายคนนึกถึงเทพแห่งสายฟ้าที่โด่งดังจากภาพยนต์ เช่น เทพธอร์ เทพเจ้าของชาวไวกิ้ง หรือมหาเทพซูสในวัฒนธรรมกรีกโบราณ ซึ่งเป็นเทพเจ้าในโลกตะวันตก ทว่าในโลกตะวันออกก็มีเทพแห่งพายุฝนผู้มีอาวุธเป็นสายฟ้าฟาดที่ได้รับการสรรเสริญบูชาอย่างมากตั้งแต่สมัยพระเวทเช่นกัน เทพองค์นั้นคือ “พระอินทร์” ซึ่งบทความนี้ จะนำเสนอเรื่องราวของพระอินทร์ในฐานะเทพแห่งพายุฝนโดยสังเขปเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศแห่งวสัตฤดู




          วัดห้วยเสือ ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยเสือ หมู่ที่ 5 ตำบลสมอพรือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจากการเข้าไปสำรวจพบว่าวัดแห่งนี้มีการรวบรวมภาพจิตรกรรม โดยเป็นเรื่องราวของ “พระเวสสันดรชาดก” ชาติที่ 10 ของเรื่องราว “ทศชาติชาดก” หรือก็คือ 10 ชาติ ของการเล่าเรื่องราวการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ซึ่งในปัจจุบันภาพดังกล่าวได้ถูกจัดเก็บไว้เป็นอย่างดี ณ วัดห้วยเสือ เพื่อเป็นการดำรงและรักษาภาพจิตรกรรมการแสดงคำสอนอันดีงามและเรื่องราวความเป็นมาทางพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป             สำหรับ ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์ ถือได้ว่าเป็นเรื่องราวที่รู้จักมากที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาทศชาติชาดกทั้ง 10 ตอน และเป็นสาเหตุที่เวสสันดรชาดกถูกยกให้เป็นมหาชาตินั้น ก็เนื่องจากชาดกเรื่องนี้ถือเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้เป็นพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังเป็นพระชาติที่ทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง 10 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทานบารมี” ที่ทรงบริจาคทุกสิ่งทุกอย่างทุกอย่าง แม้แต่ภรรยาและบุตรของตนเองก็บริจาค ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่สุด            นอกจากนั้น สาเหตุที่ “พระเวสสันดรชาดก” นั้นเป็นที่ยกย่องและน่าเลื่อมใส เพราะเรื่องเวสสันดรชาดกนั้นมีคุณค่าที่สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับชีวิตประจำวันได้ทุกระดับ โดย 13 กัณฑ์ ของเรื่องราว “พระเวสสันดรชาดก” สามารถศึกษาเเละทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้ ดังนี้             เอกสารเเละหลักฐานสำหรับการสืบค้น           1. วัดห้วยเสือ, ภาพจิตรกรรม ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์.           2. เจริญ ไชยชนะ.  (2502),  มหาเวสสันดรชาดก ฉบับ 5 กัณฑ์.  กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ไชยวัฒน์.           3. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.  (2561),  เทศน์มหาชาติมหากุศล.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.           4. ทิวาวรรณ อายุวัฒน์.  (2561).  ““ทศชาติชาดก 101”, ใน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี (ผู้รวบรวม), บทความทางวิชาการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี.  (หน้า 1).  นครปฐม :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.


Messenger