ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,342 รายการ

ผู้แต่ง : หน่วยศึกษานิเทศก์ ปีที่พิมพ์ : 2540 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : ดาราวรรณการพิมพ์      สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ตระหนักและเห็นคุณค่าของข้อมูลประวัติหมู่บ้านของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งสามารถใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเพื่อการเรียนการสอน เช่น สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ประวัติความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม การดำเนินชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนแหล่งวิทยากรต่าง ๆ ของแต่ละท้องถิ่น และสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาค้นคว้า และเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานอื่นๆ ในการพัฒนาชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ



อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 22 มีนาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด


อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ดำเนินการจัดโครงการอบรมอาสาสมัครยุวมัคคุเทศก์ ประจำปี ๒๕๕๕ วันที่  ๖  มิถุนายน  ๒๕๕๕  ณ  หอประชุมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพชร โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการครั้งนี้จำนวน ๔ โรงเรียน (นักเรียนรวม ๘๐ คน) ดังนี้ ๑. โรงเรียนบ้านบ่อสามแสน                                         ๒. โรงเรียนเทศบาล ๓                 ๓. โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง๔ (บ้านใหม่ศรีอุบล)            ๔. โรงเรียนชุมชนบ้านหนองปลิง   หัวข้อการบรรยาย - "กำแพงเพชร มรดกไทย มรดกโลก" โดยนายปฐม ระสิตานนท์  หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร - "เรียนรู้เรื่องพิพิธภัณฑ์" โดย นายสมัย  เชื้อทอง  หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร - "การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โบราณคดีเมืองมรดกโลกกำแพงเพชร" โดย นายธนสิทธิ์ คชศิลา นักโบราณคดีชำนาญการ -  ศึกษาโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร  โดย น.ส.พิพิศุทธิ์  ชูสุข และ น.ส.วิรงค์รอง  เกตุทิม นักวิชาการวัฒนธรรม  


สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี เปิดให้โรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและที่สนใจ ส่งนักเรียนร่วมกิจกรรมค่ายยุวชนโบราณคดี ปี ๒๕๕๔ รับจำนวน ๕ รุ่นๆละ ๒๐ คน ร่วมกิจกรรมรุ่นละ ๓ วัน ณ แหล่งโบราณคดีดอนไร่ ต.เจียด อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ถึง ๒๑ มกราคม ๒๕๕๔ สนใจรายละเอียดดาวโหลดโครงการได้ดังแนบ หรือโทรศัพท์สอบถามได้ที่นายวสันต์ เทพสุริยานนท์ หรือ นางสาวนิดา นาสิงห์ทอง กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี โทรศัพท์ ๐๔๕-๓๑๒๘๔๕-๖


กรมศิลปากรขอเชิญชวนเด็กและเยาวชน ร่วมกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๖ ในวันเสาร์ที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๖ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติทั่วประเทศ เด็กๆ ที่สนใจสามารถติดต่อเข้าร่วมกิจกรรมในหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรใกล้บ้าน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย   การจัดกิจกรรมในส่วนกลาง มีดังนี้ - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมบนเวที ดนตรีประกอบการเล่านิทาน ,การแสดงของเด็กและเยาวชน กิจกรรมด้านวิชาการ กิจกรรมตอบปัญหา, กิจกรรมแรลลี่, กิจกรรมเปิดโลกกว้างสู่อาเซียน กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อเด็กและเยาวชน ระบายสี, งานประดิษฐ์จากดินฟีโม่, ชวนน้องปั้นดิน กิจกรรมสันทนาการ โยนห่วงยาง, ปิดลูกโปง, เก้าอี้ดนตรี และกิจกรรมต่างฯ อีกมากมาย สำหรับเด็กๆที่เข้าร่วมกิจกรรม จะได้รับของขวัญของรางวัลทุกคน   - สำนักการสังคีตจัดการแสดงรายการศิลปากรคอนเสิร์ตรอบพิเศษ ชุด “Children’s Day Concert” อำนวยเพลงโดย นายสถาพร นิยมทอง การแสดงจะเป็นการบรรเลงและการขับร้องจากศิลปินกรมศิลปากรร่วมกับสถานศึกษาและสถาบันการดนตรีที่มีชื่อเสียง อาทิ โรงเรียนหลักสูตรการดนตรีกรุงเทพมหานคร โรงเรียนดนตรีวีมุส โรงเรียนราชินี โรงเรียนปราโมชวิทยา รามอินทรา โรงเรียนโพธิสารพิทยากร ตลอดจนเครือข่ายศิลปินจากสถานศึกษา เข้าร่วมฟังได้โดยไม่เก็บค่าบัตรเข้าชม   - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีกิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายเกี่ยวกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และตอบคำถามรับของรางวัล การตอบปัญหาเกี่ยวกับวันเด็ก เรื่องทั่วไป เรื่องอาเซียน การเล่นเกมส์เก้าอี้ดนตรี การต่อจิกซอว์ และกิจกรรมสันทนาการอื่นๆ เช่น การแข่งร้องเพลง การแข่งเต้น   - สำนักหอสมุดแห่งชาติ กิจกรรมประกอบด้วย การประกวดคัดลายมือ การวาดภาพระบายสี เล่นเกมและกิจกรรมต่างๆ สร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัว ลุ้นรับของรางวัลมากมาย พร้อมทั้งบริการอาหารเครื่องดื่มและรับของรางวัล ฟรีตลอดงาน   - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป จัดร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ กิจกรรมประกอบด้วย การแข่งขันประกวดวาดภาพระบายสี, ซุ้มกิจกรรมศิลปะ โดยคณะจารย์ นักศึกษาจากสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศิษย์เก่าสถาบันบัณทิตพัฒนศิลป์, การแข่งขันแรลลี่ตอบปัญหาชิงรางวัล ด้านศิลปะ กิจกรรมสันทนาการ เช่น ดนตรี ประกวดร้องเพลง เกม ฯลฯ โดยความร่วมมือกับสำนักศิลปกรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม, ฉาย DVDแนะนำ และนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ให้แก่เยาวชนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งบริการอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม     - หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ กิจกรรมประกอบด้วย การแสดงรำอวยพร การบรรเลงเพลง จากวงดนตรี “วีรพล” การแข่งขันตอบปัญหา การแสดงบนเวที ประกวดร้องเพลง การแข่งขันวาดภาพ การแข่งขันเรียงความ เกมการละเล่น พร้อมแจกของขวัญของรางวัลมากมาย   กิจกรรมในส่วนภูมิภาค อาทิ - อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย กิจกรรมประกอบด้วย การละเล่น เกมต่างๆ การตอบปัญหา การประกวดร้องเพลง และแจกของรางวัล พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี กิจกรรมประกอบด้วย การประกวดวาดภาพ ระบายสี การปั้นตุ๊กตา การประกวดร้องเพลงและการแสดงออกบนเวที ฯลฯ   - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ กิจกรรมประกอบด้วย การแสดงบนเวทีโดยเยาวชนจากโรงเรียนหรือชุมชนต่างๆ ในจังหวัดสุรินทร์ การละเล่นเกมต่างๆ บนเวที ฉายภาพยนตร์ตลอดทั้งวัน และจับฉลากชิงรางวัล   - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น กิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมสันทนาการ การแสดงบนเวทีของกลุ่มเด็กนักเรียน การแสดงความสามารถ เล่นเกมตอบปัญหาชิงรางวัล รวมทั้งแจกของรางวัล อาหารและเครื่องดื่ม   - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี กิจกรรมประกอบด้วย การแนะนำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย ด้วยวีดิทัศน์ การบรรยายความรู้เกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ของพิพิธภัณฑ์/ศัพท์น่ารู้ เกมตอบคำถามและเกมที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์/ข้าวและการทำนา   - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จัดกิจกรรม “ค่ายเยาวชนสุขสันต์ พิพิธภัณฑ์หรรษา” กิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ให้เยาวชนได้เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ และเรียนรู้การปั้นตุ๊กตาพื้นบ้านล้านนาจากครูภูมิปัญญาล้านนา ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๕ ณ โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ภายในจังหวัด สุพรรณบุรี และจังหวัดใกล้เคียง ฯลฯ   นอกจากนี้กรมศิลปากรยังเปิดให้เด็กๆ เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และอุทยานประวัติศาสตร์ทั่วประเทศ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชมอีกด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถานที่ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติทั่วประเทศติดต่อ : หน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรใกล้บ้าน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ไม่เสียค่าใช้จ่าย



เสาร์, 29 มีนาคม 2556,  1:00 - 10:00   อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 30 มีนาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด สถานที่ : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศติดต่อ : เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 02-2222222


วัตถุ รองเท้า ทะเบียน ๒๗/๓/๒๕๓๗ อายุสมัย รัตนโกสินทร์ วัสดุ ผ้า และไม้ ประวัติที่มา ได้ตกทอดมาจากนางเอ้กจ๋วน แซ่เตี้ยว ประมาณ ๙๐ ปี สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง “รองเท้า” รองเท้ามีลักษณะเป็นร้องเท้าขนาดเล็ก ตัวรองเท้าทำด้วยผ้า ถักเป็นลายดอกไม้ ส้นรองเท้าทำด้วยไม้ รองเท้าลักษณะนี้เรียกว่า “รองเท้าตีนตุก”(The flower bowl shoues) รองเท้าตีนตุกเป็นที่นิยมในกลุ่มชาวจีนซึ่งอพยพเข้ามาอยู่ในภูเก็ตในช่วงแรก โดยชาวจีนเชื่อว่าการที่มีเท้าเล็กถือว่าหญิงคนนั้นมีวาสนาดี และมีความงามกว่าหญิงที่มีเท้าโต ชาวจีนจึงมีค่านิยมในการรัดเท้าให้มีขนาดเล็ก รองเท้าตีนตุกจะตัดเย็บด้วยผ้าสีดำหรือน้ำเงินเข้ม ด้านนอกนิยมปักลวดลายด้วยด้ายที่มีสีสันต่างๆ สีซึ่งเป็นที่นิยม คือ สีแดง โดยนิยมปักลายดอกไม้และสัตว์ มีส้นที่ทำด้วยไม้ และนิยมแต่งกายคู่กับชุดแบบจีน เช่น กางเกงแพรจีนสีดำ เสื้อแพรจีนแบบมีกระดุมป้ายข้าง เป็นต้น รองเท้าแบบนี้เมื่อสวมใส่จริงจะทำให้เดินลำบากจึงต้องมีคนคอยช่วยจูงหรือพยุง ร้องเท้าตีนตุกคู่นี้ได้รับตกทอดมาจากนางเอ้กจ๋วน แซ่เตี้ยว ประมาณ ๙๐ ปีแสดงให้เห็นว่าชาวจีนที่อพยพเข้ามาซึ่งเป็นชาวจีนที่เข้ามาในช่วงแรกยังคงมีความยึดมั่นตามธรรมเนียมดั่งเดิม ดังสะท้อนให้เห็นจากการแต่งกายและการมัดเท้าให้มีขนาดเล็ก รองเท้าตีนตุกคู่นี้จึงเป็นหลักฐานที่สะท้อนถึงค่านิยมของชาวจีนในอดีตได้เป็นอย่างดี เอกสารอ้างอิง - ฤดี ภูมิภูถาวร. “ร้องเท้าเข้าชุดสะดุดสายตา,” ภูเก็ตภูมิ ๓,๑ (เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๒):, ๖๔ – ๖๗.


วันศุกร์ที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๐๐ น. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ ๑ - ๓ โรงเรียนกาบเชิงวิทยา อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ จำนวนนักเรียน ๑๗๐ คน คุณครูจำนวน ๑๐ คน เข้าเยี่ยมชมโบราณสถานปราสาทบ้านพลวง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายวิศวะ ประไวย์ เจ้าหน้าที่ประจำโบราณสถานปราสาทบ้านพลวง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม            




หน้าที่และความรับผิดชอบของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี   หอจดหมายเหตุแห่งชาติ  จันทบุรี มีหน้าที่ในการพิจารณาและวิเคราะห์การขออนุมัติทำลายเอกสารของส่วนราชการ ต่างๆ 8 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ระยอง ตราด ชลบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก และสระแก้ว ตามหน้าที่ความรับผิดชอบที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงาน สารบรรณ พ.ศ. 2526 ข้อ 66 – 70 และตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 พิจารณาจัดทำข้อตกลง โดยเป็นผู้ประสานงานไปยังกรมให้กับหน่วยงานต่างๆ 8 จังหวัด รับผิดอบตามระเบียบงานสารบรรณ ข้อ 69.2 ดำเนินการรับมอบเอกสารของส่วนราชการต่างๆ ตรวจสอบและติดตามทวงถาม วิเคราะห์และประเมินคุณค่าเอกสารที่ได้รับมอบจากส่วนราชการต่างๆ ตรวจสอบเนื้อหาเอกสารว่าเอกสารส่วนใดควรเปิดเผยหรือควรปกปิด ควบคุมการทำลายเอกสารที่ผ่านการประเมินคุณค่าแล้ว พิจารณารับฝากเอกสารจากส่วนราชการต่างๆ ตามระเบียบงานสารบรรณ ข้อ 60 (ยกเว้นเอกสารการเงิน) ติดตามและรับมอบเอกสารที่มีอายุเกิน 25  ปี หรือเอกสารที่พ้นกระแสการใช้งานแล้ว บันทึกเหตุการณ์สำคัญของชาติและประเพณีสำคัญของท้องถิ่นที่รับผิดชอบ เก็บรวบรวม แสวงหา รวมทั้งให้การอนุรักษ์เอกสารลายลักษณ์ และเอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ           การดำเนินงาน หอจดหมายเหตุแห่งชาติ  จันทบุรี แบ่งการบริหารงานออกเป็น 4 งาน   1. บริหารงานทั่วไป ทำหน้าที่รับผิดชอบงานสารบรรณ บุคลากร การเงินและพัสดุ การจัดทำแผนงานงบประมาณ ดูแลอาคารสถานที่และรักษาความปลอดภัย   2. งานเอกสารจดหมายเหตุ ดำเนินการพิจารณาตรวจสอบการขออนุมัติทำลายเอกสารของ ส่วนราชการต่างๆ รับมอบเอกสารและวิเคราะห์ประเมินคุณค่าเอกสาร จัดหมวดหมู่ จัดทำเครื่องมือช่วยค้น และอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุ   3. งานบันทึกเหตุการณ์ ดำเนินการรวบรวมข้อมูล สังเกตการณ์และบันทึกเหตุการณ์สำคัญในท้องถิ่น   4. งานบริการและส่งเสริมกิจการงานจดหมายเหตุ ให้บริการค้นคว้าวิจัย และจัดกิจกรรมเอกสารจดหมายเหตุ เพื่อการเรียนรู้และเผยแพร่



อาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน เป็นการจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร การทำมาหากิน วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ของคนไทยในอดีต แสดงถึงภูมิปัญญาพื้นบ้านที่คิดประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุธรรมชาติ ในการดำรงชีวิตประจำวัน


Messenger