ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,342 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.531/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 28 หน้า ; 4.5 x 52 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 178  (281-290) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ธัมมสังคิณี--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




ชื่อเรื่อง                               นิธิกัณฑสูตร (นิธิกัณฑสูตร)สพ.บ.                                  439/1ประเภทวัสดุมีเดีย             คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                             พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                        22 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 36 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา-กัณเทศน์                                       บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา เส้นจาร ฉบับล่องชาด  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


องค์ความรู้ เรื่อง “ปัญจอันตรธาน” โดย ดร.วกุล มิตรพระพันธ์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์



บอกไฟปูจา (บูชา) พระพุทธเจ้าในงานเทศกาลนมัสการพระธาตุเขาน้อย จังหวัดน่านงานเทศกาลนมัสการพระธาตุเขาน้อย จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๘ เหนือ ของทุกๆปี หรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ของภาคกลาง โดยบรรยากาศในอดีตของงานนมัสการพระธาตุเขาน้อย จากบันทึกความทรงจำสำราญ จรุงจิตรประชารมย์ มหาดเล็ก ในสมัยเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย (ครองนครในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ - ๒๔๗๔) โดยในงานจะมีการจุดบอกไฟเป็นพุทธบูชาและเป็นประเพณีสืบมา ซึ่งก๊างบอกไฟ (นั่งร้านที่จุดบอกไฟ) จะอยู่ ณ กลางทุ่งนา บริเวณเชิงดอยพระธาตุเขาน้อย โดยบรรยากาศในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ดังในบันทึก ดังนี้“...ในงานนมัสการพระธาตุเขาน้อย ประจำปีในปีนั้น เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน ท่านได้เสด็จไปนมัสการพระธาตุเขาน้อยตามปกติ ตามที่เคยทรงปฏิบัติมา และปรากฏว่าในปีนั้นมีบอกไฟที่นำไปจุดเป็นพุทธบูชามีจำนวนมาก จะจุดตามสาระคงจะจุดให้หมดในวันเดียวไม่ได้ คณะกรรมการจึงได้นำขึ้นไปจุดพร้อมกันหลายบอก ปรากฏว่าในการจุดครั้งนั้นมีบอกไฟนำขึ้นจุดพร้อมกันถึง ๑๐ บอก มีหลายขนาดบนค้างบอกไฟแน่นไปหมด เวลาจุดต้องใช้พลุลูดหนูแล่นตามสายเชือกขึ้นไปจุด ไม่มีใครกล้าขึ้นไปจุดเพราะกลัว ผมกางร่มนั่งดูบนหัวคันนากลางทุ่งนา แดดร้อนเปรี้ยง ห่างจากค้างบอกไฟไม่มากนัก ปรากฏว่าพลุลูกหนูที่จุดแล่นขึ้นไปนั้นไม่ติดเชื้อประทุ ที่หัวชนวนเงียบอยู่ แต่ไม่มีใครกล้าขึ้นไปบันไดค้างบอกไฟ เพื่อดูว่าทำไมไม่ติดเพราะกลัว ขณะนั้นมีกระทาชายคนหนึ่งเดินออกมาจากกลุ่มคนดูกลางทุ่ง ชายคนนั้นได้ถอดเสื้อออกแล้วปีนบันไดขึ้นไปดู คนดูโดยรอบต่างร้องห้ามปราม แต่แกไม่ฟัง พอปีนขึ้นไปถึงที่นั่งร้านสำหรับคนนำบอกไฟไปจุดเท้านั้น ไฟได้ลุกพรึบติดสายชนวนมะผาบขึ้นทันที ตอนนี้คนดูต่างอกสั่นขวัญแขวนไปตามๆกัน เกรงว่าชายคนนั้นคงต้องตายแน่ ๆ เพราะบอกไฟตั้ง ๑๐ บอก บางบอกก็แตกคาค้างอยู่ บางบอกก็เยี่ยว บางบอกก็ขึ้น สับสนอลม่านไปหมด ควันเฝ่าดินปืนที่พ่นออกมามืดมิด มองไม่เห็นชายผู้นั้นเลยแม้แต่น้อย แต่พอควันเริ่มจางลง จึงมองเห็นว่า ชายคนนั้นยืนรำป้ออยู่บนค้างบอกไฟนั้น ตัวดำมดหมี แล้วไต่บันไดลงมาอย่างคล่องแคล่วไม่แสดงอาการว่าเป็นอะไรเลย คนโดยรอบต่างวิ่งกรูเข้าไปดู ซึ่งรวมทั้งตัวผมด้วย ต่างคนต่างสำรวจดูตามเนื้อตัวของชายคนนั้นด้วยความเป้นห่วง ปรากฏว่าไม่ลวก ไม่ไหม้แม้แต่ผม บนศีรษะก็ไม่หงิกงอใดๆ ทั้งสิ้น งืดจริงๆ (ประหลาดใจ) ชายคนนั้นคือ นายธิ หนังแห้ง คนบ้านเจดีย์ ตำบลดู่ใต้ เป็นที่เลื่องลือในทางขมังเวทย์ ฟันแทงไม่เข้า จึงได้รับฉายา “หนังแห้ง” ผู้คนโจษขานกันวาที่ไฟไม่ลวก ไฟไม่ไหม้นั้นเพราะแกมีคาถา “โมคัลลานดับเปี๋ยว” (เปลวไฟ) ทั้งหมดนี้เรื่องจริงที่ผมได้เห็นมากับตา นับว่าเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อเลยทีเดียว งือบ่อครับ...”ที่มา : บันทึกควาททรงจำ สำราญ จรุงจิตรประชารมย์. พิมพ์ครั้งที่ ๒. น่าน : สำนักพิมพ์องค์เบอร์รี. ๒๕๕๘.ที่มาภาพ: หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ



          วัดห้วยเสือ ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยเสือ หมู่ที่ 5 ตำบลสมอพรือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจากการเข้าไปสำรวจพบว่าวัดแห่งนี้มีการรวบรวมภาพจิตรกรรม โดยเป็นเรื่องราวของ “พระเวสสันดรชาดก” ชาติที่ 10 ของเรื่องราว “ทศชาติชาดก” หรือก็คือ 10 ชาติ ของการเล่าเรื่องราวการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ซึ่งในปัจจุบันภาพดังกล่าวได้ถูกจัดเก็บไว้เป็นอย่างดี ณ วัดห้วยเสือ เพื่อเป็นการดำรงและรักษาภาพจิตรกรรมการแสดงคำสอนอันดีงามและเรื่องราวความเป็นมาทางพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป             สำหรับ ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์ ถือได้ว่าเป็นเรื่องราวที่รู้จักมากที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาทศชาติชาดกทั้ง 10 ตอน และเป็นสาเหตุที่เวสสันดรชาดกถูกยกให้เป็นมหาชาตินั้น ก็เนื่องจากชาดกเรื่องนี้ถือเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้เป็นพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังเป็นพระชาติที่ทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง 10 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทานบารมี” ที่ทรงบริจาคทุกสิ่งทุกอย่างทุกอย่าง แม้แต่ภรรยาและบุตรของตนเองก็บริจาค ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่สุด            นอกจากนั้น สาเหตุที่ “พระเวสสันดรชาดก” นั้นเป็นที่ยกย่องและน่าเลื่อมใส เพราะเรื่องเวสสันดรชาดกนั้นมีคุณค่าที่สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับชีวิตประจำวันได้ทุกระดับ โดย 13 กัณฑ์ ของเรื่องราว “พระเวสสันดรชาดก” สามารถศึกษาเเละทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้ ดังนี้             เอกสารเเละหลักฐานสำหรับการสืบค้น           1. วัดห้วยเสือ, ภาพจิตรกรรม ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์.           2. เจริญ ไชยชนะ.  (2502),  มหาเวสสันดรชาดก ฉบับ 5 กัณฑ์.  กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ไชยวัฒน์.           3. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.  (2561),  เทศน์มหาชาติมหากุศล.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.           4. ทิวาวรรณ อายุวัฒน์.  (2561).  ““ทศชาติชาดก 101”, ใน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี (ผู้รวบรวม), บทความทางวิชาการ สำนัก.วิทยบริการและเทคโนโลยี.  (หน้า 1).  นครปฐม :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


          อิฐดินเผาจารึกคาถาเยธมฺมา ฯ           สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๒           ไม่ปรากฏที่มา           ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องทวารวดี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร           ก้อนอิฐดินเผา ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่งขอบทั้งสี่ด้าน มีจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี ความว่า “เยธมฺมา เหตุปฺปภวา เยสํ เหตุ ตถาคโต อาห เตสญฺจโย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณติ ฯ” แปลได้ความว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้น พระมหาสมณเจ้า ทรงสั่งสอนอย่างดังนี้           คาถาเยธมฺมาฯ ถือเป็นสาระสำคัญของพระพุทธศาสนา มีการพบโบราณวัตถุที่มีจารึกดังกล่าวในหลายวัฒนธรรมทั้งอินเดีย พม่า และในพื้นที่ประเทศไทย โดยเฉพาะในวัฒนธรรมทวารวดีพบจารึกเยธมฺมาฯ บนหลักศิลา พระพิมพ์ สถูปศิลา สถูปดินเผา รวมถึงก้อนอิฐ ซึ่งในวัฒนธรรมทวารวดีนิยมทำก้อนอิฐขนาดใหญ่ผสมกับแกลบข้าว และบางครั้งตกแต่งอิฐเป็นลวดลายมงคล หรือลายธรรมจักรหรือปิดทอง หรือจารึกคาถาทางพุทธศาสนา ฝังเอาไว้กลางโบราณสถานซึ่งเชื่อกันว่าเป็นคติเกี่ยวกับการวางศิลาฤกษ์สำหรับก่อสร้างอาคาร ตัวอย่างอิฐมีจารึกเยธมฺมาฯ เช่น ที่บ้านท่าม่วง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี           ในพระวินัยปิฎก มหาวรรค กล่าวถึง เมื่อครั้งพระอัสสชิ (หนึ่งในปัญจวัคคีย์) เดินทางมาถึงเมืองราชคฤห์ อุปติสสปริพาชกได้พบจึงเข้าไปถามเกี่ยวกับหลักธรรม พระอัสสชิตระหนักว่าบวชไม่นาน จึงประสงค์จะกล่าวหลักธรรมของพระพุทธเจ้าโดยย่อ ดังความว่า           “...เราได้ถามพระอัสสชิต่อไปว่า ก็พระศาสดาของ ท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไร? พระอัสสชิตอบว่า เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมา สู่พระธรรมวินัยนี้ ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่านได้กว้างขวาง แต่จักกล่าวใจความแก่ท่านโดยย่อ เราได้เรียนว่า น้อยหรือมาก นิมนต์กล่าวเถิด ท่านจงกล่าวแต่ใจความแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องการใจความอย่างเดียว ท่านจักทำพยัญชนะให้มากทำไม ผู้มีอายุครั้งนั้น พระอัสสชิได้กล่าวธรรมปริยายนี้ ว่าดังนี้ ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ  พระตถาคตทรงแสดงเหตุ แห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้...”           เมื่ออุปติสสปริพาชกได้สดับพระธรรมโดยย่อดังกล่าวบังเกิดศรัทธา และได้ไปชักชวนโกลิตปริพาชกผู้เป็นสหายพร้อมด้วยบริวารในสำนักของตนอีก ๒๕๐ คนไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่ป่าเวฬุเพื่อฟังธรรมและบวชเป็นพระภิกษุ สำหรับอุปติสสปริพาชก เมื่อบวชแล้วมีนามว่า “สารีบุตร” ส่วนโกลิตปริพาชก เมื่อบวชแล้วมีนามว่า “โมคคัลลานะ” ทั้งสองเป็นพระอัครสาวกของพระพุทธเจ้า     อ้างอิง กรมศิลปากร. ศิลปวิทยาการจากสาส์นสมเด็จ. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลปการพิมพ์, ๒๕๖๓. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๖ จาก:  https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=04&A=1358


วันนี้เรามารู้จักภาชนะดินเผาในพิพิธภัณฑสถานแหห่งชาติ บ้านเชียง โดยนางสาวรัชฏญาภรณ์ ประทุมวัน สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ #มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี


องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง พระยาสุนทรบุรี (อี้ กรรณสูต)ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ




ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.52 ขุนช้างขุนแผนประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยดำISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ             19; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    ตำรายาแผนโบราณ                    ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 16 ส.ค..2538


ประชุมประกาศ รัชกาลที่ 4 เล่ม 3 ผู้แต่ง : พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ต้นฉบับอยู่ที่ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี (ห้องกรมศิลปากร) โรงพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา ปีที่พิมพ์ : 2534 จำนวนหน้า : 313 หน้าครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 4รูปแบบ : PDF ภาษา : ไทย เลขทะเบียน: น35 ร4817 จบ  เลขหมู่ : 340.09593 จ196ป 2534 สาระสังเขป : หนังสือประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 นี้ จัดพิมพ์เป็นครั้งที่ 4 เป็นหนังสือสำคัญที่ให้ความรู้ด้านอักษรศาสตร์ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ทั้งยังเป็นหลักฐานให้ได้ทราบธรรมเนียมประเพณีและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 ด้านสำนวนโวหารจัดได้ว่าเป็นความเรียงที่มีเนื้อหาชัดเจนเหมาะสม ถือเป็นแบบฉบับของร้อยแก้วที่ดี


Messenger