ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,401 รายการ

          กรมศิลปากรขอเชิญชมการถ่ายทอดสด Facebook Live การแถลงข่าวนิทรรศการ "เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก" ในวันพฤหัสบดีที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : บันทึกน้ำท่วมเมืองพะเยา -- ตั้งแต่ล่วงเข้าเดือนสิงหาคมมาหลายๆ พื้นที่ได้รับผลกระทบจากภัยที่มากับธรรมชาติ ประสบกับปัญหาแผ่นดินไหว พายุ น้ำท่วม สูญเสียทรัพย์สิน สูญเสียไร่นาเกษตรกรรม หรือแม้นแต่สูญเสียสมาชิกในครอบครัว จังหวัดพะเยาเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ประสบภัยธรรมชาติเหล่านี้อย่างหลีกเลียงมิได้ โดยเฉพาะเหตุอุทกภัย ดังได้มีการบันทึกถึงเหตุการณ์น้ำท่วมในอดีตของพะเยาที่สะท้อนให้เห็นถึงความสูญเสียที่มากับภัยของธรรมชาติ บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมเมืองพะเยา ของพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๘ ความโดยสรุปว่า วันที่ ๒๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๔๘ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ (เดือนเกี๋ยงเหนือ) เวลากลางคืน มหาเมฆตั้งขึ้นร้องคราง เสียงดังน่าอัศจรรย์มาก ฝนตกลงมาห่าใหญ่น่ากลัวมาก ตกอยู่ตลอดคืนไม่มีขาด จนทำให้เกิดน้ำท่วมเมืองพะเยา น้ำท่วมทะลุบ้านแม่นาเรือ เรือนโค่นลงสองหลัง นางติ๊บกับลูกสาวคนหนึ่งเสียชีวิต น้ำกว๊านเอ่อขึ้นท่วมถึงปลายนิ้วมือพระเจ้าตนหลวง และน้ำเอ่อขึ้นถึงชายคาพระวิหารหลวงซดหน้า (มุขหน้า) ตรงที่น้ำบ่อประตูเหล็กหยั่งลงไม่ถึง ข้าวในนาชาวบ้านตุ่น บ้านบัวน้ำท่วมคนหายไป ๗ คน ภูเขาพังลงมาปิดร่องน้ำแม่ตุ่น น้ำป่าทะลุเอาไม้ หินทรายมาทับถมบ้านคนเสียชีวิต ๑๖ คน บ้านเหล่า ๔ คน บ้านสางเหล่า ๑๒ คน  อีกหนึ่งบันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมเมืองพะเยา ที่ถูกบันทึกโดยพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๖ และอดีตเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ (พระอารามหลวง) ว่า “ระยะห่างกัน ๒๑ ปี เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ครั้งนั้นข้าพเจ้าย้ายมาอยู่วัดศรีโคมคำแล้ว จึงมาประสบกับน้ำท่วมดังรายละเอียดต่อไปนี้ วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๑๖ ตรงกับวันพุธแรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ เหนือ ปีฉลู ก่อนหน้านี้ ๒ วัน เมฆฝนตั้งขึ้นปกคลุมทั้งป่าเขา ทุ่งนาและหมู่บ้าน มองไปทางไหนมืดครึ้มทั้งวันทั้งคืน จากนั้นฝนก็ตกลงมาไม่ขาดสายตลอดทั้งวันทั้งคืน ทำให้น้ำป่าไหลลงมาจากภูเขา ลงสู่หมู่บ้าน ทุ่งนาลงกว๊านพะเยาเอ่อท่วมขึ้นถนนหนทางจากห้าแยกประตูเหล็กถึงวัดศรีโคมคำ ต้องใช้เรือเป็นพาหนะ  ในบริเวณวัดศรีโคมคำ ในพระวิหารลึก ๑.๒๐ เมตร ข้างนอกลึก ๑.๕๐ เมตร ขึ้นองค์พระประธานพระเจ้าตนหลวง ๘๐ เซนติเมตร ทำให้องค์พระเจ้าตนหลวงทรุดลงเอนหลังไปเกือบติดฝาผนัง เสนาสนะอื่นทรุดโทรมไปหลายแห่ง จะหาทางป้องกันก็ไม่ทัน เพราะน้ำบ่าเข้าท่วมวัด เวลา ๐๕.๐๐ น. พอสว่างพระเณรเตรียมสิ่งของเพราะเป็นวันพระ แรม ๘ ค่ำ ศรัทธาจะมาตักบาตร ดูน้ำไหลบ่าเข้าประตูศาลา เข้าไปดูพระวิหารน้ำเข้าท่วมเต็มหมด จึงย้ายการทำบุญไปยังศาลาบาตรด้านเหนือตรงมุมโค้ง พอตักบาตรเสร็จก็ต้องรีบขนเสื่อเครื่องทำบุญออกจากศาลา ทันใดน้ำก็ท่วมศาลาอีก มองในวัดเหมือนกับกว๊าน ถึงเวลาเย็นประชาชนไม่รู้มาจากไหนต่างก็มาจับปลากันถึงในวัดเต็มไปหมด หันไปมองชาวบ้านหลายหมู่บ้าน ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลที่อยู่ติดกับชายกว๊านถูกน้ำท่วมหมด ไร่นาทรัพย์สิน สัตว์เลี้ยงต่างๆ ล้มตายจมน้ำเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะหมู่บ้านแม่ต๋ำทั้ง ๔ หมู่บ้าน จมอยู่ใต้น้ำ ที่ลำบากที่สุดหมู่บ้านแม่ต๋ำภูมินทร์ และแม่ต๋ำเมืองชุม เพราะท่วมจนมิดหลังคาบ้านก็มี การท่วมคราวนั้นท่วมอยู่นาน เพราะทางบ้านเมืองสร้างถนนไฮเวย์ขึ้นสูงถึง ๒.๕๐ เมตร แต่ท่อระบายน้ำไม่เพียงพอ มีสะพานเพียงแห่งเดียว มีท่อระบายน้ำอีกแห่ง นอกจากนี้ก็มีประตูน้ำ-ประมง แต่ระบายไม่ทัน ทำให้น้ำขังอยู่นานเกือบ ๒ เดือน น้ำแห้งขาดจากในวัดศรีโคมคำ ถึงวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๖ น้ำท่วมครั้งนี้ข้าพเจ้าได้แต่งค่าวไว้อยู่เรื่องหนึ่งชื่อว่า ค่าวน้ำท่วมพะเยา”   จากบันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมพะเยาทั้งสองครั้ง นอกจากจะสะท้อนความเสียหายของภัยที่มากับธรรมชาติแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น เหตุการณ์ยิ่งเก่ายิ่งสืบค้นหาข้อมูลเทียบเคียงอ้างอิงยาก บันทึกเหล่านี้มีประโยชน์ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป ………………………………ผู้เรียบเรียง:  นางสาวอรทัย ปานจันทร์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)..............................ภาพถ่าย : 1. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. ภ พย (อ) 6/10 น้ำท่วมวัดพระเจ้าตนหลวง, 2516. 2. ภาพชุดจัดทำนิทรรศการ “บันทึกน้ำท่วมพะเยา” มีนาคม 2555, วัดศรีโคมคำข้อมูลอ้างอิง:วัดศรีโคมคำ. อัครดุษฎีบัณฑิตแห่งภูกามยาว พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมวิมลโมลี (ปวง ธมฺมปญฺโญ) วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา. 2550. หน้า 254-259.พระมหาโยธิน ฐานิสฺสโร. บันทึกวัดศรีโคมคำ. เชียงราย:อินเตอร์พริ้นท์, 2552. หน้า 30, 39-42.พระธรรมวิมลโมลี. บันทึกสถิติน้ำท่วมเมืองพะเยาและค่าวน้ำท่วม. พิมพ์แจกในงานฉลองสัญญาบัตรพัดยศ , เชียงราย: หจก.เชียงรายไพศาลการพิมพ์, 2538 หน้า 1-15 (เอกสารสำเนา).สารานุกรมกว๊านพะเยา. บันทึกน้ำท่วมเมืองพะเยา (Online), http://www.phayaolake.ict.up.ac.th/content/66 สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ





          สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด "รามบดีจักรีวงศ์" ในรายการ “ผันผ่านกาลเวลา ล้ำเลอค่าโรงละคร” เนื่องในวาระปิดปรับปรุงโรงละครแห่งชาติ (เพิ่มรอบการแสดง) วันอาทิตย์ ๘ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ โรงละครแห่งชาติ           รายการแสดง ประกอบด้วย           ๑. การบรรเลง - ขับร้อง ดนตรีสากล “สำเนียงเสียงฝรั่งหลวง งามโชติช่วงเพลงกรมศิลป์”           ๒. ละคร เรื่องไกรทอง ตอนไกรทองรบชาละวัน           ๓. โขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด "รามบดีจักรีวงศ์" นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต  กำกับการแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์  อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต           บัตรราคา ๒๐๐, ๑๕๐, ๑๐๐ บาท ซื้อได้ที่ห้องจำหน่ายบัตร โรงละครแห่งชาติ (เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๕.๓๐ น.) และจำหน่ายบัตรออนไลน์ที่ https://ntt.finearts.go.th สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒, ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑


ชื่อเรื่อง                                ปรมตฺถธมฺมสุตฺต(ปรมัตถะ) สพ.บ.                                 อย.บ.12/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           48 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวด                                           พระวินัย                                            คำสอน บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อผู้แต่ง         วัดไร่ขิง ชื่อเรื่อง            พุทธาทิกลัส นมตภุ : ของขลังคำกลอน ครั้งที่พิมพ์       -           สถานที่พิมพ์    นครปฐม สำนักพิมพ์      พระปฐมการพิมพ์ ปีที่พิมพ์          2524 จำนวนหน้า      80 หน้า รายละเอียด              พุทธาทิกัสสะ นะมะตะภุ หรือของขลังคำกลอน แต่งเป็นกลอนแปดต้นหลัง เป็นพระคาถา ชินบัญชร และคำแปล  และหลังจากคำแปลเป็นคาถาชินบัญชรคำกลอน


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 154/2เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนีเผด็จ) ชบ.บ 181/8เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2513 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ จำนวนหน้า : 142 หน้า สาระสังเขป : หนังสือโคลงภาพพระราชพงศาวดาร เกิดขึ้นโดยกระแสพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลือกสรรเรื่องในพระราชพงศาวดารให้ช่างเขียนที่มีฝีมือเขียนรูปภาพและทรงคิดทำกรอบกระจกสำหรับรูปภาพทั้งปวงนั้นและให้มีโคลงบอกเรื่องพระราชพงศาวดารตรงที่เขียนติดไว้ประจำทุกกรอบ รูปขนาดใหญ่จำนวนโคลงรูปละ 6 บทรูปขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวนโคลงรูปละ 4 บท ท่านเจ้าภาพได้โปรดให้ทำแม่พิมพ์ภาพประกอบจากฉบับพิมพ์ครั้งแรก 5 ภาพ พิมพ์รวมไว้ด้วย


องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเรื่อง กำแพงเมืองและสะพานไม้ของเมืองกำแพงเพชรเมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและสืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และตำแหน่งที่ตั้งของเมืองนับว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการสงครามที่มีบทบาทเป็นอย่างมาก เมืองแห่งนี้จึงจำเป็นต้องมีการก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ชื่อเมืองกำแพงเพชรยังปรากฏในเส้นทางการเดินทัพของทั้งฝ่ายกรุงศรีอยุธยา ฝ่ายพม่า และฝ่ายล้านนา มาโดยตลอดแผนผังเมืองกำแพงเพชรเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู วางตัวขนานไปกับแม่น้ำปิง ตัวเมืองมีขนาดกว้างประมาณ ๖๐๐ เมตร ยาวประมาณ ๒,๔๒๐ เมตร แนวกำแพงเมืองด้านเหนือพบร่องรอยคูน้ำและคันดินจำนวน ๓ ชั้น กำแพงเมืองชั้นในที่ล้อมรอบตัวเมืองเป็นระยะทางทั้งสิ้น ๕,๓๑๓ เมตร แนวกำแพงมีความกว้าง ๖.๕ เมตร สูงประมาณ ๔.๗ – ๕.๒ เมตร แนวกำแพงเมืองที่ล้อมรอบตัวเมืองก่อสร้างด้วยศิลาแลงอันเป็นทรัพยากรที่สำคัญของเมือง มีองค์ประกอบสำคัญคือ แนวกำแพงเมืองที่มีเชิงเทินและใบเสมา ประตูเมือง และป้อมปราการ ประตูเมืองกำแพงเพชรที่ยังคงปรากฏหลักฐานอยู่ในปัจจุบันจำนวน ๙ ประตู ได้แก่ ประตูหัวเมือง ประตูผี ประตูสะพานโคม ประตูวัดช้าง ประตูเตาอิฐ ประตูท้ายเมือง ประตูบ้านโนน ประตูดั้น และประตูเจ้าอินทร์ป้อมปราการพบจำนวน ๑๑ ป้อม  ได้แก่ ป้อมมุมเมืองทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ป้อมมุมเมืองทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ป้อมมุมเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้ ป้อมบ้านโนน ป้อมเจ้าจันทร์ ป้อมวัดช้าง ป้อมเตาอิฐ ป้อมหลังทัณฑสถานวัยหนุ่มป้อมเจ้าอินทร์ป้อมเพชร และป้อมข้างประตูเตาอิฐอย่างไรก็ตามอาจมีป้อมและประตูบางแห่งที่ไม่เหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน เช่น ประตูน้ำอ้อย ป้อมมุมเมืองทิศตะวันออกเฉียงใต้ แต่ปรากฏหลักฐานในพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๒ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๙ และในแผนที่เมืองกำแพงเพชรที่เขียนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชนิพนธ์ทั้งสองฉบับ ปรากฏข้อความที่แสดงพระราชวินิจฉัยเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ลักษณะของป้อมปราการ ประตูเมือง และคูเมือง ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเปรียบเทียบในปัจจุบัน โดยเฉพาะแผนที่เมืองกำแพงเพชรที่เขียนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ในพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วง เป็นแผนที่ที่แสดงตำแหน่งของป้อมประตูเมืองกำแพงเพชร พบประตูน้ำอ้อยซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบันแต่ในแผนที่ระบุตำแหน่งไว้เป็นบริเวณถัดจากประตูบ้านโนนมาด้านทิศตะวันออก และที่สำคัญคือบริเวณมุมที่บรรจบของแนวกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ หรือมุมเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ พบว่ามีป้อมปราการตั้งอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวด้วยซึ่งเป็นพื้นที่ในการดำเนินการขุดตรวจทางโบราณคดีในครั้งนี้ก่อนการดำเนินโครงการก่อสร้างพัฒนาสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว (พัฒนาระบบชลประทาน เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์แหล่งมรดกโลกกำแพงเพชร)ของสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดกำแพงเพชร โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการจังหวัดกำแพงเพชร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓และดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีโดยอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรพื้นที่การดำเนินงานตั้งอยู่บริเวณพิกัดเส้นรุ้งที่ ๑๖ องศา ๒๘ ลิปดา ๕๓.๖๘ฟิลิปดา เหนือ เส้นแวงที่ ๙๙ องศา ๓๑ ลิปดา ๓๓.๑๕ฟิลิปดา ตะวันออก ด้านหลังที่ทำการไปรษณีย์ สาขาชากังราว บนถนนราชดำเนิน ๑ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร สภาพก่อนการดำเนินงานเป็นพื้นผิวถนนแบบแอสฟัลติกคอนกรีต (Asphaltic Concrete) และตั้งอยู่บริเวณที่จะดำเนินการวางท่อลอดเพื่อเชื่อมต่อคูเมืองกำแพงเพชรด้านทิศใต้และทิศตะวันออกเข้าด้วยกัน และได้กำหนดขุดหลุมขุดค้นทางโบราณคดีเป็น ๒ หลุม ขนาดกว้าง ๒ เมตร และยาว ๔๐ เมตร และ ๓๐ เมตร ตามลำดับ และวางหลุมขุดค้นทั้งสองหลุมตัดกันเป็นรูปกากบาทจากการขุดค้นทางโบราณคดีได้พบร่องรอยผิดวิสัยทางโบราณคดี (Archaeological Feature) สำคัญ๒ จุดคือ๑. พบโครงสร้างสะพานไม้ที่สันนิษฐานว่าใช้เป็นทางสัญจรในอดีต เป็นเสาตอม่อสะพานแบบคานแต่ไม่พบชิ้นส่วนโครงสร้างสะพานด้านบนหรือไม้กระดานที่วางพาดสำหรับเดินข้ามแต่อย่างใด พื้นที่ดังกล่าวน่าจะเป็นคูเมืองด้านทิศตะวันออกต่อทิศใต้มาก่อน และมีกิจกรรมการปรับถมคูเมืองและพื้นที่โดยรอบเพื่อก่อสร้างถนนราชดำเนิน ๑ ที่ใช้สัญจรกันในปัจจุบัน เนื่องจากพบโบราณวัตถุอายุตั้งพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๖ ซึ่งโบราณวัตถุมีลักษณะการพบที่ไม่เรียงลำดับตามอายุสมัย ทั้งนี้ยังปะปนกันในชั้นดินที่นำมาถมร่วมกับการพบวัตถุร่วมสมัยทั้งชิ้นส่วนพลาสติก แก้ว และโลหะ จากรูปแบบโครงสร้างสะพานไม้ที่พบยังไม่สามารถระบุช่วงเวลาการสร้างและการใช้งานได้อย่างชัดเจน แต่จากการพบชิ้นส่วนน้ำยาขัดรองเท้ายี่ห้อ KIWI ที่ปรากฏเครื่องหมายการค้าอยู่ในช่วง พ.ศ. ๒๔๖๗ – ๒๕๑๖ ที่อยู่ในชั้นดินที่นำมาถมคูเมือง และประกอบกับแผนผังเมืองกำแพงเพชรเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔ และภาพถ่ายทางอากาศปี พ.ศ.๒๕๑๗ ทั้งสองต่างปรากฏถนนในพื้นที่การดำเนินงานแล้ว จึงสามารถระบุได้เบื้องต้นว่ามีการปรับถมคูเมืองเพื่อสร้างถนนราชดำเนินน่าจะอยู่ในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ. ๒๔๖๗ – ๒๕๐๔๒. พบแนวโบราณสถานที่ก่อด้วยศิลาแลง สันนิษฐานจากตำแหน่งที่พบว่าน่าจะเป็นแนวกำแพงเมืองด้านทิศใต้ และมีอายุสมัยของแนวโบราณสถานที่พบสันนิษฐานว่ามีอายุร่วมสมัยกับแนวกำแพงเมืองกำแพงเพชรด้านอื่น ที่มีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ และแนวกำแพงเมืองด้านทิศใต้ในบริเวณนี้น่าจะถูกรบกวนจากการปรับถมพื้นที่ไปพร้อมกับช่วงถมคูเมืองเพื่อก่อสร้างถนนราชดำเนิน ๑ ด้วยเช่นกันสามารถสรุปการใช้งานของพื้นที่ดังกล่าวได้ว่า แนวถนนราชดำเนิน ๑ เป็นทางสัญจรที่ใช้เข้าและออกเมืองกำแพงเพชรเดิมก่อนปีพ.ศ.๒๕๐๔ จากการพบแนวโครงสร้างสะพานไม้ที่เป็นหลักฐานแสดงถึงการสร้างสะพานข้ามคูเมือง และในเวลาต่อมาได้มีการปรับถมพื้นที่ทั้งส่วนคูเมืองและกำแพงเมืองเพื่อก่อสร้างถนนราชดำเนิน ๑*บทความฉบับนี้เรียบเรียงเพื่อประกอบการนำเสนอผลงานวิชาการในการสัมมนา “วิจัยวิจักขณ์” ประจำปี ๒๕๖๕ วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๖ ของนางสาวจินต์จุฑา เขนย นักโบราณคดีปฏิบัติการ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเอกสารอ้างอิงประทีป เพ็งตะโก. “ป้อมเพชร ปราการเหล็กแห่งอยุธยา”. ศิลปากร. ปีที่ ๔๐, ฉบับที่ ๕ (ก.ย.-ต.ค. ๒๕๔๐) หน้าที่ ๕๐-๖๕.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. เสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ ๕.พิมพ์ครั้งที่ ๒๖. กรุงเทพฯ : ไทยร่มเกล้า, ๒๕๒๙.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๑๙.


ชื่อผู้แต่ง          วิริยังค์ สิรินธโร ชื่อเรื่อง           ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ฉบับสมบูรณ์และใต้สามัญสำนึก ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       อาทรการพิมพ์ ปีที่พิมพ์           ๒๕๒๑ จำนวนหน้า       ๑๕๑ หน้า หมายเหตุ        อนุสรณ์ในการฌาปนกิจศพ คุณย่ามั่น บุญฑีย์กุล ๑๕ มกราคม ๒๕๒๑ ณ เมรุวัดธรรมมงคล                       ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ฉบับสมบูรณ์และใต้สามัญสำนึกแล้วนี้ได้กล่าวถึงผู้เขียนได้เขียนจากการไต่ถามด้วยปากคำกับท่านเองระหว่างนั้นผู้เขียนได้เป็นพระอปัฏฐากและบีบนวดถวายท่านและบันทึกไว้เป็นอักษรตลอดเวลา จึงได้บันทึกประวัติของท่านไว้ด้วยความเลื่อมใส บูชา เคารพ นับถือ และหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน


สุขาวดี แห่งครุฑพญาครุฑเป็นผู้มีฤทธิ์มาก อาศัยอยู่วิมานฉิมพลี แต่พญาครุฑมีอำนาจและจิตใจที่แน่วแน่ เพื่อที่จะบำเพ็ญธรรมะบารมี ถวายพระพุทธเจ้าเป็นพุทธบูชา เพื่อให้สังคมมีความสงบสุขสันติอยู่ร่วมกันอย่างมีปกติสุข ด้วยการรักษาจิต ไม่ให้มีความเร่าร้อน มีการสวดมนต์ ภาวนา รักษาความดีงาม และคอยค้ำจุนพระพุทธศาสนา และปรารถนาแดนสุขาวดี เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานในการต่อไปGaruda’s ParadiseThe powerful Garudas live in Wiman Chimpli (Simbali). They have strong and determined minds to perform meritorious acts as an offering to the Buddha. Besides, they retain peaceful minds, pray and meditate, maintain goodness and devote themselves to Buddhism for the purpose of peacefully coexisting in society. They also wish for the land of happiness in order to achieve nirvana in the future. Artist : Mr. Sutee Sakulnooผู้ออกแบบ: นายสุธี สกุลหนู นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน สำนักช่างสิบหมู่ข้อมูล: สมุดภาพมรดกศิลปวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิบริรักษ์ : ครุฑ ยักษ์ นาค


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ตามเค้าเข้าป่า -- ปี 2510 ป่าไม้เขตแพร่มีคำสั่งให้พนักงานป่าไม้ท่านหนึ่งเข้าป่าสัมปทานน้ำแหง - น้ำสา จังหวัดน่าน เพื่อปฏิบัติภารกิจสำคัญให้กับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ภารกิจนั้นคือ " สำรวจไม้สักตายแห้งขอนนอนยืนต้นตายตามธรรมชาติ " และปฏิบัติการดังต่อไปนี้ด้วย 1. ตีตราไม้สักตายแห้งจริงเท่านั้น แล้วทำบัญชีขนาดไม้พร้อมแผนที่ระบุตำแหน่งไม้ 2. ให้ใช้ตราตีไม้จากเขตป่าไม้แพร่ 3. เศษไม้ ปลายไม้ที่ผู้ร้ายขโมยตัด ให้ทำบัญชีนำเสนอ ความน่าสนใจของปฏิบัติการอยู่ที่ต้องตีตราไม้แห้งจริง เพื่อป้องกันใครก็ตามสวมรอยต้นไม้นั้นๆ อีกทั้งทำให้ทราบว่า แผนที่ระบุตำแหน่งไม้ดังที่นำเสนอจุดหมอนไม้เมื่อครั้งก่อน พนักงานป่าไม้เป็นผู้จัดทำมิใช่ผู้รับสัมปทาน ถัดมา ตัวตราสำหรับตีต้องเบิกมาจากเขตป่าไม้ ป้องกันการปลอมแปลงหรืออาจรู้เห็นกับผู้รับสัมปทาน สุดท้าย เศษไม้/ปลายไม้ที่พบจากการลักลอบตัด พนักงานต้องสำรวจให้ครบ เพื่อยืนยันได้ว่า " สมบัติสาธารณะ " ห้ามละเมิดเด็ดขาด จากเอกสารจดหมายเหตุคำสั่งดังกล่าว ทำให้พบภารกิจหลักของพนักงานป่าไม้ เป็นหน้างานแนวหน้าที่ต้องเผชิญภัยธรรมชาติ สัตว์ป่า และคนร้าย ถือเป็นภาระ " หนัก " ไม่น้อย แต่สามารถจ้างคนงานมาช่วยแบ่งเบาได้บ้าง น่าเสียดายที่เอกสารมิได้ระบุจำนวนวันปฏิบัติการ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้นอกจากตราตีไม้ หรือหากพบผู้กระทำผิดกฎหมายต่อหน้าต้องปฏิบัติอย่างไร ? เพราะหาไม่แล้วการเข้าป่าครั้งนั้นจะทำให้ผู้ค้นคว้า " สนุก " ไปกับหลักฐานชั้นต้นอย่างแน่นอน.ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา นน 1.6.3.5/11 เอกสารสำนักงานป่าไม้จังหวัดน่าน เรื่อง การสำรวจไม้สักตายแห้งตามธรรมชาติ และสำรวจประมาณการไม้สักที่ถูกลักตัดในสัมปทานน้ำแหง น้ำสา ภาค 4 แปลงที่ 10 [ 16 ก.พ. - 30 ต.ค. 2510 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ