กระดิ่งและวัชระ (Ghanta and Dorje)
สิ่งของสำคัญในพิธีกรรมของพุทธศาสนานิกายตันตระ ของชาวธิเบต ตามประเพณีของชาว
พุทธในธิเบต กระดิ่งใบนี้จะต้องอยู่คู่กับวัชระเพชรดอร์เจ (Dorje) ในการประกอบพิธีแบบตันตระ
โดยผู้ทำพิธีจะถือกระดิ่งไว้ในมือซ้าย ส่วนวัชระจะถือไว้ในมือขวาระหว่างการประกอบพิธี
กันตะ (Ghanta) ในภาษาธิเบตแปลว่า กระดิ่ง เป็นของใช้ในการประกอบพิธีตามความเชื่อ
ของชาวธิเบตที่นับถือศาสนาพุทธนิกายตันตระ เชื่อกันว่าการใช้กระดิ่งและวัชระจะช่วยให้สามารถ
บรรลุธรรมได้ นอกจากนี้เสียงของกระดิ่งยังช่วยในเรื่องการกำหนดจิตภาวนาอีกด้วย
ตามหลักพุทธศาสนา กระดิ่งกันตะนี้เป็นตัวแทนพลังของความเป็นสตรีเพศ ปัญญา
ความสามารถในการรับรู้ และเสียงแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนวัชระนั้นเป็นตัวแทนของ
บุรุษเพศ
คำว่า Dorje เป็นคำในภาษาธิเบต หมายถึง สิ่งที่เป็นอมตะ หรือสิ่งที่ไม่สามารถทำลายได้
วัชระในพุทธศาสนาของชาวธิเบตนั้นเป็นสัญลักษณ์แทนอำนาจของความเป็นบุรุษเพศ แรงดลใจ
และการตัดความไม่รู้ ความโง่เขลา และสิ่งลวงตาออกไป
ในพิธีกรรมของชาวธิเบตวัชระเพชรนี้จะอยู่คู่กับกระดิ่ง อันเป็นสัญลักษณ์ของความเป็น
สตรีเพศ โดยผู้ที่ทำพิธีจะนำของสองสิ่งนี้มาวางทาบบนอก จะเป็นสัญลักษณ์แทนการรวมเป็นหนึ่ง
เดียวกันระหว่างพลังของชายและหญิง เมื่อรวมเอาทั้งสองสิ่งเข้าด้วยกันจะหมายถึงการปฏิบัติ
แต่ความหมายของของสำคัญ ๒ สิ่งนี้ไม่ได้มีความหมายเพียงเท่านี้ หากแต่ยังมีความหมายอื่นที่
ซ่อนเร้นอยู่อีก นั่นคือ กระดิ่งและวัชระยังหมายถึง การกระทำอันดีงาม และความกรุณาปรานี
ดังนั้นการใช้กระดิ่งและวัชระร่วมกัน จึงเป็นสัญลักษณ์ของการผสมผสานกันระหว่างปัญญาและ
ความกรุณาปรานี
ในสมัยโบราณเดิมทีนั้นวัชระเป็นสัญลักษณ์ของอสุนีบาตหรือสายฟ้าที่พระอินทร์เทพ
เจ้าของชาวฮินดูใช้กวัดแกว่งเป็นอาวุธ แต่ในพุทธศาสนาด้วยความสว่างไสวของมัน จึงทำให้
กลายเป็นสัญลักษณ์ของอสุนีบาตและเพชร ในฐานะอสุนีบาตหรือสายฟ้าจะถือว่าเป็นสิ่งที่สามารถ
ทำลายความมืดมิดในยามราตรีให้หมดไป ส่วนในฐานะเพชรก็เป็นตัวแทนที่สื่อถึงความแข็งแกร่ง
เหนือสิ่งอื่นใด เพราะเพชรเป็นสิ่งที่มีความแข็งแกร่งสามารถตัดสิ่งของต่างๆ ให้ขาดจากกันได้
ชาวธิเบตจึงเชื่อกันว่าหากจิตใจบรรลุถึงแสงสว่างแห่งธรรมได้แล้ว ก็จะสามารถตัดม่านหมอก
แห่งความโง่เขลาหรือความไม่รู้ให้หมดไปได้ รวมทั้งความสับสนว้าวุ่นใจที่มีอยู่ในจิตใจของปุถุชนทั่วไป
จาก หนังสือนัยแห่งสัญลักษณ์
ภาพประกอบ
http://tibet-incense.com/blog/sand-mandala-yamantaka-mandala-day-11-part-2/
http://www.buddhafiguren.de/products/en/Ceremonial-Items/Ghanta/Ghanta-Set-bell-Lama-quality-22-cm.html
http://www.dunum.ch/en/online-shop.html?page=shop.browse&category=
http://www.asianart.com/lieberman/gallery2/d7441.html
http://en.wikipedia.org/wiki/File:Vajrasattva_Tibet.jpg
(จำนวนผู้เข้าชม 16466 ครั้ง)