ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ

ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา ทสพร-นครกัณฑ์)สพ.บ.                                  423/1ประเภทวัสดุมีเดีย               คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                         26 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา--กัณฑ์เทศ                                              ชาดก                    บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม-ธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


องค์ความรู้เรื่อง เอ็ดมันด์ โรเบิร์ตส์ ทูตจากสหรัฐอเมริกาคนแรก ที่เดินทางมาเยือนราชอาณาจักรสยาม ในสมัยรัชกาลที่ ๓ นางสาวปภัชกร ศรีบุญเรือง นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มแปลและเรียบเรียง สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ค้นคว้าเรียบเรียง



เจ้าจำรัส มหาวงศนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน หรือ ส.ส. คนแรกของจังหวัดน่าน พ.ศ. ๒๔๗๖, พ.ศ. ๒๔๘๐ และ พ.ศ. ๒๔๘๑หลังจากที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๖ การเลือกตั้งครั้งนี้เป็น "การเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย" โดยจังหวัดน่านมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรก คือ เจ้าจำรัส มหาวงศนันท์โดยนามสกุล "มหาวงศนันท์" พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุล "มหาวงศนันท์" (Mahavansanandana) แก่เจ้าวรญาติ (เทพรศ) นายงานคมนาคมเมืองน่าน สืบเชื้อสายจากเจ้ามหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๑ ครองเมืองระหว่าง พ.ศ. ๒๓๘๑ - ๒๓๙๔ในแถลงการณ์ เรื่อง การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช ๒๔๗๖ กองโฆษณาการ ในตอนหนึ่งกล่าวว่า"...สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนี้เป็นบุคคลที่สำคัญมาก ที่ว่าสำคัญมากก็เพราะเป็นผู้แทนของราษฎรทั้งจังหวัด หรือผู้แทนของราษฎรตั้งแต่สองแสนขึ้นไป ในนานาประเทศที่เจริญรุ่งเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รับความยกย่องนับถือเป็นอันมาก โดยที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นหน่วยหนี่งในการปกครองประเทศ สยามจะเจริญรุ่งเรืองต่อไปให้ทัดเทียมชาติและประเทศทั้งหลายในโลกนี้ ก็เพราะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพราะเหตุนี้ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึ่งเป็นสิทธิของราษฎรที่จะต้องใช้และต้องกระทำ ด้วยวิจารณญาณอันดีที่สุดเพื่อให้ได้ผู้แทนของตนให้ดีจริงๆ สำหรับควบคุมราชการแผ่นดินให้ดำเนินไปในลู่ทางที่เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป..."เอกสารอ้างอิงกองโฆษณาการ. แถลงการณ์ เรื่อง การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช ๒๔๗๖. ๒๔๗๖.ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑๔. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๑ หน้า ๑๒ วันที่ ๕ เมษายน ๒๔๕๗



          วัดห้วยเสือ ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยเสือ หมู่ที่ 5 ตำบลสมอพรือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจากการเข้าไปสำรวจพบว่าวัดแห่งนี้มีการรวบรวมภาพจิตรกรรม โดยเป็นเรื่องราวของ “พระเวสสันดรชาดก” ชาติที่ 10 ของเรื่องราว “ทศชาติชาดก” หรือก็คือ 10 ชาติ ของการเล่าเรื่องราวการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ซึ่งในปัจจุบันภาพดังกล่าวได้ถูกจัดเก็บไว้เป็นอย่างดี ณ วัดห้วยเสือ เพื่อเป็นการดำรงและรักษาภาพจิตรกรรมการแสดงคำสอนอันดีงามและเรื่องราวความเป็นมาทางพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป             สำหรับ ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์ ถือได้ว่าเป็นเรื่องราวที่รู้จักมากที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาทศชาติชาดกทั้ง 10 ตอน และเป็นสาเหตุที่เวสสันดรชาดกถูกยกให้เป็นมหาชาตินั้น ก็เนื่องจากชาดกเรื่องนี้ถือเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้เป็นพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังเป็นพระชาติที่ทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง 10 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทานบารมี” ที่ทรงบริจาคทุกสิ่งทุกอย่างทุกอย่าง แม้แต่ภรรยาและบุตรของตนเองก็บริจาค ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่สุด            นอกจากนั้น สาเหตุที่ “พระเวสสันดรชาดก” นั้นเป็นที่ยกย่องและน่าเลื่อมใส เพราะเรื่องเวสสันดรชาดกนั้นมีคุณค่าที่สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับชีวิตประจำวันได้ทุกระดับ โดย 13 กัณฑ์ ของเรื่องราว “พระเวสสันดรชาดก” สามารถศึกษาเเละทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้ ดังนี้             เอกสารเเละหลักฐานสำหรับการสืบค้น           1. วัดห้วยเสือ, ภาพจิตรกรรม ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์.           2. เจริญ ไชยชนะ.  (2502),  มหาเวสสันดรชาดก ฉบับ 5 กัณฑ์.  กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ไชยวัฒน์.           3. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.  (2561),  เทศน์มหาชาติมหากุศล.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.           4. ทิวาวรรณ อายุวัฒน์.  (2561).  ““ทศชาติชาดก 101”, ใน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี (ผู้รวบรวม), บทความทางวิชาการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี.  (หน้า 1).  นครปฐม :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.


          จันทบุรีมีชื่อเสียงเกี่ยวกับธุรกิจการค้าอัญมณีเลื่องลือไปทั่วโลก นอกจากจะเป็นถิ่นกำเนิดของพลอยหลากสีที่มีคุณภาพ ยังเป็นศูนย์รวมของช่างพลอยมากฝีมือและประสบการณ์ ด้วยภูมิปัญญาด้านงานช่างอัญมณีที่มีอัตลักษณ์อันโดดเด่น ทั้งกรรมวิธีการปรับปรุงคุณภาพสีสันของพลอย การเจียระไนด้วยทักษะฝีมือที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมถึงการประกอบตัวเรือนอย่างวิจิตรบรรจง ทำให้พลอยเมืองจันท์เป็นที่ชื่นชอบและได้รับการยอมรับในตลาดค้าพลอยทั่วโลกว่าเป็นพลอยที่มีความสวยงามและมีคุณภาพ อย่างไรก็ตามพลอยที่มีสีสันสวยงามนี้ เกิดจากภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าที่พัฒนา ต่อยอดมาจากวิธีการเผาพลอยที่มีจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ จากความช่างสังเกตของคุณสามเมือง แก้วแหวน ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นนวัตกรรมเตาเผาที่เหมาะสมกับพลอยหลากหลายชนิด และส่งผลให้ชื่อเสียงของคุณสามเมืองและพลอยเมืองจันท์เป็นที่รู้จักในระดับสากล          จากหนังสือเรื่อง “ไม้ขีดไฟก้านแรก” ได้บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของคุณสามเมือง แก้วแหวน ปูชนียบุคคลแห่งวงการพลอยของจันทบุรีว่า คุณสามเมืองเริ่มทำอาชีพค้าขายพลอยหลังลาออกจากการรับราชการตำรวจเมื่ออายุ 30 ปี ด้วยการลองผิดลองถูกทั้งการซื้อขายและการปะพลอย ต่อมาวันหนึ่งได้โกลนพลอยสตาร์เม็ดหนึ่งแตก แต่ถูกคิดค่าจ้างปะติดแพง จึงเกิดความคิดในการปะพลอยเอง โดยใช้ความร้อนและน้ำประสานทองเป็นตัวเชื่อม จากการปะพลอยนี้เองคุณสามเมืองได้สังเกตเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสีพลอย โดยเนื้อพลอยจะใสขึ้นกว่าเดิม และมีสีจางลงเล็กน้อยเมื่อถูกความร้อนมาก ๆ ความสงสัยจุดประกายเล็ก ๆ ขึ้นในใจเป็นครั้งแรกว่าความร้อนต้องเป็นสาเหตุหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงของสีพลอยเป็นแน่ จากความช่างสังเกตมาประจวบกับเหตุเพลิงไหม้ตลาดเมืองจันทบุรีครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2511 สร้างความเสียหายให้ร้านค้าพลอยเป็นจำนวนมาก พลอยก้อนในร้านถูกเผาไหม้จมดิน และมีผู้นำมาขายให้ คุณสามเมืองสังเกตเห็นชัดว่าพลอยทุกเม็ดมีเนื้อใสหมด ทำให้เชื่อมั่นว่าความร้อนสามารถทำให้พลอยเปลี่ยนสีได้ จึงเริ่มศึกษาค้นคว้าการเผาพลอยอย่างจริงจัง ผ่านการลองผิดลองถูก และได้รับความร่วมมือในการผลิตเตาเผาด้วยถ่านหินซึ่งทนความร้อนสูงของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ทำให้สามารถเผาพลอยจนกระทั่งทำให้หม่าหรือความขุ่นในเนื้อพลอยหายไปกลายเป็นพลอยที่มีสีสันสวยงาม โดยพลอยเม็ดแรกที่เผาสำเร็จเป็นพลอยแซปไฟร์สีน้ำเงิน จึงกล่าวได้ว่าผู้คิดค้นวิธีการเผาพลอยขึ้นคนแรกในวงการพลอยเมืองไทย คือ “คุณสามเมือง แก้วแหวน” นั่นเอง          คุณสามเมืองได้พัฒนาการเผาพลอยด้วยเตาเผาแบบต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับพลอยแต่ละชนิด โดยพบว่าเตาน้ำมันเหมาะกับการเผาพลอยสีน้ำเงิน เนื่องจากมีคาร์บอนมาก เตาไฟฟ้าเหมาะสำหรับเผาพลอยแดง เพราะไม่มีคาร์บอนมาสันดาปให้เกิดสีม่วง และเตาแก๊สเป็นเตาสารพัดประโยชน์ที่ปรับให้ใช้ได้กับพลอยทุกสี เพราะสามารถปรับระดับความร้อนได้หลากหลาย โดยมีเพื่อนในวงการพลอยร่วมกันค้นคว้าและสนับสนุน ซึ่งใช้เวลาเกือบ 3 ปี จนเป็นผลสำเร็จในช่วง พ.ศ. 2523 - 2524 จากการพัฒนาเตาแก๊สที่ได้นั้น ทำให้สามารถเผาบุษราคัมได้สีดีที่สุด หลังจากนั้นมีการนำบุษราคัม ที่ผ่านการเผานี้ไปจัดแสดงที่สหรัฐอเมริกา สร้างความสนใจแก่นักอัญมณีศาสตร์ในกรรมวิธีการผลิตเป็นอย่างมาก มีการนำตัวอย่างกลับไปทดลองในห้องปฏิบัติการ รวมทั้งผู้สื่อข่าวชาวต่างชาติได้ให้ ความสนใจและเดินทางมาทำข่าวถึงจันทบุรี ต่อมาได้มีการรับรองคุณภาพพลอยที่เผาด้วยความร้อน (Heat Treatment) และมีการตีพิมพ์เนื้อหาการปรับปรุงคุณภาพพลอยจากการเผาของจันทบุรี ลงในวารสาร Gems & Gemology Volume XVIII, Winter 1982 คุณสามเมืองจึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “King of Orange Sapphires” และเป็นที่รู้จักในระดับสากลตั้งแต่นั้นมา              ปัจจุบันพลอยสีที่ขายกันทั่วโลกราวร้อยละ 80 ล้วนผ่านการปรับปรุงคุณภาพจากจันทบุรี ทำให้จันทบุรีได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการค้าพลอยสีแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากปราศจากภูมิปัญญาในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่พลอยสีที่คุณสามเมืองได้สร้างไว้เป็นคุณูปการ และถ่ายทอดส่งต่อไปยังคนรุ่นถัดมาเพื่อเป็นสมบัติของชาติ เป็นความภาคภูมิใจของชาวจันทบุรี และชาวไทย แหล่งข้อมูลอ้างอิง เมธี จึงสงวนสิทธิ์.  จันทบูร = Chining Moon.  จันทบุรี: ไชน์นิ่งมูน, 2560. สามเมือง แก้วแหวน.  ไม้ขีดไฟก้านแรก.  กรุงเทพฯ: บีสแควร์ พริ้นท์ แอนด์ดีไซน์, 2564. Keller, Peter C.  “The Chanthaburi - Trat Gem Field, Thailand.”  Gems & Gemology. (Winter 1982): pp. 186 - 196. [Online]. Retrieved 26 September 2023,      from: https:// www.gia.edu/doc/WN82.pdf    ผู้เรียบเรียง: นางสาวปริศนา ตุ้มชัยพร บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี  


ประเพณีการแข่งเรือวันออกพรรษาของวัดบุญยืน ซึ่งเป็นพระอารามหลวงตั้งอยู่ที่อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน จะกระทำในโอกาสประเพณีตานก๋วยสลากของวัดบุญยืน ซึ่งยึดถือปฏิบัติเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่สมัยสมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน ทรงสร้างและบูรณะวัดบุญยืนขึ้นในปี พ.ศ.2343 โดยยึดถือคติในไตรภูมิพระร่วง ตามพุทธประวัติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงเสด็จประทับจำพรรษาบนสรวงสวรรค์ เพื่อโปรดพุทธมารดา ครั้งออกพรรษาจึงเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สู่โลกมนุษย์ ในวันออกพรรษาของวัดบุญยืน จะมีกิจกรรมการแข่งขันเรือของแต่ละหมู่บ้านที่มาร่วมงานถวายทานสลากภัต โดยยึดถือปฏิบัติกันมา ไม่ว่าวันออกพรรษาจะตรงกับวันใดก็ตามโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง เรือแข่งเมืองน่านมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างจากเรือแข่งโดยทั่วไป ด้วยหัวเรือใช้ไม้แกะสลักเป็นรูปพญานาค เนื่องจากคติความเชื่อของคนโบราณที่ว่า พญานาคเป็นเจ้าแห่งสายน้ำ เจ้าแห่งชีวิต เป็นตัวแทนความศรัทธาที่มนุษย์มีต่อน้ำ พญานาคจะดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เกิดความสมบูรณ์ต่อเรือกสวนนาไร่ บางปีหากฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวเมืองจะนำเรือมาพาย เสมือนว่าพญานาคเล่นน้ำขอฝน ซึงเป็นที่อัศจรรย์ว่า มีฝนตกลงมาทุกครั้ง ลักษณะเรือแข่งเมืองน่านจะทำหัวเรือเป็นรูปพญานาค ชูคอสง่า อ้าปากเห็นเขี้ยวโง้ง งอนสูง ตาโปนแดง ส่วนหางยาวเรียว โค้งสะบัด ติดพู่ห้อยงดงามยิ่งนัก เอกลักษณ์ของเรือแข่งเวียงสามีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนคือ หัวเรือ กัญญาหัว และกัญญาท้ายเรือ พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรือแข่งเมืองน่าน เริ่มตั้งแต่ตัดไม้ตะเคียน ขุดแต่งลำเรือ ไปจนกระทั่งการแข่งขันเรือสิ้นสุดลง โดยจะมีผู้ประกอบพิธีกรรมที่เรียกว่า "ข้าวจ้ำ" หรือ "หมอสู่ขวัญ" เรียกแตกต่างกันไปตามโอกาสของการจัดพิธีกรรม โดยทั่วไปเป็นปราชญ์ที่มีความอาวุโสในหมู่บ้าน หรือพระสงฆ์ มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการอ่าน เขียนและท่องบทคาถาภาษาล้านนาได้เป็นอย่างดี เป็นที่เชื่อถือและศรัทธาของคนในหมู่บ้าน มีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม 6 พิธี ได้แก่ 1) พิธีตัดต้นตะเคียน 2) พิธีอัญเชิญเจ้าแม่ตะเคียน 3) พิธีขอขมาเจ้าแม่ตะเคียนเพื่อทำการขุดเรือแข่ง 4) พิธีอัญเชิญเจ้าแม่ตะเคียนสิงสถิตในเรือแข่ง 5) พิธีบายศรีสู่ขวัญเรือแข่ง 6) พิธีอัญเชิญเรือแข่งลงสู่น้ำ โดยพิธีกรรมที่ 1)-5) จะดำเนินเมื่อมีการขุดเรือแข่งขึ้นใหม่ และพิธีที่ 5)-6) จะดำเนินการก่อนการแข่งขัน บทบาทผู้ประกอบพิธี ได้แก่ การจัดเตรียมเครื่องประกอบพิธี การประกอบพิธีกรรม และสร้างขวัญกำลังใจแก่ฝีพายและประชาชนในหมู่บ้าน จากเดิมที่เคยใช้เรือในวิถีชีวิตเพื่อการไปมาหาสู่ใช้เป็นขบวนทอดกฐิน ทอดผ้าป่า งานบุญประเพณีได้ค่อย ๆ พัฒนาจนกลายเป็นประเพณีที่มีการแข่งขันเพื่อความสามัคคีของคนในชุมชน หากหมู่บ้านใดวัดใดประสงค์ให้มีการแข่งขันเรือในงานประเพณีตานก๋วยสลาก ก็จะมีใบฎีกาบอกบุญและเชิญไปยังคณะศรัทธาต่าง ๆ ที่อยู่ต่างหมู่บ้านต่างตำบลออกไป สมัยก่อนมีกฎกติกาง่าย ๆ เพียงตั้งลำเรือ เมื่อหัวเรือตรงกันก็เริ่มการแข่งขันได้ ไม่มีการคัดแยกประเภทเรือ รางวัลที่ได้ก็เป็นเพียงเหล้าขาวใส่กระบอกไม้ไผ่ และเปลี่ยนเป็นตะเกียงเจ้าพายุพร้อมน้ำมันก๊าด 1 ปี๊บ ในสมัยที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้กัน ใครชนะก็ตีฆ้องกลองพับพาง บ้างก็ลุกฟ้อน พายเรือกลับบ้านอย่างมีความสุข ในปี พ.ศ.2551 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลเรือใหญ่ ประเภทเรือเร็ว ให้แก่ชาวอำเภอเวียงสา ต่อมาในปี พ.ศ.2552 ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลพระราชทานเรือแข่งประเภทเรือเร็ว รวม 3 ประเภท คือ เรือใหญ่ (ฝีพายตั้งแต่ 48-58 คน) เรือกลาง (ฝีพายตั้งแต่ 35-40 คน) และเรือเล็ก (ฝีพายตั้งแต่ 25-30 คน) ซึ่งในปี พ.ศ.2555 อำเภอเวียงสาได้จัดการแข่งเรือเอกลักษณ์เมืองน่าน และปี พ.ศ.2556 ได้เพิ่มการแข่งขันเรือเอกลักษณ์เมืองน่าน ประเภทเรือมะเก่า ซึ่งการแข่งขันไม่ได้เน้นแพ้ชนะ แต่มุ่งความสนใจไปที่การนำเสนอความเป็นอดีตของประเพณีแข่งเรืออำเภอเวียงสา ดังจะเห็นได้จากการแต่งกายของฝีพาย ที่จะต้องสวมเสื้อหม้อห้อม คาดผ้าขาวม้า แสดงวิถีชีวิตของคนเมืองน่านในอดีต ซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่บนเรือต่างพากันส่งเสียงโห่ร้อง ฟ้อนรำกันด้วยความสนุกสนาน ในขณะที่เรือกำลังล่องเข้าสู่ร่องน้ำ สร้างความประทับใจแก่ชาวอำเภอเวียงสา และนักท่องเที่ยวที่เข้าร่วมงานยิ่งนัก รายการอ้างอิง กวินธร เสถียร และพัชรินทร์ สิรสุนทร. คู่มือส่งเสริมความเข้าใจ เอกลักษณ์เรือแข่งเวียงสา และส่งเสริมสุขภาพเชิงสร้างสรรค์. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2557. กวินธร เสถียร และพัชรินทร์ สิรสุนทร. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อส่งเสริมสุขภาพเชิงสร้างสรรค์ในประเพณีแข่งเรือ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน.พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2557. สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า. แข่งเรือปลอดเหล้าจังหวัดน่าน พลังการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักงาน, 2554. ที่มาของภาพประกอบ อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง. แข่งเรือเมืองน่าน บูชาพญานาค สานตำนานเชื่อมความสามัคคี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566, จาก: https://www.nairobroo.com/travel/boat-race-in-naan/ เรียบเรียงโดย: นางสาวอลิษา สรเดชบรรณารักษ์ชำนาญการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ


องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง เสด็จประพาสต้นเมืองสุพรรณ ครั้งที่๙ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ


ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.53 คำสมาทานพระกัมมัฏฐานประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยดำISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  ธรรมคดีลักษณะวัสดุ              10; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    คำสมาทานพระกัมมัฏฐาน                    ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 16 ส.ค..2538


ในวาระที่ได้ก้าวเข้าสู่ปีมะโรงนักษัตรตามปฏิทินจันทรคติจีน และช่วงเวลาแห่งเทศกาลตรุษจีนในเดือนกุมภาพันธ์นี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ขอนำเสนอบริการความรู้ ในหัวข้อ "มังกรจีน" สัตว์ศักดิ์สิทธิ์สำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมจีน  สุขสันต์วันตรุษจีน ขอให้ทุกท่านร่ำรวย ร่างกายเเข็งแรง มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป และมีความสุขมากๆ


         พระพุทธรูปปางประทานอภัย          แบบศิลปะ : ไทย แบบอยุธยา          ประวัติ : วัดเพิ่มประสิทธิผล อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี          สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี            แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/inburi/360/model/07/   ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/inburi


            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ประจำเดือนเมษายน ๒๕๖๗ เชิญพบกับ "แม่พิมพ์ต่างหูสมัยทวารวดี"              โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ ได้แก่ "แม่พิมพ์ต่างหูสมัยทวารวดี" วัสดุเป็นหิน สมัยทวารวดีพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ มีลักษณะเป็นแผ่นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าแกะเป็นพิมพ์สำหรับหล่อต่างหูทรงกลม ด้านบนพิมพ์มีร่อง สำหรับเทน้ำโลหะ โดยแม่พิมพ์ชิ้นนี้เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตต่างหูซึ่ง ใช้เป็นเครื่องประดับร่างกายและลักษณะการแต่งกายผู้คนในสมัยทวารวดี ซึ่งนายมนัส โอภากุล มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๓ นิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของเครื่องประดับ รูปแบบต่างหูสมัยทวารวดี กรรมวิธีการผลิตเครื่องใช้และเครื่องประดับจากโลหะ และการหล่อโลหะและขึ้นรูปโดยใช้แม่พิมพ์              ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ "แม่พิมพ์ต่างหูสมัยทวารวดี" ได้ในเดือนเมษายน ๒๕๖๗ เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร  ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือเฟสบุ๊ก: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี


เทศบาลตำบลหนองตำลึง (นักเรียนในสังกัด) จ.ชลบุรี  (เวลา ยังไม่ระบุ) จำนวน 229 คนวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ น. เทศบาลตำบลหนองตำลึง จ.ชลบุรี นำคณะเจ้าหน้าที่และนักเรียน ในโครงการส่งเสริมกิจกรรมเด็กและเยาวชนเพื่อการศึกษา จำนวน ๒๒๙ คน เข้าเยี่ยมชม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีนางสาวณัฏฐกานต์ มิ่งขวัญ ตำแหน่งเจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ชำนาญงาน และว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่งพนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้



Messenger