ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ





ชื่อเรื่อง                     อัศวภาษิตผู้แต่ง                       กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ตำนานพื้นบ้านเลขหมู่                      398.9 ม113อทสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 บริษัทอักษรโสภณ จำกัดปีที่พิมพ์                    2494ลักษณะวัสดุ               38 หน้าภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกภาษิตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นของเก่าหรือของใหม่ ของคนไทยหรือของคนต่างประเทศ เมื่อถ้อยคำที่กล่าวถูกต้องเป็นธรรม ซึ่งความจริงย่อมเป็นดังนั้น และไม่มีใครจะเถียงได้ เช่นรสของพระธรรมฉันใดถ้อยคำอันนั้นก็ควรเรียกว่า ภาษิต สอนใจฉันนั้น


องค์ความรู้ทางวิชาการ เรื่อง พระธาตุนารายณ์เจงเวง ค้นคว้าและเรียบเรียง : นายดุสิต ทุมมากรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น




องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันต่อต้านยาเสพติดโลก 26 มิถุนายน” ด้วยสภาพปัญหายาเสพติดที่ส่งผลให้มีผู้ได้รับความเดือดร้อนทั้งทางตรง และทางอ้อมเป็นจำนวนมาก ทำให้นานาประเทศพยายามร่วมมือกัน เพื่อหาทางหยุดยั้งปัญหายาเสพติด องค์การอนามัยโลกได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้จัดตั้งองค์กรพิเศษขึ้นเพื่อประสานความพยายามในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของประเทศต่างๆ ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกในองค์กรนี้ด้วย คือ คณะกรรมการยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ “วันต่อต้านยาเสพติดโลก” การจัดตั้งองค์กรเกิดขึ้นจากการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and licit Trafficking : ICDAIT) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่างวันที่ 17-26 มิถุนายน 2530 ที่ประชุมได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ขอให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี เป็น "วันต่อต้านยาเสพติดโลก" (International Day Against Drug Abuse and Illicit Trafficking) “วันต่อต้านยาเสพติดโลก” เป็นสัญญลักษณ์ของการแสดงเจตนารมย์ร่วมกันของประเทศต่างๆทั่วโลกในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติด ที่ประชุมสมัชชาใหญ่มีมติเห็นชอบในการประชุมเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2530 ประเทศต่างๆจึงกำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายน เป็น “วันต่อต้านยาการใช้ยาในทางที่ผิดและการลักลอบค้ายาเสพติด” สำหรับประเทศไทยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ วันที่ 14 มิถุนายน 2531 กำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันต่อต้านยาเสพติด มีกิจกรรมตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา อ้างอิง : บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


ชื่อเรื่อง                     อู่ทอง ต้นทางประวัติศาสตร์ไทย   ผู้แต่ง                       กรมศิลปากร         ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                 987-616-543-237-5หมวดหมู่                   ประวัติศาสตร์ เลขหมู่                      959.373 ศ528อ สถานที่พิมพ์               กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                 กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์                    2556ลักษณะวัสดุ               82 หน้า : ภาพประกอบ, แผนที่ ; 19 ซม.หัวเรื่อง                     อู่ทอง - - ประวัติศาสตร์                              สุพรรณบุรี -- ประวัติศาสตร์                              สุพรรณบุรี -- ความเป็นอยู่และประเพณี                              สุพรรณบุรี -- โบราณสถานภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกเนื้อหาประกอบด้วยอู่ทอง ต้นทางประวัติศาสตร์ไทย หมายถึง อู่ทอง มีชุมชนบ้านเมือง 2,000 ปีมาแล้ว เก่าสุดในภาคกลาง แล้วขยายตัวเติบโตก้าวหน้าสืบเป็นประเทศไทย เอกสารโบราณเรียกดินแดน อู่ทองว่าสุวรรณภูมิ ต่อมามีรัฐสุพรรณภูมิ หรือสยาม ที่ได้ร่วมกับรัฐอโยธยา-ละโว้ สถาปนากรุงศรีอยุธยา เป็นราชอาณาจักรสยามแห่งแรก แล้วสืบเป็นกรุงธนบุรี เป็นกรุงรัตนโกสินทร์ จนปัจจุบัน เป็นประเทศไทย เรียกสั้นๆว่า อู่ทอง ต้นทางไทย    


ประติมากรรมรูปพุทธประวัติ ตอน มารวิชัย สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ กรมพระราชพิธีส่งมาจากพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องธนบุรี-รัตนโกสินทร์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ประติมากรรมทองเหลืองประดับแก้วสี แสดงตอนมารวิชัย กึ่งกลางเป็นฐานชุกชี และเบื้องหลังคือต้นโพธิ์ที่ใบประดับแก้วสี เบื้องล่างมีรูปพระแม่ธรณียืนบิดมวยผม ด้านซ้ายของฐานชุกชีเป็นรูปหมู่พญามาร ซึ่งมีพระยาวัสวดีมาราธิราชทรงอาวุธประทับบนคอช้างคีรีเมขลามหาคชสาร และบริวารถือวารถืออาวุธมุ่งไปยังโพธิบัลลังก์ ด้านขวาเป็นรูปพระยาวัสวดีมาราธิราชยกมือไหว้ มืออื่นแสดงการถือดอกบัว (ยอมแพ้ต่อพระบารมีของพระพุทธเจ้า) ส่วนบริวารจมไปกับสายน้ำ บางตนแสดงการยกมือไหว้เหนือศีรษะ บางตนถูกจระเข้สังหาร  ประติมากรรมพุทธประวัติชิ้นนี้เป็น ๑ ใน ๒๗ รายการ ที่เล่าเรื่องปฐมสมโพธิตอนต่าง ๆ แม้ไม่ปรากฏประวัติของผู้สร้างและปีที่สร้าง แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เนื่องด้วยในรัชกาลของพระองค์มีการเรียบเรียงพุทธประวัติขึ้นใหม่ชื่อว่า “ปฐมสมโพธิกถา” โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส ประกอบกับเมื่อครั้งยังทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส ทรงได้คิดค้นรูปแบบของพระอิริยาบถของพระพุทธเจ้าที่สัมพันธ์กับเรื่องราวพุทธประวัติเป็นปางต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจากเดิมรวม ๔๐ ปาง  เหตุการณ์ตอนมารวิชัย เป็นเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติ ในเรื่องปฐมสมโพธิกถา ปริเฉทที่ ๙ มารวิชัยปริวรรต กล่าวว่าเป็นตอนที่พระโพธิสัตว์ (เจ้าชายสิทธัตถะ) เผชิญหน้ากับเหล่าพญามารที่ประสงค์จะทำร้ายพระองค์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ถึง ๙ ประการ แต่ก็มิอาจทำอันตรายใดๆ แก่พระโพธิสัตว์ได้ ดังข้อความตอนหนึ่งว่า  “...ลำดับนั้น [ฝ่ายพญามาร-ผู้เขียน] ก็แสดงฤทธิให้เป็นห่าฝนนานาวิธาวุธวิเศษ มีประเภทคือคมข้างเดียวแลคมทั้งสองข้าง บ้างก็เป็นพระขรรค์แลดาบหอกจักรธนูศรเสน่าเกาทัณฑ์เป็นต้น ให้ตกลงมาเป็นควันเป็นเปลวเพลิงมาบนอัมพราประเทศ พอถึงพระกายก็กลายเป็นทิพยมาลาเลื่อนลอยลงบูชาทั้งสิ้น...” ในท้ายที่สุดพระโพธิ์สัตว์ทรงใช้พระดัชนี (นิ้วชี้) แตะที่พื้นแผ่นดินพร้อมเปล่งวาจาเรียกพระแม่ธรณีขึ้นมาเป็นพยานในการแสดงพระบารมีของพระองค์ที่ได้สั่งสมไว้เพื่อขจัดเหล่ามารทั้งปวง เมื่อพระแม่ธรณีปรากฏขึ้นเบื้องหน้าพระโพธิสัตว์ได้บิดน้ำจากเมาลี ซึ่งแทนด้วยคุณธรรมที่พระโพธิ์สัตว์สั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติ กลายเป็นกระแสน้ำเชี่ยวกรากพัดพาเหล่าพญามารทั้งปวง ดังข้อความว่า  “...ครั้งนั้นหมู่มารเสนาทั้งหลายมิอาจดำรงกายอยู่ได้ ก็ลอยไปตามกระแสน้ำปลาตนาการ*ไปสิ้น ส่วนคีรีเมขลคชินทรที่นั่งทรงองค์พระยาวัสวดีก็มีบาทาอันพลาด มิอาจตั้งกายตรงอยู่ได้ก็ลอยไปตามธารไปตราบเท่าถึงมหาสาคร...” หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ พระโพธิ์สัตว์จึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ดับสิ้นซึ่งกิเลสทั้งปวง ดังข้อความว่า “...พอเป็นเวลาตัมพารุณสมัย** ไขแสงทองส่องอร่ามฟ้า สมเด็จพระมหาสัตว์ก็ตรัสรู้พระสัพพัญญุตัญญาณ ดับสูญสิ้นอาสวกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน***...” ซึ่งการตรัสรู้ของพระองค์ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ อีกทั้งวันดังกล่าวยังตรงกับเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธเจ้าอีกสองเหตุการณ์ คือ การประสูติ และปรินิพพานของพระองค์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ของทุกปี จึงถูกกำหนดเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา ที่รู้จักกันในนามของวันวิสาขบูชา (Vesak Day) และถือเป็น “วันสำคัญของโลก” อีกด้วย   *ปลาตนาการ หมายถึง การหนีหายไปสิ้น **ตัมพารุณสมัย หมายถึง เวลารุ่งอรุณ ***สมุจเฉทปหาน หมายถึงการละกิเลสได้ขาดอย่างพระอรหันต์ ------------------------------------------------------- อ้างอิง ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระ. ปฐมสมโพธิกถา. กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและ ประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๓๐. (รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดพิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวายสนองพระมหากรุณาธิคุณในมหามงคลเฉลิมพระเกียรติวันพระบรมราชสมภพ ครบ ๒๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วันอังคารที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐). เสริมกิจ ชัยมงคล. “ประติมากรรมขนาดเล็ก เล่าเรื่องปฐมสมโพธิหรือพระพุทธประวัติที่จัดแสดงภายใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร.” ใน พิพิธวิทยาการ รวมบทความวิชาการด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ และพิพิธภัณฑ์วิทยา ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: กลุ่มวิจัย สำนักพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔.   -------------------------------------------- เรียบเรียงข้อมูล :  นายพนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  


จารึกหงสาวดีศรีสัตยาธิษฐาน ลพ. ๑๓ จารึกหงสาวดีศรีสัตยาธิษฐาน ลพ.๑๓  ตามประวัติกล่าวว่าพบที่วัดแสนข้าวห่อ (ร้าง) เป็นบริเวณด้านหลังวัดพระธาตุหริภุญชัยอันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ในปัจจุบัน ลักษณะจารึกเป็นแท่งสี่เหลี่ยมทำจากหินทรายสีแดง สูง ๑๒๘ ซม. กว้าง ๔๐ ซม. หนา ๔๐ ซม.  สภาพชำรุด ข้อความจารึกไม่สมบูรณ์ ปรากฏจารึกอักษรฝักขาม ภาษาไทย เพียง ๒ ด้าน ด้านที่แรก มีจำนวน ๑๔ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๓ บรรทัด เนื้อหาจารึกหลักนี้แตกต่างจากจารึหลักอื่นในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ    หริภุญไชย ที่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการพระศาสนากล่าวถึงเรื่องราวของการสร้างวัดวาอาราม สร้างพระพระพุทธรูปและถวายผู้คน สิ่งของ แก่พระอาราม ในเนื้อหาได้กล่าวถึงการกระทำสัตย์ปฏิญาณ ที่พระมหากษัตริย์ทรงรับสั่ง และทรงรับคำสั่งจากพระเชษฐาเกี่ยวกับราชสมบัติ และมีข้อความตอนท้ายที่กล่าวถึงหงสาวดีศรีสัตยาธิษฐาน และด้านที่  ๒ ที่มีตอนท้ายกล่าวขอให้เทวดามาอนุโมทนาในการกระทำวรสัตยาธิษฐาน ลักษณะและรูปแบบอักษรที่ใช้จารึกนั้น กำหนดอายุประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ อ้างอิงก่องแก้ว วีระประจักษ์ (และคนอื่นๆ). จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๑-๒ : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ :กรมศิลปากร, ๒๕๕๑.คงเดช ประพัฒน์ทอง, วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๒๒.


เรื่อง ประวัติศาสตร์สแกนดิเนเวีย ปรีดี หงษ์สต้น. ประวัติศาสตร์สแกนดิเนเวีย. กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป, 2564. ห้องหนังสือทั่วไป 1 เลขเรียกหนังสือ 948 ป472ป การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์จะช่วยให้เข้าใจความเป็นมาของสภาพแวดล้อมทางสังคมและพื้นที่นั้นๆ มากขึ้น ทำให้เรื่องราวที่ดูเหมือนจะไกลตัวกลับมีความน่าสนใจ หรือในบางครั้งส่งผลให้เกิดความรู้สึกร่วมไปกับสถานที่นั้น จุดเริ่มต้นในการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างง่าย นั่นคือ เลือกอ่านหนังสือสักหนึ่งเล่มที่มีเนื้อหาตรงตามความสนใจ แล้วเริ่มเดินทางไปตามเส้นทางประวัติศาสตร์นั้น ประวัติศาสตร์สแกนดิเนเวีย เล่มนี้ ผู้เขียนพาเราไปพบกับ สแกนดิเนเวีย ภูมิภาคที่เป็นส่วนหนึ่งของทวีปยุโรปเหนือ ประกอบไปด้วยประเทศเดนมาร์ก นอร์เวย์ และสวีเดน เป็นกลุ่มประเทศที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการประวัติศาสตร์ยุโรปเหนือและรัสเซีย สแกนดิเนเวียเริ่มมีบทบาทในประวัติศาสตร์โลกและก่อเกิดอารยธรรมที่สืบเนื่องนับพันปี เมื่อชาวสแกนดิเนเวียขยายอำนาจไปตามดินแดนต่างๆ เรียกว่า ยุคไวกิ้ง โดยจุดประสงค์ในการเดินทางของชาวไวกิ้ง คือ การค้าขาย (สิ่งของและทาส) การปล้น การหาที่อยู่อาศัย รวมไปถึงการจาริกตามความเชื่อ เรื่องหนึ่งที่เป็นภาพจำของสังคมยุคไวกิ้ง คือ การค้าทาส พวกเขาใช้ทาสในการทำกิจการหลายอย่าง อาทิ การผลิต การรบ จนอาจกล่าวได้ว่าทาสถือเป็นใจกลางของสังคมไวกิ้ง นอกจากทาสแล้วสังคมไวกิ้งยังประกอบด้วย ไวกิ้งอิสระ ซึ่งก็คือ ชาวนา ชาวไร่ แรงงานรับจ้าง และอาชีพที่เป็นปัญญาชน อาทิ หมอความ หมอรักษาโรค และกลุ่มสุดท้ายที่เหนือกว่ากลุ่มอื่น คือ ผู้นำไวกิ้ง ซึ่งก็คือหัวหน้าเผ่าและกษัตริย์ เมื่อเวลาล่วงเข้าสู่โลกยุคร่วมสมัย โลกรับรู้การมีอยู่ของภูมิภาคสแกนดิเนเวียในฐานะกลุ่มประเทศที่ผู้คนมีคุณภาพชีวิตยอดเยี่ยม รัฐสวัสดิการครอบคลุมตั้งแต่เกิดจนถึงเสียชีวิต ระบบการศึกษาดี และประชากรมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน หากจะให้เห็นภาพชัดเจนที่สุดว่าสแกนดิเนเวียมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของเราอย่างไร คงต้องเริ่มต้นที่ผลิตผลและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ อาทิ ของเล่นเลโก้ต้นกำเนิดจากเดนมาร์ก รถยนต์วอลโว่จากสวีเดน เสื้อผ้าแบรนด์ เอชแอนด์เอ็ม (H&M) เฟอร์นิเจอร์อิเกีย (IKEA) รวมไปถึงเกมเฮย์เดย์ (HayDay) และเกมแองกี้เบิร์ด (Angry Bird) ที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม เรื่องราวของภูมิภาคสแกนดิเนเวียยังมีให้เรียนรู้และนำมาเป็นเรื่องเล่าได้อย่างไม่รู้จบ ผู้สนใจสามารถหาอ่านได้ที่หอสมุดแห่งชาติชลบุรี (วันอังคาร – วันเสาร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.)




สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 148/6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/6กเอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


Messenger