ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 148/6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/6กเอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อผู้แต่ง สมบัติ พลายน้อย
ชื่อเรื่อง ชาวต่างชาติในประวัติศาสตร์ไทย
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๓
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ รวมสาส์น
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๓
จำนวนหน้า ๕๔๔ หน้า
รายละเอียด
หนังสือ ชาวต่างชาติในประวัติศาสตร์ไทย เป็นหนังสือสำหรับศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งได้รวบรวมชาวต่างชาติที่ได้มาเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทย ได้แก่ ปลัดเล หมอสมิธ เลโอโนเวลส์ สังฆราชเลอกัว เป็นต้น เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชาวต่างชาติเหล่านั้นที่ได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งล้วนมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความเป็นมาของนิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทย พร้อมภาพประกอบ
ชื่อเรื่อง : สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ จำนวนหน้า : 150 หน้า สาระสังเขป : เรื่อง สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงสถิตยุทธการ ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. (สถิต สถิตยุทธการ) ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2514 ได้รวบรวมจากราชกิจจานุเบกษาเฉพาะเล่ม 1 จ.ศ. 1236 (พ.ศ. 2417) เป็นหนังสือสำคัญในด้านประวัติศาสตร์การปกครองของไทยที่ช่วยให้เราทราบถึงพระบรมราโชบายและพระราชอุตสาหะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในอันที่จะปรับปรุงการปกครองละการบริหารบ้านเมืองให้เกิดประโยชน์สุขแท้แก่พสกนิกรไทยเมื่อปี พ.ศ. 2417
ผู้แต่ง สุรชัย เครือประดับ.
ชื่อเรื่อง ไหว้ครูดนตรีไทย และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดนตรีไทยครั้งที่พิมพ์ -ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๔สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)จำนวนหน้า ๕๒ หน้ารายละเอียด
ไหว้ครูดนตรีไทย และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดนตรีไทย นี้ มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) จัดพิมพ์ขึ้น เพื่อถวายพระกุศลแด่หม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล ในวโรกาสวันประสูติครบรอบ ๑๐๐ ปี ๒๕ สิงหาคม ๒๕๒๔ มีเนื้อหา ไหว้ครูดนตรีไทย และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดนตรีไทย พัฒนาการแห่งดนตรีไทยสมัยต่างๆ
ภาพ ‘ริมธารรัก’ ของ ประสงค์ ปัทมานุช
100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย
ประสงค์ ปัทมานุช (พ.ศ. 2461 – 2532) ศิลปินชั้นเยี่ยม สาขาทัศนศิลป์ (มัณฑนศิลป์) ประจำปี 2497 และศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี 2529 เป็นศิลปินที่สร้างสรรค์งานจิตรกรรมได้อย่างโดดเด่นและมีเอกลักษณ์เฉพาะ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี กล่าวถึงท่านไว้ในบทความ ‘ศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย’ ว่า “ประสงค์ ปัทมานุช เป็นจิตรกร – มัณฑนากรโดยกำเนิด ด้วยแนวโน้มในการแสดงออกแบบใหม่อย่างน่าประหลาด” ประสงค์มีความสนใจในด้านศิลปะและการวาดภาพมาตั้งแต่เด็ก เมื่อเติบโตขึ้นได้เริ่มศึกษาวิชาศิลปะขั้นต้นที่โรงเรียนเพาะช่าง จนมีความรู้แตกฉานในด้านการเขียนภาพไทยและลายไทย ต่อมาจึงเข้าศึกษาที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ด้านจิตรกรรม กับศาสตราจารย์ศิลป์เป็นเวลา 4 ปี จนจบการศึกษาในปี 2483 มีความรู้ความสามารถทั้งศิลปะแบบไทยประเพณีและสากลอย่างตะวันตกเป็นอย่างดี ในปีต่อมา ท่านเข้ารับราชการที่กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร และเป็นอาจารย์รุ่นแรกสอนวิชาจิตรกรรมที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ประสงค์ถือเป็นศิลปินผู้บุกเบิกงานจิตรกรรมไทยสมัยใหม่ ที่ถ่ายทอดความประทับใจในวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบไทย มีความหลากหลายทั้งรูปแบบของผลงาน เทคนิค และการใช้สี อาทิ ผลงานแบบไทยประยุกต์ที่นำเอารูปแบบและเทคนิคของงานจิตรกรรมไทยประเพณีมาผสมผสาน ผลงานแบบคิวบิสม์ (Cubism) ที่มีลักษณะแบนตัดกันไปมา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากทิวทัศน์และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของไทย และผลงานออกแบบนิเทศศิลป์ โดยเฉพาะผลงานแบบไทยประยุกต์ที่หยิบยก “ภาพกาก” หรือภาพที่อยู่รายรอบเรื่องราวหลักในงานจิตรกรรมฝาผนังแบบไทยประเพณีตามวัดวาอาราม มาใช้เป็นหัวข้อหลักในการเขียนภาพ
‘ริมธารรัก’ (พ.ศ. 2502) เป็นงานจิตรกรรมแบบไทยประยุกต์ เขียนด้วยสีฝุ่นบนกระดานอัด (Masonite Board) แสดงภาพหนุ่มสาวนั่งหยอกล้อกันอยู่ริมน้ำตกและลำธาร การเขียนภาพบุคคลยังคงลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์แบบไทยโบราณ เช่น การเขียนเค้าโครงใบหน้า และการแสดงท่าทางของบุคคลอย่างนาฏลักษณ์ (ท่าร่ายรำ) ผสมผสานกับการจัดองค์ประกอบภาพแบบงานศิลปะตะวันตก ซึ่งแตกต่างจากงานจิตรกรรมแบบไทยประเพณีโดยทั่วไป ประสงค์ลงสีรูปบุคคลเพื่อสร้างแสงเงาบนใบหน้าและร่างกายให้มีลักษณะเหมือนจริง ท่าทางของหนุ่มสาวที่นั่งหยอกล้อกันมีความนุ่มนวลอ่อนช้อย ประกอบกับบรรยากาศของริมธารน้ำที่ใช้สีเขียว ฟ้า และน้ำเงิน ซึ่งเป็นสีโทนเย็นไล่น้ำหนักอ่อนแก่ที่บริเวณพื้นหลัง สร้างบรรยากาศยามเย็นที่แดดร่มลมตกให้มีความรื่นรมย์มากยิ่งขึ้น ในปีเดียวกันนั้น ท่านได้เขียนภาพ ‘จันทร์แรม’ (พ.ศ. 2502) ซึ่งจัดแสดงอยู่คู่กันใน นิทรรศการพิเศษ “100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย” (ภาพอยู่ในคอมเมนต์)
พ.ศ. 2492 ประสงค์ลาออกจากกรมศิลปากร และเข้าทำงานที่แผนกช่างเขียน กองโฆษณาการ ธนาคารออมสิน เป็นผู้บุกเบิกงานด้านการออกแบบตกแต่ง โฆษณา และนิเทศศิลป์ เช่น โปสเตอร์ สิ่งพิมพ์ และปฏิทินภาพไทย นอกเหนือจากเวลางาน ท่านยังคงสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอย่างต่อเนื่องตามแนวทางของตน แม้จะเกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ. 2522 แล้วก็ตาม ประสงค์ถึงแก่กรรมด้วยโรคเบาหวาน เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2532 สิริอายุ 71 ปี
ภาพ ‘ริมธารรัก’ ของ ประสงค์ ปัทมานุช จัดแสดงอยู่ในนิทรรศการพิเศษ “100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย” ระหว่างวันที่ 18 มกราคม – 9 เมษายน 2566 ณ อาคารนิทรรศการ 4 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป นอกจากนี้ ยังสามารถชื่นชมผลงานชิ้นอื่นๆ ของท่านได้ในนิทรรศการ “ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๙” นิทรรศการส่วนต่อขยายที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับงานศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยของไทย ณ อาคารนิทรรศการ 3 ทั้ง 2 นิทรรศการ เปิดให้เข้าชมวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประสงค์ ปัทมานุช ได้ที่
https://www.facebook.com/.../a.242467477.../2526269274171080
อ้างอิงจาก
1. หนังสือ “ประสงค์ ปัทมานุช” โดย ธนาคารออมสิน
เลขทะเบียน : นพ.บ.399/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 64 หน้า ; 4.5 x 56 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 145 (48-57) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : ทสชาติ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.533/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4.5 x 56 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 178 (281-290) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : เภสัชขันธ์--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมการถ่ายทอดสด Facebook Live การเสวนาทางวิชาการ ในหัวข้อ "ภาพถ่ายเก่าในหัวเมือง" เนื่องในงานใต้ร่มพระบารมี ๒๔๑ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ณ อาคารอเนกประสงค์ มิวเซียมสยาม วันเสาร์ที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. วิทยากรโดย นายเอนก นาวิกมูล ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ และนายธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ นายกสมาคมจดหมายเหตุไทย ดำเนินรายการ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พีรศรี โพวาทอง
ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ https://www.facebook.com/NationalArchivesofThailand
"ทับหลัง ปรางค์กู่"
ปรางค์กู่ ศาสนสถานประจำสถานพยาบาล(อโคยศาล)ในศาสนาพุทธ"ลัทธิมหายาน" ช่วงสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘
ปรางค์กู่ บ.หนองบัว ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ
แผนที่แหล่งท่องเที่ยว "น่านใต้"อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย อำเภอนาหมื่น โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานน่าน