ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
เครื่องประดับทองรูปทรงคล้ายมกุฎ ส่วนฐานเป็นวงแหวนซึ่งทำด้วยการนำทองเม็ดเล็กๆ มาติดกันไว้ (Granulated gold beads) ส่วนบนทำเป็นทรงกรวยคล้ายเครื่องประดับศีรษะ คือ “มกุฎ” ทอง ถือเป็นวัตถุดิบที่มีค่า หายาก เครื่องประดับทองได้ถูกค้นพบในเมืองท่าโบราณในภาคใต้ของประเทศไทยทั้งทางฝั่งอันดามันและอ่าวไทย เช่น แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง จังหวัดระนอง แหล่งโบราณคดีคลองท่อมจังหวัดกระบี่ แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร แหล่งโบราณคดีโคกทองจังหวัดสงขลา รูปทรงของเครื่องประดับที่พบมีหลากหลาย เช่นลูกปัดทองแบบรูปไข่ (Oval) ลูกปัดทองแบบกลม (Globular) ลูกปัดทองแบบเม็ดกลมต่อกันเป็นปล้อง ๆ (Segmented bead) ลูกปัดทองแบบวงแหวน (Annular) และแหวนทอง เป็นต้น สำหรับเครื่องประดับทองคำชิ้นนี้พบจากแหล่งโบราณคดีบ้านบางกล้วย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมืองท่าโบราณภูเขาทอง เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ - ๙ ลักษณะเด่นของโบราณวัตถุชิ้นนี้คือส่วนฐานของเครื่องประดับที่ทำเป็นรูปวงแหวน ซึ่งเป็นการนำทองเม็ดเล็กๆ มาติดกัน และยังพบเครื่องประดับที่นำลูกปัดทอง มาใช้ในลักษณะเช่นนี้รูปแบบอื่นๆ ที่ภูเขาทองอีกด้วย ในภาคใต้ยังพบเครื่องประดับทองรูปแบบนี้ที่เมืองท่าโบราณอื่นๆ อาทิ เขาสามแก้วและโคกทอง สำหรับในต่างประเทศพบที่เมืองตักศิลาประเทศอินเดีย และที่ประเทศอิหร่าน จากข้อมูลที่ได้กล่าวมานั้นแสดงให้เห็นว่าเครื่องประดับทองที่ทำด้วยการนำทองเม็ดเล็กมาต่อติดกัน เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงท่าการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกิดขึ้นในอดีต และจากรูปแบบของเครื่องประดับทองชิ้นนี้ซึ่งมีความงดงามและละเอียดมาก จึงเป็นไปได้ว่าเครื่องประดับทองชิ้นนี้คงถูกนำเข้ามาจากต่างแดนมาสู่เมืองท่าโบราณภูเขาทองในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙ ---------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
ผู้แต่ง : เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค)
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : ธนบุรี
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2508
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายศุข นาคสุวรรณ ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง พระนคร วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2508
กิจจานุกิจย์ เป็นเรื่องความรู้รอบตัวเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ตลอดจนเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา เรื่องการกำหนด นับ วัน เดือน ปี ดินฟ้าอาอาศ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ เป็นต้น
ปริวรรต/เรียบเรียง : นายณัฐพงค์ มั่นคงห้องจัดเก็บ : กรมศิลปากร ประเภทสื่อ : สิ่งพิมพ์ - หนังสือISBN/ISSN : 978-616-283-526-1ผู้จัดทำ : หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนมหมวดหมู่ : พุทธศาสนาปีที่จัดทำ : 2563ลักษณะวัสดุ : 118 หน้า : ภาพประกอบ ; 25.5 ซม. ชื่อชุด : ฉบับหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนมหัวเรื่อง : ท้าวก่ำกาดำ--วรรณกรรมชาดกนอกนิบาต การเสวยชาติของพระโพธิสัตว์เป็น ท้าวก่ำกาดำ ท้าวก่ำกาดำ--คัมภีร์ใบลาน วรรณกรรมพุทธศาสนาบทคัดย่อ : ท้าวก่ำกาดำ ฉบับนี้เป็นการแปลปริวรรตจากเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลาน ฉบับลานดิบทะเบียนเลขที่ นพ.บ.1653/1 ของหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม จำนวน 1 ผูก 129 ลาน อักษณไทน้อย ภาษาไทยอีสาน สำนวนร้อยกรอง ไม่ระบุนามผู้สร้าง และศักราชที่สร้างแน่ชัด เป็นวรรณกรรมประเภทนิทาน มีลักษณะเป็นชาดกนอกนิบาต คือเป็นวรรณกรรมที่แต่งแลียนแบบวรรณกรรมนิบาตชาดก
เรื่อง พระพิมพ์ล้านนา ตอนที่ ๓ (ตอนจบ)
๐ พระพิมพ์โลหะในล้านนา : พระพิมพ์โลหะดุนนูนในแบบศิลปะหริภุญไชย มีการทำเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ทำจากแผ่นโลหะมีค่า เช่น แผ่นทองคำ เงิน และ สำริด สำหรับพระพิมพ์โลหะในศิลปะล้านนา นิยมทำรูปพระพุทธรูป ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ประทับใต้ซุ้มโพธิ์ พบในแหล่งโบราณคดีสมัยล้านนาที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เป็นต้นมา
๐ แผงพระพิมพ์ : แผงพระพิมพ์ในล้านนา สันนิษฐานว่านิยมสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ๒๕ โดยได้รับแนวคิดมาจากการสร้างแผงพระพิมพ์ในศิลปะพุกาม ซึ่งแพร่หลายในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๙ โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าอนิรุธ พบว่ามีการสร้างพระพิมพ์ดินเผาจำนวนมากและแพร่กระจายเข้ามายังชุมชนโบราณที่มีการติดต่อสัมพันธ์กับเมียนมา
-------------------------------------
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
โทรศัพท์ : ๐๕๓-๒๒๑๓๐๘
e-mail : cm_museum@hotmail.com
ชื่ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา(เทศนาสังคิณี-มหาปัฏฐาน)สพ.บ. 108/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า กว้าง 4.89ซ.ม. ยาว 53 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง มาเลยฺยสุตฺต (พระมาลัยสูตร)สพ.บ. 182/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 56 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง พระมาลัยสูตรบทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง ภิกฺขุปาติโมกฺข (ปาติโมกข์แปล)สพ.บ. 236/2ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 74 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา -- บทสวดมนต์ พุทธศาสนา -- สังฆกรรม
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.91/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 5 x 56 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 54 (122-128) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (พระอภิธัมมสังคิรี-พระสมันตมหาปัฎฐาน) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ขอมภาษา : บาลี-ไทยบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฏฐาน)สพ.บ. 160/6ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 20 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 56.5 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์ พระอภิธรรม
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดน้อยชมภู่ ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
พระพุทธรูปนั่งปางแสดงธรรม มีพระมัสสุ
สำริด สูง ๒๓ เซนติเมตร
ศิลปะทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ (ประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว)
พบจากเจดีย์หมายเลข ๑๓ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
พระพุทธรูปนั่ง ปางแสดงธรรม พระเศียรใหญ่ พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระนาสิกใหญ่งุ้ม พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระโอษฐ์หนาอมยิ้ม มีพระมัสสุอยู่เหนือขอบพระโอษฐ์ พระกรรณยาวเจาะเป็นช่อง เม็ดพระศกเล็ก พระอุษณีษะทรงกรวย พระรัศมีรูปดอกบัวตูม ครองจีวรห่มเฉียง จีวรเรียบบางแนบพระวรกาย ขอบสบงเป็นแนวที่บั้นพระองค์ มีชายสังฆาฏิอยู่เหนือพระอังสาซ้าย พระหัตถ์ขวายกขึ้นระดับพระอุระ แสดงวิตรรกะมุทรา (ปางแสดงธรรม) พระหัตถ์ซ้ายหงายขึ้นยึดชายจีวรไว้เหนือระดับพระเพลา ประทับนั่งขัดสมาธิราบอย่างหลวมๆ พระบาทซ้ายอยู่บนพระบาทขวา
พระพุทธรูปองค์นี้แสดงถึงสุนทรียภาพและความนิยมแบบพื้นเมืองอันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะทวารวดี ได้แก่ พระขนงที่ต่อกันเป็นรูปปีกกา และการแสดงวิตรรกะมุทรา เริ่มปรากฏอิทธิพลศิลปะเขมรขึ้น เห็นได้จากรูปแบบพระพักตร์สี่เหลี่ยม และพระพุทธรูปมีพระมัสสุเหนือขอบพระโอษฐ์ นอกจากนั้นรูปแบบพระรัศมีและสังฆาฏิที่พาดเหนือพระอังสาซ้ายนั้น เป็นอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบปาละ ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๗ (ประมาณ ๙๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) ดังนั้นจึงอาจกำหนดอายุพระพุทธรูปองค์นี้ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ (ประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว)
การทำพระมัสสุหรือไรมัสสุ ในประติมากรรมสมัยทวารวดี น่าจะได้รับอิทธิพลโดยตรงจากศิลปะเขมร เนื่องจากการทำพระมัสสุนั้นมักปรากฏในกลุ่มเทวรูป และประติมากรรมภาพบุคคลหรือยักษ์ เริ่มตั้งแต่ศิลปะเขมร สมัยบาแค็ง (ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ หรือประมาณ ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว) เป็นต้นมา ทั้งนี้นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า การทำพระมัสสุหรือไรมัสสุในพระพุทธรูป อาจเกิดจากความเคยชินของช่างในการสร้างประติมากรรมที่เป็นเทวรูปก็เป็นได้
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๒.
พนมบุตร จันทรโชติ และคณะ. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๐.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
วัดฆ้องชัยเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือในเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร แผนผังของตัววัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ภายในวัดใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง อาคารสิ่งก่อสร้างที่สำคัญของวัดประกอบด้วยวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพื้นที่ ปัจจุบันเหลือเฉพาะส่วนฐานอาคารที่เป็นแบบการก่อฐานสูง โดยฐานล่างทำเป็นฐานหน้ากระดานแต่มีการยืดให้สูงถึงระดับพื้นวิหารมีระยะถึง ๓.๑๐ เมตร จนดูเหมือนเป็นผนังอาคาร เหนือฐานหน้ากระดานก่อเป็น ฐานบัวลูกแก้วอกไก่ มีมุขเด็จทั้งด้านหน้าและด้านหลัง บันไดสร้างขนาบมุขเด็จทั้งด้านหน้าและด้านหลัง วิหารมีขนาด ๙ ห้อง เสารับเครื่องบนหลังคาเป็นเสาศิลาแลงแปดเหลี่ยม ไม่ปรากฏหลักฐานของการก่อผนัง จึงสันนิษฐานว่าเป็นอาคารโถง ภายในอาคารปรากฏแท่นอาสน์สงฆ์ทางด้านทิศใต้ของผนังอาคารและมีฐานชุกชีที่ประดิษฐานชิ้นส่วนฐานพระพุทธรูปในอิริยาบถนั่งอยู่บริเวณกลางโถงอาคารวิหารระหว่างห้องที่ ๖ - ๗ เจดีย์ประธานอยู่ถัดจากวิหารไปทางด้านทิศตะวันตก มีลักษณะเป็นฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยม ต่อด้วยชั้นฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยมซ้อนกัน ๓ ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานปัทม์แปดเหลี่ยม ประกอบด้วยชั้นฐานบัวคว่ำ ชั้นท้องไม้และชั้นฐานบัวหงาย ส่วนยอดเจดีย์ที่ถัดขึ้นไปพังทลาย ไม่ปรากฏรูปทรงเดิมที่แน่ชัด ซึ่งฐานเจดีย์ประธานของวัดฆ้องชัยนั้น มีความคล้ายกับฐานเจดีย์ประธานของวัดพระนอนที่อยู่ในเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชรเช่นกัน จึงสันนิษฐานได้ว่าส่วนยอดของเจดีย์ประธานของวัดฆ้องชัยอาจมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบเดียววัดพระนอน จากการขุดแต่งทางโบราณคดีบริเวณฐานอาคารวิหารได้พบชิ้นส่วนของประติมากรรมดินเผา รูปมกร หรือมกรสังคโลก ความสูง ๑๑๐ เซนติเมตร เขียนลายสีดำบนน้ำดินสีขาว แหล่งเตาเมืองเก่าสุโขทัย มกร (Makara) เป็นคำที่ใช้เรียกในภาษาสันสกฤต ถือว่าเป็นสัตว์มงคลตามความเชื่อที่ปรากฏในตำนานเทพนิยาย โดยมีร่างกายที่เป็นการผสมกันระหว่างสัตว์บกและสัตว์น้ำ เช่น มีงวงเหมือนช้าง แต่มีปากเหมือนจระเข้และมีหางแบบปลา ในเทวตำนานของศาสนาฮินดู มกร ถือว่าเป็นพาหนะของพระวรุณ เทพเจ้าแห่งฝน ดังนั้น มกร จึงถือเป็นสัตว์ที่ใช้แทนสัญลักษณ์ของน้ำที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ประติมากรรมรูปมกรจึงมีความนิยมที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของงานสถาปัตยกรรม โดยประดับที่บริเวณราวบันได หรือชายคาของอาคาร เพื่อให้เกิดความสวยงามและสวัสดิมงคลกับอาคารนั้น ๆ ปัจจุบันประติมากรรมดินเผารูปมกร ที่พบจากวัดฆ้องชัย จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร วัดฆ้องชัยจึงเป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรที่มีความสำคัญยิ่ง จากหลักฐานของงานช่างฝีมือที่ปรากฏให้เห็นในด้านสถาปัตยกรรมและความเชื่อความศรัทธาที่ปรากฏในงานประติมากรรม ล้วนแล้วแต่เป็นประจักษ์พยานของความเจริญรุ่งเรืองในอดีตของแผ่นดินเมืองกำแพงเพชรได้เป็นอย่างดี-----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร-----------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: บริษัทบางกอก อินเฮ้าส์จำกัด, ๒๕๖๑. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๑. อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. รายงานการขุดแต่งโบราณสถาน วัดฆ้องชัย. ม.ป.ท., ๒๕๒๖.
ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๘๘
เจ้าอาวาสวัดนาจอมเทียน ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.30/1-2
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)