ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,418 รายการ




จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย แจก ในงานกฐินพระราชทาน ณ วัดปทุมวนาราม ๒๔๘๓


ชื่อเรื่อง                     บทละครคุณสุวรรณ เรื่อง พระมะเหลเถไถ และอุณรุทร้อยเรื่อง ผู้แต่ง                       คุณสุวรรณประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณกรรมเลขหมู่                      895.9112 ส869บสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรมปีที่พิมพ์                    2500ลักษณะวัสดุ               50 หน้า หัวเรื่อง                     บทละครไทย                              หนังสืออนุสรณ์งานศพ      ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   เนื้อหาภายในประกอบด้วย พระมะเหลเถไถเป็นวรรณคดีนิทาน ประพันธ์เป็นกลอน บทละครจำนวน ๑๖๘ คำกลอน ลักษณะเด่นของเรื่องคือ ภาษา ที่ใช้มีความหมายบ้างไม่มีความหมายบ้างตั้งแต่ต้นจนจบทำให้เกิดความขบขัน ส่วนอุณรุทร้อยเรื่องนั้น เป็นวรรณคดีนิทานจักรๆ วงศ์ๆ ประพันธ์เป็นกลอนบทละครเช่นกัน เพียงแต่นำตัวละครและเรื่องราวจากวรรณคดีเรื่องต่างๆ มาประมวลไว้ด้วยกันมากกว่าร้อยชื่อสร้างความขบขันแก่ผู้อ่าน    



วัดเชตุพนตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองสุโขทัยทางด้านทิศใต้ ห่างจากประตูนะโมประมาณ ๒ กิโลเมตร ลักษณะอันโดดเด่นของโบราณสถานวัดเชตุพน คือ มีพระพุทธรูปสี่อิริยาบท (นั่ง นอน ยืน เดิน) ขนาดใหญ่ โดยสร้างอยู่ภายในมณฑปจตุรมุข องค์พระพุทธรูปปั้นโดยรอบผนังอิฐซึ่งทำหน้าที่เป็นแกนรองรับหลังคาอันเป็นลักษณะที่พัฒนามาจากสถาปัตยกรรมของพม่าในเมืองพุกาม ถัดไปทางด้านตะวันตกของมณฑปจตุรมุข มีมณฑปย่อมุมไม้ยี่สิบขนาดเล็กมีหลังคาก่ออิฐซ้อนกันขึ้นไป และใช้หินชนวนขนาดใหญ่ทำเป็นเพดาน ยังปรากฏร่องรอยของพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย แต่ชำรุดมากแล้ว ที่ผนังด้านนอกมีภาพจิตรกรรมเขียนสีดำ แสดงลักษณะลวดลายแบบที่ปรากฏบนเครื่องถ้วยจีน เป็นลายพันธุ์พฤกษา . วัดเชตุพนยังมีสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ กำแพงแก้วที่ล้อมรอบมณฑปจตุรมุขนี้สร้างจากหินชนวนที่มีขนาดใหญ่และหนา โดยมีการสกัดและบากหินเพื่อทำเป็นกรอบและซี่กรงเลียนแบบเครื่องไม้ ถัดจากมณฑปจตุรมุขและมณฑปย่อมุมไปทางตะวันตก มีลานก่ออิฐสูงราว ๑ เมตร สันนิษฐานว่าใช้เป็นที่ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ . ไม่ปรากฏหลักฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อใด จากหลักฐาน จารึกวัดสรศักดิ์ กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ว่า เมื่อพระมหาเถรธรรมไตรโลกฯ มีศักดิ์เป็นน้าของพระมหาธรรมราชาเจ้าเมืองสุโขทัยพระองค์หนึ่ง มาจำพรรษาอยู่ที่วัดสรศักดิ์ได้ร่วมชุมนุมกับพระวัดเชตุพน พิจารณาการสร้างเจดีย์ช้างรอบและศาสนสถานอื่น ๆ ที่วัดสรศักดิ์ จากข้อความที่ระบุชื่อวัดเชตุพนในศิลาจารึกหลักนี้ ประกอบกับรูปแบบทางศิลปกรรมของที่นี่แสดงให้เห็นว่า วัดเชตุพนคงเป็นวัดที่มีความสำคัญและเจริญรุ่งเรืองในช่วงสุโขทัยตอนปลาย นอกจากนี้ยังได้พบจารึกที่วัดเชตุพน กล่าวถึงเจ้าธรรมรังษีซึ่งบวชได้ ๒๒ พรรษามีจิตศรัทธาสร้างพระพุทธรูปขึ้นใน พ.ศ. ๒๐๕๗



เลขทะเบียน : นพ.บ.119/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  44 หน้า ; 4.3 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 67 (214-219) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง           จวบ  หงสกุล ชื่อเรื่อง            นิราศ ครั้งที่พิมพ์        พิมพ์ครั้งที่ ๑ สถานที่พิมพ์      พระนคร สำนักพิมพ์        กรุงเทพการพิมพ์ ปีที่พิมพ์            ๒๕๐๙              จำนวนหน้า       ๑๑๐ หน้า  หมายเหตุ หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นาวาเอก พระสาตราบรรจง  (ศาสตราบรรจง   สีตกะลิน) ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๐๙                ได้มีการรวบรวมนิราศบางเรื่องที่แต่งไว้นำมารวมกับหนังสือนุสรณ์แจกผู้มี่มาเข้าร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพ ได้มีการคัดเลือกให้รวมพิมพ์ครั้งนี้ทั้งหมด ๕ เรื่อง ได้แก่ นิราศนรก นิราศสัตหีบ นิราศหัวยาง นิราศเมืองเหนือ และนิราศวังตะไคร้ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านในทางความรู้และความบันเทิงสำราญด้านจิตใจ


ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๖ เจ้าอาวาสวัดรังษีสุทธาวาส ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๙ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.18/1-2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ชื่อผู้แต่ง : ดิเรก ชัยนาม ปีที่พิมพ์ : 2509 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : แพร่พิทยา จำนวนหน้า : 644 หน้าสาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประเทศไทยถูกเหตุการณ์ต่างๆ บังคับให้เข้าไปพัวพันด้วย โดยผู้เขียนได้อยู่ในยุคสมัยนั้น และมีความเกี่ยวข้องในนโยบายต่างประเทศช่วงสงครามโลกด้วย โดยหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ภาคแรกเป็นเรื่องตั้งแต่เริ่มสงครามด้านยุโรปจนถึงสงครามด้านเอเซีย ภาคสองเป็นเรื่องระหว่างสงครามด้านเอเซียจนเสร็จสงคราม และภาคสามเป็นเรื่องภายหลังสงคราม



เจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแลร์ (F.Hilaire)             หนังสือดรุณศึกษา เป็นตำราเรียนภาษาไทยที่เจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแลร์ แห่งโรงเรียนอัสสัมชัญได้แต่งและเรียบเรียงขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ หลังจากที่มาพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาเพียง ๙ ปี                ฟ.ฮีแลร์ เป็นชาวฝรั่งเศส มีนามเดิมว่า ฟร็องซัวส์ ตูเวอเนต์ (François Touvenet) หรือที่รู้จักกันในนาม ฟ.ฮีแลร์ (F.Hilaire) ซึ่งเป็นศาสนานาม โดย ฟ. ย่อมาจาก Frère ในภาษาฝรั่งเศส หรือ Brother ในภาษาอังกฤษ บัญญัติศัพท์เป็นภาษาไทยว่า “เจษฎาจารย์ หรือภราดา”                  เจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแลร์ เป็นนักบวชคณะเซนต์คาเบรียล เดินทางจากประเทศฝรั่งเศสมาประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ พร้อมกับคณะเจษฎาจารย์อีก ๔ ท่าน เพื่อมารับมอบงานด้านการศึกษาจากบาทหลวงกอลมเบต์ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแลร์ มีความสนใจด้านภาษาไทยอย่างมาก จึงมุ่งมั่นศึกษาภาษาไทยและขนบธรรมเนียมประเพณีไทยจากครูหลายท่าน เช่น หลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์) พระยาวารสิริ (ครูวัน) ครูฟุ้ง เจริญวิทย์ และครูศุข ศุภศิริ เป็นต้น ท่านมีความมานะ สามารถเรียนรู้ได้เร็ว เมื่อมีความรู้ภาษาไทยแตกฉานดีแล้ว จึงเริ่มแต่งหนังสือ “ดรุณศึกษา” ตำราเรียนภาษาไทยที่ใช้ในโรงเรียนอัสสัมชัญ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ บุคคลสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในครั้งนี้ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงเล็งเห็นความตั้งใจและความทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจของเจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแลร์ ที่ต้องการจะพัฒนาความรู้แก่นักเรียน จึงทรงรับเป็นผู้ตรวจแก้ไขเนื้อหาให้ถูกต้องตรงตามความที่ปรากฏในพงศาวดารต่าง ๆ เพื่อให้ดรุณศึกษาเป็นหนังสือภาษาไทยแบบใหม่ที่มีความพิเศษและสมบูรณ์ครบถ้วน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ               ดรุณศึกษาใช้เป็นหนังสือสอนอ่านภาษาไทย เริ่มจากการประสมอักษรกลาง อักษรสูง อักษรต่ำกับสระเสียงยาว สระเสียงสั้น และผันวรรณยุกต์ มีการฝึกอ่านคำที่ประสมแล้วทุกบท สอนตัวเลข สอนเครื่องหมาย เมื่อเด็กอ่านได้แล้ว มีบทอ่าน เป็นนิทานสอนใจ เช่น เรื่อง “กาน้ำแก่” “กระต่ายกับเต่า” “อึ่งอ่าง” “นกเขาเปล้า” “หมาจิ้งจอก” “มดง่าม” “ราชสีห์” “ยายกะตา” ฯลฯ ทุกเรื่องจะสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมให้แก่นักเรียนโดยตลอด ในชั้นที่โตขึ้นจะใช้คำประพันธ์ในการสอนโดยแต่งเองบ้าง นำมาจากของเก่าบ้างและมีการนำวรรณคดีมาทำเป็นเรื่องสอนอ่านด้วย เช่น “ชะลอมใส่น้ำ (ขอมดำดิน)” “พระไชยเชษฐ์” “นายขนมต้ม” บทร้อยกรอง “วิชาเหมือนสินค้า” จากเรื่อง ศรีสวัสดิวัด ของหมื่นพรหมสมพัตสร หรือนายมี จากเรื่องราวในประวัติศาสตร์ เช่น “เจ้าพระยาวิชเยนทร์” “พระเจ้าแผ่นดินสองพระองค์ (พระนเรศวรชนช้างกับพระมหาอุปราชา) “สมเด็จพระศรีสุริโยทัย” เล่าจากเรื่องจริง เช่น “เรือติตานิก” “เรือกลไฟในกรุงสยาม” “การพิมพ์หนังสือในประเทศไทย” เป็นต้น               หนังสือดรุณศึกษา ผลงานชิ้นเอกของเจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแลร์ เมื่อแรกพิมพ์ที่โรงพิมพ์อัสสัมชัญ ใช้ชื่อว่า “อัสสัมชัญ ดรุณศึกษา” มีทั้งหมด ๓ เล่ม ได้แก่                ๑. อัสสัมชัญ ดรุณศึกษา ตอน กอ ขอ                 ๒. อัสสัมชัญ ดรุณศึกษา ตอนกลาง                 ๓. อัสสัมชัญ ดรุณศึกษา ตอนปลาย               ภายหลังได้เล็งเห็นว่าอัสสัมชัญ ดรุณศึกษา ตอน กอ ขอ มีรูปเล่มที่หนาเกินไปสำหรับเด็กเล็ก ดังนั้นในการพิมพ์ครั้งที่ ๔ จึงแบ่งพิมพ์ออกเป็น อัสสัมชัญ ดรุณศึกษา ตอน กอ ขอ  และอัสสัมชัญ ดรุณศึกษา ตอนต้น  ส่วนที่เหลือคงเดิม จึงกล่าวได้ว่าตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๔ นักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญมีแบบเรียน “อัสสัมชัญ ดรุณศึกษา” ใช้เรียนทั้งหมด ๔ เล่ม จวบจนกระทั่งสิขสิทธิ์ของ “อัสสัมชัญ ดรุณศึกษา” ได้ตกเป็นของสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ในระยะเวลาต่อมาจึงได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น “ดรุณศึกษา” หนังสือดรุณศึกษายุคสมัยต่าง ๆ            หนังสือดรุณศึกษา ชุดหนึ่งมี ๕ เล่ม ใช้เป็นหนังสือประกอบการเรียนการสอนภาษาไทยให้สอดคล้องกับหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ สำหรับนักเรียนชั้นเตรียมประถม (ปฐมวัย) และชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๔ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในโรงเรียนทั่วไปโดยเฉพาะในโรงเรียนเอกชนเครือคริสตจักร เพราะเป็นตำราที่เอื้อให้การเรียนการสอนวิชาภาษาไทยเกิดประสิทธิผล นักเรียนสามารถอ่านเขียนได้คล่อง มีคำศัพท์กว้างและรอบรู้ นอกจากนี้ยังมีภาพประกอบซึ่งช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกเพลิดเพลิน สนุกสนาน มีความกระตือรือร้นในการเรียนและไม่เกิดความเบื่อหน่าย ตัวอย่างบทอาขยาน   ส่วนหนึ่งจากบทเรียนในหนังสือดรุณศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒                การจัดพิมพ์หนังสือดรุณศึกษาตั้งแต่เริ่มจัดพิมพ์ ได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพื่อให้ทันสมัยอยู่เสมอ ทั้งในส่วนของรูปเล่ม ภาพประกอบบทเรียนและข้อความบางตอน แต่ยังคงรักษาเนื้อหาสาระเดิมตามแนวของเจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแลร์ ไว้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ยังได้ปรับปรุงเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน พร้อมจัดทำเชิงอรรถอธิบายความหมายประกอบคำ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจสาระความหมายของคำดังกล่าวทั้งในบริบทเดิมและบริบทที่ใช้ในปัจจุบันชัดเจนยิ่งขึ้น           หนังสือดรุณศึกษายังคงใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยมายาวนานกว่า ๑๐๐ ปี นับเป็นมรดกที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในด้านการส่งเสริมการเรียนภาษาไทยและสืบทอดความเป็นไทยให้คงอยู่ตามเจตนารมย์ของเจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแลร์ ผู้ประพันธ์ตราบจนปัจจุบัน                                                             เรียบเรียงโดย    นางสาวนันทพร  บรรลือสินธุ์                                                                              นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ                                                                              กลุ่มแปลและเรียบเรียง                                                                              สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์     บรรณานุกรม เอกสารจากหอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. เฉลิมวงศ์  ปีตรังสี. “ประวัติท่านเจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์” ในอนุสรณ์งานสมโภชรับขวัญเจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์. ๒๕๐๒. ฟ. ฮีแลร์. “ดรุณศึกษา ปฐมวัย”, คำนำ, ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๖๒.  


Messenger