ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,413 รายการ
เพชรรัตนาลัย คีตนิพนธ์เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
...กรมศิลปากรได้สร้างงานดนตรีขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายในวาระสุดท้ายนี้ เป็นเครื่องแสดงความจงรักภักดี ด้วยการนำคำประพันธ์มาบรรจุลงในทำนองเพลงไทยเดิม บันทึกเสียง น้อมเกล้าฯ ถวายในงานพระราชพิธีพราะราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี จัดขึ้นเป็นเพลงชุด ชื่อ "เพชรรัตนาลัย" ประกอบด้วย ๓ บทเพลงดังนี้ "เพชร" "ใบไม้ร่วง" "พสุธากันแสง"
ไฟล์แนบ
ขนาด
ครั้ง
Last download
หน้าปกแผ่นเพลง
2.1 MB
413
2 สัปดาห์ 1 วัน ก่อน
เพชร
3.36 MB
1190
2 สัปดาห์ 1 วัน ก่อน
ใบไม้ร่วง
3.12 MB
845
2 สัปดาห์ 1 วัน ก่อน
พสุธากันแสง
3.71 MB
903
1 สัปดาห์ 16 ชั่วโมง ก่อน
สำนักศิลปากรที่ 10 ร้อยเอ็ด ได้จัดกิจกรรมโครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาของข้าราชการสำนักศิลปากรที่ 10 ร้อยเอ็ดขึ้น ณ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯนครพนม ในวันที่ 30 มิถุนายน 2556 และวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 ณ บ้านพักคนชรา อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม
แผ่นศิลายันต์ วัสดุ หินแกรนิต สมัยรัตนโกสินทร์ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 24ที่มา พบบริเวณป้อมเทเวศร์บริรักษ์ มุมกำแพงเมืองสงขลาด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ในราวปี พ.ศ. 2496 ปัจจุบันเก็บรักษา ณ วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา แผ่นหินแกรนิต รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัต ขนาด 44 x 44 เซนติเมตร หนา 8 เซนติเมตร ปรากฏการจารึกบนแผ่นหินเป็นรูปตาราง ตัวเลข และอักขระ โดยนายจรัญ ทองวิไล นักภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก สงขลา ได้ทำการศึกษา และสรุปโดยสังเขปว่า แผ่นจารึกนี้จารึกยันต์ที่เรียกว่า “ยันต์สี่” โดยด้านข้างยันต์ทั้งสี่ด้านมีอักขระกำกับไว้ ได้แก่ ด้านที่ 1 สักกัสสะ วชิราวุธัง แปลว่า พระอินทร์มีสายฟ้าเป็นอาวุธ ด้านที่ 2 เวสสุวัณณัสสะ คฑาวุธัง แปลว่า ท้าวเวสสุวรรณมีคฑาเป็นอาวุธ ด้านที่ 3 ยะมัสสะ นะยะนาวุธัง แปลว่า พระยมมีนัยน์ตาเป็นอาวุธ ด้านที่ 4 อาฬะวะกัสสะ ทุสสาวุธัง แปลว่า อาฬวกยักษ์มีผ้าเป็นอาวุธ รูปแบบการจัดวางอักขระดังกล่าว มีความสัมพันธ์กับยันต์ “โสฬสมหามงคล” ที่มีการนำเอานามเทวดาและนามศาสตราวุธ 4 ชนิด ลงไว้ตามด้านต่าง ๆ ยันต์นี้มีไว้สำหรับขับไล่ภูติผีปีศาจ ทำลายไสเวทย์คาถาอาคม วัตถุอาถรรพ์ทุกชนิด กันฟ้า กันไฟ กันโจร และอุปัทวันตรายทั้งปวง ส่วนตัวเลขในช่องตารางทั้ง 37 ช่อง นั้นเป็นปริศนาธรรม หมายถึงโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ อันจะนำเวไนยสัตว์ (สัตว์ผู้ควรแก่การแนะนำสั่งสอน) ผู้ประพฤติตามให้ถึงซึ่งพระนิพพาน แผ่นศิลายันต์ ถูกค้นพบบริเวณหัวมุมกำแพงเมืองสงขลาด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อันเป็นตำแหน่งของป้อม “เทเวศร์บริรักษ์” ในคราวที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ได้เข้ามาใช้พื้นที่ในการตั้งชุมสายโทรศัพท์จังหวัดสงขลา เมื่อราวปี พ.ศ. 2496 โดยได้มีการรื้อป้อมเทเวศร์บริรักษ์ทั้งหมด และกำแพงเมืองด้านทิศเหนือที่ติดกับป้อมไปบางส่วน สันนิษฐานว่า แผ่นศิลายันต์ดังกล่าวถูกสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2379 เมื่อครั้งที่พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ก่อสร้างป้อมและกำแพงเมืองสงขลา ตามพระราชโองการของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2385 ทั้งนี้ กำแพงเมืองสงขลาได้มีการซ่อมแซมตลอดมา และได้เริ่มมีการรื้อถอนโดยพระยาสุขุมนัยวินิต ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2442 เพื่อขยายเมือง และ ตัดถนน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกำแพงเมืองสงขลาหลงเหลือเพียงด้านทิศเหนือบริเวณถนนจะนะ และด้านทิศตะวันตกบริเวณถนนนครนอก โดยกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 และ 21 กันยายน 2519 ความอนุเคราะห์ข้อมูล: นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม อ้างอิง: 1. ณัฐธัญ มณีรัตน์. เลขยันต์ : แผนผังอันศักดิ์สิทธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ดรีม แคชเชอร์ กราฟฟิค, 2553. 2. สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา. สารัท ชลอสันติสกุล. รายงานการขุดทางโบราณคดีกำแพงเมืองสงขลาบริเวณถนนนครนอก. ม. ป. ท : ม. ป. ท., 2563 (พิมพ์ในโครงการขุดแต่งเพื่อออกแบบบูรณะกำแพงเมืองสงขลา พุทธศักราช 2560) เรียบเรียง/ ถ่ายภาพ/ กราฟฟิก : นางสาวธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
***บรรณานุกรม***
หนังสือหายาก
ผะอบ โปษะกฤษณะ. หลักภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. พระนคร : ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๐๓.
เครื่องประดับทองรูปทรงคล้ายมกุฎ ส่วนฐานเป็นวงแหวนซึ่งทำด้วยการนำทองเม็ดเล็กๆ มาติดกันไว้ (Granulated gold beads) ส่วนบนทำเป็นทรงกรวยคล้ายเครื่องประดับศีรษะ คือ “มกุฎ” ทอง ถือเป็นวัตถุดิบที่มีค่า หายาก เครื่องประดับทองได้ถูกค้นพบในเมืองท่าโบราณในภาคใต้ของประเทศไทยทั้งทางฝั่งอันดามันและอ่าวไทย เช่น แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง จังหวัดระนอง แหล่งโบราณคดีคลองท่อมจังหวัดกระบี่ แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร แหล่งโบราณคดีโคกทองจังหวัดสงขลา รูปทรงของเครื่องประดับที่พบมีหลากหลาย เช่นลูกปัดทองแบบรูปไข่ (Oval) ลูกปัดทองแบบกลม (Globular) ลูกปัดทองแบบเม็ดกลมต่อกันเป็นปล้อง ๆ (Segmented bead) ลูกปัดทองแบบวงแหวน (Annular) และแหวนทอง เป็นต้น สำหรับเครื่องประดับทองคำชิ้นนี้พบจากแหล่งโบราณคดีบ้านบางกล้วย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมืองท่าโบราณภูเขาทอง เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙ ลักษณะเด่นของโบราณวัตถุชิ้นนี้คือส่วนฐานของเครื่องประดับที่ทำเป็นรูปวงแหวน ซึ่งเป็นการนำทองเม็ดเล็กๆ มาติดกัน และยังพบเครื่องประดับที่นำลูกปัดทอง มาใช้ในลักษณะเช่นนี้รูปแบบอื่นๆ ที่ภูเขาทองอีกด้วย ในภาคใต้ยังพบเครื่องประดับทองรูปแบบนี้ที่เมืองท่าโบราณอื่นๆ อาทิ เขาสามแก้วและโคกทอง สำหรับในต่างประเทศพบที่เมืองตักศิลาประเทศอินเดีย และที่ประเทศอิหร่าน จากข้อมูลที่ได้กล่าวมานั้นแสดงให้เห็นว่าเครื่องประดับทองที่ทำด้วยการนำทองเม็ดเล็กมาต่อติดกัน เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงท่าการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกิดขึ้นในอดีต และจากรูปแบบของเครื่องประดับทองชิ้นนี้ซึ่งมีความงดงามและละเอียดมาก จึงเป็นไปได้ว่าเครื่องประดับทองชิ้นนี้คงถูกนำเข้ามาจากต่างแดนมาสู่เมืองท่าโบราณภูเขาทองในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙
สาระสังเขป : การทำบุญ 9 จังหวัด จากกรุงเทพฯ ถึงวัดหลวงเจริญธรรม ต.แม่ค้า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2506 รวมทั้งสิ้นเป็นเวลา 17 วันผู้แต่ง : อ.อภิวณณาโรงพิมพ์ : มหามกุฎราชวิทยาลัยปีที่พิมพ์ : 2506ภาษา : ไทยรูปแบบ : PDFเลขทะเบียน : บ. 180920 เลขหมู่ : 895.9112 อ 111 บ
เลขทะเบียน : นพ.บ.47/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4.6 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 29 (295-307) ผูก 10หัวเรื่อง : มหาวคฺคปาลิ ทีฆนิกาย --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม