ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ



ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           29/1ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               76 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53.7 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


วันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญในประเทศไทย หรือ วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ เป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย โดยผลของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 1. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย 2. หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ทรงแก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ 3. อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน 4. รัฐบาลได้ออกกฎหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไป จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติของคณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วย พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา, พันเอก พระยาทรงสุรเดช และพันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ เป็นหัวหน้า วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว เรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคล คณะบุคคล เป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎร ดังนี้ 1. พระมหากษัตริย์ 2. สภาผู้แทนราษฎร 3. คณะกรรมการราษฎร 4. ศาล ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย แต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่าง ๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนราษฎรจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม #วันรัฐธรรมนูญ #คณะราษฎร์ #พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว #หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกจันทบุรี


          วันจันทร์ที่ ๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. นางรักชนก โคจรานนท์ รองอธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยนางวรานี เนียมสอน ผู้อำนวยการกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ และเจ้าหน้าที่กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ เป็นผู้แทนกรมศิลปากร ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในวันครบรอบการก่อตั้งปีที่ ๔๖ ของหนังสือพิมพ์มติชน พร้อมตั้งมอบเงินสมทบทุนโครงการชุมชนอุดมปัญญา และมอบหนังสืออันทรงคุณค่าของกรมศิลปากรเป็นที่ระลึก เพื่อเป็นการขอบคุณที่ช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร/กิจกรรมของกรมศิลปากรด้วยดีตลอดมา โดยมีนายจำลอง ดอกปิก บรรณาธิการบริหาร หนังสือพิมพ์มติชน นายนฤตย์ เสกธีระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท งานดี จำกัด ให้การต้อนรับและเป็นผู้รับมอบ ณ อาคาร ๑ หนังสือพิมพ์มติชน ณ โถงอาคารสำนักงานบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)




สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 137/6 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 173/1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อผู้แต่ง         คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ชื่อเรื่อง           วารสารเศรษฐกิจปริทรรศ (ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๐) ครั้งที่พิมพ์       -สถานที่พิมพ์     พระนครสำนักพิมพ์       โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๐ จำนวนหน้า      ๖๔ หน้ารายละเอียด           วารสารเศรษฐกิจปริทรรศ เป็นวารสารที่มีจุดประสงค์ เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าวิชาเศรษฐศาสตร์ วิชาการพัฒนาเศรษฐกิจ เผยแพร่ ความรู้ ความเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจ และส่งเสริมทางวิชาการแก่ผู้สนใจ     ซึ่งใน ฉบับที่ ๑ ปีที่ ๑  ตุลาคม ๒๕๑๐ นี้ ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการในการวางแผนพัฒนา บทบาทของการปฏิรูปที่ดินในการพัฒนาเศรษฐกิจชนบทของไต้หวัน สหรัฐอเมริกาและปัญหาทองคำ การพัฒนาเศรษฐกิจกับประชาธิปไตย    


ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.34 กฎหมายลักษณะต่างๆประเภทวัสดุ/มีเดีย      สมุดไทยดำISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  ธรรมคดีลักษณะวัสดุ              113; หน้า : มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    ธรรมคดี           ภาษา                      ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดใหม่พิณสุวรรณ ต.บ้านแหลม  อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 14 ส.ค.2538


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           10/7ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              40 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นพระธิดาพระองค์เดียวในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต กับหม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ (เทวกุล) บริพัตร ประสูติเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2474 ณ วังบางขุนพรหม ภายหลังเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 ได้ตามเสด็จพระบิดาไปประทับที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย พ.ศ. 2484 เสด็จกลับประเทศไทยและเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยจนกระทั่งจบชั้นมัธยมศึกษา จากนั้นเสด็จไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และสเปน หม่อมเจ้ามารศีฯ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวรรณคดี จากมหาวิทยาลัย ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2497 และปริญญาเอก สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ จากมหาวิทยาลัยแห่งมาดริด ประเทศสเปน เมื่อ พ.ศ. 2502 จากนั้นได้ทรงงานในแวดวงวิชาการอยู่ระยะหนึ่ง ทรงสอนวิชาศิลปะตะวันออกที่คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งมาดริด และเมื่อเสด็จกลับประเทศไทย ทรงเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลปกรรมตะวันตกที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หม่อมเจ้ามารศีฯ ทรงสนพระทัยในด้านการวาดภาพ เมื่อมีพระชันษาราว 30 ปี ทรงยุติการทำงานวิชาการและเริ่มศึกษาศิลปะด้วยพระองค์เองจากผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียง ทรงเข้าร่วมกลุ่มศิลปินในประเทศฝรั่งเศสเพื่อจัดแสดงนิทรรศการ หม่อมเจ้ามารศีฯ โปรดการสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงอารมณ์ความรู้สึก มีรูปแบบเหนือจินตนาการ และสะท้อนปรัชญาชีวิต ทรงเป็นศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานได้อย่างโดดเด่น งดงาม และมีเอกลักษณ์เฉพาะ ตามแนวทางของศิลปะเซอร์เรียลลิสต์ – แฟนตาสติก (Surrealism – Fantastic Art) ทรงจัดแสดงนิทรรศการที่ประเทศฝรั่งเศสอย่างต่อเนื่อง ต่อมาทรงซื้อที่ดินที่เมือง Annot ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสเพื่อสร้างพระตำหนัก Vellara ซึ่งเป็นทั้งที่ประทับและสตูดิโอสำหรับทรงงานศิลปะตั้งแต่ พ.ศ. 2513 ภาพเขียนของหม่อมเจ้ามารศีฯ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ผลงานในระยะแรก (พ.ศ. 2503 – 2513) ทรงทดลองเขียนภาพเหตุการณ์ประกอบฉากหลังที่เป็นโขดหิน โดยใช้สีเอกรงค์ (Monochrome) เน้นสีขาว – ดำเป็นหลักในการสร้างสรรค์ผลงาน ผลงานในระยะที่ 2 (พ.ศ. 2513 – 2523) ทรงเขียนรูปบุคคล โดยมีโขดหินเป็นฉากหลัง นอกจากนี้ ทรงเริ่มเขียนภาพดอกไม้และใช้สีสันหลากหลายกว่าผลงานในระยะแรก ผลงานในระยะนี้มีขนาดใหญ่ สอดแทรกเรื่องราวทางศาสนา ปกรณัม เรื่องปรัมปรา สัญลักษณ์ และเรื่องตามจินตนาการ ผลงานในระยะที่ 3 (พ.ศ. 2523 – 2546) หม่อมเจ้ามารศีฯ ทรงพัฒนาฝีมือในการสร้างสรรค์ผลงานจากช่วงก่อนหน้า ภาพเขียนในระยะนี้มีความหลากหลายทั้งเรื่องราวและสีสัน ปรากฏรูปบุคคล โดยเฉพาะผู้หญิง สิงสาราสัตว์ อาคารสถาปัตยกรรม รวมทั้งฉากหลังที่เป็นธรรมชาติ ผสมผสานกันจนเป็นเรื่องราวเหนือจินตนาการตามความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน หม่อมเจ้ามารศีฯ ทรงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายที่เมือง Annot กว่า 40 ปี แวดล้อมด้วยธรรมชาติ ลำธาร และขุนเขา รวมทั้งสัตว์เลี้ยงนานาชนิด ทั้งสุนัข แมว และนก ซึ่งเป็นตัวละครและองค์ประกอบหลักในการสร้างสรรค์ผลงานภาพเขียน พ.ศ. 2547 ทรงประชวรและไม่สามารถเขียนภาพได้เช่นเดิม แต่ยังคงประทับที่พระตำหนักในเมือง Annot ท่ามกลางธรรมชาติ เสียงดนตรี และสัตว์เลี้ยง จวบจนวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2556 สิริพระชันษา 82 ปี พระญาติสนิทและพระสหายผู้ใกล้ชิดได้ดำเนินการตามพระปณิธานในการก่อตั้งมูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร เพื่อส่งเสริมการศึกษาด้านศิลปะในประเทศไทย โดยได้ดำเนินการจัดแสดงนิทรรศการและเผยแพร่ผลงานของหม่อมเจ้ามารศีฯ ทั้งในและต่างประเทศ มอบทุนการศึกษาให้แก่นิสิตนักศึกษาทางด้านศิลปะ และสนับสนุนทุนทรัพย์ในการจัดแสดงงานนิทรรศการแก่ศิลปินรุ่นใหม่ เพื่อช่วยสนับสนุนและผลักดันวงการทัศนศิลป์ในประเทศไทยให้ขับเคลื่อนและพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง #หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์บริพัตร #ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่๙ #ศิลปินแห่งนวสมัย #หอศิลป์แห่งชาติ #หอศิลป์แห่งชาติถนนเจ้าฟ้า ที่มา 1. หนังสือ “Beauty & Ugliness: Aesthetic of Marsi” โดย มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร 2. หนังสือ “MARSI” โดย Michel Steve ที่มาภาพ โดย มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร


         วันอาทิตย์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๔๕ น. ณ วัดประดู่ฉิมพลี เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร และเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลี (พระศรีรัตนโมลี) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๖ กิจกรรมรณรงค์ดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ณ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ เครือข่ายการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม จิตอาสา รวมถึงประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมกว่า ๑๒๐ คน            อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กิจกรรมทำความสะอาดโบราณสถานวัดประดู่ฉิมพลีในวันนี้ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้ร่วมมือร่วมใจกันดูแลรักษาโบราณสถาน ซึ่งเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าของชาติ อีกทั้งยังเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรม ทรงเป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์และสืบสานมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ สืบสาน และส่งเสริมงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมให้เห็นเป็นตัวอย่างตลอดมา การดำเนินการในครั้งนี้ นับเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ รวมถึงเพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นเจ้าของวัฒนธรรม และร่วมกันปกป้อง พัฒนาโบราณสถานหรือแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่าให้คงอยู่ต่อไป           วัดประดู่ฉิมพลี เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ เดิมชื่อว่า “วัดฉิมพลี” แต่ประชาชนนิยมเรียกกันว่า “วัดประดู่นอก” คู่กับ “วัดประดู่ใน” (วัดประดู่ในทรงธรรม) ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน เป็นวัดที่สถาปนาขึ้นโดยสมเด็จพระบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) เมื่อครั้งดำรงยศเป็นพระยาศรีพิพัฒนรัตนราชโกษา จางวางพระคลังสินค้า เริ่มสร้างวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๗ ซึ่งตรงกับช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) การก่อสร้างแล้วเสร็จและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) กรมศิลปากร ได้ประกาศรายชื่อโบราณสถานวัดประดู่ฉิมพลี ลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ พระอุโบสถ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ สร้างตามรูปแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๙ ภายในประดิษฐานพระประธานศิลปะสุโขทัย ปัจจุบันกรมศิลปากรกำลังดำเนินโครงการบูรณะพระอุโบสถ ระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๖๕ – กันยายน ๒๕๖๖   


เลขทะเบียน : นพ.บ.503/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 167  (205-215) ผูก 6 (2566)หัวเรื่อง : รามชาตก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




องค์ความจากหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เรื่อง “ยาแผนไทย” : กรรมวิธีการแปรสภาพและเก็บสมุนไพร ตลอดจนการเตรียมเครื่องยาในการผลิตยาสมุนไพรไทยอย่างถูกวิธี"เรียบเรียงโดย นางสาวสุภาพัฒน์ นำแปง นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาสารสนเทศศาสตร์และบรรณรักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่        สุขภาพร่างกายเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะฉะนั้นเราจึงต้องมีการดูแลเอาใจใส่ให้สุขภาพแข็งสมบูรณ์อยู่เสมอ แต่ตัวเราเองก็ไม่สามารถหลีกหนีการเจ็บป่วยได้เช่นกัน จึงต้องมีการหาหนทางรักษาเพื่อให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ซึ่งการแพทย์แผนไทยก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการบำรุง บำบัด บรรเทาและรักษาโรค โดยการใช้ยาสมุนไพรเข้ามาช่วยในการรักษานั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้คนยังมีความเชื่อแบบผิด ๆ ที่ว่า การใช้สมุนไพรนั้นไม่มีอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เมื่อขึ้นชื่อว่ายา ย่อมเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ทั้งสิ้น หากเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายไม่สามารถรับได้ ในบริบทของยาแผนไทยก็คือ การใช้ยาในปริมาณที่ไม่ถูกส่วน ซึ่งอาจส่งผลกับร่างกายได้ เช่น การแพ้ยา กระตุ้นโรคจนอาการหนักขึ้น หรือใช้ยาไม่ถูกส่วนกับโรค เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมตัวยาเพื่อใช้ปรุงยาตามตำรับต่าง ๆ ทางการแพทย์แผนไทยมีวิธีการเก็บ การทำให้แห้งและรักษาสมุนไพรให้เกิดตัวยาที่มีคุณภาพสูงสุด ปรุงแล้วสามารถรักษาโรคตามต้องการ โดยวิธีการต่าง ๆ อาจแตกต่างกันออกไปตามชนิดของสมุนไพร นอกจากนี้สมุนไพรหรือส่วนประกอบในการปรุงยาบางชนิดยังต้องผ่านกระบวนการบางอย่าง ก่อนจะนำมาใช้ปรุงยาเพื่อลดหรือเพิ่มฤทธิ์ตัวยาสมุนไพร ทำให้พิษของตัวยาลดลง ทำให้ตัวยาปราศจากเชื้อโรค เป็นต้น ซึ่งวิธีการต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นภูมิปัญญาที่สั่งสมผ่านประสบการณ์อันยาวนาน ถ่ายทอดผ่านปากจากรุ่นสู่รุ่น


Messenger