ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ





ชื่อเรื่อง                               มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทสพร-นครกัณฑ์) สพ.บ.                                 293/2ประเภทวัสดุมีเดีย                   คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                              พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                          32 หน้า กว้าง 4.4 ซ.ม. ยาว 55.6 ซ.ม. หัวเรื่อง                                พุทธศาสนา                                          ชาดก                                          เทศนา   บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                ปฐมกับ (ปถมกับ) สพ.บ.                                  340/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           48 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 59 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.162/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 97 (35-48) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : มหาวิภงฺคปาลิ, ปาจิตฺติปาลิ(บาฬีปาจิตตี)  --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.46/1-6ค  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)  ชบ.บ.88ค/1-34  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.210/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 57.5 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 110 (148-158) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : กจฺจยนมูล(มูลกัจจายน์) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.355/ข/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 5 x 58.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 136  (388-396) ผูก 5ข (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (ทศชาติ)ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (นารทพรหม)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง             ปรีดีเทพย์พงษ์  เทวกุล , หม่อมเจ้า ชื่อเรื่อง               ลำดับราชสกุล เทวกุล รวมทั้งราชสกุลและสกุลอื่นที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์        พระนคร สำนักพิมพ์          โรงพิมพ์ตรีรณสาร ปีที่พิมพ์              ๒๕๑๓ จำนวนหน้า          ๒๑๖  หน้า หมายเหตุ           พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี หม่อมเจ้า ปรีดิเทพย์พงษ์  เทวกุล ป.จ. , ป.ช. , ป.ม.                          ท่านปรีดิเทพย์พงษ์ ได้ทรงรวบรวมรายพระนามและนางของสมาชิกในราชสกุล เทวกุลเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี แล้ว โดยได้ทรงอาศัยต้นฉบับที่สมเด็จปู่องค์ต้นราชสกุลได้ทรงทำไว้ก่อน และได้ทรงทำสมุด “บัญชีเทวกุล” ขึ้นเล่มหนึ่ง มีรายพระนาม พระโอรสในสมเด็จปู่ทั้งหมด รายนามพระนัดดาของสมเด็จปู่ที่มีอยุ่ในขณะนั้น รวมทั้งวันเดือนปีที่ประสูติถึงชีพตักษัย เกิด ตาย ไว้เกือบครบถ้วน


ชื่อเรื่อง : พระราชหัดถ์เลขา เมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป พ.ศ. 2440 เล่ม 2 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2505 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภา จำนวนหน้า : 236 หน้าสาระสังเขป : พระราชหัดถ์เลขา เมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป พ.ศ. 2440 เล่ม 2 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่มนี้ เป็นพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชทานมาเป็นส่วนเฉพาะพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนารถ ซึ่งสำเร็จราชการแผ่นดินเวลาเสด็จพระราชดำเนินประพาศยุโรปครั้งแรก ในพระพุทธศักราช 2440 พระราชหัดถ์เลขาเหล่านี้เป็นส่วนพิเศษต่างหาก นอกจากที่ได้ทรงมีมาทางราชการ และเป็นกระแสพระราชดำริห์ในการที่ได้ทรงสังเกตเห็นการในบ้านเมืองและบุคคลต่าง ๆ เท่าที่มีเวลาพอที่จะทรงพระราชหัดถ์เลขาเหล่านี้ได้



แนะนำหนังสือน่าอ่านเรื่อง การศึกษารวบรวมลวดลายไม้ฉลุแบบขนมปังขิงสกุลช่างจันทบุรี เสกสรร ตันยาภิรมย์. การศึกษารวบรวมลวดลายไม้ฉลุแบบขนมปังขิงสกุลช่างจันทบุรี. ชลบุรี: กมลศิลป์การพิมพ์ ชลบุรี, 2547. 110 หน้า. ภาพประกอบ. เป็นการศึกษารวบรวมอาคารที่มีการประดับตกแต่งด้วยไม้ฉลุลาย รวบรวมคัดลอกวิเคราะห์และจัดกลุ่มลวดลายแบบขนมปังขิงที่ปรากฏในเขตจังหวัดจันทบุรี เพื่อการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นภาคตะวันออกก่อนเสื่อมสภาพ หรือก่อนรื้อถอน ในการศึกษาซึ่งเป็นการสำรวจภาคสนาม มีอาคารที่มีการตกแต่งด้วยลายฉลุไม้แบบขิง จำนวน 62 หลัง เป็นลวดลายไม้ฉลุ 125 แบบ ลายส่วนใหญ่ อยู่ที่ย่านท่าหลวง อำเภอเมือง ตำบลพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอขลุง และอำเภอท่าใหม่ ช่วงส่วนใหญ่เป็นช่างท้องถิ่น ช่างจีน และช่างญวณ ท 720.9326 ภ181ก (ห้องจันทบุรี)


        เรามักได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า “ปากไม่แดงไม่มีแรงเดิน” หรือ “จะถูกจะแพงขอให้แดงไว้ก่อน” นั่นอาจสะท้อนความนิยมของสีแดงได้เป็นอย่างดี         กระนั้น การใช้สีแดงพบมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ภาพเขียนสี และการตกแต่งลวดลายบนภาชนะดินเผา ในดินแดนไทย น่าสนใจว่า ทำไมมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์นิยมใช้สีแดงมาตกแต่งผิวและลวดลายภาชนะ และภาพเขียนสี         จากที่มีผู้ศึกษาไว้ พบว่าสีที่มนุษย์เริ่มใช้เป็นเนื้อสีที่หาได้จากแร่ธาตุต่าง ๆ ตามธรรมชาติ ที่มีการสะสมของสารประกอบเหล็กออกไซด์ (iron oxide) ส่วนใหญ่จะได้มาจากหินหรือดิน         สีแดง ก็ถือเป็นสีที่เก่าแก่และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วทุกมุมโลก โดยหนึ่งในวัตถุดิบก็คือแร่เฮมาไทต์ (Hematite : Fe2O3) แต่ก็ใช่ว่าสมัยก่อนประวัติศาสตร์จะมีแต่สีแดงไปเสียทั้งหมด ในพื้นที่อื่น ๆ ของโลกยังพบว่ายังมีดินเหนียวละเอียดและเหล็กออกไซด์ที่ให้สีสันหลากหลายตั้งแต่สีเหลือง สีส้ม สีน้ำตาล ไปจนถึงสีแดงอีกหลายเฉด ไม่เพียงเท่านั้นยังมีการใช้สีที่ได้จากพืช แมลง และสีดำจากถ่าน อีกด้วย         คำถามต่อมาก็คือ แล้วทำไมสีเหล่านี้ถึงสามารถคงอยู่ได้นานนับหลายพันปีกันล่ะ? ว่ากันว่า ไม่ว่าจะเป็นภาพเขียนสี หรือลวดลายบนภาชนะดินเผา ที่คงทนมาให้เราได้เห็นถึงทุกวันนี้ เพราะสีจากการสะสมของเหล็กออกไซด์จะจางได้ช้ากว่าสีที่ได้จากพืชและสัตว์นั่นเอง         หลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2535 พบว่ามีการนำแร่เฮมาไทต์มาขัดฝนเพื่อนำไปใช้งาน โดยมีการสันนิษฐานว่าคงนำแร่มาบดเป็นผงเสียก่อน แล้วอาจนำไปผสมกับยางไม้ ไขมันสัตว์ หรือเลือดสัตว์ที่เป็นสีแดงเช่นเดียวกับแร่ ซึ่งยิ่งทำให้สียิ่งติดทนและมีสีที่เด่นชัดมากขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม การที่ดินแดนไทยพบการใช้สีแดงอย่างแพร่หลาย อาจเนื่องด้วยแร่ชนิดดังกล่าวเป็นวัตถุดิบที่พบมากที่สุด         แล้วมนุษย์ในสมัยนั้น เขาใช้อะไรเขียน ? สำหรับในข้อนี้ การศึกษาเชิงเปรียบเทียบกับแหล่งโบราณคดีในต่างประเทศ ทำให้เชื่อว่าสำหรับกรณีภาพเขียนสี คงมีทั้งการใช้มือ แปรงจากพืชหรือขนสัตว์ เป็นหลัก แต่อาจมีเทคนิคอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ขณะที่ลวดลายบนภาชนะดินเผา เป็นไปได้ที่จะใช้แปรงหรือพู่กัน         ส่วนการใช้สีแดงสื่อความหมายใดหรือไม่นั้น ได้มีผู้ให้ความเห็นไว้ว่าสื่อถึง "เลือด" และ "ชีวิต" ซึ่งหากเป็นภาพเขียนสีมักตีความภาพเหล่านี้ไปในทางการประกอบพิธีกรรมและร่วมกันเขียนภาพสื่อสารกับสิ่งเหนือธรรมชาติ เพื่อความอุดมสมบูรณ์ ขณะเดียวกัน ลวดลายสีแดงบนภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมบ้านเชียง อาจสื่อความหมายถึง "ขวัญ" (ส่วนที่ไม่มีตัวตนของคน สัตว์ สิ่งของ)         สีแดงยังถูกตีความเป็นตัวแทนของ "ระดู" ของเพศหญิง ซึ่งระดูนั้นก็เกี่ยวกับ "การมีชีวิตและการตั้งท้อง" แม้ว่าทั้งหมดนี้จะเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องการมีชีวิตใหม่ในโลกหน้าหรือไม่ แต่ข้อสังเกตหนึ่งคือ ภาชนะดินเผาบ้านเชียงเกือบทั้งหมดพบในหลุมฝังศพ อีกทั้งยังพบร่องรอยการนำดินเทศมาโรยในพิธีศพ ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี และแหล่งโบราณคดีโคกพนมดี จังหวัดชลบุรี เป็นต้น         ดังนั้นจึงสันนิษฐานได้ว่า ในเชิงการใช้งาน แม้ว่ามนุษย์จะมีสีจากวัตถุดิบต่าง ๆ ให้เลือกใช้ แต่สีแดงจากแร่เฮมาไทต์เป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่ายและคงทน นอกจากนี้ ในเชิงความหมาย สีแดงก็อาจเปรียบเสมือนสีของเลือด จึงสัมพันธ์กับเรื่องของชีวิตและความเชื่อเรื่องโลกหน้าก็เป็นได้ ________________________ ผู้เขียน : ปัณฑ์ชนิต สุรฤทธิ์โยธิน ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ________________________ อ้างอิง 1. ชลิต ชัยครรชิต. “รูปคนและสัตว์บนภาชนะดินเผาลายเขียนสีวัฒนธรรม         บ้านเชียง” ศิลปศาสตร์บัณฑิต (โบราณคดี) ภาควิชาโบราณคดี คณะ         โบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2522. 2. ธนิก เลิศชาญฤทธ์. ภาชนะดินเผายุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย.         นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2560. 3. ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ. “ไหอีสานไม่ได้มีแต่ไหทองคำ เพราะยังมี         ไหลายสีแดงในวัฒนธรรมบ้านเชียงด้วย,” มติชนสุดสัปดาห์ 23 - 29          มิถุนายน 2560.  4. สุจิตต์ วงษ์เทศ. คนไทยอยู่ที่นี่ นี่อุษาคเนย์. กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม,          2537. 5. อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ. รูปเขียนดึกกำบรรพ์ “สุวรรณภูมิ” 3,000 ปีมาแล้ว          ต้นแบบงานช่างเขียนปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549.         ENCYCLOPEDIA. Prehistoric Colour Palette : Paint Pigments          Used by Stone Age Artists in Cave Paintings and Pictographs.            เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2564. http://www.visual-arts-  cork.com/artist-paints/prehistoric-colour-palette.htm.


Messenger