ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,413 รายการ
บอกไฟบูชาพระพุทธเจ้าจากบันทึกความทรงจำสำราญ จรุงจิตรประชารมย์ มหาดเล็ก เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย“ยกมือไหว้สาพระธาตุเป็นเจ้า ซื้อนายเหน้าร่วมกั๋นทำบุญ เป็นก๋านเกื้อหนุนต๋นบุญพระเจ้า บ่มีโศกเศร้าล่วงสู่นิพพาน”ในเทศกาลนมัสการพระธาตุแช่แห้ง และพระธาตุเขาน้อย ตามประเพณีในสมัยเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน ซึ่งผมรู้เห็นและจำได้ พระองค์จะเสด็จฯ ไปนมัสการเป็นประจำทุกปีไม่เคยขาด ในการเสด็จฯ มีขบวนแห่แหนดังกล่าวข้างต้นแล้วงานเทศกาลนมัสการพระธาตุแช่แห้ง และพระธาตุเขาน้อย ปูชนียสถานที่สำคัญทั้งสองแห่ง เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ ทรงเป็นประธานงานนมัสการพระธาตุแช่แห้ง จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖ เหนือ พระธาตุเขาน้อยจะจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๘ เหนือของทุกๆ ปี ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ พระองค์จะเสด็จฯ พร้อมด้วยฝ่ายในและเจ้านายลูกหลาน (รวมทั้งผมด้วย) ไปประทับแรม ณ โฮงไม้สักหลังใหญ่ (อาจเทียบได้กับตําหนัก) ซึ่งปลูกไว้รับรองการเสด็จฯ โดยเฉพาะในตอนกลางคืน มีการฉลองสมโภชพระบรมธาตุจุดสะโป๊ก (พลุ) จุดบอกไฟดอก จุดบอกไฟเตียน (ไฟพะเนียง) และมีการแข่งขันการตีกลองแอว (กลองยาว) ซึ่งวัดวาอารามต่างๆ นํามาแข่งฉลองสมโภช วันรุ่งขึ้นเป็นวันนมัสการพระบรมธาตุ ตอนเช้าทำบุญตักบาตร พระองค์เป็นประธาน มีพุทธศาสนิกชนมาเฝ้ารับเสด็จฯ และร่วมการกุศลอย่างมากมาย ตอนสายมีคณะศรัทธา หมู่บ้านตำบลต่างๆ ในนครน่านแห่ครัวทาน และจุดบอกไฟขึ้น (บั้งไฟ) ไปถวายพระบรมธาตุเป็นพุทธบูชามากมายในการจุดบอกไฟถวายเป็นพุทธบูชาเฉพาะพระธาตุแช่แห้ง มีตํานานเล่าว่าพญาก๋านเมือง ราชวงศ์ภูคาองค์ที่ ๕ เป็นเจ้าผู้ครองนครเมืองภูเพียงแช่แห้ง (นครน่าน) เมื่อจุลศักราช ๗๒๑ (พ.ศ. ๑๙๐๒) พญากําานเมืองได้รับพระราชทานสารีริกธาตุมาจากพระเจ้ากรุงสุโขทัย แล้วนํามาบรรจุลงในผอบเงิน ผอบทอง สองชั้น พอกด้วยสะตายจีน (ปูนขาวผสมทราย) ตําราจีนเป็นลูกกลมเกลี้ยง แล้วอัญเชิญวางลงในหลุมลึก ๑ วา ดอยภูเพียง (ปูเปียง) แช่แห้ง ซึ่งเป็นชัยภูมิดี แล้วก่อเจดีย์ทับไว้ในการเฉลิมฉลองสมโภชเจดีย์ ประจุพระบรมสารีริกธาตุครั้งแรก (คําว่า “ประจุ” ใช้กับของสูง) ตามตํานานกล่าวว่า “พญาก๋านเมือง” รับสั่งให้พสกนิกรของพระองค์จัดทำบอกไฟมาจุดเป็นพุทธบูชาและเป็นประเพณีสืบต่อกันมา และรวมมาเป็นประเพณีถึงพระธาตุเขาน้อยด้วย สำหรับพระธาตุเขาน้อยนี้ พญาภูแข็ง ราชวงศ์ภูคาองค์ที่ ๑๒ เจ้าผู้ครองนครน่านเป็นผู้สร้าง (ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๔๙-๑๙๕๖) การจุดบอกไฟเป็นพุทธบูชาพระบรมธาตุทั้งสองแห่งนี้ เพิ่งเลิกเมื่อไม่นานมานี่เอง เพราะหาที่จุดไม่ได้ มีบ้านเรือนของราษฎรล้อมรอบอาณาบริเวณที่จุดดั้งเดิมไปหมดเกรงจะเกิดอันตรายบอกไฟที่นําไปจุดเป็นพุทธบูชานี้มีหลายขนาด มีบอกไฟปัน (จำนวนพัน) บอกไฟหมื่น บอกไฟแสน และบอกไฟป้องเดียว การบอกขนาดของบอกไฟ โดยการชั่งนําหนักของดินไฟ (ดินประสิว) ที่ใช้เป็นพลังขับเคลื่อนเป็นตัวกำหนดบอกขนาด เช่น บอกไฟสองปัน (พัน) ที่ใช้ดินประสิวหนึ่งปัน (ประมาณ ๘ ขีด) เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นบอกไฟสองปัน สามปัน ถ้าหนักถึง ๑๐ ปัน เป็นบอกไฟหมื่น หนัก ๑๐ หมื่น เป็นบอกไฟแสน ส่วนมากที่ทำไม่เกินบอกไฟหมื่น สำหรับบอกไฟแสนนานๆ จะมีสักครั้ง แต่จะต้องเป็นบอกไฟของเจ้าผู้ครองนคร ราษฎรธรรมดาทำไม่ได้ เพราะขาดกําลังคนกําลังทรัพย์ การทำบอกไฟแสนใช้ต้นตาลคว้านไส้ในออก ทำเป็นตัวบอกไฟ หัวและหางต้องใช้ไม้ไผ่สีสุกขนาดใหญ่ การนําไปจุดต้องใช้ ขะแหย (ที่วาง) ขนาดใหญ่ชะลอ ลากไปด้วยกําลังคนจำนวนมาก เพราะใหญ่โตเหลือรับ เวลาจุดนําไปพาดหัวคันนากลางทุ่ง ค้างที่จุดทำเฉพาะบอกไฟไม่เกินบอกไฟหมื่นเท่านั้น ก่อนจุดต้องผูกมัดตัวบอกไฟอย่างแน่นหนากับเสาไม้สองเสา ซึ่งฝังไว้อย่างลึกคีบบอกไฟไว้ ป้องกันไม่ให้ขึ้นไปบนท้องฟ้าจะเป็นอันตราย นอกจากนี้ยังมีบอกไฟเล็ก บอกไฟน้อย อีกมากมาย เรียกว่า บอกไฟป้องเดียวเฝ่า (ดินปืน) ที่ใช้เป็นพลังขับเคลื่อนบอกไฟ วิธีทำให้ดินไฟผสมกับถ่าน เผาจากไม้สัก และไม้มะริดไม้ (เพกา) ตามตํารา โขลกผสมกันในครกไม้ ครกหินไม่ให้ใช้ เพราะจะเกิดประกายไฟลุกไหม้ระเบิดอันตรายมาก เฝ่าที่ใช้เป็นพลังขับเคลื่อนบอกไฟ ตามตําราต้องใช้เฝ่า ๔ เฝ่า ๕ เฝ่า ๖ ซึ่งมีพลังขับเคลื่อนไม่แรงนัก ถ้าใช้เฝ่า ๑ เฝ่า ๒ เฝ่า ๓ กําลังขับเคลื่อนแรงมากจะทำให้บอกไฟแตก (วิธีทำบอกไฟจะไม่ขอเล่าเพราะจะยาวเกินไป)การแห่แหนครัวทาน และบอกไฟไปถวายทาน และจุดเป็นพุทธบูชาพระบรมธาตุ แต่ละหมู่บ้าน คณะศรัทธาจะทำใหญ่โตมโหฬารยิ่ง การจัดรูปขบวนแห่ มีชายหญิงแต่งกายโบราณ เป็นระเบียบงามตา มีผู้อาวุโสถือพานเงิน ข้าวตอกดอกไม้ลำเทียน นําหน้าขบวน มีขบวน กลองแอว ประกอบด้วยฆ้องโหม่ง ๓ ลูก เล็ก กลาง ใหญ่ ฉาบใหญ่ ที่ประสานเสียงกันเป็นจังหวะจะโคน ฟังเพราะนุ่มนวล มีช่างฟ้อนเป็นชายล้วน ๆ เครื่องแต่งกายนุ่งโจงกระเบน หางกระรอก เสื้อคอกลม แขนสั้น มีผ้าขาวม้าคล้องคอแบบโบราณ (แปลกมาก เมืองน่าน ช่างฟ้อนผู้หญิงในสมัยนั้นหรือก่อนนั้น เท่าที่ผมจำได้ว่า ไม่มีเลย แต่มีมาในตอนหลังเรียกว่า “ฟ้อนล่องน่าน” แตกต่างกับของเชียงใหม่ มีฟ้อนเล็บ สืบทอดกันมานาน) สำหรับบอกไฟที่นําไปวางไว้ที่เรียกว่า “ขะแหยบอกไฟ” ใช้คนหาม ๔ คน ขะแหยบอกไฟทำเป็นการถาวร ใช้ไม้เนื้อแข็ง ประดับด้วยธงทิว ดอกไม้สดสวยงาม และอีกประการหนึ่งแต่ละขบวนแห่มีคํากลอนขับร้องหมู่เรียกว่า "กำฮ่ำบอกไฟ” เท่าที่จำได้ไม่ลืม คําฮ่ำบอกไฟมีดังนี้“สาธุก๋าน ยกมือหว่านไหว้ พุทธเทพไท้ ต๋นสัพพัญญู จูมหมู่ข้าตู๋ตกแต่งแป้ง สร้างบอกไฟขึ้นก๊าง จิเป๋นปู่จา ฮื้อหันกับต๋า ขึ้นป๋อมเมฆฝ้า สะหล่าตู๋ข้า จื่อหนาน ก๋าวงศ์ แต่งแป๋งยื่นยง พระธาตุเป็นเจ้า ซื้อนายน้องเหน้า ดักผ่อ ดังฟัง เสียงโหว้มันดัง เหมือนดอยจะปิ้น ฮ้างสาวติ้วซิ่น ต้าวล้มคว่ำหงาย เพราะความกั๋วตาย เสียงบอกไฟขึ้น ดังสนั่นปื้นแผ่นพสุธา ยกมือไหว้สาพระธาตุเป็นเจ้า ซื้อนายเหน้าร่วมกั๋นทำบุญ เป็นก๋านเกื้อหนุนต๋นบุญพระเจ้า บ่มีโศกเศร้าล่วงสู่นิพพาน” ดังนี้…บอกไฟของแต่ละคณะศรัทธาหมู่บ้านที่นําไปจุดเป็นพุทธบูชา พร้อมด้วยครัวทานจะต้องนําไปประเคนพระบรมธาตุ และถวายทาน เมื่อเสร็จแล้วต้องนําบอกไฟมายังที่ประทับของเจ้าผู้ครองนคร กราบทูลให้ทรงทราบว่าเป็นบอกไฟของคณะศรัทธาหมู่บ้านใด และขอรับ “วาร (ลำดับที่) กับขุนใน (อำมาตย์) ที่รับสั่งให้เป็นเจ้าหน้าที่ เมื่อแต่ละคณะศรัทธาได้รับวารแล้วก็จะแห่บอกไฟไป ณ ที่จุด (ก๊างบอกไฟ) กลางทุ่งนา ส่วนเจ้าผู้ครองนครน่านจะอยู่ทอดพระเนตร ณ ที่ประทับ ซึ่งทอดพระเนตรเห็นชัดเจน (สำหรับพระธาตุเขาน้อย ต้องเสด็จลงมาจากดอย ประทับทอดพระเนตร ณ พลับพลาถาวรซึ่งจัดไว้โดยเฉพาะ)บอกไฟที่นําไปจุดเป็นพุทธบูชาทุกขนาด ให้ถือว่าเป็นการแข่งขัน และจะได้รับรางวัลเป็น เงินสดจากเจ้าผู้ครองนคร มีรางวัล ๑, ๒, ๓ และรางวัลทั่วไป การแข่งขันไม่มีการแบ่งประเภท บอกไฟใหญ่ กลาง เล็ก การตัดสินขึ้นอยู่กับคณะกรรมการตัดสิน ซึ่งเจ้าผู้ครองนครน่านแต่งตั้ง ประกอบด้วยเจ้านายลูกหลานและอำมาตย์ไม่เกิน ๕ คน การตัดสินของคณะกรรมการเป็นเด็ดขาดรางวัลที่ ๑ ได้แก่ บอกไฟที่ขึ้น “กั่น” หมายความว่า ขึ้นไปจนสุดสายตาหรือหายเข้าไปในกลีบเมฆรางวัลที่ ๒ ได้แก่ บอกไฟที่ขึ้น “งาม” หรือขึ้นสุดควัน ตามสายตาของคณะกรรมการรางวัลที่ ๓ ได้แก่ บอกไฟที่ขึ้น “อ่อน” ตามสายตาของคณะกรรมการ รางวัลทั่วไป ได้แก่ บอกไฟที่ขึ้น “จะโล้ดโอ๊ดเอ็ด” (แค่หางพ้นค้าง) ขึ้น “สดหัว”ขึ้น “สดก้น” ขึ้น “สดข้าง” (เฝ่าหลังขับดันหลุดออกมาทั้งดุ้นกลางอากาศ) ขึ้น “แตก” (ขึ้นไปแตกกลางอากาศ) “แตก” (คาค้าง) “เยี่ยว” (ไม่ขึ้นเลย)บอกไฟจะนําขึ้นจุดตามวารที่ได้รับ ถ้ามีจำนวนมากเป็นอำนาจของคณะกรรมการจะให้ นําขึ้นจุดหลายบอกพร้อมกันก็ได้ บอกไฟที่ตัดสินแล้วแต่ละครั้งที่จุด คณะกรรมการจะมีใบบอก กราบทูลให้เจ้าผู้ครองนครทราบ เพื่อประทานรางวัลให้ โดยมอบใบบอกให้ “สะหล่า” ผู้ทํา บอกไฟถือไปสำหรับที่ขึ้นกั่น ขึ้นงามคณะศรัทธาจะให้สะหล่าผู้ทํา นั่งบนขะแหยบอกไฟ แห่แหน พร้อมกับขับร้องกําบอกไฟไปด้วย เป็นที่สนุกสนานยิ่งนัก เมื่อเจ้าผู้ครองนครทรงทราบตาม ใบบอกแล้วก็ประทานรางวัลให้ ดังนี้รางวัลที่ ๑ เป็นเงิน ๔ บาท (เงินแท้ ๘๐%)รางวัลที่ ๒ เป็นเงิน ๓ บาท (เงินแท้ ๘๐%)รางวัลที่ ๓ เป็นเงิน ๒ บาท (เงินแท้ ๘๐%)รางวัลทั่วไป เป็นเงิน ๑ บาท (เงินแท้ ๘๐%)เป็นกฎหมายตายตัวสำหรับสะหล่าผู้ทําบอกไฟที่ได้รับรางวัลทั่วไปคณะกรรมการจะจับตัวมาลูบหมิ่น (มอมดินหม้อ) ดำมืดทั้งตัว เหลือแค่ลูกนัยน์ตา เป็นการประจานเพราะทำบอกไฟไม่ขึ้น แล้วให้ถือใบบอกไฟพร้อมขบวนแห่เป็นที่ขบขันยิ่งนักบอกไฟที่นําขึ้นจุดแต่ละคณะศรัทธา เมื่อนําบอกไฟขึ้นค้างพร้อมแล้วเตรียมจุด ก่อนจุด สะหล่าผู้ทําจะขึ้นไปบนค้างกล่าวประกาศตามประเพณี เพื่อให้รู้ว่าบอกไฟที่จะขึ้นจุดเป็นพุทธ บูชาเป็นบอกไฟของคณะศรัทธาหรือหมู่บ้านใด เท่าที่ผมจำได้ไม่ลืมว่า ดังนี้“เหลียวๆ ก้อนแก้วยอดฟ้าสมสะไหล สอดต๋าไหลดั้นฟ้า ยกจ้าๆ (ช้า) ค่อย ฟังโตนมันเน้อนายเน้อ ขึ้นก็จิ (จุด) ปู่จา บ่อขึ้นก็จิปู่จา บอกไฟคณะศรัทธาวัด..." ดังนี้ อาจแปลความได้ว่า “จงฟังทางนี้ แม่นางน้องแก้ว โฉมไฉไลพี่เอย เจ้าจงสอดส่ายสายตามองดูที่กลีบเมฆ บอกไฟจะพุ่งขึ้นไปขวางลําตัวอยู่ที่นั่น แม้จะจุดชักช้าไปบ้าง ก็ขอให้ฟังเสียงกระหึมครึมครางของมัน ถึงจะขึ้นไม่ขึ้นก็ขอจุดเป็นพุทธบูชา ดังนี้เอกสารอ้างอิงบันทึกความทรงจำสำราญ จรุงจิตรประชารมย์. หจก.อิงค์เบอรี่ : น่าน. ๒๕๕๘.
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญร่วมโครงการเผยแพร่พระเกียรติคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 “กิจกรรมทวีปัญญา” ประจำปี 2567 ครั้งที่ 2 กำหนดจัดกิจกรรมเป็นการอภิปรายและการแสดง เรื่อง “ลงสรงทรงเครื่อง” โดย ดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก และคณะโรจน์จรัสฤทธิ์ วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ และยังสามารถรับชมการถ่ายทอดสด ผ่านช่องทาง Facebook Live ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ “National Library of Thailand” https://www.facebook.com/NationalLibraryThailand สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2282 3264
ภาชนะดินเผา Knobbed Wares
ภาชนะนำเข้าจากต่างประเทศ
สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ 2,100 – 2,000 ปีมาแล้ว
ภาชนะดินเผาแบบมีปุ่มนูนที่ก้นด้านในภาชนะ มีลักษณะเทียบได้กับภาชนะแบบมีปุ่มในอารยธรรมอินเดีย สันนิษฐานว่าเป็นสินค้านำเข้ามาจากต่างประเทศซึ่งแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันรับวัฒนธรรมจากต่างประเทศตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์
พบจากแหล่งโบราณคดีถ้ำเสือ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง
Imported pottery (Knobbed-Base Bowl)
Early historic period. 2,100-2,000 B.P.
This pottery has embossed button at the base inside bowl. Its pattern comparable with the same pattern pottery in Indian civilization. Assume that imported from oversea which show that Andaman coast area exchange cultural with oversea since early historic period.
Found at Sua cave, La-un district, Ranong province.
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1836834539736087&set=a.1836561556430052
https://www.facebook.com/ThalangNationalMuseum/posts/pfbid038A3fm8yxwrGCfXazveUcSnqudWoQfVBDFwBRejSHTubrqA2sHXKkfjGiN1jVQY9xl
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญชวนประชาชนร่วมงาน “วาระครบรอบปีอุรังคธาตุมรดกชาติสู่มรดกโลก” ในวันอังคารที่ 23 กรกฎาคม 2567 ณ ศาลาเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พบกับการแสดงขบวนนางรำบูชาองค์พระธาตุพนม พิธีเจริญพระพุทธมนต์ฉลองคัมภีร์ใบลาน นิทรรศการอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) การเสวนา “ความเชื่อ ความศรัทธา พุทธศาสนาในภาคอีสาน“ และการแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนพื้นเมืองจังหวัดนครพนม
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการบริหารองค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้คัมภีร์ใบลานอุรังคธาตุ จำนวน 10 ฉบับ ที่เก็บรักษาอยู่ ณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก ในการประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การยูเนสโก ครั้งที่ 216 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 ณ องค์การยูเนสโก กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเผยแพร่ความรู้และการสร้างการรับรู้ของประชาชน ในด้านมรดกความทรงจำแห่งโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชุมชนที่มีความเกี่ยวข้องในจังหวัดนครพนมและพื้นที่ใกล้เคียง จึงจัดกิจกรรมในโอกาสครบรอบ 1 ปี การขึ้นทะเบียน “คัมภีร์ใบลานเรื่องอุรังคธาตุ” เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและเผยแพร่ให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญ รู้สึกรักและภาคภูมิใจในมรดกวัฒนธรรมในท้องถิ่นอันเป็นความเชื่อทางศาสนาที่สืบต่อกันมา และเป็นการเผยแพร่เอกสารสำคัญที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำให้คนทั่วไปได้รับรู้ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดนครพนมอีกด้วย
คัมภีร์ใบลาน เรื่องอุรังคธาตุ เป็นคัมภีร์ใบลานที่จารขึ้นอย่างแพร่หลายในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในหมู่นักปราชญ์ทั้งในประเทศไทยและนานาประเทศว่าเป็นตำนานหรือนิทานอันศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับการเข้ามาของพระพุทธศาสนาในภูมิภาคนี้ เป็นความเชื่อและรากฐานของความทรงจำของภูมิภาคเกี่ยวกับตำนานการสร้างพระธาตุพนมอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการแสวงบุญของชาวพุทธมาแต่โบราณ สืบทอดมาถึงประชาชนชาวไทย - ลาวในภูมิภาคนี้จนถึงปัจจุบัน
กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย
- เวลา 08.00 - 09.00 น. การแสดงขบวนนางรำบูชาองค์พระธาตุพนม เพื่อเฉลิมฉลองการขึ้นทะเบียน “คัมภีร์ใบลานเรื่องอุรังคธาตุ” เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก โดยคณะครูและนักเรียนนาฏศิลป์โรงเรียนธาตุพนม ณ ลานธรรมหน้าวัดพระธาตุพนม
- เวลา 10.00 - 11.00 น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ฉลองคัมภีร์ใบลานเรื่องอุรังคธาตุ ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก โดยพระภิกษุสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ จำนวน 10 รูป ณ ศาลาเฉลิมพระเกียรติฯ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
- เวลา 10.00 – 16.00 น. นิทรรศการอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) มรดกความทรงจำแห่งโลก จัดโดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ, หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม, วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม, วัดศรีมงคล อำเภอท่าอุเทน, วัดศรีชมชื่น บ้านพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม, วัดพระธาตุเชิงชุม และมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ณ ชั้น 1 ศาลาเฉลิมพระเกียรติฯ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
- เวลา 13.00 - 16.00 น. การเสวนา เรื่อง “ความเชื่อ ความศรัทธา พุทธศาสนาในภาคอีสาน“ โดยวิทยากร พระธรรมวชิรโสภณ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร, นางสาวิตรี สุวรรณสถิต รองประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก), ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร ราชันย์ นิลวรรณาภา สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมลาว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยลัยมหาสารคาม, นางสาวเอมอร เชาวน์สวน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านภาษาโบราณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ, ดำเนินรายการโดยนางสาวบุบผา ชูชาติ บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ณ ศาลาเฉลิมพระเกียรติฯ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
- เวลา 10.00 – 16.00 น. การแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนพื้นเมืองจังหวัดนครพนม โดยหน่วยงานในจังหวัดนครพนมและชุมชนพื้นเมือง ณ บริเวณถนนด้านข้างศาลาเฉลิมพระเกียรติฯ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
ชื่อเรื่อง : ความเป็นมาและกิจกรรม ระหว่างปี 2546 - 2550 ของมูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณี
คำค้น : มูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณี
รายละเอียด : -
ผู้แต่ง : มูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณี
แหล่งที่มา : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : เอ. เอส. พี. ดีไซน์ พริ้นติ้ง
วันที่ : 2550
วันที่เผยแพร่ : 12 ตุลาคม 2567
ผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน : -
ลิขสิทธิ์ : -
รูปแบบ : PDF.
ภาษา : ภาษาไทย
ประเภททรัพยากร : หนังสือท้องถิ่น (ห้องจันทบุรี)
ตัวบ่งชี้ : 978-974-06-3733-0
รายละเอียดเนื้อหา : หนังสือให้ข้อมูลความเป็นมาและกิจกรรม ระหว่างปี 2546 - 2550 ของมูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณี ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินการ รายการเงินบริจาคที่มูลนิธิได้รับ บทความประจำฉบับ จำนวน 5 บทความ และรายนามคณะกรรมการมูลนิธิฯ
เลขทะเบียน : -
เลขหมู่ : 923.1593 ป114มค
ดวงใจกับความรัก: Duang chai kap khwam rak(never Mind the Hungry Men’s Blues)
เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๖
เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์ในพุทธศักราช ๒4๙๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงนิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษในงานเฉลิมพระชนมพรรษาปีนั้น (วันเสาร์ที่ ๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๐) หลังจากได้เสวยพระกระยาหาร และนักดนตรีได้รับประทานอาหารแล้ว ทรงพระราชทานชื่อว่า Never Mind the H.M. Blues เป็นการตอบปริศนาคำทายที่ว่า H.M.แปลว่าอะไรต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงนิพนธ์คำร้องภาษาไทย
Royal Composition Number 6
The sixth royal musical composition came in 1947 as a sequel to H.M. Blues. His Majesty tasked His Royal Highness Prince Chakrabhand Pensiri to write the English lyrics to the tune at his birthday party that year (Saturday, 6 December 1947) after he and members of the band had their supper. His Majesty named the new tune Never Mind the H.M. Blues as the answer to the quiz. He later had the Thai lyrics composed by Prince Chakrabhand as well.
วันพฤหัสบดีที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา โดยอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จัดโครงการบรรยายทางวิชาการ ประจำปี ๒๕๖๓ "กลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ และปราสาทปลายบัด สู่มรดกโลก" โดยมีนายอนุพงษ์ สุขสมนิตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นประธานในพิธีเปิด และนางชุติมา จันทร์เทศ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ ศาลาวนัมรุง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
ประมวลภาพการจัดกิจกรรมวันวิสาขบูชา วันธรรมสวนะ และวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ
ในการปลูกต้นไม้ ทำบุญถวายภัตาหารเพลพระสงฆ์ ทำวัตรสวดมนต์ ฟังการแสดงพระธรรมเทศนา
โดยข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร พร้อมด้วยประชาชนทั่วไป
การนำเข้าโบราณวัตถุเข้ามาในราชอาณาจักร
ขั้นตอนและวิธีการขออนุญาตนำโบราณวัตถุเข้ามาในราชอาณาจักรโบราณวัตถุที่จะขออนุญาตนำเข้ามาในราชอาณาจักร มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
๑. ประเภทของโบราณวัตถุ
โบราณวัตถุที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ได้แก่ โบราณวัตถุที่มีแหล่งกำเนิดในต่างประเทศ ประเภทพระพุทธรูป เทวรูป หรือรูปเคารพในศาสนา และชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบของโบราณสถานตามพิกัดอัตราอากรขาเข้า ประเภทที่ ๙๗๐๓.๐๐๙ แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
๑. พระพุทธรูป
๒. เทวรูปหรือรูปเคารพในศาสนา
๓. ชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบของโบราณสถาน
๒. วัตถุประสงค์ในการขอนำเข้ามาในราชอาณาจักร
๑. นำมาจัดแสดงเพื่อการศึกษาและเผยแพร่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว โดยมีกำหนดระยะเวลาในการจัดแสดง และส่งกลับไว้แน่นอน
๒. เพื่อการสักการบูชา ในปริมาณไม่เกิน ๒ ชิ้น
๓. เพื่อบริจาคให้แก่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ
๓. ระยะเวลาที่ขอนำเข้ามาในราชอาณาจักร
กรมศิลปากรจะได้พิจารณาอนุญาตเป็นกรณี ๆ ไป
๔. ผู้ขออนุญาตนำโบราณวัตถุเข้ามาในราชอาณาจักรจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
(๑) ผู้ขออนุญาตจะต้องไปซื้อแบบฟอร์มในการขออนุญาตนำเข้า (แบบ ข.๑ ข.๒ หรือ ข.๓ แล้วแต่กรณี) ที่กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี พร้อมกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ตามแบบฟอร์ม
(๒) ผู้ขออนุญาตทำหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากร โดยแจ้ง เรื่อง ขออนุญาตนำพระพุทธรูป หรือ เทวรูปหรือรูปเคารพในศาสนา หรือชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบของโบราณสถาน หรือทั้งหมด เข้ามาในราชอาณาจักร โดยแจ้งรายละเอียด จำนวน ชนิด ขนาด (กว้าง, ยาว, สูง เป็น เซนติเมตร) ของโบราณวัตถุ และระบุสถานที่เก็บโบราณวัตถุที่นำเข้าพร้อมหมายเลข โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
(๓) เอกสารแนบการขออนุญาตนำเข้าประกอบด้วย
๑. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ๒. สำเนาทะเบียนบ้าน ๓. หลักฐานการซื้อขาย ๔. ใบขนส่งสินค้า หรือ Invoice ๕. ถ้าเป็นโบราณวัตถุจะต้องขอใบอนุญาตนำของออกจากประเทศนั้นๆ ด้วย
(๔) ภาพถ่ายโบราณวัตถุที่ขออนุญาตนำเข้าเฉพาะด้านหน้า โดยถ่ายภาพ ๑ ครั้ง อัดพร้อมกันจำนวน ๒ ใบ ขนาด ๓ x ๕ นิ้ว
(๕) ผู้ขออนุญาตจะต้องทำหนังสือขออนุญาตด่านศุลกากรเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร เข้าตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุในคลังตามระเบียบกรมศุลกากร
(๖) ผู้นำเข้าจะต้องจัดพาหนะ รับ – ส่ง พนักงานเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ไปตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุนั้น ๆ
๕. สถานที่ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
• สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เลขที่ ๘๑/๑ ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ , โทรสาร ๐ ๒๖๒๘ ๕๐๓๓, ๐ ๒๒๘๑ ๖๗๖๖
• สำนักงานเลขานุการกรม กลุ่มนิติการ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๒ ๔๕๖๖, ๐ ๒๒๒๕ ๘๙๕๘ โทรสาร ๐ ๒๒๒๖ ๑๗๕๑