บอกไฟบูชาพระพุทธเจ้า
บอกไฟบูชาพระพุทธเจ้า
จากบันทึกความทรงจำสำราญ จรุงจิตรประชารมย์ มหาดเล็ก เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย
“ยกมือไหว้สาพระธาตุเป็นเจ้า ซื้อนายเหน้าร่วมกั๋นทำบุญ เป็นก๋านเกื้อหนุนต๋นบุญพระเจ้า บ่มีโศกเศร้าล่วงสู่นิพพาน”
ในเทศกาลนมัสการพระธาตุแช่แห้ง และพระธาตุเขาน้อย ตามประเพณีในสมัยเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน ซึ่งผมรู้เห็นและจำได้ พระองค์จะเสด็จฯ ไปนมัสการเป็นประจำทุกปีไม่เคยขาด ในการเสด็จฯ มีขบวนแห่แหนดังกล่าวข้างต้นแล้ว
งานเทศกาลนมัสการพระธาตุแช่แห้ง และพระธาตุเขาน้อย ปูชนียสถานที่สำคัญทั้งสองแห่ง เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ ทรงเป็นประธานงานนมัสการพระธาตุแช่แห้ง จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖ เหนือ พระธาตุเขาน้อยจะจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๘ เหนือของทุกๆ ปี ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ พระองค์จะเสด็จฯ พร้อมด้วยฝ่ายในและเจ้านายลูกหลาน (รวมทั้งผมด้วย) ไปประทับแรม ณ โฮงไม้สักหลังใหญ่ (อาจเทียบได้กับตําหนัก) ซึ่งปลูกไว้รับรองการเสด็จฯ โดยเฉพาะในตอนกลางคืน มีการฉลองสมโภชพระบรมธาตุจุดสะโป๊ก (พลุ) จุดบอกไฟดอก จุดบอกไฟเตียน (ไฟพะเนียง) และมีการแข่งขันการตีกลองแอว (กลองยาว) ซึ่งวัดวาอารามต่างๆ นํามาแข่งฉลองสมโภช วันรุ่งขึ้นเป็นวันนมัสการพระบรมธาตุ ตอนเช้าทำบุญตักบาตร พระองค์เป็นประธาน มีพุทธศาสนิกชนมาเฝ้ารับเสด็จฯ และร่วมการกุศลอย่างมากมาย ตอนสายมีคณะศรัทธา หมู่บ้านตำบลต่างๆ ในนครน่านแห่ครัวทาน และจุดบอกไฟขึ้น (บั้งไฟ) ไปถวายพระบรมธาตุเป็นพุทธบูชามากมาย
ในการจุดบอกไฟถวายเป็นพุทธบูชาเฉพาะพระธาตุแช่แห้ง มีตํานานเล่าว่าพญาก๋านเมือง ราชวงศ์ภูคาองค์ที่ ๕ เป็นเจ้าผู้ครองนครเมืองภูเพียงแช่แห้ง (นครน่าน) เมื่อจุลศักราช ๗๒๑ (พ.ศ. ๑๙๐๒) พญากําานเมืองได้รับพระราชทานสารีริกธาตุมาจากพระเจ้ากรุงสุโขทัย แล้วนํามาบรรจุลงในผอบเงิน ผอบทอง สองชั้น พอกด้วยสะตายจีน (ปูนขาวผสมทราย) ตําราจีนเป็นลูกกลมเกลี้ยง แล้วอัญเชิญวางลงในหลุมลึก ๑ วา ดอยภูเพียง (ปูเปียง) แช่แห้ง ซึ่งเป็นชัยภูมิดี แล้วก่อเจดีย์ทับไว้
ในการเฉลิมฉลองสมโภชเจดีย์ ประจุพระบรมสารีริกธาตุครั้งแรก (คําว่า “ประจุ” ใช้กับของสูง) ตามตํานานกล่าวว่า “พญาก๋านเมือง” รับสั่งให้พสกนิกรของพระองค์จัดทำบอกไฟมาจุดเป็นพุทธบูชาและเป็นประเพณีสืบต่อกันมา และรวมมาเป็นประเพณีถึงพระธาตุเขาน้อยด้วย สำหรับพระธาตุเขาน้อยนี้ พญาภูแข็ง ราชวงศ์ภูคาองค์ที่ ๑๒ เจ้าผู้ครองนครน่านเป็นผู้สร้าง (ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๔๙-๑๙๕๖) การจุดบอกไฟเป็นพุทธบูชาพระบรมธาตุทั้งสองแห่งนี้ เพิ่งเลิกเมื่อไม่นานมานี่เอง เพราะหาที่จุดไม่ได้ มีบ้านเรือนของราษฎรล้อมรอบอาณาบริเวณที่จุดดั้งเดิมไปหมดเกรงจะเกิดอันตราย
บอกไฟที่นําไปจุดเป็นพุทธบูชานี้มีหลายขนาด มีบอกไฟปัน (จำนวนพัน) บอกไฟหมื่น บอกไฟแสน และบอกไฟป้องเดียว การบอกขนาดของบอกไฟ โดยการชั่งนําหนักของดินไฟ (ดินประสิว) ที่ใช้เป็นพลังขับเคลื่อนเป็นตัวกำหนดบอกขนาด เช่น บอกไฟสองปัน (พัน) ที่ใช้ดินประสิวหนึ่งปัน (ประมาณ ๘ ขีด) เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นบอกไฟสองปัน สามปัน ถ้าหนักถึง ๑๐ ปัน เป็นบอกไฟหมื่น หนัก ๑๐ หมื่น เป็นบอกไฟแสน ส่วนมากที่ทำไม่เกินบอกไฟหมื่น สำหรับบอกไฟแสนนานๆ จะมีสักครั้ง แต่จะต้องเป็นบอกไฟของเจ้าผู้ครองนคร ราษฎรธรรมดาทำไม่ได้ เพราะขาดกําลังคนกําลังทรัพย์ การทำบอกไฟแสนใช้ต้นตาลคว้านไส้ในออก ทำเป็นตัวบอกไฟ หัวและหางต้องใช้ไม้ไผ่สีสุกขนาดใหญ่ การนําไปจุดต้องใช้ ขะแหย (ที่วาง) ขนาดใหญ่ชะลอ ลากไปด้วยกําลังคนจำนวนมาก เพราะใหญ่โตเหลือรับ เวลาจุดนําไปพาดหัวคันนากลางทุ่ง ค้างที่จุดทำเฉพาะบอกไฟไม่เกินบอกไฟหมื่นเท่านั้น ก่อนจุดต้องผูกมัดตัวบอกไฟอย่างแน่นหนากับเสาไม้สองเสา ซึ่งฝังไว้อย่างลึกคีบบอกไฟไว้ ป้องกันไม่ให้ขึ้นไปบนท้องฟ้าจะเป็นอันตราย นอกจากนี้ยังมีบอกไฟเล็ก บอกไฟน้อย อีกมากมาย เรียกว่า บอกไฟป้องเดียว
เฝ่า (ดินปืน) ที่ใช้เป็นพลังขับเคลื่อนบอกไฟ วิธีทำให้ดินไฟผสมกับถ่าน เผาจากไม้สัก และไม้มะริดไม้ (เพกา) ตามตํารา โขลกผสมกันในครกไม้ ครกหินไม่ให้ใช้ เพราะจะเกิดประกายไฟลุกไหม้ระเบิดอันตรายมาก เฝ่าที่ใช้เป็นพลังขับเคลื่อนบอกไฟ ตามตําราต้องใช้เฝ่า ๔ เฝ่า ๕ เฝ่า ๖ ซึ่งมีพลังขับเคลื่อนไม่แรงนัก ถ้าใช้เฝ่า ๑ เฝ่า ๒ เฝ่า ๓ กําลังขับเคลื่อนแรงมากจะทำให้บอกไฟแตก (วิธีทำบอกไฟจะไม่ขอเล่าเพราะจะยาวเกินไป)
การแห่แหนครัวทาน และบอกไฟไปถวายทาน และจุดเป็นพุทธบูชาพระบรมธาตุ แต่ละหมู่บ้าน คณะศรัทธาจะทำใหญ่โตมโหฬารยิ่ง การจัดรูปขบวนแห่ มีชายหญิงแต่งกายโบราณ เป็นระเบียบงามตา มีผู้อาวุโสถือพานเงิน ข้าวตอกดอกไม้ลำเทียน นําหน้าขบวน มีขบวน กลองแอว ประกอบด้วยฆ้องโหม่ง ๓ ลูก เล็ก กลาง ใหญ่ ฉาบใหญ่ ที่ประสานเสียงกันเป็นจังหวะจะโคน ฟังเพราะนุ่มนวล มีช่างฟ้อนเป็นชายล้วน ๆ เครื่องแต่งกายนุ่งโจงกระเบน หางกระรอก เสื้อคอกลม แขนสั้น มีผ้าขาวม้าคล้องคอแบบโบราณ (แปลกมาก เมืองน่าน ช่างฟ้อนผู้หญิงในสมัยนั้นหรือก่อนนั้น เท่าที่ผมจำได้ว่า ไม่มีเลย แต่มีมาในตอนหลังเรียกว่า “ฟ้อนล่องน่าน” แตกต่างกับของเชียงใหม่ มีฟ้อนเล็บ สืบทอดกันมานาน) สำหรับบอกไฟที่นําไปวางไว้ที่เรียกว่า “ขะแหยบอกไฟ” ใช้คนหาม ๔ คน ขะแหยบอกไฟทำเป็นการถาวร ใช้ไม้เนื้อแข็ง ประดับด้วยธงทิว ดอกไม้สดสวยงาม และอีกประการหนึ่งแต่ละขบวนแห่มีคํากลอนขับร้องหมู่เรียกว่า "กำฮ่ำบอกไฟ” เท่าที่จำได้ไม่ลืม คําฮ่ำบอกไฟมีดังนี้
“สาธุก๋าน ยกมือหว่านไหว้ พุทธเทพไท้ ต๋นสัพพัญญู จูมหมู่ข้าตู๋ตกแต่งแป้ง สร้างบอกไฟขึ้นก๊าง จิเป๋นปู่จา ฮื้อหันกับต๋า ขึ้นป๋อมเมฆฝ้า สะหล่าตู๋ข้า จื่อหนาน ก๋าวงศ์ แต่งแป๋งยื่นยง พระธาตุเป็นเจ้า ซื้อนายน้องเหน้า ดักผ่อ ดังฟัง เสียงโหว้มันดัง เหมือนดอยจะปิ้น ฮ้างสาวติ้วซิ่น ต้าวล้มคว่ำหงาย เพราะความกั๋วตาย เสียงบอกไฟขึ้น ดังสนั่นปื้นแผ่นพสุธา ยกมือไหว้สาพระธาตุเป็นเจ้า ซื้อนายเหน้าร่วมกั๋นทำบุญ เป็นก๋านเกื้อหนุนต๋นบุญพระเจ้า บ่มีโศกเศร้าล่วงสู่นิพพาน” ดังนี้…
บอกไฟของแต่ละคณะศรัทธาหมู่บ้านที่นําไปจุดเป็นพุทธบูชา พร้อมด้วยครัวทานจะต้องนําไปประเคนพระบรมธาตุ และถวายทาน เมื่อเสร็จแล้วต้องนําบอกไฟมายังที่ประทับของเจ้าผู้ครองนคร กราบทูลให้ทรงทราบว่าเป็นบอกไฟของคณะศรัทธาหมู่บ้านใด และขอรับ “วาร (ลำดับที่) กับขุนใน (อำมาตย์) ที่รับสั่งให้เป็นเจ้าหน้าที่ เมื่อแต่ละคณะศรัทธาได้รับวารแล้วก็จะแห่บอกไฟไป ณ ที่จุด (ก๊างบอกไฟ) กลางทุ่งนา ส่วนเจ้าผู้ครองนครน่านจะอยู่ทอดพระเนตร ณ ที่ประทับ ซึ่งทอดพระเนตรเห็นชัดเจน (สำหรับพระธาตุเขาน้อย ต้องเสด็จลงมาจากดอย ประทับทอดพระเนตร ณ พลับพลาถาวรซึ่งจัดไว้โดยเฉพาะ)
บอกไฟที่นําไปจุดเป็นพุทธบูชาทุกขนาด ให้ถือว่าเป็นการแข่งขัน และจะได้รับรางวัลเป็น เงินสดจากเจ้าผู้ครองนคร มีรางวัล ๑, ๒, ๓ และรางวัลทั่วไป การแข่งขันไม่มีการแบ่งประเภท บอกไฟใหญ่ กลาง เล็ก การตัดสินขึ้นอยู่กับคณะกรรมการตัดสิน ซึ่งเจ้าผู้ครองนครน่านแต่งตั้ง ประกอบด้วยเจ้านายลูกหลานและอำมาตย์ไม่เกิน ๕ คน การตัดสินของคณะกรรมการเป็นเด็ดขาด
รางวัลที่ ๑ ได้แก่ บอกไฟที่ขึ้น “กั่น” หมายความว่า ขึ้นไปจนสุดสายตาหรือหายเข้าไปในกลีบเมฆ
รางวัลที่ ๒ ได้แก่ บอกไฟที่ขึ้น “งาม” หรือขึ้นสุดควัน ตามสายตาของคณะกรรมการ
รางวัลที่ ๓ ได้แก่ บอกไฟที่ขึ้น “อ่อน” ตามสายตาของคณะกรรมการ
รางวัลทั่วไป ได้แก่ บอกไฟที่ขึ้น “จะโล้ดโอ๊ดเอ็ด” (แค่หางพ้นค้าง) ขึ้น “สดหัว”
ขึ้น “สดก้น” ขึ้น “สดข้าง” (เฝ่าหลังขับดันหลุดออกมาทั้งดุ้นกลางอากาศ) ขึ้น “แตก” (ขึ้นไปแตกกลางอากาศ) “แตก” (คาค้าง) “เยี่ยว” (ไม่ขึ้นเลย)
บอกไฟจะนําขึ้นจุดตามวารที่ได้รับ ถ้ามีจำนวนมากเป็นอำนาจของคณะกรรมการจะให้ นําขึ้นจุดหลายบอกพร้อมกันก็ได้ บอกไฟที่ตัดสินแล้วแต่ละครั้งที่จุด คณะกรรมการจะมีใบบอก กราบทูลให้เจ้าผู้ครองนครทราบ เพื่อประทานรางวัลให้ โดยมอบใบบอกให้ “สะหล่า” ผู้ทํา บอกไฟถือไปสำหรับที่ขึ้นกั่น ขึ้นงามคณะศรัทธาจะให้สะหล่าผู้ทํา นั่งบนขะแหยบอกไฟ แห่แหน พร้อมกับขับร้องกําบอกไฟไปด้วย เป็นที่สนุกสนานยิ่งนัก เมื่อเจ้าผู้ครองนครทรงทราบตาม ใบบอกแล้วก็ประทานรางวัลให้ ดังนี้
รางวัลที่ ๑ เป็นเงิน ๔ บาท (เงินแท้ ๘๐%)
รางวัลที่ ๒ เป็นเงิน ๓ บาท (เงินแท้ ๘๐%)
รางวัลที่ ๓ เป็นเงิน ๒ บาท (เงินแท้ ๘๐%)
รางวัลทั่วไป เป็นเงิน ๑ บาท (เงินแท้ ๘๐%)
เป็นกฎหมายตายตัวสำหรับสะหล่าผู้ทําบอกไฟที่ได้รับรางวัลทั่วไปคณะกรรมการจะจับตัวมาลูบหมิ่น (มอมดินหม้อ) ดำมืดทั้งตัว เหลือแค่ลูกนัยน์ตา เป็นการประจานเพราะทำบอกไฟไม่ขึ้น แล้วให้ถือใบบอกไฟพร้อมขบวนแห่เป็นที่ขบขันยิ่งนัก
บอกไฟที่นําขึ้นจุดแต่ละคณะศรัทธา เมื่อนําบอกไฟขึ้นค้างพร้อมแล้วเตรียมจุด ก่อนจุด สะหล่าผู้ทําจะขึ้นไปบนค้างกล่าวประกาศตามประเพณี เพื่อให้รู้ว่าบอกไฟที่จะขึ้นจุดเป็นพุทธ บูชาเป็นบอกไฟของคณะศรัทธาหรือหมู่บ้านใด เท่าที่ผมจำได้ไม่ลืมว่า ดังนี้
“เหลียวๆ ก้อนแก้วยอดฟ้าสมสะไหล สอดต๋าไหลดั้นฟ้า ยกจ้าๆ (ช้า) ค่อย ฟังโตนมันเน้อนายเน้อ ขึ้นก็จิ (จุด) ปู่จา บ่อขึ้นก็จิปู่จา บอกไฟคณะศรัทธาวัด..." ดังนี้ อาจแปลความได้ว่า “จงฟังทางนี้ แม่นางน้องแก้ว โฉมไฉไลพี่เอย เจ้าจงสอดส่ายสายตามองดูที่กลีบเมฆ บอกไฟจะพุ่งขึ้นไปขวางลําตัวอยู่ที่นั่น แม้จะจุดชักช้าไปบ้าง ก็ขอให้ฟังเสียงกระหึมครึมครางของมัน ถึงจะขึ้นไม่ขึ้นก็ขอจุดเป็นพุทธบูชา ดังนี้
เอกสารอ้างอิง
บันทึกความทรงจำสำราญ จรุงจิตรประชารมย์. หจก.อิงค์เบอรี่ : น่าน. ๒๕๕๘.
จากบันทึกความทรงจำสำราญ จรุงจิตรประชารมย์ มหาดเล็ก เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย
“ยกมือไหว้สาพระธาตุเป็นเจ้า ซื้อนายเหน้าร่วมกั๋นทำบุญ เป็นก๋านเกื้อหนุนต๋นบุญพระเจ้า บ่มีโศกเศร้าล่วงสู่นิพพาน”
ในเทศกาลนมัสการพระธาตุแช่แห้ง และพระธาตุเขาน้อย ตามประเพณีในสมัยเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน ซึ่งผมรู้เห็นและจำได้ พระองค์จะเสด็จฯ ไปนมัสการเป็นประจำทุกปีไม่เคยขาด ในการเสด็จฯ มีขบวนแห่แหนดังกล่าวข้างต้นแล้ว
งานเทศกาลนมัสการพระธาตุแช่แห้ง และพระธาตุเขาน้อย ปูชนียสถานที่สำคัญทั้งสองแห่ง เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ ทรงเป็นประธานงานนมัสการพระธาตุแช่แห้ง จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖ เหนือ พระธาตุเขาน้อยจะจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๘ เหนือของทุกๆ ปี ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ พระองค์จะเสด็จฯ พร้อมด้วยฝ่ายในและเจ้านายลูกหลาน (รวมทั้งผมด้วย) ไปประทับแรม ณ โฮงไม้สักหลังใหญ่ (อาจเทียบได้กับตําหนัก) ซึ่งปลูกไว้รับรองการเสด็จฯ โดยเฉพาะในตอนกลางคืน มีการฉลองสมโภชพระบรมธาตุจุดสะโป๊ก (พลุ) จุดบอกไฟดอก จุดบอกไฟเตียน (ไฟพะเนียง) และมีการแข่งขันการตีกลองแอว (กลองยาว) ซึ่งวัดวาอารามต่างๆ นํามาแข่งฉลองสมโภช วันรุ่งขึ้นเป็นวันนมัสการพระบรมธาตุ ตอนเช้าทำบุญตักบาตร พระองค์เป็นประธาน มีพุทธศาสนิกชนมาเฝ้ารับเสด็จฯ และร่วมการกุศลอย่างมากมาย ตอนสายมีคณะศรัทธา หมู่บ้านตำบลต่างๆ ในนครน่านแห่ครัวทาน และจุดบอกไฟขึ้น (บั้งไฟ) ไปถวายพระบรมธาตุเป็นพุทธบูชามากมาย
ในการจุดบอกไฟถวายเป็นพุทธบูชาเฉพาะพระธาตุแช่แห้ง มีตํานานเล่าว่าพญาก๋านเมือง ราชวงศ์ภูคาองค์ที่ ๕ เป็นเจ้าผู้ครองนครเมืองภูเพียงแช่แห้ง (นครน่าน) เมื่อจุลศักราช ๗๒๑ (พ.ศ. ๑๙๐๒) พญากําานเมืองได้รับพระราชทานสารีริกธาตุมาจากพระเจ้ากรุงสุโขทัย แล้วนํามาบรรจุลงในผอบเงิน ผอบทอง สองชั้น พอกด้วยสะตายจีน (ปูนขาวผสมทราย) ตําราจีนเป็นลูกกลมเกลี้ยง แล้วอัญเชิญวางลงในหลุมลึก ๑ วา ดอยภูเพียง (ปูเปียง) แช่แห้ง ซึ่งเป็นชัยภูมิดี แล้วก่อเจดีย์ทับไว้
ในการเฉลิมฉลองสมโภชเจดีย์ ประจุพระบรมสารีริกธาตุครั้งแรก (คําว่า “ประจุ” ใช้กับของสูง) ตามตํานานกล่าวว่า “พญาก๋านเมือง” รับสั่งให้พสกนิกรของพระองค์จัดทำบอกไฟมาจุดเป็นพุทธบูชาและเป็นประเพณีสืบต่อกันมา และรวมมาเป็นประเพณีถึงพระธาตุเขาน้อยด้วย สำหรับพระธาตุเขาน้อยนี้ พญาภูแข็ง ราชวงศ์ภูคาองค์ที่ ๑๒ เจ้าผู้ครองนครน่านเป็นผู้สร้าง (ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๔๙-๑๙๕๖) การจุดบอกไฟเป็นพุทธบูชาพระบรมธาตุทั้งสองแห่งนี้ เพิ่งเลิกเมื่อไม่นานมานี่เอง เพราะหาที่จุดไม่ได้ มีบ้านเรือนของราษฎรล้อมรอบอาณาบริเวณที่จุดดั้งเดิมไปหมดเกรงจะเกิดอันตราย
บอกไฟที่นําไปจุดเป็นพุทธบูชานี้มีหลายขนาด มีบอกไฟปัน (จำนวนพัน) บอกไฟหมื่น บอกไฟแสน และบอกไฟป้องเดียว การบอกขนาดของบอกไฟ โดยการชั่งนําหนักของดินไฟ (ดินประสิว) ที่ใช้เป็นพลังขับเคลื่อนเป็นตัวกำหนดบอกขนาด เช่น บอกไฟสองปัน (พัน) ที่ใช้ดินประสิวหนึ่งปัน (ประมาณ ๘ ขีด) เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นบอกไฟสองปัน สามปัน ถ้าหนักถึง ๑๐ ปัน เป็นบอกไฟหมื่น หนัก ๑๐ หมื่น เป็นบอกไฟแสน ส่วนมากที่ทำไม่เกินบอกไฟหมื่น สำหรับบอกไฟแสนนานๆ จะมีสักครั้ง แต่จะต้องเป็นบอกไฟของเจ้าผู้ครองนคร ราษฎรธรรมดาทำไม่ได้ เพราะขาดกําลังคนกําลังทรัพย์ การทำบอกไฟแสนใช้ต้นตาลคว้านไส้ในออก ทำเป็นตัวบอกไฟ หัวและหางต้องใช้ไม้ไผ่สีสุกขนาดใหญ่ การนําไปจุดต้องใช้ ขะแหย (ที่วาง) ขนาดใหญ่ชะลอ ลากไปด้วยกําลังคนจำนวนมาก เพราะใหญ่โตเหลือรับ เวลาจุดนําไปพาดหัวคันนากลางทุ่ง ค้างที่จุดทำเฉพาะบอกไฟไม่เกินบอกไฟหมื่นเท่านั้น ก่อนจุดต้องผูกมัดตัวบอกไฟอย่างแน่นหนากับเสาไม้สองเสา ซึ่งฝังไว้อย่างลึกคีบบอกไฟไว้ ป้องกันไม่ให้ขึ้นไปบนท้องฟ้าจะเป็นอันตราย นอกจากนี้ยังมีบอกไฟเล็ก บอกไฟน้อย อีกมากมาย เรียกว่า บอกไฟป้องเดียว
เฝ่า (ดินปืน) ที่ใช้เป็นพลังขับเคลื่อนบอกไฟ วิธีทำให้ดินไฟผสมกับถ่าน เผาจากไม้สัก และไม้มะริดไม้ (เพกา) ตามตํารา โขลกผสมกันในครกไม้ ครกหินไม่ให้ใช้ เพราะจะเกิดประกายไฟลุกไหม้ระเบิดอันตรายมาก เฝ่าที่ใช้เป็นพลังขับเคลื่อนบอกไฟ ตามตําราต้องใช้เฝ่า ๔ เฝ่า ๕ เฝ่า ๖ ซึ่งมีพลังขับเคลื่อนไม่แรงนัก ถ้าใช้เฝ่า ๑ เฝ่า ๒ เฝ่า ๓ กําลังขับเคลื่อนแรงมากจะทำให้บอกไฟแตก (วิธีทำบอกไฟจะไม่ขอเล่าเพราะจะยาวเกินไป)
การแห่แหนครัวทาน และบอกไฟไปถวายทาน และจุดเป็นพุทธบูชาพระบรมธาตุ แต่ละหมู่บ้าน คณะศรัทธาจะทำใหญ่โตมโหฬารยิ่ง การจัดรูปขบวนแห่ มีชายหญิงแต่งกายโบราณ เป็นระเบียบงามตา มีผู้อาวุโสถือพานเงิน ข้าวตอกดอกไม้ลำเทียน นําหน้าขบวน มีขบวน กลองแอว ประกอบด้วยฆ้องโหม่ง ๓ ลูก เล็ก กลาง ใหญ่ ฉาบใหญ่ ที่ประสานเสียงกันเป็นจังหวะจะโคน ฟังเพราะนุ่มนวล มีช่างฟ้อนเป็นชายล้วน ๆ เครื่องแต่งกายนุ่งโจงกระเบน หางกระรอก เสื้อคอกลม แขนสั้น มีผ้าขาวม้าคล้องคอแบบโบราณ (แปลกมาก เมืองน่าน ช่างฟ้อนผู้หญิงในสมัยนั้นหรือก่อนนั้น เท่าที่ผมจำได้ว่า ไม่มีเลย แต่มีมาในตอนหลังเรียกว่า “ฟ้อนล่องน่าน” แตกต่างกับของเชียงใหม่ มีฟ้อนเล็บ สืบทอดกันมานาน) สำหรับบอกไฟที่นําไปวางไว้ที่เรียกว่า “ขะแหยบอกไฟ” ใช้คนหาม ๔ คน ขะแหยบอกไฟทำเป็นการถาวร ใช้ไม้เนื้อแข็ง ประดับด้วยธงทิว ดอกไม้สดสวยงาม และอีกประการหนึ่งแต่ละขบวนแห่มีคํากลอนขับร้องหมู่เรียกว่า "กำฮ่ำบอกไฟ” เท่าที่จำได้ไม่ลืม คําฮ่ำบอกไฟมีดังนี้
“สาธุก๋าน ยกมือหว่านไหว้ พุทธเทพไท้ ต๋นสัพพัญญู จูมหมู่ข้าตู๋ตกแต่งแป้ง สร้างบอกไฟขึ้นก๊าง จิเป๋นปู่จา ฮื้อหันกับต๋า ขึ้นป๋อมเมฆฝ้า สะหล่าตู๋ข้า จื่อหนาน ก๋าวงศ์ แต่งแป๋งยื่นยง พระธาตุเป็นเจ้า ซื้อนายน้องเหน้า ดักผ่อ ดังฟัง เสียงโหว้มันดัง เหมือนดอยจะปิ้น ฮ้างสาวติ้วซิ่น ต้าวล้มคว่ำหงาย เพราะความกั๋วตาย เสียงบอกไฟขึ้น ดังสนั่นปื้นแผ่นพสุธา ยกมือไหว้สาพระธาตุเป็นเจ้า ซื้อนายเหน้าร่วมกั๋นทำบุญ เป็นก๋านเกื้อหนุนต๋นบุญพระเจ้า บ่มีโศกเศร้าล่วงสู่นิพพาน” ดังนี้…
บอกไฟของแต่ละคณะศรัทธาหมู่บ้านที่นําไปจุดเป็นพุทธบูชา พร้อมด้วยครัวทานจะต้องนําไปประเคนพระบรมธาตุ และถวายทาน เมื่อเสร็จแล้วต้องนําบอกไฟมายังที่ประทับของเจ้าผู้ครองนคร กราบทูลให้ทรงทราบว่าเป็นบอกไฟของคณะศรัทธาหมู่บ้านใด และขอรับ “วาร (ลำดับที่) กับขุนใน (อำมาตย์) ที่รับสั่งให้เป็นเจ้าหน้าที่ เมื่อแต่ละคณะศรัทธาได้รับวารแล้วก็จะแห่บอกไฟไป ณ ที่จุด (ก๊างบอกไฟ) กลางทุ่งนา ส่วนเจ้าผู้ครองนครน่านจะอยู่ทอดพระเนตร ณ ที่ประทับ ซึ่งทอดพระเนตรเห็นชัดเจน (สำหรับพระธาตุเขาน้อย ต้องเสด็จลงมาจากดอย ประทับทอดพระเนตร ณ พลับพลาถาวรซึ่งจัดไว้โดยเฉพาะ)
บอกไฟที่นําไปจุดเป็นพุทธบูชาทุกขนาด ให้ถือว่าเป็นการแข่งขัน และจะได้รับรางวัลเป็น เงินสดจากเจ้าผู้ครองนคร มีรางวัล ๑, ๒, ๓ และรางวัลทั่วไป การแข่งขันไม่มีการแบ่งประเภท บอกไฟใหญ่ กลาง เล็ก การตัดสินขึ้นอยู่กับคณะกรรมการตัดสิน ซึ่งเจ้าผู้ครองนครน่านแต่งตั้ง ประกอบด้วยเจ้านายลูกหลานและอำมาตย์ไม่เกิน ๕ คน การตัดสินของคณะกรรมการเป็นเด็ดขาด
รางวัลที่ ๑ ได้แก่ บอกไฟที่ขึ้น “กั่น” หมายความว่า ขึ้นไปจนสุดสายตาหรือหายเข้าไปในกลีบเมฆ
รางวัลที่ ๒ ได้แก่ บอกไฟที่ขึ้น “งาม” หรือขึ้นสุดควัน ตามสายตาของคณะกรรมการ
รางวัลที่ ๓ ได้แก่ บอกไฟที่ขึ้น “อ่อน” ตามสายตาของคณะกรรมการ
รางวัลทั่วไป ได้แก่ บอกไฟที่ขึ้น “จะโล้ดโอ๊ดเอ็ด” (แค่หางพ้นค้าง) ขึ้น “สดหัว”
ขึ้น “สดก้น” ขึ้น “สดข้าง” (เฝ่าหลังขับดันหลุดออกมาทั้งดุ้นกลางอากาศ) ขึ้น “แตก” (ขึ้นไปแตกกลางอากาศ) “แตก” (คาค้าง) “เยี่ยว” (ไม่ขึ้นเลย)
บอกไฟจะนําขึ้นจุดตามวารที่ได้รับ ถ้ามีจำนวนมากเป็นอำนาจของคณะกรรมการจะให้ นําขึ้นจุดหลายบอกพร้อมกันก็ได้ บอกไฟที่ตัดสินแล้วแต่ละครั้งที่จุด คณะกรรมการจะมีใบบอก กราบทูลให้เจ้าผู้ครองนครทราบ เพื่อประทานรางวัลให้ โดยมอบใบบอกให้ “สะหล่า” ผู้ทํา บอกไฟถือไปสำหรับที่ขึ้นกั่น ขึ้นงามคณะศรัทธาจะให้สะหล่าผู้ทํา นั่งบนขะแหยบอกไฟ แห่แหน พร้อมกับขับร้องกําบอกไฟไปด้วย เป็นที่สนุกสนานยิ่งนัก เมื่อเจ้าผู้ครองนครทรงทราบตาม ใบบอกแล้วก็ประทานรางวัลให้ ดังนี้
รางวัลที่ ๑ เป็นเงิน ๔ บาท (เงินแท้ ๘๐%)
รางวัลที่ ๒ เป็นเงิน ๓ บาท (เงินแท้ ๘๐%)
รางวัลที่ ๓ เป็นเงิน ๒ บาท (เงินแท้ ๘๐%)
รางวัลทั่วไป เป็นเงิน ๑ บาท (เงินแท้ ๘๐%)
เป็นกฎหมายตายตัวสำหรับสะหล่าผู้ทําบอกไฟที่ได้รับรางวัลทั่วไปคณะกรรมการจะจับตัวมาลูบหมิ่น (มอมดินหม้อ) ดำมืดทั้งตัว เหลือแค่ลูกนัยน์ตา เป็นการประจานเพราะทำบอกไฟไม่ขึ้น แล้วให้ถือใบบอกไฟพร้อมขบวนแห่เป็นที่ขบขันยิ่งนัก
บอกไฟที่นําขึ้นจุดแต่ละคณะศรัทธา เมื่อนําบอกไฟขึ้นค้างพร้อมแล้วเตรียมจุด ก่อนจุด สะหล่าผู้ทําจะขึ้นไปบนค้างกล่าวประกาศตามประเพณี เพื่อให้รู้ว่าบอกไฟที่จะขึ้นจุดเป็นพุทธ บูชาเป็นบอกไฟของคณะศรัทธาหรือหมู่บ้านใด เท่าที่ผมจำได้ไม่ลืมว่า ดังนี้
“เหลียวๆ ก้อนแก้วยอดฟ้าสมสะไหล สอดต๋าไหลดั้นฟ้า ยกจ้าๆ (ช้า) ค่อย ฟังโตนมันเน้อนายเน้อ ขึ้นก็จิ (จุด) ปู่จา บ่อขึ้นก็จิปู่จา บอกไฟคณะศรัทธาวัด..." ดังนี้ อาจแปลความได้ว่า “จงฟังทางนี้ แม่นางน้องแก้ว โฉมไฉไลพี่เอย เจ้าจงสอดส่ายสายตามองดูที่กลีบเมฆ บอกไฟจะพุ่งขึ้นไปขวางลําตัวอยู่ที่นั่น แม้จะจุดชักช้าไปบ้าง ก็ขอให้ฟังเสียงกระหึมครึมครางของมัน ถึงจะขึ้นไม่ขึ้นก็ขอจุดเป็นพุทธบูชา ดังนี้
เอกสารอ้างอิง
บันทึกความทรงจำสำราญ จรุงจิตรประชารมย์. หจก.อิงค์เบอรี่ : น่าน. ๒๕๕๘.
(จำนวนผู้เข้าชม 473 ครั้ง)