ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ
ลัทธิธรรเนียมต่าง ๆ ภาคที่ 25 การเล่นเพลง. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2479. กล่าวถึงการเล่นเพลงของประชาชนชาวชนบท จะพบขนบธรรมเนียมประเพณี ความเป็นอยู่ของประชาชนชาวบ้านที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ ประกอบด้วย เพลงโคราช เพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงสงฟาง เพลงพิสถาน เพลงพวงมาลัย และเพลงระบำ
สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครรชาสีมาเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอล ๕ คน"เพื่อนพิมาย ๒๕๑๗ คัพ" ครั้งที่ ๑๘เฉลิมพระเกียรติ ๕ ธันวามหาราชในชื่อทีม "...ท่านาง 12..."--- ผลการแข่งขัน นัดแรกแพ้ 2:4 นัดที่สองชนะ 2:1เข้ารอบเป็นที่ ๒ ในสาย Q --- ณ สนามกีฬาประตูชัย โรงเรียนพิมายวิทยาอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อหนังสือ : ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติ รัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
ผู้แต่ง : คณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างหอสมุดแห่งชาติรัชมัคลาภิเษก เชียงใหม่
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๓๒
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ
หนังสือที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมัคลาภิเษก เชียงใหม่ เพื่อบันทึกประวัติหอสมุดแห่งชาติ รัชมัคลาภิเษก เชียงใหม่ เพื่อบันทึกคุณงามความดีของผู้มีส่วนร่วมในการจัดตั้งและบริจาคทุนทรัพย์ และเพื่อให้ข้อมูลสังเขปของ ๑๗ จังหวัดภาคเหนือ โดยมีจุดมุ่งหมายว่า หอสมุดแห่งชาติแห่งนี้ จะเป็นศูนย์รวมและให้บริการความรู้และข่าวสารระดับชาติในภาคเหนือ
ชื่อเรื่อง ทุคคตะสอนบุตร พาลีสอนน้อง พิเภกสอนเบญกาย และ กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ผู้แต่ง ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ.ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณคดีเลขหมู่ 808.882 ป169ทศสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ปีที่พิมพ์ 2506ลักษณะวัสดุ 82 หน้า หัวเรื่อง กวีนิพนธ์ไทย – รวมเรื่องภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกทุคคตะสอนบุตร พาลีสอนน้อง พิเภกสอนเบญกาย และ กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ จัดพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระศรีสัจญาณมุนี (สวน จิตฺตาสาโท)
กู่โพนวิจ ตั้งอยู่บ้านกู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด อยู่ห่างจากกู่กาสิงห์ ไปทางทิศเหนือประมาณ ๕๐๐ เมตร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง หน้า ๙ วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๔ มีพื้นที่ประมาณ ๒ ไร่ ๓ งาน ๓๖ ตารางวา ชื่อ “กู่โพนวิจ” มาจากการพบหลักฐานส่วนฐานรูปเคารพสี่เหลี่ยมผืนผ้า บริเวณเนินโบราณสถานจำนวนหลายชิ้น ประกอบกับพบชิ้นส่วนรางน้ำมนต์ ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นฐานส้วม จึงเรียกโบราณสถานแห่งนี้ว่า “โพนเว็จ” หรือ “โพนวิจ” กู่โพนวิจ ลักษณะเป็นอาคาร ๕ หลัง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ส่วนฐานอาคารก่อด้วยศิลาแลง แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สูงจากพื้นดินประมาณ ๒ เมตร ก่อเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงาย ไม่พบบันไดทางขึ้นสันนิษฐานว่าเดิมอาจใช้บันไดไม้ภายหลังได้ผุพังสลายไป เพราะมีร่องรอยของหลุมเสาบนฐานศิลาแลง ซึ่งน่าจะเป็นหลุมเสาไม้ แนวฐานด้านทิศเหนือหายไปเนื่องจากถูกขุดเอาศิลาแลงไปสร้างวัดประจำหมู่บ้าน ในสมัยหลัง พื้นบนฐานเป็นทรายอัดแน่นปูด้วยศิลาแลง บนฐานศิลาแลงก่อเป็นฐานอาคารสูงประมาณ ๗๐ เซนติเมตร จำนวน ๕ ฐาน สันนิษฐานว่าเป็นฐานรองรับอาคารเครื่องไม้ ด้านหน้าทิศตะวันออกของ ฐานอาคาร มีอาคารสองหลังตั้งอยู่ ลักษณะเป็นอาคารผังรูปสี่เหลี่ยมก่อผนังทึบทั้ง ๔ ด้าน อาคารด้าน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือถูกรื้อจนเหลือเพียงแนวหินชั้นเดียว ส่วนอาคารทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงสภาพเกือบสมบูรณ์ ภายในเป็นดินอัดแน่น สันนิษฐานว่าเป็นอาคารเครื่องไม้ที่มีฐานสูง ใช้เป็นบรรณาลัยประจำศาสนสถาน จากการขุดแต่งโบราณสถานและขุดตรวจชั้นดินทางโบราณคดี ใน พ.ศ. ๒๕๔๕ ทำให้ทราบว่า กู่โพนวิจสร้างขึ้นบนพื้นที่ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย เนื่องจากพบโบราณวัตถุสมัย ก่อนประวัติศาสตร์และภาชนะบรรจุศพขนาดใหญ่ ซึ่งสัมพันธ์กับประเพณีการฝังศพครั้งที่ ๒ ในภาชนะดินเผา ที่มักพบในแหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้ ต่อมาเมื่อเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ จึงมีการสร้างศาสนสถานเนื่องในศาสนาฮินดูขึ้น โดยพิจารณาจากโบราณวัตถุที่พบ ซึ่งส่วนมากเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าในศาสนาฮินดู โดยเฉพาะพระนารายณ์และพระศิวะ เนื่องจากพบท่อนพระกรและพระหัตถ์ ของพระนารายณ์ในขนาดต่างๆกัน และจากการขุดแต่งยังพบแท่นโยนีมีช่องเดือย เป็นรูป ๘ เหลี่ยม ซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับศิวลึงค์ อันเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของพระศิวะ นอกจากนี้ยังพบทวารบาลรูปมหากาล ซึ่งมักพบในเทวสถานของพระศิวะ ----------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวศุภภัสสร หิรัญเตียรณกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี ----------------------------------------------อ้างอิงจาก สำนักงานศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี. โบราณสถาน กู่โพนวิจ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. ม.ป.ท. : ม.ป.ป. (อัดสำเนา)
ชื่อเรื่อง นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน ครั้งกรุงธนบุรี เมื่อปีฉลู พ.ศ.2324 ผู้แต่ง มหานุภาพ, พระยาประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณกรรมเลขหมู่ 895.9112 ม237นฉสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์วิบูลกิจปีที่พิมพ์ 2503ลักษณะวัสดุ 42 หน้า หัวเรื่อง นิราศ กวีนิพนธ์ไทย หนังสืออนุสรณ์งานศพ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก เนื้อหาภายในประกอบด้วย กล่าวถึงเรื่องราวครั้งพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงแต่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีต่อพระเจ้ากรุงจีน แผ่นดินเขี้ยนหลง ณ กรุงปักกิ่ง
วัดศรีชุมตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองตรงมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือพอดี สิ่งสำคัญที่ปรากฏอยู่โดดเด่น ได้แก่ อาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ภายในอาคาร มีขนาดหน้าตักกว้างประมาณ ๑๑.๓๐ เมตร เชื่อกันว่าชื่อพระพุทธรูปเรียกตามที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า พระอจนะ มีความหมายว่า ผู้ไม่หวั่นไหว สร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย องค์ที่เห็นในปัจจุบันนี้ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ราวปี พ.ศ. ๒๔๙๖ - ๒๔๙๙
.
คำว่า ศรี มาจากคำเรียกพื้นเมืองเดิมของไทยว่า สะหลี ซึ่งหมายถึงต้นโพธิ์ ดังนั้นชื่อศรีชุม จึงหมายถึง ดงของต้นโพธิ์ แต่ในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่เขียนในสมัยอยุธยาตอนปลาย ไม่เข้าใจความหมายนี้แล้ว จึงเรียกสถานที่นี้ว่า ฤๅษีชุม ว่าเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มาประชุมทัพกันอยู่ที่นั้น ก่อนที่จะยกทัพไปปราบเมืองสวรรคโลก อันเป็นต้นตอของตำนานเรื่อง พระพุทธรูปพูดได้ ที่เล่าขานกันต่อมา