ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 57/7ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 20 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 10/6ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 44 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ยาว 53.9 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
เลขทะเบียน : นพ.บ.503/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 167 (205-215) ผูก 5 (2566)หัวเรื่อง : รามชาตก--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
องค์ความรู้: สำนักหอสมุดแห่งชาติ เรื่อง: นักเรียนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ไปเยี่ยมหอพระสมุดวชิรญาณ
วันที่ 14 มิถุนายน 2467
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ ทำหนังสือทูลหม่อมเจ้าพูนศรีเกษม คณบดี คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ได้พานักเรียนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปเยี่ยมชมหอพระสมุดมีศาสตราจารย์ เซเดส์และเจ้าพนักงานหลายท่านได้แสดงบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์
จากหลักฐานที่ปรากฏ มีนักเรียนจุฬาฯ เขียนเล่าการเยี่ยมหอพระสมุดไว้อย่างน่าสนใจ ขอคัดมาเฉพาะบางส่วนที่ทำให้เห็นภาพว่าบรรยากาศภายในหอสมุดปิยมหาราชรฦก (อาคารถาวรวัตถุ) เดิมเป็นอย่างไรในอดีต
วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน เวลา 10.00 น. นักเรียนที่เรียนประวัติศาสตร์ได้ขึ้นรถยนต์จากคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ณ หอวังประทุมวัน (สันนิษฐานว่าคือวังวินด์เซอร์ หรือวังกลางทุ่งบริเวณสนามกีฬาแห่งชาติในปัจจุบัน) ไปยังหอพระสมุด ซึ่งนักเรียนคณะรัฐประศาสนศาสตร์และนักเรียนฝึกหัดครูมาเข้าร่วมด้วยราว 100 คน เมื่อเข้าไปในประตูหอพระสมุดแล้วขึ้นไปทางซ้ายมือจะเห็นป้ายบอก ชื่อห้องแรก “ห้องสมุห์บัญชี” อักษร จ ห้องนี้หมายถึงห้องข้างในเป็นห้องที่อนุญาตให้เที่ยวชมสิ่งของต่าง ๆ และมีหนังสือของหอพระสมุดขายด้วย
ห้อง ฉ ช ซ ฌ ญ ทั้ง 5 ห้องนี้เป็นที่รวบรวมพระไตรปิฎกต่าง ๆ มีหนังสือวินัยและพระสูตรจารลงในใบลานมัดเป็นผูกไว้อย่างเรียบร้อย รวมทั้งตู้ลายรดน้ำก่อนรัตนโกสินทร์
ห้อง ด ต เป็นห้องที่เก็บรูปต่าง ๆ มีตู้สำหรับเก็บแผนที่สยาม ตู้เก็บรูปภาพต่างประเทศทั้งรูปเขียนและรูปถ่าย ตู้สำหรับเก็บรูปพระสงฆ์ ตู้สำหรับเก็บพระรูปและรูปถ่ายของเจ้านายต่าง ๆ
ห้อง ถ มีลายพระราชหัตถเลขา ร.3-6 และลายมือของพระราชาคณะต่าง ๆ มีตู้เก็บหนังสือไทยและฝรั่ง
ห้อง น เป็นเลขานุการซึ่งหน้าที่สั่งการแก่กรรมการหรือเป็นผู้ดูแลกิจการแทนกรรมการ ในห้องนี้มีตู้ใส่หนังสือที่พิมพ์ออกจากหอพระสมุดสำหรับใช้สอบสวนต่าง ๆ (เข้าใจว่าจะหมายถึงคลังพิสูจน์หรือคลังสิ่งพิมพ์ในเวลาต่อมา)
ห้อง บ เป็นห้องพนักงานจัดการพิมพ์ มีหน้าที่โต้ตอบกิจการต่าง ๆ และมีหน้าที่เก็บหนังสือสำรองการพิมพ์หนังสือต่างๆ
ห้อง ป ผ เรียกว่าห้องแผนกสมุดพิมพ์มีตู้บรรจุ หนังสือเป็นเล่มต่าง ๆ หนังสือในห้องนี้แบ่งออกเป็น 2 แผนกคือแผนกพิมพ์ และแผนกเขียน
ห้อง ฝ พ ฟ เป็นห้องที่รวบรวมหนังสือที่เขียนด้วยสมุดไทย
ห้อง ภ เป็นห้องที่รวบรวมหนังสือที่เขียนใบลานและสมุดไทยวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ ตามระเบียงมีหนังสือที่นำมาจากห้องข้างในสำหรับให้มหาชนมองเห็นโดยง่าย มีตำราเขียนเป็นรูปภาพว่าด้วย ช้าง ม้า และฟ้อนรำเป็นต้น มีหีบสำหรับใส่พระธรรมต่าง ๆ มีศิลาจารึกภาษาสันสกฤตและไทยโบราณ
เบื้องขวาทางประตูทางเข้าหอสมุด มีห้องอ่านหนังสือสำหรับประชาชน ห้องบรรณารักษ์ ห้องผู้ช่วยบรรณารักษ์ ห้องอ่านหนังสือพิมพ์รายเดือน รายวันทั้งไทยและเทศ
เมื่อชมสิ่งต่าง ๆ ทั่วถึงแล้ว เวลา 12.45 น. นักเรียนวิชาประวัติศาสตร์ได้อำลาท่านศาสตราจารย์ เซเดส์ขึ้นรถยนต์กลับจุฬาฯ
น่าสังเกตว่าช่วงนั้น ยังไม่มีการใช้คำว่า “นิสิต” “นักศึกษา” สำหรับผู้ที่ศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และคณะวิทยาศาสตร์แยกออกมาจาก “คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์” ภายหลัง
ปีนี้ ปีพุทธศักราช 2566 ครบรอบ 99 ปี การเยือนหอพระสมุดครั้งแรกของมหาวิทยาลัยแห่งแรกของสยาม จากบันทึกดังกล่าวทำให้เห็นประโยชน์ของการเยี่ยมชมหอพระสมุด ไม่ใช่แต่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้นที่มาเยี่ยมชมหอสมุดแห่งชาติ หลายสถาบัน โรงเรียนหรือองค์กรต่าง ๆ นั้นมาเยี่ยมชมต่อเนื่องมาถึงทุกวันนี้
*ภาพไม่เกี่ยวกับเนื้อหาของเรื่อง แต่ต้องการให้เห็นบรรยากาศภายในหอพระสมุดในช่วงเวลาดังกล่าว
--------------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง :
กัณฐิกา ศรีอุดม. “รัชกาลที่ 6 กับหอพระสมุดสำหรับพระนคร: ศึกษาผ่านงานเขียนของบุคคลร่วมสมัย.” วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 43 (สิงหาคม 2561 - กรกฎาคม 2562): 2-17.
หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2543.
ศธ.10/91 นักเรียนมหาวิทยาลัยไปดูหอพระสมุดสำหรับพระนคร
สบ.14.8 /298 บทความเรื่อง “การไปเยี่ยมหอพระสมุดสำหรับพระนคร” คัดจาก”มหาวิทยาลัย” รายเดือน จัดทำโดยคณะนักเรียนในจุฬาฯ เล่ม 2 ตอนที่ 5 พ.ศ.2467 หน้า 388-400
ที่มาภาพ :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ภ 002 หวญ 41/4 ห้องอ่านหนังสือ แผนกต่างประเทศของหอพระสมุด
รฟท 31/1 ระเบียงตึกแดง
ผู้เรียบเรียง: นายบารมี สมาธิปัญญา นักวิชาการเผยแพร่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
กราฟิก: นายชลิต ปรีชากุล นายช่างศิลปกรรม สำนักหอสมุดแห่งชาติ
วันพุธที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. นางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ และนายนพรัศม์ เมธีวราธนานันท์ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ ได้รับประสานว่ามีการขุดพบโบราณวัตถุในพื้นที่บริเวณโนนยาง บ้านโนนขวาว ต.น้ำเขียว อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ จึงเดินทางไปตรวจสอบซึ่งเป็นแท่นหินบด และลูกหินบด และตรวจสอบบริเวณที่ขุดพบเป็นพื้นที่ทำนาอยู่ห่างจากหมู่บ้านโนนขวาวประมาณ ๕๐๐ เมตร พร้อมรับมอบโบราณวัตถุดังกล่าวมาเก็บรักษาเพื่อศึกษาต่อไป
รู้หรือไม่ว่า การอ่านออกเสียงนั้น มีผลดีต่อความจำมากกว่าการอ่านในใจนะ ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู พบว่า การอ่านออกเสียงนั้นส่งผลดีต่อระบบความจำ ช่วยให้เกิดความจำระยะยาว เมื่อเราอ่านออกเสียง และได้ยินเสียงของตัวเองไปพร้อมๆ กัน การกระทำเช่นนี้จะช่วยให้สมองสามารถจดจำได้ดีกว่าการอ่านในใจ โดยการศึกษานี้ได้ทดสอบโดยใช้ 4 วิธี ได้แก่ การอ่านเงียบๆ การฟังเสียงบันทึกที่คนอื่นอ่าน การฟังเสียงบันทึกที่ตนเองอ่าน และการอ่านออกเสียง ผลลัพธ์จากการทดสอบกับผู้เข้าร่วม 95 คน พบว่าผลจากการอ่านออกเสียงส่งผลดีต่อการจดจำได้ดีที่สุด ซึ่งบ่งบอกได้ว่าความจำไม่ได้เกิดจากการได้ยินเท่านั้น แต่ยังมาจากการพูดด้วย นอกจากส่งผลดีในเรื่องความจำแล้ว การอ่านออกเสียงยังมีข้อดีอื่นๆ ทั้งการช่วยสร้างสมาธิ กระตุ้นสมองและการรับรู้ ระบบประสาททำงานสอดคล้องกัน สำหรับเด็กที่ฝึกอ่านออกเสียงบ่อยๆ จะทำให้พูดได้เร็วยิ่งขึ้นด้วย ข้อมูลอ้างอิงhttp://www.praphansarn.com/home/content/1616https://thematter.co/social/lets-read-it-out-loud/62677https://www.sciencedaily.com/rel.../2017/12/171201090940.htmhttps://www.scilearn.com/little-known-truths-about.../E-book มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียงhttps://bookscape.co/wp-content/uploads/2020/12/มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง-Web.pdfเรียบเรียงโดย นางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่#อ่านออกเสียง#บรรณารักษ์ชวนรู้
กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดกิจกรรมสุดพิเศษ “Night at The Palace ย้อนเวลา ชมวัง 4 ศตวรรษ พระราชวังจันทรเกษม” ยลโฉมความงามของโบราณสถานสำคัญอันเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในช่วงเวลาค่ำคืน พร้อมด้วยกิจกรรมอีกมากมาย เริ่ม 2 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้มอบนโยบายให้กรมศิลปากรส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยเปิดให้ประชาชนเข้าชมโบราณสถานยามค่ำ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากวัดไชยวัฒนาราม และวัดราชบูรณะแล้ว กรมศิลปากรได้เปิดให้เข้าชมพระราชวังจันทรเกษม โบราณสถานสำคัญอันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชในสมัยกรุงศรีอยุธยาช่วงค่ำคืน ทุกวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ เวลา 16.30 - 21.00 น. (ซื้อบัตรเข้าชมได้ถึงเวลา 20.30 น.) โดยภายในงานมีกิจกรรมพิเศษ ประกอบด้วย - กิจกรรมนำชมพระราชวังสุดพิเศษ "นำชม รอบเปิดวัง" ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 18.30 น. เป็นต้นไป - กิจกรรม “ชวน ชม ชิม” ฉลองเดือนแห่งความรักที่วังจันทน์ - กิจกรรม “ชาววัง ชวนขึ้นหอ” ชมทัศนียภาพของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยายามค่ำคืน จากหอพิสัยศัลลักษณ์ หอส่องกล้องยุคแรกเริ่มของสยาม หนึ่งในอาคารที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นตามแนวรากฐานของเดิมที่หลงเหลืออยู่มาตั้งแต่สมัยอยุธยา เพื่อใช้เป็นที่ศึกษาดาราศาสตร์ และในเวลาต่อมาเมื่อพระราชวังจันทรเกษมถูกใช้เป็นที่ทำการมณฑลกรุงเก่า หอสูงหลังนี้จึงถูกเปลี่ยนหน้าที่การใช้งานมาเป็นหอสังเกตการณ์และติดเครื่องสัญญาณเตือนภัยของมณฑลกรุงเก่า ซึ่งกิจกรรม“ชาววัง ชวนขึ้นหอ” จัดขึ้น 1 ปี เพียง 1 ครั้ง หากใครพลาดงานนี้ต้องรอยาวไปถึงปีหน้าเลย - กิจกรรม “สายมู ยูต้องมา” สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำวัง พร้อมทั้งเชิญชวนแต่งชุดไทยเข้าชมพระราชวัง ถ่ายรูปกับมุมสวยๆ ภายในพระราชวังจันทรเกษม นอกจากนี้ ยังเปิดพื้นที่ภายในพระราชวังจันทรเกษม ให้หน่วยงาน องค์กร ภาคส่วนต่าง ๆ ร่วมแสดงกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม การสาธิต การประดิษฐ์งานศิลปะในช่วงเวลาดังกล่าว พระราชวังจันทรเกษม เป็นพระราชวังเดิมตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2120 เพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวร และในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมเพื่อใช้เป็นที่ประทับแปรพระราชฐาน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้เป็น “ที่ว่าการมณฑลเทศาภิบาล” ซึ่งพระราชวังจันทรเกษม นับเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนภูมิภาคแห่งแรก ก่อตั้งโดยพระยาโบราณราชธานินทร์ เรียกชื่อว่า โบราณพิพิธภัณฑ์ อยุธยาพิพิธภัณฑสถาน และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ตามลำดับ ขอเชิญชวนแต่งชุดไทย เที่ยวชมโบราณสถานยามค่ำ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทุกวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ เวลา 16.30 - 21.00 น. ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2567 อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท (ผู้พิการ และชาวไทยผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี เข้าชมฟรี) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 0 3525 1586 E-mail : wangchantra@gmail.com
องค์ความรู้ เรื่อง ต้นไม้มงคล
เรียบเรียง นางสาวกาญจนา ศรีเหรา บรรณารักษ์