ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ



แนะนำหนังสือให้อ่านเรื่อง"CONCENTRATION บอกลาสมาธิสั้น" ไนต์, คาม. Concentration บอกลาสมาธิสั้น. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ฮาวทู, 2563. 304 หน้า. 295 บาท. สมาธิคือจิตใจที่จดจ่อ เป็นคุณสมบัติของใจที่เราทุกคนมีอยู่ สัมผัสได้ แต่นำมาใช้ประโยชน์ได้เต็มที่มากหรือน้อยต่างกัน เนื้อหาในเล่มนี้บอกถึง ความหมายของสมาธิคืออะไร ทำไมจึงสำคัญ ความเข้าใจเรื่องการตระหนักรู้ การกล่อมตัวเอง ภาพในความคิด การจัดการกับความคิด และความรู้สึก การสนใจรายละเอียด การฝึกร่างกาย สิ่งรบกวนคืออะไร ทั้งภายนอกและภายใน ความปรารถนาที่ไม่เป็นจริง อาการเสพติด วิถีชีวิต กิจวัตร และสภาพแวดล้อม 158.1 น976บ (ห้องหนังสือทั่วไป)


          สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมการแสดงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ในวันศุกร์ที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. รับฟังเพลงสมเด็จพระราชินี ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานขึ้นใหม่ และบทเพลงเฉลิมพระเกียรติ ที่ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานขึ้นใหม่สำหรับวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร อาทิเพลง ลาวดวงเดือน หนึ่งในร้อย To Love You More เป็นต้น รวมทั้งยังมีการแสดงระบำมยุราภิรมย์            สามารถติดตามชมผ่านทาง Facebook Fanpage: สำนักการสังคีต กรมศิลปากร และ National Symphony Orchestra of Thailand


     วันขึ้นปีใหม่ไทย ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๕ เมษายนของทุกปี หรือที่รู้จักกันในชื่อ “วันสงกรานต์” โดยคำนี้มีที่มาจากภาษาสันสกฤตว่า “สํ - กรานต” แปลว่าการก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรืออีกความหมายหนึ่ง คือ การขึ้นศักราชใหม่ จึงนับเป็นวันปีใหม่ไทยสืบมา กระทั่งรัฐบาลได้กำหนดวันปีใหม่ตามปฏิทินสากลเป็นวันที่ ๑ มกราคม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ซึ่งกิจกรรมที่นิยมในช่วงนี้ นอกจากทำบุญตักบาตร รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ สรงน้ำพระแล้ว อีกกิจกรรมที่ขาดไม่ได้ คือ การประกวดนางสงกรานต์ อิงตามตำนานนางสงกรานต์ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ คือ “นางรากษสเทวี” เสด็จไสยาสน์หลับเนตรมาเหนือหลังวรวาหะ (หมู หรือ สุกร)        หากพูดถึงความเชื่อในเรื่องโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ “หมู” คงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ใครหลายคนนำมาเป็นตัวแทนของสิ่งมงคลที่ช่วยเสริมสร้างโชคลาภ ดังจะเห็นได้จากหมูในวัฒนธรรมจีนที่สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ ความร่ำรวย และโชคลาภ ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีข้าวของเครื่องใช้ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับความตาย คือ ภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์รูปหมู ที่แสดงถึงการเป็นสังคมเกษตรกรรม อีกทั้งยังสะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์       และเพื่อให้เข้ากับคอนเทนต์หมู หมู วันนี้ (๒๙ เมษายน ๒๕๖๔) เพจคลังกลางฯ ขอนำเสนอหนังใหญ่รูปเกวียนลิงเทียมหมู จัดอยู่ในหมวดหนังเบ็ดเตล็ดและเป็นหนังรถ กล่าวได้ว่าเป็นหมวดที่ใช้เป็นฉากประกอบ มีลักษณะเป็นแผ่นหนังฉลุลาย ลงสี เป็นรูปเกวียนมีหลังคาเทียมด้วยหมูหนึ่งคู่ มีเสนาลิงหลายตัวนั่งอยู่ในเกวียน ลิงตัวหนึ่งเป็นสารถี ลิงตัวหนึ่งถือธงรบ และอีกสองตัวนั่งอยู่บนหลังคาเกวียน หนังใหญ่ดังกล่าวเป็นหนังชุดพระนครไหว ซึ่งเป็นหนังใหญ่ที่แสดงถึงฝีมือของช่างหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้อย่างประณีตงดงาม ต่อมาได้ถูกไฟไหม้เมื่อครั้งที่ประดับอยู่ที่ฝาผนังโรงละครศิลปากร โดยในสมัยรัชกาลที่ ๙ ได้มีการนำหนังใหญ่ชุดพระนครไหวมาซ่อม – สร้างเพิ่มเติมจนสามารถนำกลับมาใช้แสดงใหม่ได้อย่างสมบูรณ์         เทคนิคภาพโดย อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ เผยแพร่และเรียบเรียงโดย ณัฐดนัย อรุณมาศ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร


งานอนุรักษ์...เป็นงานที่ต้องอาศัยระยะเวลา ในการทำความเข้าใจกับวัสดุที่กำลังเสื่อมสภาพ ชำรุดทรุดโทรม ว่าอะไรคือสาเหตุที่ก่อเกิดปัญหา และวัสดุเหล่านั้นคืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง... ใช่เพียงแค่การมองอย่างผิวเผิน แล้วสรุปอย่างง่ายดาย สิ่งที่เห็นด้วยตาก็อย่างหนึ่ง สิ่งที่ได้จากการตรวจสอบก็อาจให้ผลอีกอย่างหนึ่ง ที่อาจจะสอดคล้องหรือขัดแย้งกันก็เป็นได้ นอกจากสภาพปัจจุบัน เรื่องราวในอดีตที่เกี่ยวข้องก็อาจส่งผลกระทบได้ ทั้งการอนุรักษ์ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดหลายสิบปี อาจรวมถึงลักษณะทางภูมิสถาปัตย์ ที่ส่งผลต่อทิศทางลม แสงแดด ฯลฯ การตรวจสอบไม่อาจสำเร็จเพียงครั้งเดียว และไม่อาจสำเร็จได้เพียงเจ้าหน้าที่ฝ่ายเดียว ในงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะทาง จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีความชำนาญ เชี่ยวชาญ และรับฟัง แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ด้วยจิตใจที่เปิดกว้าง ปราศจากอคติ...โดยมีเป้าหมายเพื่อพิทักษ์รักษา ทรัพย์สมบัติ อันเป็นมรดกของประเทศชาติ งานอนุรักษ์จึงเปรียบเสมือนเรื่องราวที่ไม่มีวันจบสิ้น...จุดสิ้นสุดของงานในวันนี้ จึงอาจเป็นจุดเริ่มของเรื่องราวใหม่ ที่รอการตรวจสอบและอนุรักษ์ในวันข้างหน้าต่อไป...




ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           28/7ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               48 หน้า : กว้าง 4.9 ซม. ยาว 54.7 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันกีฬาแห่งชาติ 16 ธันวาคม” วันกีฬาแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 16 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหา ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นตัวแทนของนักกีฬาทีมชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ที่กรุงเทพฯ รัฐบาลได้ทำการส่งเสริมทางด้านการส่งเสริมทางด้านกีฬาไทยด้วยดีเสมอมาเพราะตระหนักถึงคุณค่าและความ สำคัญของการเล่นกีฬา นอกจากจะเป็นการออกกำลังกายแล้ว ยังทำให้ร่างกายสดชื่นแข็งแรง การกีฬายังเป็นเครื่องช่วยผ่อนคลายความเครียด ช่วยปรับปรุงในด้านความคิดและอุปนิสัยให้ประชาชนในชาติ เป็นผู้มีความเสียสละ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย และมีความสามัคคีต่อกัน เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงเป็นตัวแทนของนักกีฬาทีมชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ที่กรุงเทพฯ และทรงชนะเลิศได้รับเหรียญทองในการแข่งขันเรือใบประเภท โอ.เค. ซึ่งถือได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ทางการกีฬาของประเทศไทย พระองค์ทรงมีความรู้แตกฉานในทางเรือใบ และทำให้พระองค์ทรงสามารถคิดค้นออกแบบและต่อเรือที่จะทรงใช้เป็นอุปกรณ์ในการแข่งขันที่เหมาะสมกับพระองค์มากที่สุดด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง เรือใบพระที่นั่งประเภท โอ.เค ที่ทรงใช้ในการแข่งขัน พระราชทานชื่อว่า “นวฤกษ์” นอกเหนือจากกีฬาเรือใบแล้ว แบดบินตันก็เป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ ทรงโปรดปรานมากเช่นกัน ในหอประชุมวังจิตรลดาฯ ได้ปรับแต่งเป็นสนามแบดมินตันมาตรฐาน ส่วนมากพระองค์จะทรงแบดมินตันในตอนเย็นและวันศุกร์ และเช้าวันอาทิตย์ พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ ทางการกีฬานี้ เป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลกว่า พระองค์ทรงเป็นนักกีฬาอย่างแท้จริงและทรงสนับสนุนกีฬาจนเป็นที่ปรากฏชัด ดังนั้นในการประชุมใหญ่คณะกรรมการโอลิมปิกสากลครั้งที่ 29 ที่เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี โดยมีนายฮวน อันโตนีโอ ซามาร้านซ์ ประธานคณะโอลิมปิกสากล เป็นประธานการประชุมพร้อมทั้งสมาชิกเข้าร่วมประชุมอีก 87 ประเทศ ได้มีมติเอกฉันท์ให้ทูลเกล้าฯถวายเหรียญดุษฎีกิตติมศักดิ์ของโอลิมปิกสากล คือ "อิสริยาภรณ์โอลิมปิกชั้นสูงสุด" (ทอง) แด่องค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ณ ศาลาดุสิตาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก ที่ทรงได้รับการทูลเกล้าฯถวายเหรียญโอลิมปิกชั้นสูง สมควรที่นักกีฬาและประชาชนชาวไทยควรที่จะเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท อันจะเป็นโอกาสให้สามารถนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติและวงศ์ตระกูล เพื่อเป็นการระลึกถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงเป็นนักกีฬาตัวแทนของชาติไทย ในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 และเพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนชาวไทยเห็นคุณค่าความสำคัญของการกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย จึงได้มีมตินำเสนอคณะรัฐมนตรีลงความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2529 กำหนดให้วันที่ 16 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวัน "วันกีฬาแห่งชาติ" อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี #องค์ความรู้ #วันกีฬาแห่งชาติ #พระบรมชนกาธิเบศร #รัชกาลที่9 #หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกจันทบุรี #กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กรมศิลปากร #สำนักศิลปากรที่5ปราจีนบุรี #กรมศิลปากร #กระทรวงวัฒนธรรม


          วันเสาร์ที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกรมศิลปากร วางพวงมาลาถวายราชสักการะ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระบวรราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณโรงละครแห่งชาติ โดยมีข้าราชการ เหล่าทัพ หน่วยงานต่างๆ และประชาชนเข้าร่วมในพิธี    กรมศิลปากร ร่วมกับชมรมกองทุนพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (๗ มกราคม) เป็นประจำทุกปี โดยจัดพิธีถวายราชสักการะและพิธีบวงสรวงถวายเครื่องสักการะสังเวย ณ พระบวรราชานุสาวรีย์ฯ โรงละครแห่งชาติ และบำเพ็ญกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร           นอกจากนี้ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ได้จัดการบรรเลงปี่พาทย์เสภา ณ บริเวณลานหน้าพระบวรราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงละครแห่งชาติ เพื่อถวายกตเวทิตาคุณ น้อมรำลึกถึงพระเกียรติคุณและพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระคุณูปการอย่างอเนกอนันต์ต่อบ้านเมืองและศิลปวัฒนธรรมของชาติ      พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระราชสมภพ ณ พระราชวังเดิม เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๓๕๑ ทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ร่วมพระอุทรกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศบวรราชาภิเษกเป็นสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือที่ออกพระนามกันว่า "วังหน้า" มีพระเกียรติยศเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปรีชาสามารถในศิลปศาสตร์หลายสาขา ทั้งการช่าง การปกครอง การทหาร และศิลปกรรม โดยทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือเป็นพระองค์แรก นอกจากนี้ ทรงโปรดทางศิลปะ ทั้งดนตรี กวี และนาฏศิลป์ ทรงริเริ่มประดิษฐ์ระนาดทุ้มเหล็กขึ้น โดยมีการจัดเล่นประกอบกับระนาดแบบเดิม รวมเป็นเครื่องดนตรี ๔ ชนิด เรียกว่า "ปี่พาทย์เครื่องใหญ่" เบื้องปลายพระชนม์ชีพ  พระองค์ประทับ ณ พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ พระราชวังบวรสถานมงคล (ปัจจุบันอยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) จนกระทั่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๐๘  




สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 137/5 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 172/7กเอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อผู้แต่ง         สมาคมคหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์. ชื่อเรื่อง           วารสารคหเศรษฐศาสตร์ (ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๐๘) ครั้งที่พิมพ์       -สถานที่พิมพ์     พระนครสำนักพิมพ์       โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์ ปีที่พิมพ์          ๒๕๐๘ จำนวนหน้า      ๕๘ หน้ารายละเอียด           วารสารคหเศรษฐศาสตร์เป็นวารสารที่มีจุดประสงค์ เพื่อเผยแพร่ ให้ความรู้ทางวิชาการต่างๆ สำหรับแม่บ้าน และเพื่อการศึกษาค้นคว้า ของนักเรียน นักศึกษา ซึ่ง ฉบับที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๐๘ ให้ความรู้เกี่ยวกับการกินเพื่อรักษาทรวดทรง การใช้เงิน ปัญหาเกี่ยวกับการปลูกสร้างบ้าน และสิ่งที่แม่บ้านควรศึกษา  


Messenger