ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ


องค์ความรู้ เรื่อง โบราณคดี บรรพชีวิน มรดกจากผืนดิน ความต่างที่เหมือนกัน (ตอนจบ) จัดทำโดย นายจุลเกียรติ ไพบูลย์เกษม กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี


ชื่อเรื่อง : บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ เล่ม 3 ชื่อผู้แต่ง : พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา จำนวนหน้า : 340 หน้า สาระสังเขป : พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงคัดเลือกเรื่องรามเกียรติ์บางตอนมาพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่สำหรับเล่นละครหลวง ได้มีการตัดเรื่องเดิมและเปลี่ยนแปลงบ้างเพื่อให้เหมาะสมกับการเล่นละคร บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ เล่ม 3 เริ่มจากตอนหนุมานเข้าห้องนางสุวรรณกันยุมา ทศกัณฐ์ล้ม ราชาภิเษกพระราม จนถึงตอนพระรามพานางสีดากลับเมือง และต่อท้ายด้วยคำพากษ์รามเกียรติ์ และบทละครจับระบำ


ชื่อเรื่อง : บทละครเรื่องพระมะเหลเถไถ, บทละครเรื่องอุณรุทร้อยเรื่อง และบทละครเรื่องระเด่นลันได ผู้แต่ง : คุณสุวรรณ และพระมหามนตร (ทรัพย์) ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : เฟื่องอักษร



ชื่อหนังสือ :  ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก สงขลา   ผู้แต่ง : กรมศิลปากร   ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๐   สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)                        หนังสือที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก สงขลา ให้รายละเอียดเกี่ยวกับพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  คนดีศรีทักษิณ ฯพณฯ พลเอกเปรมติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ  ฯพณฯพลเอกเปรมติณสูลานนท์กับการดำเนินงานก่อสร้างหอสมุดแห่งชาติในส่วนภูมิภาค   ๑๔ จังหวัดภาคใต้ของไทย และการพัฒนาหอสมุดแห่งชาติในปัจจุบั




หนังสือชุดกวีนิพนธ์ เรื่อง วาสิตถี





องค์ความรู้ เรื่อง เกร็ดความรู้น่าสนใจจากจารึกวัดพระงาม จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์


องค์ความรู้ เรื่อง จารึกฐานพระพุทธรูปศิลา เมืองศรีเทพจัดทำข้อมูลโดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย


วัดราชธานี ตำบลธานี อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย . บทความโดยนางรัตติยา ไชยวงศ์ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย . . วัดราชธานีตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม ในเขตตำบลธานี อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ไม่ปรากฏหลักฐานทางเอกสารว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ภายในวัดมีโบราณสถานคืออุโบสถเก่าก่ออิฐถือปูน ตัวอาคารมีมุขหน้า-หลัง มีประตูด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกด้านละ ๒ ประตู หลังคาเป็นเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ประกอบด้วยชั้นลดสามชั้น ชั้นละสี่ตับ ส่วนชั้นหลังคาของมุขโถงหน้า-หลังนั้นมีเพียงสามตับล่าง โดยหน้าบันเป็นชุดของหลังคาชั้นถัดขึ้นไป ดังนั้น หน้าบันกับหลังคามุขหน้าหลังจึงเป็นหลังคาคนละชุด ภายในอุโบสถปูพื้นด้วยกระเบื้องเคลือบลวดลายพันธุ์พฤกษา มีฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูป ตัวอาคารล้อมรอบด้วยพนักระเบียงซึ่งมีพื้นปูนเป็นทางเดินรอบ พนักระเบียงมีบันไดทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ด้านละ ๒ ช่อง โดยมีประติมากรรมสิงห์ปูนปั้นประดับที่เชิงบันไดทั้ง ๒ ข้าง ซุ้มเสมา หลักฐานจากภาพถ่ายเก่าพบว่า เป็นซุ้มเสมาทรงกูบตั้งอยู่ทั้ง ๘ ทิศ จากรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เหลืออยู่ สันนิษฐานว่า อาคารหลังนี้น่าจะก่อสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย-สมัยต้นรัตนโกสินทร์และคงมีการบูรณะซ่อมแซมในช่วงรัชกาลที่ ๕ – รัชกาลที่ ๖ . . เอกสารที่กล่าวถึงวัดราชธานีปรากฏในพระนิพนธ์เรื่อง “ระยะทางสมเด็จพระมหาสมณเจ้าเสด็จตรวจการคณะสงฆ์มณฑลฝ่ายเหนือ” ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ กล่าวถึงวัดราชธานีไว้ว่า “..วัดนี้มีถาวรวัตถุเปนชิ้นเปนอันหลายอย่าง โบสถ์วิหารก่อด้วยอิฐมุงกระเบื้อง มีช่อฟ้าใบรกาหน้าจั่วสลักลาย ในนั้นมีพระประธานอย่างสุโขทัย.” . . ในวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๐๑ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือและทรงเยี่ยมเยียนประชาชนรวมทั้งจังหวัดสุโขทัย และเสด็จมาสักการะพระพุทธรูปภายในอุโบสถวัดราชธานีดังที่ปรากฏในภาพยนตร์ส่วนพระองค์ . . ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เมืองสุโขทัยเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ อุโบสถวัดราชธานีก็ได้รับผลกระทบจากเพลิงไหม้ด้วยและถูกทิ้งร้างไม่ได้ใช้งานอีก ในเวลาต่อมาวัดราชธานีมีการปรับปรุงพื้นที่โดยรอบ นำดินมาถมปรับพื้นที่และสร้างอุโบสถหลังใหม่ ทำให้ส่วนฐานของอุโบสถหลังนี้ต่ำกว่าระดับพื้นดินปัจจุบันค่อนข้างมาก ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ กรมศิลปากรได้จัดสรรงบประมาณตามโครงการก่อสร้างบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์วัดราชธานี (บูรณะอุโบสถวัดราชธานี) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะอนุรักษ์โบราณสถานและสถานที่อันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จมาเยือน การดำเนินงานบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์วัดราชธานี มีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้   ๑. ดำเนินการเก็บวัสดุเดิม ส่วนตกแต่งเดิมนำกลับมาใช้ให้มากที่สุด ได้แก่ อิฐก่อเดิม กระเบื้องมุงหลังคาเดิม รูปปูนปั้นสิงห์เดิม กระเบื้องปูพื้นเดิม บัวหัวเสาเดิม ต้องพยายามสงวนรักษาและตัดยกนำมาใช้ให้มากที่สุด พนักระเบียงเดิม, ฐานชุกชีเดิมและฐานเสมาเดิมทำการตัดยก วัสดุเดิมเหล่านี้ต้องเก็บรักษาให้ดีและนำกลับมาติดตั้ง ณ ตำแหน่งเก่าตามที่ได้บันทึกภาพและขั้นตอนการดำเนินงานไว้ ๒. ดำเนินการสำรวจรังวัดเก็บขนาดและรูปแบบอาคารให้ตรงกับของเดิมที่สุด เปรียบเทียบกับภาพถ่ายเดิมก่อนเพลิงไหม้และดำเนินการขุดตรวจเก็บข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีให้ครบถ้วน ๓. รักษาตำแหน่งอาคารตามเดิมให้มากที่สุด แต่ต้องอนุรักษ์คลองรากอาคารเดิมและส่วนที่เหลือใต้ดินไว้ด้วย โดยที่โครงสร้างใหม่ต้องไม่ทำลายหลักฐานของอาคารเดิม ดังนั้น การปฏิสังขรณ์อุโบสถวัดราชธานีจึงกำหนดให้อาคารที่จะสร้างใหม่ตั้งเยื้องจากแนวอาคารเดิมทั้งแนวแกน x และ y ไม่เกิน ๑.๕๐ ถึง ๑.๘๐ เมตร ๔. โครงสร้างหลังคาส่วนที่เป็นไม้ เนื่องจากเพลิงไหม้ทำให้เสียหายค่อนข้างมากไม่อาจอนุรักษ์วัสดุเดิม จึงได้ปรับเปลี่ยนเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อความมั่นคงแข็งแรง มีการรับรองทางวิศวกรรมและพยายามตกแต่งหน้าตัด คานลอยให้ดูคล้ายหน้าตัดคานไม้เดิม โดยกำหนดขนาดให้เป็นไปตามการคำนวณทางวิศวกรรมปฏิสังขรณ์ (Reconstuction) เพื่อให้มีขนาด รูปแบบ ตามข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด๕. ระดับการใช้งานของอาคาร เมื่อดำเนินการอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์แล้ว ควรตอบสนองต่อการใช้งานในปัจจุบัน



Messenger