ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,382 รายการ


นิตยสารศิลปากร ฉบับที่ 5 ก.ย. - ต.ค. พ.ศ.2543


ชื่อเรื่อง : ครบรอบ 90 ปี โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี คำค้น : โรงเรียนเบญจมราชูทิศ รายละเอียด : จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 90 ปี โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2544 ผู้แต่ง : คณะทำงานจัดทำหนังสือที่ระลึก โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี แหล่งที่มา : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี หน่วยงานที่รับผิดชอบ : โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี วันที่ : 2544 วันที่เผยแพร่ : 12 ตุลาคม 2567 ผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน : - ลิขสิทธิ์ :  - รูปแบบ : PDF. ภาษา : ภาษาไทย ประเภททรัพยากร : หนังสือท้องถิ่น (ห้องจันทบุรี) ตัวบ่งชี้ : - รายละเอียดเนื้อหา : หนังสือที่ระลึกครบรอบ 90 ปี โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี เนื้อหาแบ่งออกเป็น 5 ตอน ได้แก่ เกียรติประวัติวันวาน มงคลกาลเก้าสิบปี ศรีสง่าสถาบัน ร่วมสังสรรค์ส่งเสริม เริ่มจากศิษย์ที่หนึ่ง นอกจากจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการก่อตั้ง ประวัติความเป็นมา และเกียรติคุณของโรงเรียนแล้ว ยังมีทำเนียบนามนักเรียนมากกว่า 20,000 คน ซึ่งได้คัดลอกจากทะเบียนโรงเรียนเล่มแรกจนถึงทะเบียนเล่มล่าสุด เลขทะเบียน : - เลขหมู่ : 373.224 ร925ศ  


            สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมการแสดงในงานกาชาด ประจำปี ๒๕๖๗ ณ เวทีกลาง สวนลุมพินี ในวันเสาร์ที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๙.๓๐ น. พบกับการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอนพิเภกสวามิภักดิ์ - หอกกบิลพัสดุ์ นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต กำกับการแสดงโดย สมชาย อยู่เกิด, อำนวยการแสดงโดย ศิริพงษ์ ทวีทรัพย์ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต              และวันอาทิตย์ที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๗เวลา ๑๙.๓๐ น. พบกับการแสดงละครนอก เรื่องแก้วหน้าม้า ตอนถวายลูก - ถอดรูป นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต กำกับการแสดงโดย หัสดินทร์ ปานประสิทธิ์,อำนวยการแสดงโดย ศิริพงษ์ ทวีทรัพย์ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต              สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒


ชื่อเรื่อง : 100 ปี อำเภอสะเมิง (พ.ศ.2445-2545) ผู้แต่ง : บรรเลง สุปี ปีที่พิมพ์ : 2545 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : อำเภอสะเมิง       เนื่องในวาระโอกาสครบรอบการก่อตั้งอำเภอสะเมิง 100 และเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองการจัดงาน "สะเมิง 100 ปีของดีเลื่องชื่อ เลื่องลือสตอเบอรี่" ระหว่างวันที่14-15 กุมภาพันธ์ 2546 ของอำเภอสะเมิง หนังสือ "100 ปี สะเมิง" จึงเป็นแรงผลักดัน และสนับสนุนหนึ่งต่อการจัดดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ทั้งยังช่วยให้ทราบถึงรายละเอียดวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ประเพณี วัฒนธรรม การประกอบอาชีพ แหล่งท่องเที่ยว การคมนาคมและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามรอยอาระยะธรรมแห่งความสุข



แสงเทียน: Saeng Thian  (Candlelight Blues)   เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 1           เพลงพระราชนิพนธ์แสงเทียนเป็นเพลงแรก ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนเมษายน พุทธศักราช 2489    ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงนิพนธ์คำร้องภาษาไทย แต่เนื่องจากมีพระราชประสงค์ที่จะทรงแก้ไขทำนองและคอร์ดบางตอนจึงยังไม่โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้นำออกมาบรรเลงในเวลานั้น ซึ่งศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ  ณ นคร เล่าว่า “...สมเด็จพระอนุชาฯ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ) ตรัสว่าเพลงแสงเทียนนี้เศร้าเกินไปในตอนท้ายๆ คล้ายๆ ว่าทนทรมานมามากแล้วจะกราบลา...” ท่านจักรพันธ์ฯ จึงกราบบังคมทูลว่า  “...เนื่องจากเป็นเพลงบลูส์ เพลงบลูส์ของอเมริกันนิโกรก็เศร้าๆ อย่างนี้...” แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า “...ถึงแม้จะเศร้าก็จริง แต่ตอนท้ายของเพลงนั้น เขาต้องมีปรัชญาชีวิตว่าจะต่อสู้ต่อไป ยังมีความหวังอยู่...”       ต่อมาได้พระราชทานให้นำออกมาบรรเลงครั้งแรกพุทธศักราช ๒๔๙๐ และในพุทธศักราช ๒๔๙๖ นางสาวสดใส วานิชวัฒนา (รองศาสตราจารย์สดใส พันธุมโกมล) ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษถวาย   Royal Composition Number 1           Saeng Thian (Candlelight Blues) is the first musical composition written in April of 1946 while His Majesty was entitled His Royal Highness the Royal Younger Brother. He assigned His Royal Highness Prince Chakrabhand Pensiri to write lyries in Thai, But since His Majesty felt that he needed to adjust certain parts of the tune and chords, it was not released for public performance then. Professor Prasert Na Nagara related that "...His Royal Highness the Royal Younger Brother (His Majesty King Bhumibol Adulyadej) said that this song was too melancholic in the ending part which ran as Having suffered so long, I would now take leave..." Prince Chakrabhand then told him that "...Since it was a blues tune. The Afro-American blues are melancholic..." To this His Majesty responded that "...Sad as it may sound, the song always end with a philosophic message, to fight on, and that there is hope still..."           His Majesty later gave the composition to be performed for the first time in 1947, and in 1953, Miss Sodsai Vanijvadhana (Associate Professor Sodsai Pantoomkomol) penned the lyrics in English for His Majesty as Candlelight Blues.


วันอังคารที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ นางชุติมา จันทร์เทศ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา เป็นประธานในการประชุมสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ประจำเดือนมกราคม ๒๕๖๓ โดยมีหัวหน้าหน่วยงาน ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เข้าร่วมประชุมร่วมกัน ณ ห้องประชุมสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา



   ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านปติมากรรม มีผลงานการสร้างสรรค์อนุสาวรีย์ที่สำคัญของประเทศหลายแห่ง อทิเช่น พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นต้น ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้มีสายตากว้างไกล ท่านเป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดตั้งสถาบันศิลปะในระดับอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศ และเป็นผู้ริเริ่มให้มีการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติขึ้นในประเทศไทย ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ภายใต้การสนับสนุนของกรมศิลปากร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมศักยภาพวงการศิลปะไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ และเป็นการกระตุ้นให้คนไทยเข้าใจและหันมาสนใจในงานศิลปะมากขึ้น ผลงานหลายชิ้นได้รับรางวัลจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ และสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการทางแนวคิด รูปแบบ เทคนิค และสุนทรียภาพของศิลปินในยุคสมันนั้น นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำศิลปะไทยไปเผยแพร่สู่นานาชาติ ปัจจุบันผลงานศิลปะของศิลปินไทยได้รับการยอมรับทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเป็นที่น่ายินดีว่ามีหลายองค์กรให้การสนับสนุนศิลปินในด้านต่างๆ มากยิ่งขึ้น                ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี เสียชีวิต เมื่อวันที่  ๑๔  พฤษภาคม  ๒๕๐๕ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่  ๑๕  กันยายน  ๒๕๒๗  ในวาระครบรอบวันคล้ายวันเกิดปีที่  ๙๒  เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทย     


แผนการตรวจสอบประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 และแผนการตรวจสอบระยะยาว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556-2560





ที่นี่.....หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง ยินดีให้บริการค่ะ


นที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒ คณะทำงานโครงการวิเคราะห์องค์ประกอบตำหรับยาสมุนไพรไทยในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)​ ระยะที่ ๑ ภายใต้การพัฒนาระบบสารสนเทศองค์ความรู้ดิจิทัลภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยของประเทศไทย (Thai Traditional Digital Knowleage library : TTDKL)​ จากกรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จำนวน ๒๖ ท่าน เข้าชมและศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้เกี่ยวกับตำรายาโบราณซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่บันทึกและจัดเก็บอยู่ในเอกสารโบราณ (สมุดไทยขาว)​ ณ หอสมุดแห่งชา... ดูเพิ่มเติม


Messenger