ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,380 รายการ
กระเบื้องมุงหลังคาแบบลอนสมัยทวารวดี
พบจากเมืองโบราณอู่ทอง
กระเบื้องมุงหลังคาแบบลอน พบในบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
กระเบื้องดินเผาทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าโค้งงอเล็กน้อย ขนาดกว้างประมาณ ๗ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๙ เซนติเมตร ด้านบนตกแต่งเป็นสันนูนทำให้เกิดลอน ๓ ลอน ขนานกันตามแนวยาวของตัวกระเบื้อง คั่นด้วยร่องเว้าลงไป ๒ ร่อง สำหรับเป็นทางระบายน้ำฝน ด้านล่างมีผิวแบนเรียบ ปลายด้านหนึ่งมีเดือยทรงสามเหลี่ยมปลายงอ ใช้สำหรับเป็นตะขอเกี่ยวยึดกับโครงสร้างซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นระแนงไม้ เนื้อกระเบื้องมีเม็ดกรวดทรายปนอยู่ค่อนข้างมาก
นอกจากกระเบื้องชิ้นนี้แล้ว ที่เมืองโบราณอู่ทอง ยังมีการค้นพบชิ้นส่วนกระเบื้องมุงหลังคาแบบลอนอีกจำนวนหนึ่ง จากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๑๔ (โบราณสถานบ้านศรีสรรเพชญ์ ๓) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมประเภทวิหาร มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โครงสร้างผนังก่ออิฐและเสาซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นไม้ รองรับน้ำหนักส่วนโครงสร้างหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ทั้งนี้ยังพบกระเบื้องรูปแบบคล้ายคลึงกันนี้จากโบราณสถานในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งไม่ทราบรูปแบบและหน้าที่การใช้งานอาคารอย่างแน่ชัด ตั้งอยู่บริเวณคันดินมุมทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของเมืองโบราณศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี อีกด้วย
นอกจากหลักฐานทางโบราณคดีดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีหลักฐานทางเอกสารที่กล่าวถึงกระเบื้องในสมัยทวารวดี ได้แก่ จดหมายเหตุทงเตี่ยน ซึ่งเป็นเอกสารจีนที่รวบรวบขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ มีเนื้อหาที่กล่าวถึงดินแดนโถวเหอ (นักวิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะตรงกับคำว่า “โตโลโปตี้” ที่หมายถึง “ทวารวดี”) ซึ่งเป็นที่รู้จักในสมัยราชวงศ์สุย (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒) ว่ามีบ้านเรือนหรือวังของกษัตริย์ที่มีหลายชั้นและมีการใช้กระเบื้องมุงหลังคาด้วย
กระเบื้องชิ้นนี้เป็นกระเบื้องรูปแบบหนึ่งที่ชาวพื้นเมืองสมัยทวารวดี ใช้สำหรับมุงหลังคาซึ่งมีโครงสร้างเป็นเครื่องไม้ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๕ หรือประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว เป็นที่น่าสังเกตว่า เนื่องจากมีการค้นพบกระเบื้องดังกล่าวปริมาณไม่มากนัก อาจใช้สำหรับมุงหลังคาอาคารประเภทวิหาร มณฑป ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างเนื่องในศาสนา หรือที่อยู่อาศัยของบุคคลชั้นสูง ก็เป็นได้
เอกสารอ้างอิง
เด่นดาว ศิลปานนท์. โบราณสถานบ้านศรีสรรเพชญ์ ๓ ปริศนาวิหารถ้ำเมืองอู่ทอง. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, ๒๕๕๙.
สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. “กระเบื้องดินเผาสมัยทวารวดี : ข้อมูลใหม่จากการขุดค้นที่เมืองนครปฐมโบราณ”. หน้า จั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย. ๙ (กันยายน ๒๕๕๕ – สิงหาคม ๒๕๕๖), ๓๐๒ – ๓๑๔.
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว และมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสดังกล่าว ทางกรมศิลปากร จึงขอแจ้งให้ผู้ที่ต้องการเข้าใช้บริการส่วนงานขออนุญาตส่งหรือนำออกฯ นำเข้า โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และสถานการค้าโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โปรดทำการนัดหมายวันและเวลาในการขอเข้าใช้บริการได้ที่งานควบคุมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โทร. ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๑๒ หรือ ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๐๑ - ๒ ต่อ ๑๐๐๘ , ๑๐๐๙ , ๑๐๑๐ และ ๑๐๑๑ ในวันและเวลาราชการ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฏฐาน) สพ.บ. 394/4หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพันประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 24 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 58.5 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณา ธมฺมปทฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ธมฺมปทฺท)
สพ.บ. 292/11ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 57.5 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา พระไตรปิฏก ธรรมะ
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง ธรรมสามไตร (ธรรมสามไตร)
สพ.บ. 338/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.161/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4.5 x 57.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 97 (35-48) ผูก 7 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (พระอภิธรรมสังคิณี-พระมหาปัฎ) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.46/1-6ก
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)
ชบ.บ.88ค/1-32
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.208/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 5 x 56 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 110 (148-158) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ยอดอภิธรรม--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.355/ข/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 5 x 58.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 136 (388-396) ผูก 3ข (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (ทศชาติ)ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (นารทพรหม)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง พุทโธวาท
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๙
จำนวนหน้า ๔๖๘ หน้า
หมายเหตุ งานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี พระยาเสนีณรงค์ฤทธิ์ (ม.ล.เล็ก สนิทวงศ์) ร.ว. , ท.จ. , ท.ม. ราชองครักษ์พิเศษ ว.ป.ร.
การจัดทำเรียบเรียงพระพุทะวจนะในพระไตรปิฎก ทั้งบาลี และ พากย์ไทย วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นพุทธบูชาและเป็นการเผยแพร่พระพุทธพจน์และสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า แก่นักศึกษาและนักปฏิบัติธรรมทั่วไป จำเดิมพระพุทธศาสนานี้แพร่หลายแต่ในชมพูทวีปเท่านั้น ครั้นลุถึงสมัยแผ่นดินพระเจ้าอโศกมหาราช องค์เอกอัครศาสนูปถัมภ์ พระพุทธศาสนาได้ขยายตัวจากชมพูทวีปไปยังเกาะลังกา สายหนึ่งได้พุ่งตรงสู่สุวรรณภูมิ ประมาณศตวรรษที่สาม นับแต่กาลบัดนั้นมา พระพุทศาสนาก็ประดิษฐานมาตราบเท่าปัจจุบันกาล
แนะนำหนังสือให้อ่านเรื่อง "โครงสร้างหลังคาเหล็กและงานอะลูมิเนียม"
กฤษณ์ อินทรนนท์. โครงสร้างหลังคาเหล็กและงานอะลูมิเนียม. นนทบุรี: คอร์ฟังก์ชั่น, 2559. 140 หน้า. ภาพประกอบ. 129 บาท.
สาระในเล่มรวบรวมรูปแบบของโครงหลังคาเหล็กทุกประเภท ทั้งในรูปแบบของโครงสร้างหลังคาบ้าน ไปจนถึงโครงถักหลังคาเหล็ก สำหรับโรงจอดรถ
เทอเรซ หรือโกดังขนาดใหญ่ ส่วนประกอบ การคำนวณพื้นที่การใช้วัสดุมุงหลังคา องศาการเอียงของวัสดุมุงหลังคาและการคำนวณเพื่อออกแบบเสารับน้ำหนักของโครงหลังคา พร้อมงานวัสดุอะลูมิเนียมทั้งผนัง หน้าต่าง และประตูอะลูมิเนียมอย่างละเอียด
695
ก281ค (ห้องหนังสือทั่วไป)