ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.355/ข/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 5 x 58.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 136  (388-396) ผูก 3ข (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (ทศชาติ)ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (นารทพรหม)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง             - ชื่อเรื่อง               พุทโธวาท ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์        พระนคร สำนักพิมพ์          โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ ปีที่พิมพ์              ๒๕๐๙ จำนวนหน้า          ๔๖๘  หน้า หมายเหตุ            งานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี พระยาเสนีณรงค์ฤทธิ์ (ม.ล.เล็ก  สนิทวงศ์) ร.ว. , ท.จ. , ท.ม. ราชองครักษ์พิเศษ ว.ป.ร.                           การจัดทำเรียบเรียงพระพุทะวจนะในพระไตรปิฎก ทั้งบาลี และ พากย์ไทย วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นพุทธบูชาและเป็นการเผยแพร่พระพุทธพจน์และสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า แก่นักศึกษาและนักปฏิบัติธรรมทั่วไป จำเดิมพระพุทธศาสนานี้แพร่หลายแต่ในชมพูทวีปเท่านั้น ครั้นลุถึงสมัยแผ่นดินพระเจ้าอโศกมหาราช องค์เอกอัครศาสนูปถัมภ์ พระพุทธศาสนาได้ขยายตัวจากชมพูทวีปไปยังเกาะลังกา สายหนึ่งได้พุ่งตรงสู่สุวรรณภูมิ ประมาณศตวรรษที่สาม นับแต่กาลบัดนั้นมา พระพุทศาสนาก็ประดิษฐานมาตราบเท่าปัจจุบันกาล  





แนะนำหนังสือให้อ่านเรื่อง "โครงสร้างหลังคาเหล็กและงานอะลูมิเนียม" กฤษณ์ อินทรนนท์. โครงสร้างหลังคาเหล็กและงานอะลูมิเนียม. นนทบุรี: คอร์ฟังก์ชั่น, 2559. 140 หน้า. ภาพประกอบ. 129 บาท. สาระในเล่มรวบรวมรูปแบบของโครงหลังคาเหล็กทุกประเภท ทั้งในรูปแบบของโครงสร้างหลังคาบ้าน ไปจนถึงโครงถักหลังคาเหล็ก สำหรับโรงจอดรถ เทอเรซ หรือโกดังขนาดใหญ่ ส่วนประกอบ การคำนวณพื้นที่การใช้วัสดุมุงหลังคา องศาการเอียงของวัสดุมุงหลังคาและการคำนวณเพื่อออกแบบเสารับน้ำหนักของโครงหลังคา พร้อมงานวัสดุอะลูมิเนียมทั้งผนัง หน้าต่าง และประตูอะลูมิเนียมอย่างละเอียด 695 ก281ค (ห้องหนังสือทั่วไป)


          วันพฤหัสบดีที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๑๐ ณ ห้องประชุม ชั้น ๕ อาคารกรมศิลปากร เทเวศร์ กรมศิลปากรจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๔๔ พรรษา ๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากร นางรักชนก โคจรานนท์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ร่วมกิจกรรมพิธีเคารพธงชาติและกล่าวคำปฏิญาณ ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงสดุดีจอมราชา และร่วมกันปฏิบัติกิจกรรม "วัฒนธรรมอาสา ทำความดีทั้งแผ่นดิน"


ขวานสำริดแบบมีบ้องและแม่พิมพ์หินทราย           แม่พิมพ์ : วิทยาการงานเบ้าหลอมยุคก่อนประวัติศาสตร์สู่งานศาสนศิลป์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ามีการใช้แม่พิมพ์มาตั้งแต่มนุษย์รู้จักสินแร่และการถลุงโลหะเพื่อนำมาใช้งาน ยุคนี้จึงถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิวัฒนาการของมนุษยชาติ หากอนุโลมตามหลักฐานการใช้เครื่องมือแต่ละยุคสมัย ยุคสำริดในประเทศไทยจะมีอายุประมาณ ๔,๐๐๐ - ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว  แม่พิมพ์หิน           พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ความหมายของแม่พิมพ์ว่า “สิ่งที่เป็นต้นแบบ” โดยแม่พิมพ์ที่นิยมใช้ในการหล่อสำริดมี ๔ ชนิด คือ แม่พิมพ์แบบเปิด แม่พิมพ์หลายชิ้น (สำหรับหล่อโลหะตัน) แม่พิมพ์ชนิดแกนลอย (สำหรับโลหะที่มีรูหรือบ้องกลวง) และแม่พิมพ์สำหรับการหล่อแบบแทนที่ขี้ผึ้ง ส่วนวัตถุชิ้นแรกคือ “แม่พิมพ์หินทรายรูปขวาน” เป็นแม่พิมพ์แบบประกบ ตั้งอยู่คู่กับ “ขวานสำริดแบบมีบ้อง” มีเศษเครื่องจักสานติดอยู่ แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาเรื่องเครื่องใช้ของคนในอดีต โดยวัตถุทั้งสองชิ้นมีอายุอยู่ในช่วงก่อนประวัติศาสตร์แบบวัฒนธรรมบ้านเชียง ประมาณ ๔,๐๐๐ - ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว แม่พิมพ์ดินเผา           การใช้ “แม่พิมพ์” ยังคงดำเนินเรื่อยมาจนกระทั่งเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ “แม่พิมพ์” นอกจากจะนำมาประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้แล้ว ยังได้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์เรื่องอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับ เหรียญมีค่า ดังปรากฏหลักฐาน “แม่พิมพ์เหรียญสมัยทวารวดี” ระบุประวัติว่าพบที่เมืองจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ลักษณะเป็นแม่พิมพ์ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส สลักลายกลมสองวง ตลอดจนความเชื่อทางศาสนา ดังปรากฏว่ามีการสร้างพระพิมพ์ในไทยตั้งแต่สมัยทวารวดี มีหลักฐานชิ้นสำคัญคือ “แม่พิมพ์ดินเผา” กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับในกรอบซุ้มอาคารทรงศิขระ ด้านข้างประดับสถูปเต็มพื้นที่ มีรูปแบบคล้ายพระพิมพ์ซุ้มพุทธคยาที่สืบมาจากประเทศอินเดีย พบได้ทั่วไปในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย โดยวัตถุชิ้นนี้ มีประวัติระบุว่าขุดได้จากในพระเจดีย์วัดไชยชุมพลชนะสงคราม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่าการสร้างแม่พิมพ์ในศาสนากลับไม่พบในพราหมณ์-ฮินดู สอดรับกับที่ศาสตราจารย์เซเดส์ อธิบายไว้ในหนังสือ “ตำนานพระพิมพ์” ว่า ...ประเพณีการสร้างพระพุทธรูป โดยวิธีใช้กดด้วยแม่พิมพ์และประทับด้วยตรานี้ ปรากฏแต่ในฝ่ายพระพุทธศาสนาเท่านั้น...           อย่างไรก็ดี แม้ “แม่พิมพ์” จะสามารถแสดงหลักฐานที่มา สืบต่อศาสนา หรือส่งต่อความเป็นต้นแบบได้ก็ตาม ทว่า ความเป็น “ครู” ยังอาจก้าวข้ามคำว่า “แม่พิมพ์” สู่ “ผู้เป็นแนวทางแก่ศิษย์ เป็นแรงบันดาลใจ และเป็นแสงให้อนาคตของชาติ” ได้อีกด้วย ดังนั้น ในวาระวันครูแห่งชาติที่กำลังจะมาถึง เพจคลังกลางฯ ขอเป็นกำลังใจให้ “ครู” ผู้ทำหน้าที่พายเรือส่งลูกศิษย์ถึงฝั่งทุกท่านนะครับ                   เผยแพร่โดย นายศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ / เทคนิคภาพ นายอริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ


อุทยานธรณีโคราช (Khorat Geopark) ที่ได้รับมติยอมรับให้เป็น "จีโอพาร์คโลกยูเนสโก" 



ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           28/6ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               30 หน้า : กว้าง 4.9 ซม. ยาว 54.7 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


เรื่อง “วันกีฬาแห่งชาติ 16 ธันวาคม” วันกีฬาแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 16 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหา ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นตัวแทนของนักกีฬาทีมชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ที่กรุงเทพฯ รัฐบาลได้ทำการส่งเสริมทางด้านการส่งเสริมทางด้านกีฬาไทยด้วยดีเสมอมาเพราะตระหนักถึงคุณค่าและความ สำคัญของการเล่นกีฬา นอกจากจะเป็นการออกกำลังกายแล้ว ยังทำให้ร่างกายสดชื่นแข็งแรง การกีฬายังเป็นเครื่องช่วยผ่อนคลายความเครียด ช่วยปรับปรุงในด้านความคิดและอุปนิสัยให้ประชาชนในชาติ เป็นผู้มีความเสียสละ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย และมีความสามัคคีต่อกัน เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงเป็นตัวแทนของนักกีฬาทีมชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ที่กรุงเทพฯ และทรงชนะเลิศได้รับเหรียญทองในการแข่งขันเรือใบประเภท โอ.เค. ซึ่งถือได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ทางการกีฬาของประเทศไทย พระองค์ทรงมีความรู้แตกฉานในทางเรือใบ และทำให้พระองค์ทรงสามารถคิดค้นออกแบบและต่อเรือที่จะทรงใช้เป็นอุปกรณ์ในการแข่งขันที่เหมาะสมกับพระองค์มากที่สุดด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง เรือใบพระที่นั่งประเภท โอ.เค ที่ทรงใช้ในการแข่งขัน พระราชทานชื่อว่า “นวฤกษ์” นอกเหนือจากกีฬาเรือใบแล้ว แบดบินตันก็เป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ ทรงโปรดปรานมากเช่นกัน ในหอประชุมวังจิตรลดาฯ ได้ปรับแต่งเป็นสนามแบดมินตันมาตรฐาน ส่วนมากพระองค์จะทรงแบดมินตันในตอนเย็นและวันศุกร์ และเช้าวันอาทิตย์ พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ ทางการกีฬานี้ เป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลกว่า พระองค์ทรงเป็นนักกีฬาอย่างแท้จริงและทรงสนับสนุนกีฬาจนเป็นที่ปรากฏชัด ดังนั้นในการประชุมใหญ่คณะกรรมการโอลิมปิกสากลครั้งที่ 29 ที่เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี โดยมีนายฮวน อันโตนีโอ ซามาร้านซ์ ประธานคณะโอลิมปิกสากล เป็นประธานการประชุมพร้อมทั้งสมาชิกเข้าร่วมประชุมอีก 87 ประเทศ ได้มีมติเอกฉันท์ให้ทูลเกล้าฯถวายเหรียญดุษฎีกิตติมศักดิ์ของโอลิมปิกสากล คือ "อิสริยาภรณ์โอลิมปิกชั้นสูงสุด" (ทอง) แด่องค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ณ ศาลาดุสิตาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก ที่ทรงได้รับการทูลเกล้าฯถวายเหรียญโอลิมปิกชั้นสูง สมควรที่นักกีฬาและประชาชนชาวไทยควรที่จะเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท อันจะเป็นโอกาสให้สามารถนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติและวงศ์ตระกูล เพื่อเป็นการระลึกถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงเป็นนักกีฬาตัวแทนของชาติไทย ในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 และเพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนชาวไทยเห็นคุณค่าความสำคัญของการกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย จึงได้มีมตินำเสนอคณะรัฐมนตรีลงความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2529 กำหนดให้วันที่ 16 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวัน "วันกีฬาแห่งชาติ"



สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 137/4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 172/7เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           56/3ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                60 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


Messenger