ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,356 รายการ
ชื่อเรื่อง รามเกียรติ์ บทร้อง และบทพากย์ ชุดเผาลงกา และชุดพิเภษณ์ถูกขับผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณคดีเลขหมู่ 895.9112 ร445รสสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์พระจันทร์ปีที่พิมพ์ 2506ลักษณะวัสดุ 44 หน้าหัวเรื่อง บทร้อง บทพากย์ รามเกียรติ์ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรามเกียรติ์ บทร้อง และบทพากย์ ชุดเผาลงกา และชุดพิเภษณ์ถูกขับ จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นางสาย ชะโลธร
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ, 2396-2453. โคลงเรื่องรามเกียรติ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ จารึกที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2471. 48 หน้า เป็นภาพเรื่องรามเกียรติ์ที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดให้ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ตลอดจนพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งล้วนเป็นกวีที่มีชื่อเสียง ช่วยกันแต่งโคลงเรื่องรามเกียรติ์ กำหนดพระระเบียงละ 28 โคลง รวมเป็นโคลงทั้งหมด 4984 บท แล้วจารึกศิลาไว้ตามเสาพระระเบียง การแต่งโคลงนั้น ในส่วนพระองค์ ทรงพระราชนิพนธ์ พระราชทานไว้ทั้งหมด 8 ห้อง จำนวน 224 บท ประกอบด้วย ห้องที่ 90 เป็นตอนทศกัณฑ์ทำพิธีอุมงค์ ห้องที่ 94 ตอนหนุมานเข้าห้องวารนรินทร ห้องที่ 102 ตอนนางมณโฑหุงน้ำทิพย์ ห้องที่ 103 ตอนทศกัณฑ์ขาดเศียร ขาดกร ห้องที่ 104 ตอนฤาษีถวายลิง ห้องที่ 105 ตอนหณุมานออกรบพระลักษณ ห้องที่ 106 ตอนหณุมารได้นางสุวรรณกันยุมา และห้องที่ 107 ตอนหณุมารชูกล่องดวงใจ พิมพ์ในงานฉลองอายุเจ้าจอมมารดาอ่อน รัชกาลที่ 5 เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2471895.911 จ657ค
อำเภอหว้านใหญ่แต่เดิมอยู่ในเขตเมืองพาลุกากรภูมิ ซึ่งตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๙ ขึ้นเมืองมุกดาหาร เขตเมืองพาลุกากรภูมิ ทางเหนือตั้งแต่ลำน้ำก่ำ ทางใต้ถึงห้วยบางทราย เมืองพาลุกากรภูมิถูกยุบเป็นหมู่บ้าน ขึ้นกับตำบลบ้านหว้าน เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๑ ขึ้นกับท้องที่อำเภอมุกดาหาร ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอหว้านใหญ่ เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๑ ยกฐานะเป็นอำเภอหว้านใหญ่ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๖ อำเภอหว้านใหญ่มีวัดที่สำคัญวัดหนึ่ง ได้แก่ วัดพระศรีมหาโพธิ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร เป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง บริเวณวัดมีกำแพงล้อมรอบพื้นที่ประมาณ ๖ ไร่เศษ และมีสิ่งก่อสร้างสำคัญทางประวัติศาสตร์ของอำเภอหว้านใหญ่ก็คือ อาคารที่ว่าราชการหว้านใหญ่ (เดิม) อาคารหลังนี้ตามประวัติระบุว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗-๒๔๗๐ โดยช่างญวนชื่อ แก้วบุญสี (ศรี) แต่บ้างระบุว่าชื่อ หัสดี จากฝั่งประเทศลาวซึ่งมาบวชที่วัดแห่งนี้ แรกสร้างเชื่อว่าน่าจะใช้เป็นที่ว่าราชการหว้านใหญ่ในขณะนั้น เนื่องจากบริเวณหน้าจั่วอาคารด้านหน้าประดับรูปครุฑอย่างที่นิยมสร้างเป็นสถานที่ราชการในช่วงเวลานั้น จากนั้นเมื่อย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอหว้านใหญ่ออกไป ทางวัดน่าจะใช้เป็นกุฎิสงฆ์และใช้เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในเวลาต่อมา ลักษณะตัวอาคารเป็นทรงตึกฝรั่ง ๒ ชั้น มีแผนผังเป็นรูปตัวที (T) ด้านหน้าหันไปทางทิศตะวันออกทำเป็นมุกยื่นออกมา ชั้นล่างยกพื้นเตี้ย ส่วนหน้าเป็นโถงโล่ง มีบันไดทางขึ้นด้านหน้าและทั้งสองปีกซ้ายขวา ส่วนหลังกั้นเป็นห้อง ระหว่างช่วงเสาทำเป็นซุ้มวงโค้ง ชั้นที่ ๒ มีรูปแบบเช่นเดียวกับชั้นล่าง คือ ส่วนหน้าเป็นโถงโล่ง ส่วนหลังกั้นเป็นห้อง ระหว่างช่วงเสากั้นด้วยราวระเบียง ส่วนหัวเสาทำเป็นซุ้มวงโค้ง หลังคาส่วนหน้าทรงจั่วมุงกระเบื้องดินเผา หลังคาส่วนหลังทรงปั้นหยามุงกระเบื้องดินเผา อาคารหลังนี้นับเป็นอาคารที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบยุโรปที่นิยมสร้างในสมัยนั้น และเป็นอาคารที่บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของอำเภอหว้านใหญ่ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๕ ตอนพิเศษ ๔ง พื้นที่ ๑ ไร่ ๑ งาน ๕๕.๗๙ ตารางวา -----------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล: นางสาวเมริกา สงวนวงษ์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี -----------------------------------------------เอกสารอ้างอิง: -กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี.๒๕๕๖.รายงานสำรวจแหล่งโบราณคดีและโบราณสถาน ในจังหวัดมุกดาหาร.กรุงเทพฯ:เดือนตุลา. -คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.๒๕๔๒.วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดมุกดาหาร.กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว.
ชื่อเรื่อง ตำนานพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศรีศาสดา ผู้แต่ง จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ (2347-2411)ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ศาสนาเลขหมู่ 294.31218 จ196ตปสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ยิ้มศรีปีที่พิมพ์ 2491ลักษณะวัสดุ 46 หน้า หัวเรื่อง พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดา ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก เนื้อหาภายในประกอบด้วยตำนานพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศรีศาสดา
วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางของเมือง เป็นวัดที่มีความสำคัญมากที่สุด เปรียบดังวัดหลวงประจำราชธานีสุโขทัย ภายในวัดมีโบราณสถานมากมายประกอบด้วย เจดีย์ประธาน วิหาร มณฑป อุโบสถ(โบสถ์) และเจดีย์รายจำนวนมากถึง ๒๐๐ องค์
.
เจดีย์ประธานของวัด เป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงยอดดอกบัวตูม อันเป็นรูปแบบเจดีย์ที่เป็นเอกลักษณ์ของศิลปะสุโขทัยโดยเฉพาะ รายรอบเจดีย์ประธานมีเจดีย์บริวาร จำนวน ๘ องค์ ได้แก่ เจดีย์ประจำด้าน(ทิศ)ทั้งสี่เป็นเจดีย์ทรงปราสาทแบบสุโขทัย ได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอมและมีลวดลายปูนปั้นแบบอิทธิพลศิลปะลังกา ส่วนเจดีย์ประจำมุมทั้งสี่เป็นเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอด ที่มีอิทธิพลของศิลปะพุกาม-หริภุญไชย-ล้านนา รอบ ๆ เจดีย์ประธานมีปูนปั้นรูปพระสาวกในท่าอัญชุลีเดินประทักษิณโดยรอบพระมหาธาตุ
.
ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ได้บรรยายว่า “...กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฎฐารศ มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม...” นอกจากนี้ในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ปี พ.ศ. ๑๙๐๔ สมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ยังกล่าวถึงพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ พระพุทธรูปทอง ที่ประดิษฐาน ณ กลางเมืองสุโขทัยด้วย พระพุทธรูปทองที่กล่าวถึงนี้ เข้าใจโดยทั่วไปว่าหมายถึง หลวงพ่อโต ของชาวเมืองเก่า ที่เคยประดิษฐานอยู่ภายในวิหารหลวงวัดมหาธาตุ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญล่องแพไปประดิษฐาน ณ วิหารหลวงวัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้พระราชทานนามว่า พระศรีศากยมุนี ปัจจุบันภายในวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จึงยังปรากฏแท่นฐานขนาดใหญ่ของพระพุทธรูปองค์นี้เหลือให้เห็น ส่วนพระอัฎฐารศ ที่กล่าวถึงในจารึกหลักที่ ๑ หมายถึงพระพุทธรูปยืนที่มีขนาดใหญ่สูง ๑๘ ศอก ประดิษฐานภายในมณฑปที่ขนาบอยู่สองข้างของเจดีย์ประธาน
ถัดจากวิหารหลวงไปทางตะวันออกเป็นวิหารสูง ที่เรียกชื่อเช่นนี้เนื่องจากวิหารหลังนี้มีฐานสูงก่ออิฐเป็นลักษณะฐานบัว มีความสูงประมาณ ๑.๕ เมตร เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ซึ่งสร้างขึ้นในภายหลัง ทำให้พื้นที่ว่างระหว่างหน้าวิหารสูงกับกำแพงวัดเหลือเพียงพื้นที่แคบ ๆ ไม่ได้สัดส่วนกับความสูงของตัวอาคาร
.
นอกจากนี้ภายในวัดมหาธาตุยังมีกลุ่มเจดีย์ จัดแยกออกเป็นกลุ่มหนึ่งอยู่ทางทิศใต้ของเจดีย์ประธาน มีศูนย์กลางอยู่ที่เจดีย์ห้ายอด ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นที่สองรองจากเจดีย์ประธาน ได้พบหลักฐานจารึกลานทองมีข้อความระบุเป็นที่น่าเชื่อว่าเจดีย์ห้ายอดนี้ เป็นที่บรรจุอัฐิของพระมหาธรรมราชาลิไท
เลขทะเบียน : นพ.บ.119/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4.3 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 67 (214-219) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง ภิกขุ ปัญญานันทมุนี
ชื่อเรื่อง เตือนใจ
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ ศิวพร
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๗
จำนวนหน้า ๕๘ หน้า
หมายเหตุ หนังสืออนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางปริก ลิ่มชัยพฤกษ์ ณ วัดอินทรวาส พัทลุง
เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๗
ได้มีการจัดพิมพ์หนังสือประเภทธรรม เรื่อง เตือนใจ เป็นบทความสะกิดใจให้ผู้อ่านได้เกิดความสำนึกในมนุษยภาพ การงาน อายุ และความเป็นอยู่ของตน นำไปใช้ในวิถีการดำเนินชีวิตให้ก้าวหน้าในทางที่เหมาะสม
ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๓
เจ้าอาวาสวัดรังษีสุทธาวาส ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๙ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)