ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญชมนิทรรศการ "FOUR VISIONS ACTION 2024" นิทรรศการศิลปกรรมที่ถ่ายทอดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานของกลุ่มสี่ทัศนะ มีความเชื่อว่า ธรรมชาติ อารมณ์ของศิลปินนั้นมีกลไกลที่ซับซ้อน อารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ที่ถูกสะสมไว้ภายในส่วนลึกของจิตใจ การถ่ายทอดหรือ การแสดงออกของความรู้สึกของศิลปินผู้สร้าง ถ้าไม่มีสิ่งกระตุ้น หรือแรงบันดาลใจ ความรู้สึกที่ถูกบ่มเพาะมาก็จะปรากฏเป็นภาพในผลงานทางศิลปะไม่ได้ ในโลกธรรมชาติ ทุกสรรพสิ่ง และปรากฏการณ์ ทั้งมวลรอบ ๆ ตัวศิลปิน เกิดจากวัฏจักรแห่งการเปลี่ยนแปลง ฯลฯ ชีวิตมิใช่สิ่งที่หยุดนิ่ง วัตถุมิใช่สิ่งซึ่งไร้เกี่ยวเนื่องกับสิ่งอื่น แต่เป็นสภาพช่วงต่อในกระบวนการของธรรมชาติ ที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป เป็นวัฐจักรแห่งเหตุปัจจัย รูปลักษณะ ผลงานที่ปรากฏเป็นสิ่งที่ศิลปินเฝ้าสังเกต เข้าถึงคุณค่าในสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น และรับในความจริง ความเชื่อ ความคิด ความรู้สึก ที่ปรากฏขึ้น นำมาเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เฉพาะตัวของศิลปินทุก ๆ คน ปรากฎในผลงานศิลปะทุกชิ้นที่นำมาจัดแสดง ซึ่งนิทรรศการในครั้งนี้จะเป็นการยืนยันตัวตนของศิลปินในกลุ่มที่คงรูปลักษณ์แนวทางสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยนามธรรมต่อไป
นิทรรศการ "FOUR VISIONS ACTION 2024" โดยกลุ่มสี่ทัศนะ จัดแสดง ณ อาคารนิทรรศการ 6 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ระหว่างวันที่ 6 - 30 ธันวาคม เวลา 09.00 - 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ - อังคาร) ค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ 6 ธันวาคม 2567 เวลา 18.00 น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป
_______________________________________
"FOUR VISIONS ACTION 2024" By Four Visions
Building 6, The National Gallery of Thailand
6-30th December 2024 | 6th Dec 2024, at 6 p.m. (Opening of Art Exhibition)
Opened :Wednesday – Sunday, 9 a.m. – 4 p.m.
Closed : Monday and Tuesday
Admission fee: 200 Baht
เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๙ เวลา ๑๑.๐๐ น. นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ เรื่อง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถกับงานด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่พระนครศรีอยุธยา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ขออนุญาตทำการค้าโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ขั้นตอนที่ ๑ ยื่นคำขอได้ที่สถานที่ ดังนี้
๑.๑ กรณีผู้ขอมีสถานที่ทำการค้าในเขตกรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ให้ยื่น ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
๑.๒ กรณีที่ผู้ขอมีสถานที่ทำการค้าในเขตจังหวัดอื่นนอกจากข้อ ๑.๑ ให้ยื่น
ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้น หากในจังหวัดนั้นไม่มีพิพิธภัณฑ
สถานแห่งชาติ ให้ยื่น ณ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแห่งจังหวัดนั้น
ขั้นตอนที่ ๒ กรอกแบบฟอร์ม ศก.๑
๒.๑ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
๒.๒ กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ
๒.๓ กรณีเป็นนิติบุคคล
ขั้นตอนที่ ๓ แนบเอกสารและหลักฐาน
๓.๑ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
(ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นซึ่งแทนบัตรประจำตัวประชาชนได้
(ข) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน
(ค) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ของผู้ขอรับใบอนุญาต ขนาด ๕ x ๖ เซนติเมตร ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือน จำนวน ๒ รูป
(ง) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ทำการค้า
(จ) สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ ใบทะเบียนการค้า หรือใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
๓.๒ กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ
(ก) บัญชีรายชื่อและสัญชาติของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ข) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนได้ ของหุ้นส่วนผู้จัดการ
(ค) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ง) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ของหุ้นส่วนผู้จัดการ นาด ๑ นิ้ว ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือน จำนวน ๒ รูป
(จ) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ทำการค้า
(ฉ) สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ ใบทะเบียนการค้าหรือใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
๓.๓ กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
(ก) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียน พร้อมทั้งวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
(ข) บัญชีรายชื่อและสัญชาติของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ค) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งแทนบัตรประจำตัวประชาชนได้ ของหุ้นส่วนผู้จัดการ
(ง) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการ
(จ) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ของหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการ ขนาด ๕ x ๖ เซนติเมตร ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือน จำนวน ๒ รูป
(ฉ) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ทำการค้า
(ช) สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ ใบทะเบียนการค้าหรือใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
๓.๔ กรณีเป็นบริษัทจำกัด
(ก) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
วัสดุ ดินเผา
อายุสมัย สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สังคมเกษตรกรรม (ประมาณ 2,500–1,800 ปีมาแล้ว)
สถานที่พบ พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
เป็นหม้อรูปไข่ก้นกลม มีขอบปาก ปั้นขึ้นรูปด้วยมือ เนื้อหยาบผิวสีนวล เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ ใช้สำหรับบรรจุกระดูกในประเพณีการฝังศพครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่แพร่หลายในเขตลุ่มแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี โดยครั้งแรกจะนำศพไปฝังให้เน่าเปื่อยก่อนต่อมาจึงขุดเอากระดูกขึ้นมาแยกส่วนบรรจุลงในภาชนะดินเผา แล้วนำไปฝังอีกครั้ง
รายงานบัญชีงบทดลองและเอกสารประกอบงบทดลอง สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา (เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๒)
สืบเนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมมีนโยบายให้หน่วยงานในจังหวัดนครพนม ร่วมออกบริการโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรตินครพนมจึงจัดทำโครงการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชน เพื่อออกให้บริการตามโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ กิจกรรมที่จัดคือ นิทรรศการเคลื่อนที่เรื่องเอกสารโบราณ เผยแพร่ความรู้เรื่องการอนุรักษ์ การดูแลรักษา การจัดเก็บเอกสารโบราณ และแจกเอกสารความรู้ที่น่าสนใจ แนะนำประชาสัมพันธ์หน่วยงานให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 10 ครั้ง ดังนี้
1. โรงเรียนบ้านกุดยางเดียวโนนสมบูรณ์ ต.โพนทอง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม วันที 17 พฤศจิกายน 2555
2. โรงเรียนบ้านโคกสี ต.โคกสี อ.วังยาง จ. นครพนม วันที่ 15 ธันวาคม 2555
3. โรงเรียนบ้านนาเลียง ต.นาเลียง อ.นาแด จ.นครพนม วันที่ 12 มกราคม 2555
4. โรงเรียนบ้านหนองปลาดุก ต.บ้านผึ้ง อ.เมือง จ.นครพนม วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555
5. โรงเรียนบ้านโคกสว่าง ต.โคกสว่าง อ.ปลาปาก จ.นครพนม วันที่ 15 มีนาคม 2555
6. โรงเรียนบ้านอูนยางคำ ต.นาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม วันที่ 20 เมษายน 2555
7. โรงเรียนบ้านนาหัวบ่อ ต.นาหัวบ่อ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม วันที่ 14 มิถุนายน 2555
8. โรงเรียนบ้านวังโพธิ์ ต.ไชยบุรี อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม วันที่ 23 กรกฎาคม 2555
9. โรงเรียนบ้านหนองแวง ต.หนองแวง อ.บ้านแพง จ.นครพนม วันที่ 16 สิงหาคม 2555
10. โรงเรียนบ้านคำแม่นาง ต.หนองซน อ.นาทม จ.นครพนม วันที่ 13 กันยายน 2555
พระธาตุแช่แห้ง หลักฐานความสัมพันธ์กับสุโขทัย แต่ทำไมรูปแบบศิลปะเป็นแบบล้านนา?
พระธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่ที่เวียงภูเพียงแช่แห้ง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ห่างจากตัวเมืองน่านปัจจุบันไปทางทิศตะวันออกราว ๓ กิโลเมตร หลักฐานเอกสารพื้นเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิดกล่าวว่า พระธาตุแช่แห้งสร้างขึ้นราว พ.ศ. ๑๘๙๖ เพื่อบรรจุพระธาตุจำนวน ๗ องค์ และพระพิมพ์เงิน พระพิมพ์ทอง อย่างละ ๒๐ องค์ ซึ่งพระยาการเมือง เจ้าผู้ครองเมืองพลัว/ปัว (เชื่อว่าเป็นศูนย์กลางมาก่อนเมืองน่านปัจจุบัน) ได้รับจากพระยาลิไท กษัตริย์สุโขทัย จากการไปช่วยสร้างวัดหลวงอภัย โดยรูปแบบของพระธาตุแช่แห้งเมื่อแรกสร้างนั้นไม่ชัดเจน ทราบเพียงว่าสูงจากพื้นดินราว ๑ วา แต่ด้วยช่วงเวลาดังกล่าวเมืองน่านมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสุโขทัย อีกทั้งงานศิลปกรรมอื่นๆ ทั้งประติมากรรมและสถาปัตยกรรมที่มีอายุใกล้เคียง/หลังพระธาตุแช่แห้งลงมาเล็กน้อย ล้วนสะท้อนอิทธิพลศิลปะสุโขทัยทั้งสิ้น
ดังนั้นจึงมีการสันนิษฐานว่ารูปแบบของพระธาตุแช่แห้งเมื่อแรกสร้างอาจได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะสุโขทัยเช่นกัน โดยอาจมีรูปแบบเป็นเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์(?) หรืออาจมีรูปแบบคล้ายเจดีย์ช้างล้อม(?)ได้หรือไม่ ภายหลังเมืองน่านถูกผนวกเข้ากับล้านนาราว พ.ศ. ๑๙๙๓ - ๒๑๐๑ ก่อนจะอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า และขึ้นกับรัตนโกสินทร์ตามลำดับ ซึ่งระยะตั้งแต่เมืองน่านถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของล้านนาเป็นต้นมานี้เองก็ได้พบว่ามีการซ่อมสร้างองค์พระธาตุครั้งใหญ่ ตลอดจนปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมรูปแบบองค์เจดีย์หลายครั้งจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าพระธาตุแช่แห้งสร้างขึ้นในช่วงเวลาที่น่านกับสุโขทัยมีความสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น รวมถึงระยะแรกอาจมีรูปแบบเช่นเดียวกับเจดีย์ในศิลปะสุโขทัยก็เป็นได้ แต่ด้วยความที่พระธาตุแห่งนี้เป็นพระธาตุสำคัญจึงมีการปฏิสังขรณ์เรื่อยมา โดยที่การสร้างครอบทับหลายครั้งเกิดขึ้นในช่วงที่น่านอยู่ภายใต้การปกครองของล้านนา จึงทำให้รูปแบบของเจดีย์ในปัจจุบันเป็นเจดีย์แบบล้านนานั่นเอง
***บรรณานุกรม***
สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราปรปักษ์
โคลงพระราชพิธีทวาทศมาส พิมพ์แจกในการทอดกฐิน พระราชทาน ณ วัดบรมวงศ์อิศรวราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 12 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2509
พระนคร
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลไทยวัฒนาพาณิชย์
2509