ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
เริ่มด้วยที่มาของคำว่า “ฉลู” สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า ឆ្លូវ (ฉลูว) ในภาษาเขมรเก่า ส่วนพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ระบุว่าคือชื่อปีที่ ๒ ของปีนักษัตร มีวัวเป็นเครื่องหมาย
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดับรูปวัวตรงชุดฐานสิงห์
สำหรับวัตถุชิ้นแรกเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายถือตาลปัตร ขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวคว่ำบัวหงายเหนือชุดฐานสิงห์ ซึ่งชุดฐานนี้มีการประดับรูปวัวยื่นออกมา แสดงนัยยะว่าพระพุทธรูปองค์นี้ คือ “พระโคตโม” พระพุทธเจ้ากัปปัจจุบัน (ภัทรกัป) ตามเรื่องราวของพระเจ้าห้าพระองค์และตำนานแม่กาเผือกที่เล่าว่าทรงเป็นบุตรของพญากาเผือก (ที่มาของประเพณีจุดประทีปตีนกาบูชาแม่กาเผือกในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒) โดยมีวัวเป็นผู้เลี้ยงดู พระพุทธเจ้าองค์นี้จึงมีนามว่า “พระโคตมพุทธเจ้า” ตามนามของแม่เลี้ยง
ประติมากรรมรูปโคนนทิ
วัตถุชิ้นต่อไป เป็นประติมากรรมรูปโคนนทิ องค์เทวพาหนะของพระศิวะ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู มีรูปลักษณ์เป็นโคเพศผู้ สีขาวปลอด (ขาวสะอาดไม่มีสีอื่นปน) บางตำราถือว่าทรงเป็นหัวหน้าของบรรดาสัตว์สี่ขา โดยรูปโคนนทิที่พบในประเทศไทย มักพบอยู่ตามศาสนสถานในวัฒนธรรมร่วมแบบเขมร เช่น ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ นอกจากนี้ ยังปรากฏรูปโคนนทิในตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง ผลงานที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงออกแบบทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (ดูเพิ่มเติมใน เพจสมเด็จครู) และ“แผ่นตรานนทิมุข” สำหรับรถยนต์หลวง มีอักษรระบุว่า “กระทรวงวังอนุญาตรถนี้เข้าออกในพระบรมมหาราชวังได้”
หนังใหญ่รูปไพร่พลลิงขี่หลังวัว
ส่วนวัตถุชิ้นสุดท้าย เป็นแผ่นหนังฉลุลาย ประเภทหนังเขน (“เขน” คือหนังใหญ่รูปไพร่พลในกองทัพ จัดอยู่ในกลุ่มหนังเบ็ดเตล็ด) รูปลิงสองตัวขี่หลังวัว ตัวหนึ่งถืออาวุธ อีกตัวดึงสายเชือกสนตะพายบังคับวัว ระบุประวัติว่าได้รับมอบจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ซึ่ง “หนังใหญ่” โดยทั่วไปจะสร้างขึ้นจากหนังโค เพราะหนังโคมีความบางและโปร่งแสง หากเล่นในเวลากลางคืน เมื่อถูกไฟส่องจะเหมือนไฟลุกจับตัวหนัง หากเล่นในเวลากลางวัน ตัวหนังที่ถูกระบายสี ก็จะช่วยขับสีต่าง ๆ ให้เห็นเด่นขึ้นอย่างชัดเจน อนึ่ง ยังมีเกร็ดเล็กน้อยที่ว่า “หนังเจ้า” คือหนังรูปพระอิศวรและพระนารายณ์ จะต้องทำจากหนังที่เสือกินตาย ฟ้าผ่าตาย หรือออกลูกตาย อย่างที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียกว่า “โคตายพราย” อีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องวัว ๆ ที่พบเห็นได้ตามภูมิภาคต่าง ๆ เช่น “โคขาวลำพูน” โคพื้นเมืองภาคเหนือ ที่ใช้เป็นพระโคในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ “พระธาตุลำปางหลวง” พระธาตุประจำปีนักษัตรฉลูของชาวล้านนา (ดูเพิ่มเติมใน เพจพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ลำพูน) “รูปโคเหนือหน้าบันหอคำ” (ปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน) และ “รูปโคเทินพระธาตุ” ตราประจำจังหวัดน่าน อีกทั้งคติหัวเมืองบริวาร ๑๒ นักษัตรของนครศรีธรรมราช ที่ถือว่า “เมืองปัตตานี” ถือตรานักษัตรปีฉลูเป็นตราประจำเมือง สุดท้ายนี้ ปีฉลู ๒๕๖๔
เผยแพร่โดย นายศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ / เทคนิคภาพโดย นายอริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ / ภาพโดย กิตติยา เชื้อทอง กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของความชำรุดของเอกสารจดหมายเหตุแบ่งได้ 2 ประการ 1. ปัจจัยภายใน เป็นการเสื่อมชำรุดจากตัววัสดุเอง เช่น สารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิต2. ปัจจัยภายนอก เป็นการเสื่อมชำรุดจากสิ่งแวดล้อม โดยรอบตัวเอกสาร 2.1 มนุษย์ เป็นศัตรูสำคัญที่ทำให้เกิดการชำรุดเสื่อมสภาพ โดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ เช่น - สะเพร่า มักง่าย ละเลย ไม่ดูแลรักษา - ไม่ระมัดระวังในการหยิบยก จับถือ เคลื่อนย้าย - เมื่อชำรุดซ่อมโดยไม่ถูกต้อง - รับประทานอาหารเเล้วมาจับโดยไม่ล้างมือ - ขีดเส้นใต้หรือเขียนข้อความเพิ่มเติม - พับมุมทำเครื่องหมายหน้าที่อ่านค้าง - ใช้เทปกาวซ่อมเอกสารที่ฉีกขาด ซึ่งผ่านกาลเวลา จะเกิดรอยเปื้อนบนกระดาาขจัดออกได้ยาก เเละลอกเทปกาวออกทำให้ฉีกขาดมากขึ้น 2.2 แมลง เช่น เเมลงสามง่าม ปลวก แมลงสาป หนอนหนังสือ กัดเป็นรอยแหว่ง รอยพรุน รูโหว่ และรอยเปื้อนทางเดินปลวก 2.3 สัตว์อื่น ๆ นก หนู ค้างคาว ต่างมีบทบาททำลายทั้งทางตรงเเละ ทางอ้อม โดย หนู มีฟันแหลมคมที่กัดทำลายเอกสาร มูลของนกและค้างคาว ทำให้วัสดุสกปรก เปรอะเปื้อน สึกกร่อน และมีกลิ่นเหม็น นกยังเป็นพาหะนำเเมลงหลายชนิดเข้ามาภายในอาคาร 2.4 จุลินทรีย์ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าต้องตรวจสอบ กล้องจุลทรรศน์ จุลินทรีย์มีบทบาทสำคัญในการทำลายเอกสาร เสื่อมสภาพ ได้เเก่ รา พบว่ามีการเจริญเติบโตในที่มีความชื้นสูง ทำให้กระดาษหมดความเหนียว ความเเข็งแรง กลายเป็นกระดาษ ที่เปื่อยยุ่ย ฉีกขาดง่าย 2.5 อุณหภูมิและความชื้น มีความสัมพันธ์เเละเกี่ยวเนื่องกัน อุณหภูมิ สูง ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำลง กระดาษกรอบ อุณหภูมิ ต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์ สูงขึ้น กระดาษอ่อนนุ่ม ฉีกขาดง่าย จึงกำหนดอุณหภูมิ 55-70 องศาฟาเรนไฮต์ เเละความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 55 เปอร์เซนต์ 2.6 แสงสว่าง ทั้งแสงแดดและแสงสว่างจากหลอดไฟทำให้เอกสาร ชำรุดเสื่อมสภาพได้ แต่แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าไม่รุนแรงเท่า แสงแดด ซึ่งส่งผลทำให้กระดาษเปลี่ยนสี ขาดความเเข็งแรง กรอบ เปราะ ฟอกจางสีหมึกที่ใช้เขียนหรือพิมพ์ 2.7 ก๊าซต่างๆ ในบรรยากาศมีก๊าซต่่างๆ ปะปนอยู่มาก มีผลกระทบสำคัญ ทำให้เกิดชำรุดเสื่อมสภาพ คาร์บอนไดออกไซด์ CO₂ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ SO₂ ไนโตรเจนไดออกไซด์ NO₂ ออกซิเจน O₂ โอโซน O₃ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ H₂S 2.8 ฝุ่นละออง ในบรรยากาศมีฝุ่นละอองเเละอนุภาคแขวนลอย ทำให้ เอกสารเสื่อมสภาพได้ ฝุ่นละอองที่มีอนุภาคใหญ่ หรือแหลมคม ทำให้เอกสารสึกกร่อน จากการ ขัด สี ครูด ถู ฝุ่นละอองที่มีเขม่า หรือควันจะมียางเหนียวๆ และยังเป็นแหล่งสะสมให้เกาะติดเพิ่ม มากขึ้น สำหรับหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ตั้งอยู่ในภาคใต้ ยังได้รับความชื้นจากฝนตกชุกในพื้นที่และ ฝุ่นละอองที่มีเกลือปะปนมากับไอเค็มจากชายทะเล ที่พัดมาตามลม เมื่อบรรยากาศมีความชื้นสูง ฝุ่นละอองจะดูด ความชื้นเข้ามาทำให้วัสดุชื้น เเละทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ส่งผลต่อ การเสื่อมสภาพของเอกสาร ทั้งนี้เอกสารที่จัดเก็บภายในหน่วยงานราชการใกล้ชายทะเล ได้รับผลกระทบมากกว่าเอกสารที่เก็บในพื้นที่อื่น ๆ ที่มา : คู่มือวิชาการพื้นฐานการบริหารและจัดการงานจดหมายเหตุ หน้า 282-283
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 28/5ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 36 หน้า : กว้าง 4.9 ซม. ยาว 54.7 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
องค์ความรู้ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์
เรื่อง “พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดจันทบุรี”
จังหวัดจันทบุรีเป็นเมืองสำคัญที่มีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการกู้อิสรภาพของชาติไทย กล่าวคือ ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการได้นำกำลังพลประมาณ 500 คน พร้อมด้วยทหารคู่ใจ คือ พระเชียงเงิน หลวงพิชัยอาสา หลวงพรหมเสนา และหลวงราชเสน่หา ตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกจากกรุงศีอยุธยาก่อนเสียกรุง เพื่อไปหาที่ตั้งมั่น โดยออกไปทางทิศตะวันออกผ่านนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง แล้วยึดเมืองจันทบุรีเพื่อใช้เป็นที่ตั้งมั่นในการรวบรวมไพร่พล สะสมเสบียงอาหาร เป็นเวลา 5 เดือน ได้ทหารไทยจีนประมาณ 5,000 คน ต่อเรือรบได้ประมาณ 100 ลำ เพื่อไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยา
ในเดือนธันวาคม มีวันสำคัญวันหนึ่ง คือวันที่ 28 ธันวาคม เป็นวันคล้ายวันปราบดาภิเษกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งพระองค์ได้ใช้เมืองจันทบุรีเป็นที่ตั้งมั่นในการรวบรวมไพร่พลไปกอบกู้เอกราชให้กับชาติไทย
จะขอพูดถึงประวัติการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ จังหวัดจันทบุรี ที่ชาวจันทบุรีได้สร้างเพื่อรำลึกถึงพระองค์ท่าน ซึ่งแนวความคิดในการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2515 เมื่อนายวิชิต ศุขะวิริยะ ได้มาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี โดยคณะกรรมการและชาวจังหวัดจันทบุรี ได้พร้อมใจกันจะก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขึ้น ณ เกาะกลาง ในสวนสาธารณะพระเจ้าตากสินมหาราช (ทุ่งนาเชย) อำเภอเมือง จันทบุรี เพื่อเป็นการเทิดทูนพระเกียรติ และเป็นอนุสรณ์แห่งความจงรักภักดี ทั้งยังเป็นที่เคารพสักการะ และเป็นตัวอย่างแก่อนุชนรุ่นหลังในการประกอบคุณงามความดี เพื่อประเทศชาติต่อไป
แบบรูปพระบรมราชานุสาวรีย์ กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบและจัดทำ โดยปั้นเป็นรูปขนาดเท่าครึ่งของคนและม้า หล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดง ทาด้วยน้ำยารมดำ ประกอบด้วย
1. พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงม้าเผชิญศึกในเครื่องทรงแบบกษัตริย์
2. รูปพระเชียงเงินในเครื่องแต่งกายแบบทหารเอก
3. รูปหลวงพรหมเสนาในเครื่องแต่งกายแบบทหารเอก
4. รูปหลวงพิชัยอาสาในเครื่องแต่งกายแบบทหารเอก
5. รูปหลวงราชเสน่หาในเครื่องแต่งกายแบบทหารเอก
การก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ เจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากรประกอบและตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ จนเสร็จเรียบร้อย เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2523 ใช้เวลาก่อสร้างทั้งหมด 9 ปี ใช้เงินงบประมาณในการดำเนินงานจากการบริจาคของผู้มีจิตศรัทธาทั้งหมด จำนวน 2,518,712.90 บาท
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2524
อ้างอิง :
ที่ระลึกพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์, 2524.
ขอขอบคุณภาพการก่อสร้าง : เพจ facebook ตามรอย เจ้าตาก และในหลวง ร.9 เสด็จเปิด จาก facebook จันท์ จิ๊ด
ผู้เรียบเรียง : #นางสาวเมษา ครุปิติ
บรรณารักษ์ชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 137/3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 172/6กเอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
ผู้แปล สมศรี เอี่ยมธรรม.
ชื่อเรื่อง บันทึกสัมพันธภาพระหว่างประเทศสยามกับนานาประเทศ เล่มที่ ๓๓-๓๕
(ค.ศ. ๑๘๗๑ - ๑๘๗๒)
ครั้งที่พิมพ์ -
ปีที่พิมพ์ ๒๕๓๙สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากรจำนวนหน้า ๒๑๖ หน้า
รายละเอียด
บันทึกสัมพันธภาพระหว่างประเทศสยามกับนานาประเทศ เล่มนี้ กรมศิลปากร ได้มอบให้ นางสมศรี เอี่ยมธรรม แปลจากเอกสารชุด “Documents relation to the Relationship between Siam and Foreign Countries” Vol. ๓๓ - ๓๕ ทั้งชุดมี ๓๖ เล่ม ซึ่ง เล่มที่ ๓๓ - ๓๕ เนื้อเรื่องกล่าวถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับการปล้นสะดม การกระทบกระทั่งกันตามชายแดนภาคเหนือ รวมทั้งการพิจารณาคดีระหว่างของคนในบังคับของอังกฤษ เช่น พม่า กะเหรี่ยง มอญ และชาวไทยตอนเหนือ การทำสัญญาระหว่างอังกฤษกับเชียงใหม่ การวางสาย โทรเลข และไฟฟ้าของเจ้าหน้าที่อังกฤษในเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 56/2ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 92 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 10/4ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 53.2 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชิต เหรียญประชา เกิดเมื่อวันพุธที่ 1 กรกฎาคม 2451 ที่จังหวัดนครปฐม เริ่มเรียนศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่าง แต่เมื่อเหลือเวลาอีก 1 ปี ก่อนจะจบการศึกษา ชิตกลับลาออก เนื่องจากมองไม่เห็นอนาคตในอาชีพศิลปิน ต่อมาชิตได้ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร ด้วยเหตุที่ชิตเป็นผู้มีความรู้ทางด้านศิลปะ จึงย้ายไปช่วยงานที่กรมทหารช่าง และสอบบรรจุเป็นนายสิบ แต่เนื่องจากเงินเดือนที่ได้ไม่พอใช้ในครอบครัว จึงลาออกมาเป็นช่างอิสระ รับจ้างเขียนลายรดน้ำ ปิดทองโต๊ะหมู่บูชา พ.ศ. 2473 ชิตทำงานเป็นช่างศิลป์ให้กับสำนักงานศิลปาคาร ในการออกแบบแกะบล็อกและตราเครื่องหมายต่างๆ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชิตรับงานผลิตตราขององค์การสงเคราะห์ประชากรสงคราม ทำให้มีทุนเพียงพอสำหรับการเปิดร้าน ช.ช่าง รับงานแกะสลักทุกชนิด โดยเมื่อว่างจากการรับงานที่ร้าน ชิตได้ทุ่มเทเวลาในการสร้างสรรค์ผลงานแกะสลักในแบบฉบับของตนเอง ในปี 2493 ชิตและเพื่อนศิลปินร่วมกันก่อตั้งจิตรกรปฏิมากรสมาคม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งศิลปะอันเป็นวัฒนธรรมของชาติ และรวบรวมศิลปินให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ชิตได้รับการยกย่องในแวดวงศิลปะว่ามีความเป็นเลิศในด้านการแกะสลักไม้และงาช้าง และเป็นผู้ที่มีความสามารถในการนำเอารูปแบบของศิลปะไทยประเพณีมาผสมผสานเข้ากับรูปแบบและวิธีการของงานศิลปะสมัยใหม่ โดยได้รับแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งมาจากพระพุทธรูปแบบสุโขทัย ซึ่งมีสัดส่วนและท่าทางการแสดงออกที่มีความอ่อนช้อยงดงาม ชิตได้กล่าวถึงการสร้างสรรค์ผลงานของตนไว้ว่า “ผมทำตามอารมณ์... ต้องการให้เส้นที่ปรากฏออกมาในแบบไทยๆ แต่ form เป็นสากล”
ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2494) ผลงาน “รำมะนา” ของชิตได้รับรางวัลเกียรตินิยมอับดับ 1 เหรียญทอง สาขาประติมากรรม ผลงานแกะสลักจากไม้มะฮอกกานี เป็นรูปผู้ชายกำลังนั่งเล่นกลองขึงหนังหน้าเดียวที่เรียกว่า รำมะนา มีการลดทอนรายละเอียดของกล้ามเนื้อ คงไว้ซึ่งรูปร่างที่มีลักษณะอ่อนช้อย โดยออกแบบใบหน้า ท่าทาง และเค้าโครงของงานประติมากรรม ให้แสดงเส้นสายของร่างกายที่ลื่นไหลเป็นวงโค้งล้อรับกันกับเครื่องดนตรี เผยให้เห็นถึงลีลาท่าทางของนักดนตรีที่กำลังรัวกลองเร้าอารมณ์อย่างสนุกสนาน ดูได้จากนิ้วมือ นิ้วเท้า และการโยกตัวตามจังหวะอย่างพลิ้วไหว ผลงานชิ้นนี้จึงมีความประณีตสูงและสื่อสารอารมณ์ถึงผู้ชมได้เป็นอย่างดี
จากการส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 – 4 (พ.ศ. 2492 – 2496) ชิตได้รับรางวัลเกียรตินิยมอับดับ 1 เหรียญทอง 2 ครั้ง และรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน 2 ครั้ง จึงได้รับเกียรติยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยม สาขาประติมากรรม ในปี 2496
ถึงแม้ว่าชิตจะเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมแล้ว ก็ยังคงส่งผลงานเข้าร่วมแสดงอีกหลายครั้ง ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 10 (พ.ศ. 2502) ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวถึงผลงานของชิตไว้ว่า “…รูปสลักไม้ หญิงไทย ของ ชิต เหรียญประชา ซึ่งศิลปินผู้นี้ได้ตัดส่วนหยุมหยิมของทรงรูปนอกออกเสีย ก็เพื่อจะให้เกิดความเหมาะสมขึ้นในลักษณะพิเศษของศิลปตามแบบประเพณีของเรา ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นว่าเขาเป็นศิลปินผู้มีฝีมือช่ำชองอยู่ตลอดมา…”
พ.ศ. 2530 ชิตได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาประติมากรรม จากมหาวิทยาลัยศิลปากร และได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) ชิตถึงแก่กรรมด้วยโรคภาวะหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2537 สิริอายุ 86 ปี
#ชิตเหรียญประชา
#ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่๙
#ศิลปินแห่งนวสมัย #หอศิลป์แห่งชาติ
#หอศิลป์แห่งชาติถนนเจ้าฟ้า
ที่มา
1. หนังสือ “5 ทศวรรษ ศิลปกรรมแห่งชาติ 2492 – 2541” โดย หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
2. หนังสือ “ชิต เหรียญประชา ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป (ประติมากรรม) พ.ศ. 2530” โดย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
3. หนังสือ “บทความ ข้อเขียน และงานศิลปกรรมของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี” โดย หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เลขวัตถุ
ชื่อวัตถุ
ขนาด (ซม.)
ชนิด
สมัยหรือฝีมือช่าง
ประวัติการได้มา
ภาพวัตถุจัดแสดง
33/2553
(9/2549)
ขวานหินกะเทาะ มีบ่า
ย.7.8 ก.5
หนา 1.2
หิน
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 2,500-2,000 ปีมาแล้ว
ได้จากบ้านเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จ.นครนายก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539
เลขทะเบียน : นพ.บ.503/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 167 (205-215) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : รามชาตก--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม