ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
องค์ความรู้ เรื่อง ต้นไม้ทรงปลูกในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมราชบพิตร ในจังหวัดราชบุรี จัดทำข้อมูลด้วยนางสาวสุกัญญา เรือนแก้ว ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี
// ศิลปะถ้ำที่พบในแหล่งโบราณคดีเขากะไดม้า //
.
.
บทความโดยนางสาวมนิสรา นันทะยานา ผู้ช่วยนักโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย
.
.
แหล่งโบราณคดีเขากะไดม้า ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านโคกผักหวาน ตำบลชาติตระการ อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก โดยบริเวณที่พบศิลปะถ้ำเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้กับพุทธอุทยานเขากะไดม้า จึงได้มีการตั้งชื่อแหล่งโบราณคดีตามชื่อของพุทธอุทยาน
.
.
จุดที่พบศิลปะถ้ำมีทั้งหมด 2 จุด คือ บริเวณถ้ำพระอีงั่ง และถ้ำคอขาดซึ่งอยู่ห่างจากถ้ำพระอีงั่งไปทางทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตร
.
.
ถ้ำพระอีงั่ง มีลักษณะคล้ายเพิงผา ตำแหน่งที่พบศิลปะถ้ำคือ บริเวณเพดานหินภายในเพิงผา โดยศิลปะถ้ำที่พบบางส่วนมีสภาพไม่สมบูรณ์ เนื่องจากมีการหลุดร่อนของสี และมีบางส่วนที่ถูกคราบเกลือขึ้นทับบริเวณภาพ ทำให้เห็นภาพไม่ชัดเจน ศิลปะถ้ำที่พบที่นี่ เป็นการเขียนแบบกลุ่มภาพ และมีลักษณะการเขียนภาพแบบเงาทึบ (silhouette) เขียนด้วยสีแดง ปรากฏเป็นภาพคน 2 ภาพ โดยภาพคนที่อยู่ตรงกลางแสดงท่าทางกางแขนกางขา แสดงลักษณะทางสรีระที่ชัดเจน คือ น่องโต หรือโป่งออกมา ที่บริเวณเอวมีชายผ้าห้อยตกลงมาทั้งสองด้าน ภาพสุนัข 1 ภาพ และภาพส่วนของขาสัตว์ที่มีกีบเท้า 1 ภาพ
.
.
ถ้ำคอขาด มีลักษณะเป็นเพิงผาเช่นเดียวกับถ้ำพระอีงั่ง จุดที่พบศิลปะถ้ำ คือ บริเวณเพดานหินที่อยู่ในเพิงผา และผนังหินด้านข้างที่อยู่ถัดลงมา โดยภาพบางส่วนมีคราบเกลือขึ้นทับบริเวณภาพทำให้เห็นไม่ค่อยชัดเจน
.
.
เพดานหินภายในถ้ำคอขาดที่พบศิลปะถ้ำ ลักษณะคล้ายจะมีการแบ่งภาพออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่ด้านบน และส่วนที่อยู่ด้านล่าง
.
.
ภาพส่วนที่อยู่ด้านบน เป็นการเขียนภาพแบบกลุ่ม เขียนด้วยสีแดง มีลักษณะการเขียนหลายแบบ ที่เห็นได้ชัดคือแบบเงาทึบ (silhouette) เป็นภาพคน 1 ภาพ หันหน้าไปทางด้านซ้าย แสดงท่าทางกางแขนกางขา แสดงลักษณะทางสรีระที่ชัดเจน คือ น่องโตหรือโป่งออกมา ที่บริเวณเอวมีชายผ้าห้อยตกลงมาทั้งสองด้าน เช่นเดียวกับที่ถ้ำพระอีงั่ง และมีลักษณะการเขียนภาพแบบลายเส้นลักษณะเป็นภาพนามธรรมแสดงลวดลายต่างๆ ไว้โดยรอบ
.
.
ภาพส่วนที่อยู่ด้านล่าง เป็นภาพเขียนสีแดง ภาพคน 2 ภาพ ในท่าทางกางแขนกางขา น่องโป่ง ภาพด้านซ้ายเป็นภาพเงาทึบ ภาพด้านขวา เหมือนจะเป็นภาพร่าง มีการระบายสีด้านในจางๆ โดยภาพคนที่ไม่มีศีรษะนี้เป็นที่มาของชื่อถ้ำคอขาดที่ชาวบ้านในพื้นที่เรียกกัน
.
.
ภาพเขียนสีอีกจุดที่อยู่บริเวณผนังหินที่อยู่ถัดลงมา เป็นภาพคน 1 ภาพ เขียนแบบเงาทึบ (silhouette) เขียนด้วยสีแดง โดยในบริเวณนี้มีคราบเกลือขึ้นปกคลุมทั่วทั้งภาพ ทำให้มองเห็นภาพไม่ค่อยชัดเจน
.
.
การพบศิลปะถ้ำกระจายตัวอยู่ตามเพิงผาบนแนวเขา แสดงให้เห็นถึงการเข้ามาใช้พื้นที่ของผู้คนในช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะมีการเคลื่อนย้ายออกไปที่อื่น
.
.
กลุ่มศิลปะถ้ำที่พบแสดงให้เห็นถึงการดำรงชีวิตของผู้คนที่เข้ามาใช้พื้นที่บริเวณนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มิลปะถ้ำที่พบบริเวณถ้ำพระอีงั่ง ที่ปรากฏเป็นภาพสุนัขและขาสัตว์ที่มีกีบเท้า ซึ่งน่าจะสื่อถึงการออกไปหาของป่าล่าสัตว์ โดยอาจมีการเลี้ยงสัตว์ เช่น สุนัข เพื่อช่วยในการล่าสัตว์ด้วย ซึ่งเป็นลักษณะของชุมชนหาของป่าล่าสัตว์ ที่คนอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ตามถ้ำหรือเพิงผาที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ดำรงชีวิตด้วยการหาของป่าล่าสัตว์ และมักมีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานตามฤดูกาลเพื่อหาอาหารในแต่ละพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน
.
.
ทั้งนี้ ข้อสรุปเบื้องต้นนี้เป็นเพียงการสันนิษฐานจากภาพที่พบ อาจจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อกำหนดอายุอีกครั้ง
ชื่อเรื่อง โคลงเลี้ยงโต๊ะปีใหม่ผู้แต่ง -ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณกรรมเลขหมู่ 895.9113082 ค968ลสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัยปีที่พิมพ์ 2503ลักษณะวัสดุ 40 หน้า หัวเรื่อง กวีนิพนธ์ -- รวมเรื่อง การเลี้ยงโต๊ะ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก เนื้อหาภายในประกอบด้วยโคลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 และเจ้านาย ที่ทรงพระนิพนธ์ไว้ในชักเปี๊ยะห่อของพระราชทานใน วันขึ้นปีใหม่ ทั้งหมด 45 โคลง
.
วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีที่มาจากเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๓๗๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ได้ออกเสด็จจาริกธุดงค์ไปยังหัวเมืองเหนือ ทรงพบศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงที่เนินปราสาท เมืองสุโขทัย อันเป็นที่มาของการกำหนดให้วันที่ ๑๗ มกราคมของทุกปีเป็นวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
.
พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๓ ของราชวงศ์พระร่วง ปกครองอาณาจักรสุโขทัยระหว่างปี พ.ศ.๑๘๒๒ – ๑๘๔๑ ในยุคสมัยของพระองค์บ้านเมืองมั่นคง สงบสุข มีความเจริญรุ่งเรือง ทั้งยังมีการคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น ทำให้คนไทยได้มีอักษรใช้เป็นของตนเอง และสามารถส่งผ่านองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ สืบทอดต่อเนื่องมาตลอดเจ็ดร้อยกว่าปี เป็นเหตุให้พระองค์เป็นกษัตริย์พระองค์แรกของคนไทยที่ได้รับยกย่องเป็น “มหาราช”
เลขทะเบียน : นพ.บ.119/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.3 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 67 (214-219) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
ชื่อเรื่อง เจ็ดรอบอายุ
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์พระจันทร์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๒
จำนวนหน้า ๑๕๑ หน้า
หมายเหตุ หนังสืออนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๒
เป็นหนังสือที่ระลึกในพิธีงาน มีเนื้อหาชีวิตเบื้องต้นในสมัยยังทารก สมัยเรียน และครอบครัว การทำงานกระทรวงมหาดไทย กรมราชเลขาธิการ กระทรวงธรรมการ กรรมกรไร้งาน และเมืองไทยเปลี่ยนฉาก
เลขทะเบียน : นพ.บ.129/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 4.8 x 50 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 75 (275-287) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : ธฺมมปทวณฺณนา ธฺมฺมปทฎฺฐกถา ขุทฺกนิกายฎฺฐกถา (ธมฺมบท)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ตำรายาและคาถาอาคม ชบ.ส. ๒
เจ้าอาวาสวัดรังษีสุทธาวาส ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๙ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.17/1-5
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
องค์ความรู้ เรื่อง เครื่องประดับโบราณ : ตุ้มหูแบบ "ลิง ลิง โอ" (Ling-Ling-O) จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ธนิต อยู่โพธิ์. การรู้จักดูคน. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2527.
การรู้จักดูคนเล่มนี้ เป็นหนังสือรวมนิทานเรื่องสั้น ๆ ไว้ประมาณ 44 เรื่อง แต่ละเรื่องบรรจุคติธรรมไว้โดยตลอด ทำนองหนังสือนิทานสุภาษิต
แผ่นอิฐจำหลักรูปมกร
จากเจดีย์หมายเลข ๓ เมืองโบราณอู่ทอง
แผ่นอิฐจำหลักรูปมกร พบจากเจดีย์หมายเลข ๓ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
แผ่นอิฐรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๑๖ เซนติเมตร ยาว ๒๒ เซนติเมตร หนา ๗.๕ เซนติเมตร ด้านหน้าจำหลักเป็นรูปใบหน้าของสัตว์ในมุมมองด้านข้าง เป็นรูปตา จมูกและปากของสัตว์กำลังแยกเขี้ยวยิงฟันเห็นเขี้ยวรูปสามเหลี่ยมและฟันรูปสี่เหลี่ยมเรียงเป็นแถบ สันนิษฐานว่าเป็นสัตว์ผสมที่เรียกว่า “มกร” ด้านหลังแบนเรียบ มีร่องรอยแกลบข้าวในเนื้อดิน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของอิฐที่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี
มกร เป็นสัตว์ผสมในจินตนาการระหว่างสัตว์บกกับสัตว์น้ำ มีลำตัวและปากคล้ายจระเข้ มีงวงเหมือนช้าง มีหางเหมือนปลา ถือเป็นสัตว์มงคล และเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ คติเรื่องมกรปรากฏทั้งในพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีความเชื่อว่า มกร เป็นสัตว์ผู้พิทักษ์และเป็นพาหนะของเทพเจ้า ได้แก่ พระวรุณ พระคงคา เป็นต้น
ศิลปกรรมรูปมกร ปรากฏขึ้นครั้งแรกในศิลปะอินเดียโบราณ และได้รับการสืบทอดต่อมา โดยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบไปตามรสนิยมของแต่ละยุคสมัย ทั้งนี้ได้อิทธิพลให้กับศิลปะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย กัมพูชา พม่า และไทย โดยพบรูปมกรทั้งในงานประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ในสมัยทวารวดี พบการใช้รูปมกรประดับส่วนปลายพนักพุทธบัลลังก์ของพระพุทธรูปประทับห้อยพระบาท จากวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม ประดับมุมส่วนฐานเจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม และตกแต่งกรอบซุ้มประดับสถาปัตยกรรมที่เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี เป็นต้น
แผ่นอิฐจำหลักรูปมกรแผ่นนี้ กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นส่วนประกอบของรูปมกรที่ประดับเจดีย์ ซึ่งอาจใช้ประดับส่วนฐานในลักษณะเดียวกับมกรที่เจดีย์จุลประโทน หรืออาจเป็นใช้ประดับปลายกรอบซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปที่ติดอยู่บนผนังของเจดีย์ก็เป็นได้
เอกสารอ้างอิง
ธงกิจ นานาพูลสิน. “คติความเชื่อและรูปแบบ “มกร” ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ในประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒.
วิภาดา อ่อนวิมล. “อิฐมีลวดลายในสมัยทวารวดี”. เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคล ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๖.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฏฐาน) สพ.บ. 394/3หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพันประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 26 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 58.5 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี