ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ

เราสู้: Rao Su   เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 44           เพลงพระราชนิพนธ์ ลำดับที่ 44 ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง นายสมภพ จันทรประภา ใส่คำร้องโดยประพันธ์เป็นกลอนสุภาพ 4 บท ในพุทธศักราช 2516 โดยคำร้องนี้ นายสมภพ ได้ขอพระราชทานพระราชดำรัสที่ พระราชทานแก่สมาชิกสภานิติบัญญัติ ประกอบด้วย ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ ประชาชน ซึ่งได้จัดแข่งฟุตบอล เพื่อนำรายได้ทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศล และเข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน       มาเขียนเป็นคำกลอนถวาย           เมื่อทรงเกิดแรงบันดาลพระราชหฤทัยที่จะทรงพระราชนิพนธ์เพลง “เราสู้” ก็ทรงหยิบซองจดหมายใกล้พระหัตถ์มาตีบรรทัด 5 เส้น เพื่อทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง เมื่อแล้วเสร็จก็พระราชทานให้วงดนตรี อ.ส. วันศุกร์ ซึ่งกำลังบรรเลงอยู่ในงานวันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม พุทธศักราช 2517 นำออกบรรเลง ณ พระราชวังบางปะอินจากนั้นได้ทรงนำกลับไปแก้ไขก่อนจะพระราชทานออกมาให้วงดนตรี อ.ส. วันศุกร์ บรรเลง และทรงแก้ไขอีกจนพอพระราชหฤทัยนับเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 2 ที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองจากคำร้อง   Royal Composition Number 44           The forty-fourth royal musical composition was written by His Majesty to the lyrics by Mr. Sompop Chantaraprapa who wrote a 4-verse poem in 1973. The poem was based on his Majesty's royal address delivered to members of the legislative council, comprising civil servants, military and police officers and common people, who organized a football match to raise fund for royal charities and sought an audience with His Majesty at Chitralada Villa.           When he had the inspiration to write the melody for the composition "Rao Su", His Majesty picked up an envelope at hand and drew 5 lines to write down the tune, which he gave to the Aw Saw Wan Suk Band performing at the New Year Party on 1 January 1974 at Bang Pa-In Palace. He then took it back to revise before giving the tune to the Aw Saw Wan Suk Band to perform. His Majesty revised it several time to his satisfaction. It was second composition that the melody was written to fit the lyrics.


เนื่องในโอกาส ๑๐๕  ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร ในวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๙ อธิบดีกรมศิลปากร มอบรางวัลและใบประกาศเกียรติบัตรแก้ข้าราขการดีเด่นและผู้ปฏิบัติการดีเด่นของกรมศิลปากร ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร   





หนังสือเมืองราดของพ่อขุนผาเมืองกรุงสุโขทัยและรอยเชื่อมในประวัติศาสตร์ไทย     ผู้แต่ง/ผู้แปล/ผู้เรียบเรียง : Author:    นายพิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ ครั้งที่พิมพ์ : Edition:  พิมพ์ครั้งแรก พุทธศักราช ๒๕๕๕ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม ผู้พิมพ์ : Publisher:  กรมศิลปากร ISBN:  978-616-283-026-6 ราคา : Price:  130 กรมศิลปากร จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง เมืองราดของพ่อขุนผาเมืองกรุงสุโขทัยและรอยเชื่อมในประวัติศาสตร์ไทย โดยมีนายพิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ กรมศิลปากร เป็นบรรณาธิการและผู้เขียน พิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก พุทธศักราช ๒๕๕๕ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม จำหน่ายในราคาเล่มละ ๑๓๐ บาท เนื้อหาภายในหนังสือประกอบไปด้วยบทวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์สั้นๆในประเด็นที่ไม่ค่อยมีนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์สนใจที่จะทำการศึกษาไว้อย่างจริงจัง ซึ่งผู้เขียนก็ได้พยายามตั้งกรอบการศึกษาขึ้นมาโดยอ้างอิงหลักฐานทั้งทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์เป็นไปอย่างมีระเบียบและวิธีการ เรื่องของพ่อขุนผาเมืองที่ยังมีความคลุมเครือว่าเคยมีอำนาจอยู่ในดินแดนที่ต่อมาเป็นแคว้นสุโขทัยและต่อมาภายหลังตระกูลนี้หายไปอยู่ที่ไหน รวมถึงเรื่องของสมเด็จพระรามาธิบดี (ที่ ๑) ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยานั้นมีเชื้อสายสืบมาจากที่ใด หนังสือเล่มนี้มีคำตอบที่ได้รับการวิเคราะห์และชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของทั้งสองเรื่องไว้อย่างสมเหตุสมผล นอกจากนี้ในหนังสือเล่มนี้ยังได้วิเคราะห์ถึงที่ตั้งของเมืองราด หรือเมืองทุ่งยั้งจากสภาพภูมิศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อการเป็นที่ตั้งของเมือง รวมไปถึงเรื่องเมืองราดและความเกี่ยวข้องกับการสถาปนากรุงศรีอยุธยา พร้อมภาพประกอบสี่สีของโบราณวัตถุรวมทั้งแผนที่แสดงที่ตั้งเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องในหนังสือเล่มนี้ ชวนให้น่าอ่าน น่าศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ที่สำคัญเมื่อได้อ่านแล้วลองพิจารณาร่วมกันว่าเมืองราดในบทวิเคราะห์ของผู้เขียนนั้นมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงไร ผู้สนใจสามารถติดต่อซื้อได้ ที่กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร ถนนหน้าพระธาตุ พระนคร กรุงเทพฯ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๒ ๐๙๓๔, ๐ ๒๒๒๔ ๒๐๕๐  


           หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม จัดโครงการนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ครบ 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555 กิจกรรมที่จัดดังนี้                 1.  จัดแสดงนิทรรศการเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ครบรอบ ๘๐ พรรษา  ณ หอสมุดแห่งชาติฯ นคพรนม ระหว่างวันที่ 1-31 สิงหาคม 2555 เพื่อเผยแพร่พระราชประวัติ  พระราชกรณียกิจ พระราชอัจฉริยภาพด้านต่างๆ  โดยเฉพาะโครงการตามแนวทางพระราชดำริในเขตพื้นที่จังหวัดนครพนม พิธีเปิด วันที่ 1 สิงหาคม 2555 ครู นักเรียน  ประชาชนเข้าพิธีเปิดจำนวน 80 คน  และผู้เข้าชมนิทรรศการระหว่างวันที่ 1-31 สิงหาคม 2555  จำนวน  350 คน                  2.  ประกวดเขียนเรียงความเรื่อง  “แม่ของฉัน”  เพื่อให้ลูกได้แสดงออกถึงความรัก  ความกตัญญูกตเวทีต่อแม่และระลึกถึงพระคุณของแม่ตนเอง  แบ่งการประกวดเป็น 2  ระดับ คือ  ระดับประถม 4-6  และ ระดับมัธยม 3-6  มีนักเรียนส่งผลงานเข้าประกวดทั้งหมด  57 ผลงาน  จัด กิจกรรมส่งเสริมการอ่านเฉลิมพระเกียรติ  แข่งขันตอบปัญหาชิงรางวัล  ในวันที่ 1 สิงหาคม 2555  นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม  จำนวน  60  คน


โครงการนำศิลปวัฒนธรรมสู่สถานศึกษา ณ โรงเรียนชุมชน ๘ราษฎร์อุทิศพิทยา ต.เนินเพิ่ม อ.นตรำไทย จ.พิษณุโลก วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘



เข้าชมฟรี !! เมื่อท่านพาครอบครัวเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ ในทุกๆ วันอาทิตย์ (ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ - วันอาทิตย์ที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๓) ---------------------------------------------- Happy family day Free admission for families on every Sunday (since February - September 2020)


***บรรณานุกรม***  พระยาทัศดาจตุรงค์ ลำดับกษัตริญ์กรุงเก่าคำฉันท์ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสาว อรวรรณ เลขะกุล ฌาปนสถานวัดหัวลำโพง พระนคร วันที่ 23 มีนาคม พุทธศักราช 2513 ธนบุรี  เจริญรัตน์การพิมพ์ 2513



***บรรณานุกรม*** หนังสือหายาก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย.  หนังสืออ่านกวีนิพนธ์ คำกลอน สังข์ทอง ตอนเลือกคู่และหาปลาหาเนื้อ.  พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๔๙๖.


สาระสังเขป               : บทละคร ที่เป็นนิทานซ้อนนิทานตามแบบฉบับของวรรณกรรมอินเดีย โดยแต่งเป็นกลอนผู้แต่ง                       : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระโรงพิมพ์                   : มหามงกุฎราชวิทยาลัยปีที่พิมพ์                   : 2512ภาษา                       : ไทยรูปแบบ                     : PDFเลขทะเบียน              : น. 32 บ. 2458 จบเลขหมู่                     : 891.21                                  ม 242 พ


          วัดโคกหม้อ (ร้าง) ตั้งอยู่กลางหมู่บ้านโคกหม้อ ตําบลช่องสะแก อําเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรีเป็นวัดร้างมานานแล้ว ปัจจุบันเนื้อที่วัดโคกหม้อเหลือเพียง ๓ ไร่ ๒ งาน ๘๘ ตารางวา สามด้านติดที่เอกชน ส่วนด้านทิศตะวันตกจดแนวกําแพงเมืองวัดโคกหม้อในอดีตเป็นวัดหนึ่งที่อยู่ชิดติดกําแพงเมืองเพชรทางด้านทิศตะวันออก บริเวณทิศเหนือของวัดมีคลองใกล้ ๆ ชื่อคลองโคกหม้อ           บริเวณภายในเขตวัด มีการปลูกอาคารอย่างถาวรแข็งแรง ปล่อยโล่งตลอด ไม่มีผนัง หลังคาด้านข้างและด้านหน้าต่อพาไลยื่นออกมา ทำให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับสร้างอาคารอีกหลังหนึ่งปลูกอยู่ วัดนี้บริเวณที่เป็นพุทธาวาสเดิมมีรั้วกั้นเป็นขอบเขตไว้ส่วนหนึ่ง บริเวณอื่น ๆ นอกนั้นชาวบ้านใช้ประโยชน์ ดังนั้นแม้จะเป็นวัดร้างก็ยังมีเหลือร่องรอยไว้บ้าง พอให้เห็นว่ามีวัดโคกหม้อแต่เดิมตั้งอยู่ตรงนี้ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าการวางอาคารมีการวางแบบตะวันออก-ตะวันตกซึ่งเป็นการวางที่นิยมกัน แต่อาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปอาจจะเป็นวิหารหรืออุโบสถก็ได้ เพราะไม่มีหลักฐานแน่ชัดที่บ่งบอก ว่าเป็นอาคารประเภทไหน เช่น มีใบเสมาที่บอกว่าอาคารนี้เป็นอุโบสถ           พระประธานของวัดโคกหม้อ เป็นพระปูนปั้นขนาดกลาง ปางมารวิชัย หน้าตัก ๔ ศอกคืบ มีการซ่อมบูรณะมาหลายคราวจนเค้าเดิมเปลี่ยนไป กะเทาะปูนเดิมที่ชํารุดและฉาบผิวองค์พระใหม่ จนไม่สามารถระบุสมัยที่สร้างได้ กับปั้นเสริมพระพักตร์ให้บริบูรณ์ องค์พระยังเป็นสีขาวอยู่ ไม่ได้ปิดทอง แต่สามารถรู้ได้ว่าเป็นพระเก่าเพราะพระขนงเป็นแถบใหญ่หนา           นอกจากพระประธานที่เป็นของเก่าก็มีเจดีย์ทรงระฆัง ฐานกลมขนาดย่อม สูงประมาณ ๔ เมตร เดิมเหลือแต่ฐาน มีการซ่อมใหม่ เค้าเดิมถูกเปลี่ยนแปลง จึงยากต่อการระบุสมัย แต่น่าจะเป็นช่วงสมัยอยุธยาตอนปลายจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น บริเวณเยี่ยงหน้าอาคารพระประธาน ซึ่งจากการที่พบเจดีย์ขนาดเล็กก็อาจจะสันนิษฐานได้ว่าผังของวัดนี้อาจจะเป็นผังในช่วงอยุธยาตอนปลายจนถึงรัตนโกสินทร์ที่มีอาคารหลักเป็นประธานของวัด           จากการสอบถามป้าพะยอม บุญเปี่ยมและป้าอารมณ์ ทําให้ทราบว่าพื้นที่สร้างวัด เมื่อก่อนเป็นป่าแล้วมีคนมาบุกเบิก ตอนแรกก็มีแค่พระประธานกับเจดีย์ พระเป็นพระแบบเก่า ๆ เจดีย์ก็มีแค่ฐาน ชาวบ้านเลยทําตัวองค์ระฆังขึ้นเอง เดิมมีองค์พระเนื้อเป็นสีขาวๆคล้ายปัจจุบัน เป็นหลวงพ่อปากแดง ใต้ฐานองค์พระพบเส้นผมปัจจุบันยังเก็บไว้ที่เดิมซึ่งไม่ทราบประวัติที่มาของเส้นผมเช่นกัน ภาพที่ ๑ บริเวณของวัดโคกหม้อภาพที่ ๒ พระประธานของวัดโคกหม้อ ภาพที่ ๓ เจดีย์ทรงระฆังของวัดโคกหม้อผู้เรียบเรียงข้อมูล : นายณัฐพล ชัยมั่น ภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี ที่มาข้อมูล: นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, 2558. รายงานการสำรวจโบราณสถานและศาสนสถานภายในเขตอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี. จังหวัดเพชรบุรี: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. บุญมี พิบูลย์สมบัติ, 2559. “วัดร้าง จากเส้นทางไปวัดพระรูป.” ที่ระลึกงานฉลองสมณศักดิ์พัดยศ พระพิพิธพัชโรดม : 118-151.


Messenger