ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป จัดกิจกรรมเนื่องในวันศิลป์ พีระศรี “Silpa Bhirasri Day : 131 ปี ศิลป์ พีระศรี” ในศุกร์ที่ 15 กันยายน 2566 ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.30 น. ณ อาคารนิทรรศการถาวร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป
(แผนที่ https://maps.app.goo.gl/FDkNftAJToFoUrTs9?g_st=ic)
ขอเชิญชวนทุกคนไปร่วมวางดอกไม้สักการะอัฐิศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี รำลึกถึงครูผู้วางรากฐานทางด้านศิลปะ เดินชมนิทรรศการพิเศษ “131 ปี ศิลป์ พีระศรี” ฟังดนตรีสดสบายๆ ทำ Workshop งานอาร์ต โดยมีกิจกรรมดีๆ ให้เข้าร่วมตลอดทั้งวัน พร้อมรับของที่ระลึกสุดพิเศษ ฟรี! เมื่อลงทะเบียนเข้างาน
ผู้สนใจสามารถร่วมกิจกรรม Workshop Monoprint ภาพพิมพ์จากผ้า โดย ศ. (เกียรติคุณ) ญาณวิทย์ กุญแจทอง ศิลปินชั้นเยี่ยมด้านภาพพิมพ์ ฟรี ! ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยลงทะเบียนล่วงหน้าได้ทาง : https://forms.gle/c3DWkUAueio3uRz76 รับจำนวนจำกัดเพียง 30 ท่าน เท่านั้น
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : The National Gallery of Thailand (https://www.facebook.com/TheNationalGalleryThailand)
“ย้อนอดีต เทศกาลลอยกระทงเมืองปราจีนบุรี”
- เนื่องในโอกาสวันลอยกระทงที่เวียนมาถึง ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี จึงขอย้อนรำลึกถึงบรรยากาศเทศกาลลอยกระทงเมืองปราจีนบุรีในอดีต มาให้ทุกท่านได้ชมกัน
- ภาพถ่ายชุดนี้เป็นภาพรถขบวนกระทงใหญ่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ในงานเทศกาลลอยกระทงจังหวัดปราจีนบุรี ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยในครั้งนั้น มีการตั้งขบวนกระทงจากหน่วยงานราชการ สถานศึกษาต่าง ๆ ในจังหวัดปราจีนบุรี รวมถึงรถขบวนกระทงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ตกแต่งรถขบวนกระทงใหญ่เข้าร่วมประกวด แห่เคลื่อนไปตามถนนภายในเมืองปราจีนบุรี โดยมีประชาชนชาวเมืองปราจีนบุรีรอรับชมเป็นจำนวนมาก ก่อนจะนำกระทงประกวดที่ตกแต่งอย่างสวยงามไปลอยในสระน้ำหน้าศาลาว่าการจังหวัดปราจีนบุรีหลังเก่า
- สำหรับเทศกาลลอยกระทง ถือเป็นงานประเพณีประจำจังหวัดที่จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยในปี ๒๕๖๖ นี้ กำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ณ ริมเขื่อนข้างศาลพระหลักเมืองปราจีนบุรี ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี จึงขอเชิญชวนชาวจังหวัดปราจีนบุรี และนักท่องเที่ยวร่วมสืบสานประเพณีอันดีงามนี้ให้คงอยู่สืบไป
ผู้เรียบเรียง : นายเพิ่มพันธ์ นนตะศรี ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
แมวขูดมะพร้าว วัสดุ : ไม้, เหล็กประวัติ : ร้านรัตนาแอนติค มอบให้เมื่อ 9 ตุลาคม 2528ขนาด : กว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร ลักษณะ : ไม้แกะสลักเป็นรูปแมวนอนหมอบยืดขาหน้า หางเก็บข้างลำตัว บริเวณดวงตาประดับกระจกสีเขียว แกะลายเส้นเป็นหนวดแมว ที่ปากแมวมีเหล็กทำเป็นซี่เล็ก ๆ ใช้สำหรับขูดมะพร้าวยื่นออกมา ที่ก้นแมวมีห่วงเหล็กสถานที่เก็บรักษา : คลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ -----------------------------------------------------------อุปกรณ์ขูดมะพร้าวเป็นหนึ่งในเครื่องใช้ในครัวเรือนที่สามารถพบเห็นได้ตามบ้านเรือนในหลายภาค เนื่องจากอาหารไทยหรือขนมไทยหลายอย่างมีส่วนประกอบของมะพร้าวหรือกะทิ โดยแต่ละภาคจะมีชื่อเรียกและรูปร่างที่ต่างกันไป ในภาคกลางคนจะนิยมเรียกว่า “กระต่ายขูดมะพร้าว” อาจเพราะมองว่า ส่วนเหล็กที่ใช้ขูดเนื้อมะพร้าว คล้ายกับฟันกระต่าย หรือบ้างก็ว่ามาจากรูปร่างที่นั่งที่นิยมทำเป็นรูปกระต่าย แต่ที่ภาคเหนือกลับนิยมทำเป็นรูปแมว จึงเรียกว่า “แมวขูดมะพร้าว” (หรือ งอง) อาจเพราะมองเหล็กที่ขูดมะพร้าวคล้ายกับเล็บแมว หรือเพราะนิยมทำที่นั่งเป็นรูปแมวส่วนทางภาคใต้ จะเรียกว่า “เหล็กขูด” หรือ แหล็กขูด นิยมทำเป็นรูปสิงห์ สัตว์ต่าง ๆ หรือรูปคน .วิธีใช้งานแมวขูดมะพร้าว เหมือนกันกับภาคอื่น ๆ คือ คนขูดจะนั่งลงบนส่วนที่นั่งในท่าทางที่ถนัด นำจานหรือถาดมารองไว้ที่ใต้เหล็กที่ใช้ขูด และนำมะพร้าวแห้งผ่าครึ่งมาขูดส่วนเนื้อมะพร้าวออกเบา ๆ สามารถใช้งานได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย รวมถึงเด็ก ๆ ด้วย แต่ต้องคอยระมัดระวังเป็นพิเศษ. ในภาคเหนือมีอาหารหรือขนมที่ต้องใช้ส่วนประกอบของเนื้อมะพร้าวหรือกะทิหลายอย่าง เช่น ข้าวซอย ขนมจีนน้ำลอ ขนมต้มกะทิ ขนมจ็อก ขนมลิ้นหมา ขนมแตงลาย ขนมกนน้ำอ้อย เป็นต้น.นอกจากแมวขูดมะพร้าวจะเป็นตัวช่วยในการขูดมะพร้าวได้สะดวกและง่ายขึ้นแล้ว ก็ยังแสดงออกให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์และงานฝีมือของช่างที่ดัดแปลงส่วนที่นั่งทำเป็นรูปทรงต่าง ๆ ให้เกิดความสวยงามอีกด้วย.แต่ในปัจจุบันเราไม่ค่อยพบเห็นแมวขูดมะพร้าวตามครัวเรือนแล้ว เนื่องจากอาจเพราะมีเครื่องขูดมะพร้าวแบบไฟฟ้าที่ทุ่นแรงได้มากกว่าเข้ามาแทน หรือคนนิยมซื้อมะพร้าวหรือกะทิแบบที่ขายสำเร็จรูปมาใช้ปรุงอาหารเลยเพื่อประหยัดเวลา --------------------------------------------------------อ้างอิง- พจนก กาญจนจันทร. “แมว กระต่าย และต้นไม้แห่งชีวิต”. ศึกษาสิ่งของ เข้าใจผู้คน 30 ปี พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. ปทุมธานี : พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560. หน้า 140-150.- พิชชา ทองขลิบ. “กระต่ายขูดมะพร้าว”. ฐานข้อมูลเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน. เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 จาก https://www.sac.or.th/.../trad.../th/equipment-detail.php...
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทุกท่าน ร่วมตามประทีปโคมไฟบนพระนครคีรีเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ร่วมรับฟังเทศนาปฐมสมโพธิกถา พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ และเวียนเทียนบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ถวายเป็นพุทธบูชาเนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ณ พุทธสถานวัดพระแก้วน้อยและพระธาตุจอมเพชร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี ในวันจันทร์ที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ตั้งแต่เวลา ๑๘.๐๐ น. เป็นต้นไป
ขอเชิญชวนให้ผู้ร่วมงานทุกท่านแต่งกายด้วยชุดผ้าไทยหรือชุดสุภาพในโทนสีเหลืองมาร่วมงาน สอบถามข้อมูลท่องเที่ยวเพิ่มเติมได้ที่หมายโทรศัพท์ 0 3240 1006, 0 3242 5600 เฟสบุ๊ก : พระนครคีรี กรมศิลปากร / Phra Nakhon Khiri, The Fine Arts Department เว็บไซต์ : http://www.finearts.go.th/pranakornkeereemuseum/ อีเมล : kaowang_petch@hotmail.com เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. (ไม่เว้น วันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์)
กรมศิลปากร ขอเชิญชมการแสดงละคร เรื่อง เลือดสุพรรณ ประกอบการบรรเลงและขับร้องเพลงไทย และเพลงไทยสากล โดยวงดุริยางค์ไทย และวงดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต ในวันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2567 เวลา 18.00 น. ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี นำแสดงโดยนาฏศิลปินรุ่นใหม่ อาทิ ปริญเมศร์ จูไหล รับบท มังราย นงลักษณ์ กลีบศรี รับบทดวงจันทร์ วัชรวัน ธนะพัฒน์ รับบทมังมหาสุรนาท กำกับการแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต
บัตรราคา 80 บาท 60 บาท และ 40 บาท สอบถามรายละเอียดการจองบัตรได้ที่โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี โทร. 0 3553 5114 , 0 3553 5116 (วันเวลาราชการ) เฟสบุ๊ก เพจ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี หรือ LINE ID @840rbrjv
แม่พิมพ์โลหะบนไม้ และการ์ดกระดาษภาพพระพุทธสิหิงค์พร้อมประวัติ
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๙
โรงพิมพ์พระจันทร์ นายสนั่น ตันบุญยืน ผู้พิมพ์
ปัจจุบันเก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นำมาจัดแสดงในนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เรื่อง “เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” ระหว่างวันที่ ๒๘ มีนาคม – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๗ ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
แม่พิมพ์โลหะ ลักษณะเป็นแผ่นสังกะสี* ตอกยึดด้วยตะปูเข้ากับไม้ที่ถากผิวไว้ แผ่นสังกะสีเป็นภาพพระพุทธสิหิงค์ และด้านล่างมีข้อความแกะเป็นตัวหนังสือกลับด้าน ความว่า
“พระพุทธสิหิงค์สร้างที่ลังการาว พ.ศ. ๗๐๐ ประดิษฐานอยู่ที่ลังกาทวีปราว ๑๑๕๐ ปี แล้วเสด็จมาสู่ประเทศสยามในราว พ.ศ.๑๘๕๐ ประดิษฐานอยู่สุโขทัย แล้วย้ายไปประทับ ในเมืองต่าง ๆ คือ
พิษณุโลก ราว พ.ศ. ๑๙๒๐ ประทับอยู่ ๕ ปี
ศรีอยุธยา ราว พ.ศ. ๑๙๒๕ ประทับอยู่ ๕ ปี
กำแพงเพ็ชร์ ราว พ.ศ. ๑๙๓๐ ประทับอยู่ ๑ ปี
เชียงราย ราว พ.ศ. ๑๙๓๑ ประทับอยู่ ๑๙ ปี
เชียงใหม่ ราว พ.ศ. ๑๙๕๐ ประทับอยู่ ๒๔๕ ปี
ศรีอยุธยา ราว พ.ศ. ๒๒๐๕ ประทับอยู่ ๑๐๕ ปี
เชียงใหม่ ราว พ.ศ. ๒๓๑๐ ประทับอยู่ ๒๐ ปี
กรุงเทพฯ ราว พ.ศ. ๒๓๓๐ อยู่จนทุกวันนี้
(พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ)”
แม่พิมพ์ชิ้นนี้เป็นตัวอย่างการพิมพ์พื้นนูน หรือ ระบบเลตเตอร์เพลส์ (Letterpress Plate)กล่าวคือช่างจะ นำแผ่นโลหะเป็นภาพหรือข้อความติดไว้กับแผ่นไม้ ส่วนที่นูนจะมีเฉพาะข้อความและภาพที่ต้องการพิมพ์ และช่างจะใช้มีดหรือสิ่วถากเนื้อไม้ในส่วนที่ไม่ต้องการพิมพ์ (Nonprinting area) ให้มีระดับต่ำกว่าพื้นที่รองรับหมึก ส่วนที่นูนของโลหะจะรับกับลูกกลิ้งหมึก (Inking roller) และนำไปกด (press) กับกระดาษเกิดเป็นภาพบนกระดาษตามที่ต้องการ
สำหรับแผ่นสังกะสีในส่วนของภาพพระพุทธสิหิงค์นั้นทำขึ้นเป็นแม่พิมพ์แบบรูปเดี่ยวไม่มีพื้นหลัง หรือOutline Halftone กล่าวคือ การนำฟิล์มเนกาทีฟ (Negative) ภาพพระพุทธสิหิงค์ มาตัดส่วนพื้นหลังออก แล้วจึงอัดลงบนแผ่นสังกะสีที่เคลือบน้ำยาไวแสง จากนั้นจึงใช้น้ำกรดกัดเพื่อให้ได้ภาพตามที่ต้องการ เมื่อบล็อคสมบูรณ์จึงใช้เลื่อยฉลุตัดส่วนที่ไม่ต้องการออกทิ้ง จากนั้นจึงแต่งขอบให้เป็นมุมเฉียง เพื่อง่ายต่อการตอกตะปูลงบนสังกะสีติดกับไม้ที่เป็นส่วนรองรับ โดยต้องตอกให้หัวตะปูแนบสนิทรอบขอบโลหะเพื่อตรึงไว้ ส่วนตัวอักษรด้านล่างภาพพระพุทธสิหิงค์นั้นเป็นเทคนิคการแกะโลหะเป็นรูปตัวอักษรนูนขึ้นมาจากพื้นผิว
วิทยาการของการทำภาพพิมพ์บนโลหะนั้นเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ ๑๘๕๐ นับตั้งแต่ ค.ศ.๑๘๕๐ (พ.ศ.๒๓๙๓) Firmin Gillot ได้ประดิษฐ์แม่พิมพ์แบบลายเส้นลงบนแผ่นสังกะสีแล้วใช้กรดไนตริกกัดให้เกิดส่วนเส้นนูนขึ้นบนพื้นผิว อย่างไรก็ตามเทคนิคนี้ไม่ได้ใช้ฝีมือการแกะมิได้ใช้ภาพถ่ายเป็นต้นแบบ ต่อมา ค.ศ. ๑๘๕๒ (พ.ศ. ๒๓๙๕)William Henry fox-Talbot ได้นำเอาเหล็กกล้าที่ฉาบน้ำยาไวแสงมาอัดกับภาพถ่าย แล้วนำไปกัดกับน้ำกรดจนได้เป็นแม่พิมพ์ภาพเหล็กที่มีต้นแบบมาจากภาพถ่ายและใน ค.ศ. ๑๘๕๕ (พ.ศ. ๒๓๙๘) Alphonese Louis Poitevin เป็นผู้คิดค้นการทำบล็อกสังกะสีขึ้นด้วยเทคนิคแบบเดียวกัน และนับจากช่วงเวลาดังกล่าวนี้การพิมพ์ภาพลงบนสื่อสิ่งพิมพ์จึงหันมาพิมพ์ภาพด้วยเทคนิคดังกล่าว กระทั่งในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ (ประมาณช่วงรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เกิดระบบการพิมพ์บล็อกโลหะแบบ Halftone Block และเป็นที่นิยมแพร่หลายในเวลาต่อมา
สันนิษฐานว่าการ์ดกระดาษภาพพระพุทธสิหิงค์พร้อมประวัตินี้ เป็นสิ่งพิมพ์ที่กรมศิลปากรจัดพิมพ์ขึ้นแจกจำหน่ายในงานสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ประจำปี พ.ศ. ๒๔๗๙ โดยด้านหลังพิมพ์ข้อความว่า “ร.พ.พระจันทร์ นายสนั่น ตันบุญยืน ผู้พิมพ์โฆษณา ๑.๑.๗๙”
*สังกะสี นิยมใช้กับงานพิมพ์ที่มีปริมาณน้อย และมีคุณภาพในระดับธรรมดา ต่างจากทองแดงที่เหมาะกับการพิมพ์งานปริมาณมากและมีคุณภาพสูง
อ้างอิง
กำธร สถิรกุล. หนังสือและการพิมพ์. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว,๒๕๑๕.
สนั่น ปัทมะทิน. การเรียงพิมพ์. พระนคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๑๓.
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรม Workshop “ปั้นจิ๋ว ดินไทย” จากเพจต้นหลิวปั้นจิ๋วดินไทย ในวันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 17.30 น. เป็นต้นไป (ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม) มีค่าธรรมเนียมเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท ผู้พิการ และชาวไทยผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี เข้าชมฟรี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 3525 1586 ติดตามข่าวสารกิจกรรมอื่น ๆ ได้ทาง Facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม:Chantharakasem National Museum