ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ
รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดี กลุ่มโบราณสถานเขาพระบาทใหญ่ พ.ศ.2563 #แจกไฟล์PDFฟรี
.
---อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยขอเผยแพร่รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดี "โครงการขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ กลุ่มโบราณสถานเขาพระบาทใหญ่" สามารถดาวน์โหลดเพื่ออ่านหรือใช้ในการศึกษาตามลิ้งก์ที่แนบนี้ >>> https://drive.google.com/.../10l0fRTLev.../view...
.
---กรมศิลปากร โดยอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้ดำเนินงานโครงการขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์กลุ่มโบราณสถานเขาพระบาทใหญ่ ปีงบประมาณ พ.ศ.2563 เป็นการขุดแต่งทางโบราณคดีเพื่อศึกษาโบราณสถาน จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย โบราณสถานวัดเขาพระบาทใหญ่ (ต.ต.45) โบราณสถานวัดกุฏิชี (ต.ต.46) โบราณสถานร้าง ต.ต.47 และโบราณสถานร้าง ต.ต.48 อีกทั้งยังได้ทำการขุดค้นทางโบราณคดีขนาด 2x2 เมตร จำนวน 3 หลุม (โบราณสถานแห่งละ 1 หลุม ยกเว้นโบราณสถานร้าง ต.ต.47)
.
---ผลจากการดำเนินงานทางโบราณคดี พบว่า กลุ่มโบราณสถานบนเขาพระบาทใหญ่ทั้ง 4 แห่ง น่าจะมีการใช้งานอยู่ในช่วงสมัยสุโขทัยช่วงปลาย (ตั้งแต่รัชสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไทลงมา) ราวพุทธศตวรรษที่ 20 – 22 โดยโบราณสถานวัดเขาพระบาทใหญ่ (ต.ต. 45) ประกอบไปด้วยเนิน โบราณสถาน 2 แห่ง คือเนินโบราณสถานหลักที่มีการก่อสร้างวิหารและฐานประดิษฐานรอย พระพุทธบาทอยู่ด้านบนเนิน และทิศตะวันตกของเนินโบราณสถานหลักพบเป็นอาคารก่อหิน และ ลานหินปูพื้น สันนิษฐานว่าคงเป็นบริเวณเขตสังฆาวาส โบราณสถานวัดกุฏิชี(ต.ต. 46) ประกอบด้วย โบราณสถานหลักของวัดเป็นอาคารก่อหินที่ตั้งอยู่กลางเนินเขา และกลุ่มหินที่เรียงเป็นแนวอยู่รอบ ๆ ปลายเนิน ล้อมรอบโบราณสถานหลักของเนินเขา มีจำนวนทั้งสิ้น 12 จุด ส่วนโบราณสถานร้าง ต.ต. 47 เป็นแนวหินที่เรียงกันเป็นกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าภายในอัดดินถมดิน และโบราณสถานร้าง ต.ต. 48 พบเป็นวิหาร และเจดีย์ก่ออิฐอยู่ด้านบนเนินที่เกิดจากการเรียงหินเป็นคันขอบ นอกจากนี้ยังพบ หลักฐานทางโบราณคดีอีกหลากหลายประเภท ทั้งชิ้นส่วนภาชนะดินเผา ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีน รวมถึง หลักฐานที่เกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรม เช่น ตะปูเหล็ก กระเบื้องดินเผา อิฐ ศิลาแลง หิน และยังพบ หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและศาสนา เช่น ชิ้นส่วนพระพุทธรูปปูนปั้น แผ่นหินสลักภาพ พระพุทธรูป ตะคันดินเผา และใบเสมาหินมีจารึก เป็นต้น
.
---อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินการขุดแต่ง และศึกษาในโครงการนี้เป็นเพียงรายงานเบื้องต้นที่ นำเสนอหลักฐานต่าง ๆ จากการดำเนินงานภาคสนาม อีกทั้งยังเป็นการวิเคราะห์ตีความในเบื้องต้น เท่านั้น จึงยังมีประเด็นที่ยังขาดหายไป หากมีการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ หรือมีการศึกษา เพิ่มเติม อาจทำให้จะได้ข้อสันนิษฐานใหม่ที่สนับสนุนหรือขัดแย้งกับการวิเคราะห์และแปลความใน การศึกษาครั้งนี้ด้วย ซึ่งกรมศิลปากรหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โบราณสถานของเมืองสุโขทัยต่อไป
เลขทะเบียน : นพ.บ.118/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 62 หน้า ; 4.7 x 57 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 66 (209-213) ผูก 7 (2564)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (พระวิภงฺคปกรณา-พระสมนฺต มหาปฎฺฐาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ขอมภาษา : บาลี-ไทยบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง ความรู้ทางกะจายเสียง
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์โสภณพิพัทธนากร
ปีที่พิมพ์ ๒๔๘๕
จำนวนหน้า ๔๙ หน้า
หมายเหตุ -
หนังสือชุดความรู้ทางกระจายเสียงของกรมโคสนาการ ภาคที่ ๒๑ ของสามัคคีชัย โดยประกอบด้วยเรื่อง “ไทยหยู่คู่ฟ้าเพราะอะไร” “ชาติไทยไต่ลวดข้ามเหวไห้ดี” “มาลานำไทยเปนมหาอำนาด” “ไทยจะร่ำรวยเพราะอะไร” “ฉันเห็นอุทกภัยสองครั้ง” “ฉันไม่กลัวอุทกภัยแล้ว” “กรุงเทพฯ เป็นเวนิสแน่” และ “ไต้พระจันทร์ไม่มีของไหม่” รวมทั้งหมด ๘ เรื่อง
วงศ์สวรรค์จันทวาส ชบ.ส ๑
พะครูสุทธิคุณรังษี เจ้าอาวาสวัดรังษีสุทธาวาส ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๙ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.17/1-4
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : ซุยถัง เล่ม 5ชื่อผู้แต่ง : -ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภาจำนวนหน้า : 334 หน้าสาระสังเขป : ซุยถัง เป็นพงศาวดารจีนที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย โดยเรื่องราวเกิดในสมัยกษัตริย์จีนราชวงศ์ซุย และราชวงศ์ถังตอนต้น (พ.ศ. 1132-1161) เรื่องราวบอกเล่าเหตุการณ์ช่วงราชวงศ์ซุยแผ่นดินเกิดการจลาจล เหล่าผู้กล้าต่างรวมตัวต่อต้านราชวงศ์ซุย โดยในเล่มนี้เป็นเรื่องราวซุยถังในตอนที่ 5
ที่มาของโครงการ ผลจากการดำเนินงาน “โครงการสำรวจและปรับปรุงฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีในอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง” ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ของสำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลาที่ผ่านมา พบว่าบริเวณอำเภอห้วยยอดเป็นแหล่งพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้ โดยพบแหล่งโบราณคดีมากกว่า ๓๐ แหล่งและพบความต่อเนื่องของหลักฐาน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ เรื่อยมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๘ ซึ่งจากการดำเนินงานครั้งนั้น พบหลักฐานทางโบราณคดีที่น่าสนใจบริเวณ “กลุ่มแหล่งโบราณคดีเขานุ้ย - เขาคุรำ – เขาหัวพาน” ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง พบหลักฐานทางโบราณคดีเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น ชิ้นส่วนทองคำ ลูกเต๋าทำจากงาช้าง ลูกปัดทำจากหิน แก้ว ทอง ชิ้นส่วนเครื่องมือโลหะ เบ็ด เมล็ดข้าว ภาชนะดินเผาสามขา ชิ้นส่วนภาชนะดินเผารูปทรงต่างๆ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันทางชุมชนได้ร่วมกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์บ้านนาเปขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมโบราณวัตถุที่พบโดยชาวบ้านไว้ โดยในปีพ.ศ. ๒๕๖๓ ทางสำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา ได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งเข้าไปสนับสนุนข้อมูลด้านวิชาการโบราณคดีโดยการจัดทำป้ายนิทรรศการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์บ้านนาเป ดังนั้น เพื่อเป็นการเติมเต็มองค์ความรู้ทางด้านโบราณคดี และเป็นการอนุรักษ์ พัฒนาแหล่งโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากท่านประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากรและท่านอรุณศักดิ์ กิ่งมณี รองอธิบดีกรมศิลปากร อนุมัติงบโครงการบูรณะโบราณสถานฉุกเฉินเร่งด่วนกรมศิลปากร ดำเนินการขุดค้นแหล่งโบราณคดีเขาคุรำโดยทำการศึกษาและเก็บข้อมูลทางด้านโบราณคดีอย่างเป็นระบบ ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษา นอกจากจะเป็นประโยชน์ในวงการวิชาการแล้ว ยังสามารถนำไปต่อยอดในการหาแนวทางในการอนุรักษ์ พัฒนา และการบริหารจัดการแหล่งโบราณคดีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก่อให้เกิดการอนุรักษ์และรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่ยั่งยืน กิจกรรมของโครงการ ๑. ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีเขาคุรำ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ในวันที่ ๑๔ มกราคม - ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๔ ๒. จัดทำฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่พบภาชนะดินเผาสามขาในภาคใต้ ทั้งนี้ ทางสำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา ต้องขอขอบพระคุณ พระอาจารย์ประสูติ ปิยธมฺโมหรือพระครูรัตนสิกขการ เจ้าอาวาสวัดในเตา ลุงไพโรจน์ จงจิตร์ อดีตกำนันตำบลเขากอบ กำนันดำรงศักดิ์ วรรณบวร กำนันตำบลเขากอบ ผู้ใหญ่สุริยนต์ ทองศักดิ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๑๒ สจ.กิตติเดช วรรรณบวร หน่วยงานอบต.เขากอบ และชาวบ้านชุมชนบ้านนาเปทุกท่านที่สนับสนุนการดำเนินงานของสำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา ทั้งนี้ ทางสำนัก หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการดำเนินงานในครั้งนี้จะเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการช่วยกันอนุรักษ์รักษามรดกทางวัฒนธรรมที่ยั่งยืน ------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/1353302101674616?notif_id=1610699837950484¬if_t=page_post_reaction&ref=notif-----------------------------------------------------
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. มงคลสูตรคำฉันท์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2521
หนังสือมงคลสูตรคำฉันท์นี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่ออธิบายความในมงคลสูตร อันเป็นสูตรหนึ่งในพระไตรปิฏก กล่าวถึงข้อประพฤติปฏิบัติซึ่งเป็นมงคลรวม 38 ประการ
เครื่องประดับทองคำรูปกินรี
พบจากเมืองโบราณอู่ทอง
เครื่องประดับทองคำรูปกินรี พบบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
เครื่องประดับทำด้วยทองคำ ขนาดกว้าง ๑.๓ เซนติเมตร สูง ๑.๙ เซนติเมตร สันนิษฐานว่าเป็นรูป “กินรี” ลักษณะลำตัวเป็นนกและมีศีรษะเป็นมนุษย์ ใบหน้าค่อนข้างกลมรี เกล้าผมเป็นมวย คิ้วต่อกันเป็นปีกกา ตาโปน จมูกใหญ่ ริมฝีปากหนา อมยิ้ม ซึ่งเป็นลักษณะใบหน้าอันเป็นเอกลักษณ์ของประติมากรรมรูปบุคคล และพระพักตร์ของพระพุทธรูปสมัยทวารวดี ประติมากรรมรูปกินรีดังกล่าว สวมสร้อยคอ และตุ้มหูทรงกลม ซึ่งเป็นตุ้มหูรูปแบบหนึ่งที่พบบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง มีทั้งที่เป็นตุ้มหูสำหรับสวมเป็นเครื่องประดับ และปรากฏในประติมากรรมดินเผาหรือปูนปั้นรูปบุคคลทั้งบุรุษ สตรี และคนแคระสวมตุ้มหูลักษณะเดียวกันนี้ ส่วนลำตัวเป็นสัตว์ประเภทนก มีปีก มีการขีดตกแต่งลำตัวเป็นร่องโค้งเพื่อทำเป็นขนนก ด้านหลังทำเป็นห่วงกลม กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว
กินรีและกินนร เป็นอมนุษย์ในเทพนิยาย มีลักษณะเป็นสัตว์ผสมระหว่างระหว่างคนกับนก ปรากฏทั้งในศิลปะอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในงานศิลปกรรมสมัยทวารวดี นอกจากเครื่องประดับทองคำรูปกินรีชิ้นนี้แล้ว ยังพบประติมากรรมรูปกินรีและกินนร ทำจากดินเผาหรือปูนปั้นสำหรับประดับศาสนสถานตามเมืองโบราณสมัยทวารวดีต่าง ๆ เช่น ประติมากรรมปูนปั้นรูปกินนรกำลังเล่นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายพิณเปี๊ยะ พบจากเจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม ประติมากรรมปูนปั้นรูปกินรี พบจากเจดีย์หมายเลข ๓ บ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ แผ่นดินเผารูปกินรีพบจากเจดีย์หมายเลข ๒ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น
เครื่องประดับรูปกินรีชิ้นนี้ แม้มีขนาดเล็ก แต่ก็มีรายละเอียดที่คมชัด งดงาม เป็นหลักฐานที่แสดงถึงแสดงถึงความชำนาญและฝีมือของช่างสมัยทวารวดีที่ทำเครื่องประดับทองคำนี้เมื่อกว่าพันปีมาแล้ว นอก จากนั้น ที่เมืองโบราณอู่ทองยังพบเครื่องประดับทำด้วยทองคำอีกจำนวนหนึ่ง ได้แก่ เครื่องประดับรูปหน้ายักษ์ ตุ้มหู แหวน จี้และลูกปัด เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕.
ดวงกมล อนันต์วัชรกุล. “คติความเชื่อเนื่องสัตว์ที่ปรากฏในวัฒนธรรมทวารวดี”. เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคล ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๔.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฏฐาน) สพ.บ. 394/2หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพันประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 28 หน้า : กว้าง 4.2 ซม. ยาว 58 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี