ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ

         พระพุทธรูปจีวรลายดอกปางห้ามสมุทร          ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช ๒๔๓๔          ได้รับจากวัดวิเศษการ กรุงเทพมหานคร          ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องธนบุรี-รัตนโกสินทร์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          พระพุทธรูปจีวรลายดอก ทรงยืนยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างแสดงปางห้ามสมุทร พระพักตร์กลม รัศมีเป็นเปลวสูง พระอุษณีษะใหญ่ นิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน ทรงจีวรห่มเฉียง จีวรพาดพระกรซ้ายและทิ้งชายลงทางด้านซ้าย จีวรเป็นลายดอกพิกุล ทรงยืนบนฐานแปดเหลี่ยม มีอักษรภาษาไทยจารึกว่า “ พระองค์นี้ แม่รอดมารดา แม่ปุ้ยบุตร ทร่างไว้...าหนา (ศัก) ราชหล้วง ๒๔๓๔ ”          การสร้างพระพุทธรูปจีวรลายดอก ปรากฎมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ดังปรากฎในเอกสารเรื่องการถวายผ้าแพรอย่างดีแด่พระพุทธปฏิมาในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ครั้งรัชกาลที่ ๑ ความว่า “ทรงพระกรุณาให้เอาแพรลายย้อมครั่ง ทรงพระพุทธรูปในวิหารทิศ พระระเบียงวิหารคดการบุเรียน พระมหาธาตุเจดีย์ใหญ่น้อยสิ้นแพรร้อยพับ แต่พระพุทธรูปเทวะปฏิมากรในพระอุโบสถ ทรงผ้าทับทิมชั้นใน ตาดชั้นนอก”           จีวรลายดอกได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยรัชกาลที่ ๓ พุทธศาสนิกชนมีศรัทธานำผ้าย่ำตะหนี่ [Jamdani -ผ้าฝ้ายเนื้อบางละเอียด ทอลายดอกไม้ขนาดเล็กทั้งผืน] ผ้ามัสลินเนื้อดี มีราคาค่อนข้างสูง นำเข้าจากเบงกอลมาถวายพระสงฆ์ ลักษณะของผ้าย่ำตะหนี่ ที่นำมาถวายยังคงยึดถือตามพระวินัยโดยเป็นผ้าทอลายดอกขนาดเล็ก จากพระวินัยปิฎก มหาวรรค  จีวรขันธกะ ระบุว่าพระฉัพพัคคีย์ครองจีวรชายเป็นลายดอกไม้ ชาวบ้านพากันติเตียนว่าเหมือนคฤหัสถ์  พระพุทธเจ้าจึงตรัสห้ามว่า  “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย...ภิกษุไม่พึงทรงจีวรมีชายเป็นลายดอกไม้...รูปใดทรง ต้องอาบัติทุกกฎ ” และปรากฏต่อมาในหนังสือ วินัยมุข พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอธิบายว่า “จีวรนั้น ไม่โปรดให้เป็นของกาววาว [แวววาว ฉูดฉาด] จึงทรงห้ามไม่ให้ใช้จีวรดอกเป็นลายรูปสัตว์ เป็นลายดอกไม้ เว้นไว้แต่เป็นดอกเล็ก ๆ ที่ไม่กาววาว เช่นดอกเม็ดพริกไทย หรือเป็นริ้ว เช่นแพรโล่ ”          ลวดลายบนไตรจีวรสะท้อนผ่านจิตรกรรมฝาผนังที่พระวิหารพระไสยาสน์ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ช่างเขียนรูปพระพุทธเจ้าทรงจีวรลายดอกขนาดใหญ่ ส่วนพระสงฆ์ครองจีวรลายดอกขนาดเล็ก ซึ่งนอกจากผ้าย่ำตะหนี่แล้ว ยังนิยมถวายผ้าแพรจีนที่มีลายดอกดวงต่าง ๆ ตัดเย็บเป็นจีวรถวายพระสงฆ์เช่นกัน จากความนิยมนี้เอง ส่งผลให้ช่างหล่อพระพุทธรูปครองจีวรลายดอกดวงชนิดต่าง ๆ          ในสมัยรัชกาลที่ ๕ การถวายจีวรลายดอกแด่พระภิกษุสงฆ์เสื่อมความนิยมลงและไม่ค่อยปรากฎหลักฐานเท่าไหร่นัก คงมีแต่การถวายผ้าห่มพระพุทธรูปทำจากผ้าแพรลายดอก หรือผ้านำเข้าเป็นผ้าที่ตกแต่งให้มีความสวยงาม ส่วนการหล่อพระพุทธรูปยังคงปรากฎเช่นเดิมว่ายังมีนิยมทรงจีวรลายดอกและสร้างต่อเนื่องมาจนปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕ หรือเมื่อราว ๗๐ ปีที่ผ่านมา     อ้างอิง อานุภาพ นันติ. รูปแบบและกรรมวิธีการสร้างพระพุทธรูปครองจีวรลายดอกสมัยรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์ศิลปะ). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๖๒. พิริยะ ไกรฤกษ์. ลักษณะไทย พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๕๑. มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก เล่ม ๕ มหาวรรค ภาค ๒ และอรรถกถา. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๕. วชิรญาณวโรรส. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. วินัยมุข เล่ม ๒. พิมพ์ครั้งที่ ๓๑. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราช วิทยาลัย, ๒๕๔๓.   เรียบเรียง: นายปภังกร คงถาวรเจริญกิจ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนโรงเรียนกสิณธรเซนต์ปีเตอร์  นักเรียนจิตอาสา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ๒๕๖๗ ตรวจแก้: ภัณฑารักษ์ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  




           อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ชวนร่วมรับชมภาพยนตร์เรื่อง มันดาลา (Rivulet of Universe) โดยฝีมือของคนพิมาย รอบพิเศษ ในวันที่ 13 - 14 กันยายน 2567 นี้ ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตั้งแต่เวลา 17.00 - 22.30 น. โดยสามารถจองบัตรเข้าร่วมงานได้แล้วที่ https://shorturl.at/N3T9f จำกัดเพียงรอบละ 100 ที่ เท่านั้น!!! รวมทั้งยังสามารถร่วม “ชิม ช็อป ชิล” ในตลาดเมืองพิมาย ณ บริเวณด้านหน้าสถานีดับเพลิง เทศบาลตำบลพิมายได้อีกด้วย



            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ประจำเดือน "ตุลาคม" เชิญพบกับ "เต้าปูน" อุปกรณ์ในเครื่องเชี่ยนหมาก             โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ ได้แก่ "เต้าปูน" อุปกรณ์ในเครื่องเชี่ยนหมาก ซึ่งวัสดุเป็นโลหะ ศิลปะอยุธยา มีลักษณะปากกลมแคบ ด้านบนสอบ ลำตัวกลมป่อง ก้นมีเซิง มีฝาครอบ ฝาจุกตรงยอดซ้อนกัน ๕ ชั้น ด้านบนสุดทำเป็นรูปดอกบัวตูม พบในจังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันเก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี นิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับเต้าปูน ซึ่งเป็นภาชนะใส่ปูนสำหรับกินหมากหรือเรียกว่า เครื่องเชี่ยนหมาก ซึ่งมาพร้อมกับวัฒนธรรมการกินหมากของคนไทยเป็นเวลานาน เต้าปูนมีรูปแบบที่ได้รับจากประเทศอินเดียและใช้แพร่หลายทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบทั้งในประเทศกัมพูชา พม่า รวมถึงประเทศไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙             ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ "เต้าปูน" อุปกรณ์ในเครื่องเชี่ยนหมาก ได้ในเดือนตุลาคม ๒๕๖๗ เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร  ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือเฟสบุ๊ก: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี Suphanburi National Museum


ชื่อเรื่อง : การออกแบบเครื่องประดับอัญมณีด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คำค้น : การออกแบบเครื่องประดับอัญมณี, โปรแกรม Jewel Card รายละเอียด :  หนังสือคู่มือการเรียนการสอนรายวิชางานการออกแบบเครื่องประดับอัญมณีด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น สาขาวิชาเครื่องประดับและอัญมณี วิทยาลัยสารพัดช่างจันทบุรี ผู้แต่ง :  นาวี อุดมธรรมคุณ และคณะ แหล่งที่มา : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี หน่วยงานที่รับผิดชอบ : เอ็น ซี เอส กรุ๊ป วันที่ : 2552 วันที่เผยแพร่ : 12 ตุลาคม 2567 ผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน : บรรลุ พละเคาว์, ยงยุทธ พนัสนอก, ไกรยุทธ์ ทรัพย์ชาตอนันต์, อุดมศักดิ์ วงศ์วิไล, นวลอนงค์ ธรรมเจริญ, สุรางค์ อภิรมย์วิไลชัย, ทีมงาน ART & PHOTO บริษัท เอ็น ซี เอส กรุ๊ป จำกัด ลิขสิทธิ์ :  - รูปแบบ : PDF. ภาษา : ภาษาไทย ประเภททรัพยากร : หนังสือท้องถิ่น (ห้องจันทบุรี) ตัวบ่งชี้ :  - รายละเอียดเนื้อหา : หนังสือจัดทำในโครงการความร่วมมือการพัฒนาการศึกษาด้านทักษะ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สาขาวิชาเครื่องประดับและอัญมณี กับสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ในนามของสถาบันเทคโนโลยีเครื่องประดับอัญมณี จันทบุรี ณ วิทยาลัยสารพัดช่างจันทบุรี เขต 2 จัดทำและสนับสนุนโดยบริษัท เอ็น ซี เอส กรุ๊ป จำกัด เนื้อหาประกอบด้วยการออกแบบเครื่องประดับอัญมณีด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรม Jewel Card วิธีการใช้งานโปรแกรมขั้นพื้นฐาน การสร้างและออกแบบเครื่องประดับในรูปแบบต่างๆ และมีแบบฝึกหัดท้ายเล่มประกอบ เลขทะเบียน : น 56 บ. 69294 จบ. (ร) เลขหมู่ : 688.2 น495ก          


            หอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชมภาพยนตร์เพื่อการอนุรักษ์ ย้อนรำลึกหนังดังในอดีต ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากหอภาพยนตร์ (องค์กรมหาชน) ทุกวันศุกร์ เวลา 13.30 น. ณ ห้องจัดแสดง ชั้น 2 หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 (จำกัดจำนวน 100 ที่นั่ง)              สำหรับวันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม 2567 นี้ ขอเชิญรับชม “เงิน เงิน เงิน” (พ.ศ. 2508) หนังเพลงอมตะที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2555 เรื่องราวของ ขุนหิรัญ นายทุนเงินกู้หน้าเลือดที่ต้องผิดหวังหลังมอบหมายให้ อรรคพล หลานชายตัวดีนำสัญญาเงินกู้ไปไล่ที่คนในชุมชน แต่เขากลับเลือกเข้าข้างชาวบ้าน จนขุนหิรัญจึงยื่นข้อเสนอให้หาเงินมา 1 ล้านบาทเพื่อไถ่ที่ชุมชนให้เป็นอิสระจากหนี้เงินกู้ อรรคพลและพรรคพวกจึงเริ่มมหกรรมการหาเงินล้านที่แสนวุ่นวาย              อำนวยการสร้าง : ละโว้ภาพยนตร์             กำกับ: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ             นักแสดง: มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์,ชรินทร์ นัทนาคร, สุเทพ วงศกำแหง,วิไลวรรณ วัฒนพานิช, ล้อต๊อก, สุลาลีวัล สุวรรณทัต             ความยาว: 196 นาที             อนุรักษ์ภาพยนตร์โดย : หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)             สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2280 9828 - 32 สามารถติดตามข้อมูลกิจกรรมต่าง ๆ ของหอสมุดแห่งชาติได้ทาง Facebook : National Library of Thailand



สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ ได้เข้าดำเนินการตรวจสอบสภาพปัญหาและเริ่มดำเนินการอนุรักษ์แหล่งภาพเขียนสีประตูผา จังหวัดลำปาง ที่ถูกลักลอบขีดเขียนข้อความบนภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อวันที่ ๘ มี.ค.๕๙       


ขั้นตอนและวิธีการขออนุญาตนำโบราณวัตถุเข้ามาในราชอาณาจักร   โบราณวัตถุที่จะขออนุญาตนำเข้ามาในราชอาณาจักร มีหลักเกณฑ์ ดังนี้   ๑. ประเภทของโบราณวัตถุ   โบราณวัตถุที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ได้แก่ โบราณวัตถุที่มีแหล่งกำเนิดในต่างประเทศ ประเภทพระพุทธรูป เทวรูป หรือรูปเคารพในศาสนา และชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบของโบราณสถานตามพิกัดอัตราอากรขาเข้า ประเภทที่ ๙๗๐๓.๐๐๙ แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ   ๑. พระพุทธรูป   ๒. เทวรูปหรือรูปเคารพในศาสนา   ๓. ชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบของโบราณสถาน   ๒. วัตถุประสงค์ในการขอนำเข้ามาในราชอาณาจักร   ๑. นำมาจัดแสดงเพื่อการศึกษาและเผยแพร่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว โดยมีกำหนดระยะเวลาในการจัดแสดง และส่งกลับไว้แน่นอน   ๒. เพื่อการสักการบูชา ในปริมาณไม่เกิน ๒ ชิ้น   ๓. เพื่อบริจาคให้แก่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ   ๓. ระยะเวลาที่ขอนำเข้ามาในราชอาณาจักร   กรมศิลปากรจะได้พิจารณาอนุญาตเป็นกรณี ๆ ไป   ๔. ผู้ขออนุญาตนำโบราณวัตถุเข้ามาในราชอาณาจักรจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้   (๑) ผู้ขออนุญาตจะต้องไปซื้อแบบฟอร์มในการขออนุญาตนำเข้า (แบบ ข.๑ ข.๒ หรือ ข.๓ แล้วแต่กรณี) ที่กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี พร้อมกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ตามแบบฟอร์ม   (๒) ผู้ขออนุญาตทำหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากร โดยแจ้ง เรื่อง ขออนุญาตนำพระพุทธรูป หรือ เทวรูปหรือรูปเคารพในศาสนา หรือชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบของโบราณสถาน หรือทั้งหมด เข้ามาในราชอาณาจักร โดยแจ้งรายละเอียด จำนวน ชนิด ขนาด (กว้าง, ยาว, สูง เป็นเซนติเมตร) ของโบราณวัตถุ และระบุสถานที่เก็บโบราณวัตถุที่นำเข้าพร้อมหมายเลข   โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้   (๓) เอกสารแนบการขออนุญาตนำเข้าประกอบด้วย   ๑. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน   ๒. สำเนาทะเบียนบ้าน   ๓. หลักฐานการซื้อขาย   ๔. ใบขนส่งสินค้า หรือ Invoice   ๕. ถ้าเป็นโบราณวัตถุจะต้องขอใบอนุญาตนำของออกจากประเทศนั้นๆ ด้วย   (๔) ภาพถ่ายโบราณวัตถุที่ขออนุญาตนำเข้าเฉพาะด้านหน้า โดยถ่ายภาพ ๑ ครั้ง อัดพร้อมกันจำนวน ๒ ใบ ขนาด ๓ x ๕ นิ้ว   (๕) ผู้ขออนุญาตจะต้องทำหนังสือขออนุญาตด่านศุลกากรเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร เข้าตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุในคลังตามระเบียบกรมศุลกากร   (๖) ผู้นำเข้าจะต้องจัดพาหนะ รับ – ส่ง พนักงานเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ไปตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุนั้น ๆ   ๕. สถานที่ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม   • สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เลขที่ ๘๑/๑ ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ , โทรสาร ๐ ๒๖๒๘ ๕๐๓๓, ๐ ๒๒๘๑ ๖๗๖๖   • สำนักงานเลขานุการกรม กลุ่มนิติการ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๒ ๔๕๖๖, ๐ ๒๒๒๕ ๘๙๕๘ โทรสาร ๐ ๒๒๒๖ ๑๗๕๑      



อยากทราบว่ารับนักศึกษาฝึกงานหรือเปล่าครับ ผมเรียน วัฒนธรรม สาขา ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณดคี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ครับ 


โครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณ/ สำรวจเอกสารโบราณ  ณ  วัดไตรภูมิ  บ้านผือฮี ต.ผือฮี  อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด  วันที่ 9 กันยายน ๒๕๕๕ งบประมาณ  36,200 บาท จากสำนักศิลปากรที่ 10 ร้อยเอ็ด  เนื่องจากหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถนครพนม ไม่มีงบประในการดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 10 ร้อยเอ็ด จึงให้ย้ายโครงการที่จะดำเนินการในเขตพื้นที่จังหวัดนครพนมไปดำเนินการ ณ วัดไตรภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เนื่องจากที่วัดไตรภูมิสำนักศิลปากรที่ 10 ร้อยเอ็ดได้งบประมาณในการปรับปรุงสิม และพบเอกสารหนังสือใบลานเป็นจำนวนมาก พระภิกษุ และชาวบ้านไม่มีความรู้ในการดูแลรักษา การจัดเก็บ จึงปล่อยให้หนังสือคัมภีร์ใบลานได้รับความเสียหาย ในวันที่ 9 กันยายน จัดพิธีสมโภชน์สิมวัดไตรภูมิ และพิธีเปิดโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณ โดยท่านนายอำเภอจตุรพักตรพิมานเป็นประธาน และท่านพัชนี  จันทรสาขา ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 10 ร้อยเอ็ดกล่าวรายงานกิจกรรมที่จัด  ได้แก่                                                             1.  อบรมเชิงปฏิบัติการ  แนะนำเผยแพร่ ความรู้  ความเข้าใจ และความสำคัญ ของเอกสารโบราณ และ ฝึกปฏิบัติวิธีการดูแลรักษาหนังสือใบลาน  การทำความสะอาดเมื่อหนังสือใบลานเปื้อนฝุ่น ขึ้นรา   การลงน้ำมันเพื่อไม่ให้ใบลานแห้งกรอบ ฉีกขาด แตกชำรุด              2.  การเปลี่ยนเชือกสายสนองที่ร้อยหนังสือใบแต่ละผูกรวมกัน เมื่อเชือกขาด              3.  การห่อผ้า จัดเก็บ เพื่อป้องกันฝุ่นละออง  แมลง  เชื้อรา  ความชื้น แสง เข้าไปทำลายหนังสือใบลาน              4.  การจัดทำทะเบียนควบคุมหนังสือใบลาน


ภาพจัดนิทรรศการและกิจกรรมวันพิพิธภัณฑ์ไทย   “พระราชวังจันทน์กับเมืองพิษณุโลก”   วันที่ ๒๕- ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๘


        วันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2563   ข้าราชการและเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน และสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ สาขาน่าน   จัดกิจกรรมรณรงค์การดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช 2563   โดยมีกิจกรรมถวายสักการะและขอพระราชทานพระราชวโรกาสถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระกนิษฐาธิราช กรมสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน 2563 บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักงานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน และจัดกิจกรรมทำความสะอาดพื้นที่โดยรอบและภายในอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ตามมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus disease 2019) หรือ COVID-19


Messenger