ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ
วันอังคารที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๗ เลา ๐๙.๓๐ น.นายขจร มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา เข้าประชุมกรมการจังหวัดนครราชสีมาและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนครราชสีมาณ ห้องประชุมเปรมติณสูลานนท์ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา
องค์ความรู้ เรื่อง ย้อนตำนาน พันท้ายนรสิงห์ (ตอนจบ) จัดทำข้อมูลโดย นางสาวสุพรรษา ชำนาญ (นักวิชาการวัฒนธรรม) กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี
พิพิธภัณฑ์สรรหาสาระ บทความออนไลน์จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
“เรื่องของหอยจากแหล่งโบราณคดีโคกพนมดี”
หอย เป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่ช่วยในการศึกษาสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศในอดีต รวมทั้งความสัมพันธ์กับมนุษย์ในช่วงเวลาดังกล่าว โดยหอยที่พบจากแหล่งโบราณคดีมีทั้งนิเวศวัตถุและโบราณวัตถุที่มนุษย์ในอดีตนำมาใช้หรือดัดแปลง
จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี และการศึกษาของ G.M. Mason สามารถจำแนกชนิดของหอยได้กว่า 121 ชนิด ทั้งหอยฝาเดียว (Gastropods) และหอยสองฝา (Bivalves) โดยเป็นหอยที่มีถิ่นอาศัยทั้งหอยทะเล หอยน้ำจืดและหอยบก
หอยทะเล เป็นหอยที่พบมากที่สุดจากการขุดค้น ซึ่งหอยทะเลที่พบส่วนใหญ่เป็นหอยที่นำมาบริโภคเป็นอาหาร โดยสามารถจำแนกได้เป็น
- หอยฝาเดียว (Marine Gastropods) ที่พบจำนวนมาก ได้แก่
- หอยพระจันทร์ลายเสือหรือหอยตะกาย (Natica tigrina)
- หอยจุ๊บแจงยอดทู่ (Cerithidea obtusa)
- หอยขี้กาหรือหอยหลักควาย (Telescopium telescopium)
- หอยทะนนลายแต้ม (Nerita articulata)
- หอยหมาก/หอยนน (Ellobium aurisjudae) เป็นต้น
- หอยสองฝา (Marine Bivalves) ได้แก่
- หอยแครง (Anadara granosa (Tegillarca granosa)) เป็นหอยที่พบมากที่สุดและพบตลอดระยะการอยู่อาศัย กว่า 600,000 ชิ้น
- หอยตลับ (Meretrix lusoria)
- หอยลายหรือหอยหวาน (Paphia undulata (Paratapes undulata)) เป็นต้น
หอยน้ำจืดและหอยบก
- หอยฝาเดียว ได้แก่
- หอยขม (Filopaludina sp.)
- หอยโข่งปากส้ม (Pila pesmei)
- หอยงวงท่อลาย (Rhiostoma housei) เป็นต้น
- หอยสองฝา
- หอยกาบ (Pseudodon spp.)
- หอยกาบกี้ (Pilsbryoconcha exilis exilis)
- หอยกาบลาย (Uniandra contradens rustica (Contradens contradens rustica))
- หอยกาบน้ำจืด (Uniandra contradens tumidula) เป็นต้น
จากปริมาณของหอยที่พบทั้งหมดจากการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี พบว่าเป็นหอยที่มีถิ่นอาศัยบริเวณโคลนดินตามป่าชายเลนในเขตน้ำขึ้น-น้ำลง และเขตชายฝั่งเหนือน้ำขึ้น-น้ำลง บริเวณหาดทราย รวมทั้งพื้นท้องทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหอยแครง พบตั้งแต่การเริ่มเข้ามาอยู่อาศัยของชุมชนโคกพนมดีและมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากเรื่อย ๆ ในสมัยต่อมา และพบปริมาณน้อยลงต่อเนื่องในสมัยสุดท้ายของการอยู่อาศัย ในขณะเดียวกันหอยชนิดที่มีถิ่นอาศัยอยู่ตอนในของป่าชายเลน หอยน้ำจืด และหอยบก ซึ่งพบน้อยในช่วงระยะแรกของการอยู่อาศัยกลับพบจำนวนเพิ่มมากขึ้นในช่วงสมัยต่อมา
จากหลักฐานของหอยที่ปรากฏ สามารถบอกได้ว่า ชุมชนโคกพนมดีเมื่อแรกเริ่มการเข้ามาอาศัย อาจจะตั้งอยู่ติดหรือใกล้กับปากแม่น้ำขนาดใหญ่ ที่สามารถเดินทางออกสู่ทะเลได้ แต่ในระยะเวลาต่อมาพื้นที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงกลายสภาพเป็นแผ่นดินและชุมชนโคกพนมดีเริ่มอยู่ไกลจากชายฝั่งทะเลมากขึ้น ทำให้ผู้คนเริ่มมีวิถีชีวิตและการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไป ซึ่งสัมพันธ์กับชนิดและปริมาณของหอยที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง
เอกสารอ้างอิง - G.M. Mason. The Molluscan remains, The Excavation of Khok Phadom Di a prehistoric site in Central Thailand Volume II: The biological Remains (Part I) , 1991.
- Jarujin Nabhitabhata. Mollusca fauna Of Thailand.2009
- สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), บัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพมอลลัสกาในประเทศไทย: หอยสองฝาน้ำจืด. 2560.
- สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), บัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพมอลลัสกาในประเทศไทย: หอยฝาเดียวน้ำจืด. 2560.
- สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), บัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพมอลลัสกาในประเทศไทย: หอยสองฝาทะเล. 2560.
- สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), บัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพมอลลัสกาในประเทศไทย: หอยฝาเดียวทะเล. 2560.
ผู้เรียบเรียง : นายเพิ่มพันธ์ นนตะศรี ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
ชื่อเรื่อง ขบวนเรือยนต์และเรือพระประเทียบ ผู้แต่ง -ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณกรรมเลขหมู่ 895.91111 ข234งสถานที่พิมพ์ บางขุนพรหมสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์อักษรนิติปีที่พิมพ์ 2471ลักษณะวัสดุ 54 หน้า หัวเรื่อง กวีนิพนธ์ กาพย์โคลง ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก เนื้อหาภายในประกอบด้วยกาพย์ห่อโคลง ชมขบวนเรือยนต์และเรือพระประเทียบ เสด็จพระราชดำเนิรประพาศทุ่งท้องพรหมมาตร์ จังหวัดลพบุรี พระพุทธศักราช 2465 และจดหมายเหตุเสด็จประพาสพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน พระพุทธศักราช 2467
รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดี กลุ่มโบราณสถานเขาพระบาทใหญ่ พ.ศ.2563 #แจกไฟล์PDFฟรี
.
---อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยขอเผยแพร่รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดี "โครงการขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ กลุ่มโบราณสถานเขาพระบาทใหญ่" สามารถดาวน์โหลดเพื่ออ่านหรือใช้ในการศึกษาตามลิ้งก์ที่แนบนี้ >>> https://drive.google.com/.../10l0fRTLev.../view...
.
---กรมศิลปากร โดยอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้ดำเนินงานโครงการขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์กลุ่มโบราณสถานเขาพระบาทใหญ่ ปีงบประมาณ พ.ศ.2563 เป็นการขุดแต่งทางโบราณคดีเพื่อศึกษาโบราณสถาน จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย โบราณสถานวัดเขาพระบาทใหญ่ (ต.ต.45) โบราณสถานวัดกุฏิชี (ต.ต.46) โบราณสถานร้าง ต.ต.47 และโบราณสถานร้าง ต.ต.48 อีกทั้งยังได้ทำการขุดค้นทางโบราณคดีขนาด 2x2 เมตร จำนวน 3 หลุม (โบราณสถานแห่งละ 1 หลุม ยกเว้นโบราณสถานร้าง ต.ต.47)
.
---ผลจากการดำเนินงานทางโบราณคดี พบว่า กลุ่มโบราณสถานบนเขาพระบาทใหญ่ทั้ง 4 แห่ง น่าจะมีการใช้งานอยู่ในช่วงสมัยสุโขทัยช่วงปลาย (ตั้งแต่รัชสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไทลงมา) ราวพุทธศตวรรษที่ 20 – 22 โดยโบราณสถานวัดเขาพระบาทใหญ่ (ต.ต. 45) ประกอบไปด้วยเนิน โบราณสถาน 2 แห่ง คือเนินโบราณสถานหลักที่มีการก่อสร้างวิหารและฐานประดิษฐานรอย พระพุทธบาทอยู่ด้านบนเนิน และทิศตะวันตกของเนินโบราณสถานหลักพบเป็นอาคารก่อหิน และ ลานหินปูพื้น สันนิษฐานว่าคงเป็นบริเวณเขตสังฆาวาส โบราณสถานวัดกุฏิชี(ต.ต. 46) ประกอบด้วย โบราณสถานหลักของวัดเป็นอาคารก่อหินที่ตั้งอยู่กลางเนินเขา และกลุ่มหินที่เรียงเป็นแนวอยู่รอบ ๆ ปลายเนิน ล้อมรอบโบราณสถานหลักของเนินเขา มีจำนวนทั้งสิ้น 12 จุด ส่วนโบราณสถานร้าง ต.ต. 47 เป็นแนวหินที่เรียงกันเป็นกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าภายในอัดดินถมดิน และโบราณสถานร้าง ต.ต. 48 พบเป็นวิหาร และเจดีย์ก่ออิฐอยู่ด้านบนเนินที่เกิดจากการเรียงหินเป็นคันขอบ นอกจากนี้ยังพบ หลักฐานทางโบราณคดีอีกหลากหลายประเภท ทั้งชิ้นส่วนภาชนะดินเผา ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีน รวมถึง หลักฐานที่เกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรม เช่น ตะปูเหล็ก กระเบื้องดินเผา อิฐ ศิลาแลง หิน และยังพบ หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและศาสนา เช่น ชิ้นส่วนพระพุทธรูปปูนปั้น แผ่นหินสลักภาพ พระพุทธรูป ตะคันดินเผา และใบเสมาหินมีจารึก เป็นต้น
.
---อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินการขุดแต่ง และศึกษาในโครงการนี้เป็นเพียงรายงานเบื้องต้นที่ นำเสนอหลักฐานต่าง ๆ จากการดำเนินงานภาคสนาม อีกทั้งยังเป็นการวิเคราะห์ตีความในเบื้องต้น เท่านั้น จึงยังมีประเด็นที่ยังขาดหายไป หากมีการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ หรือมีการศึกษา เพิ่มเติม อาจทำให้จะได้ข้อสันนิษฐานใหม่ที่สนับสนุนหรือขัดแย้งกับการวิเคราะห์และแปลความใน การศึกษาครั้งนี้ด้วย ซึ่งกรมศิลปากรหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โบราณสถานของเมืองสุโขทัยต่อไป
เลขทะเบียน : นพ.บ.118/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 62 หน้า ; 4.7 x 57 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 66 (209-213) ผูก 7 (2564)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (พระวิภงฺคปกรณา-พระสมนฺต มหาปฎฺฐาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ขอมภาษา : บาลี-ไทยบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง ความรู้ทางกะจายเสียง
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์โสภณพิพัทธนากร
ปีที่พิมพ์ ๒๔๘๕
จำนวนหน้า ๔๙ หน้า
หมายเหตุ -
หนังสือชุดความรู้ทางกระจายเสียงของกรมโคสนาการ ภาคที่ ๒๑ ของสามัคคีชัย โดยประกอบด้วยเรื่อง “ไทยหยู่คู่ฟ้าเพราะอะไร” “ชาติไทยไต่ลวดข้ามเหวไห้ดี” “มาลานำไทยเปนมหาอำนาด” “ไทยจะร่ำรวยเพราะอะไร” “ฉันเห็นอุทกภัยสองครั้ง” “ฉันไม่กลัวอุทกภัยแล้ว” “กรุงเทพฯ เป็นเวนิสแน่” และ “ไต้พระจันทร์ไม่มีของไหม่” รวมทั้งหมด ๘ เรื่อง