ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ

ชื่อผู้แต่ง             - ชื่อเรื่อง               จดหมายเหตุการณ์แพร่ศาสนา และการเดินทางของบรรดาพระสังฆราช ประมุขมิสซัง และของพระสงฆ์ในปกครอง ในปี ค.ศ. ๑๖๗๒ - ค.ศ.๑๖๗๕ ครั้งที่พิมพ์           พิมพ์ครั้งแรก สถานที่พิมพ์         กท สำนักพิมพ์           หสน.สหประชาพาณิชน์ ปีที่พิมพ์               ๒๕๒๓ จำนวนหน้า           ๑๕๖  หน้า หมายเหตุ             -                           หนังสือเรื่องจดหมายเหตุการณ์แพร่ศาสนา และการเดินทางของบรรดาพระสังฆราช ประมุขมิสซัง และของพระสงฆ์ในปกครอง ในปี ค.ศ. ๑๖๗๒ - ค.ศ.๑๖๗๕ นี้ เป็นเรื่องราวในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นเรื่องเกี่ยวกับบาทหลวงฝรั่งเศสกำลังเผยแพร่คริสต์ศาสนาในประเทศไทยโดยได้รับพระราชานุญาต อย่างไรก็ตาม หนังสือเรื่องจดหมายเหตุการณ์แพร่ศาสนา และการเดินทางของบรรดาพระสังฆราช ประมุขมิสซัง และของพระสงฆ์ในปกครอง ในปี ค.ศ. ๑๖๗๒ - ค.ศ. ๑๖๗๕ เป็นเรื่องราวที่ชาวต่างชาติได้จดบันทึกและเล่าไว้ อาจให้ข้อคิดเห็นที่ต่างไปจากความคิดเห็นของคนไทยได้



ชื่อเรื่อง : ประกาศการพระราชพิธี เล่ม 1 ชื่อผู้แต่ง : สมมตอมรพันธุ์ฯ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ ปีที่พิมพ์ : 2508สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภา จำนวนหน้า : 340 หน้า สาระสังเขป : หนังสือประกาศการพระราชพิธี เล่ม 1 ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ฯ เล่มนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมติอมรพันธุ์ ได้ทรงรวบรวมขึ้นจากประกาศ และประกาศพระราชพิธีต่าง ๆ มีคำอธิบายประกาศพระราชพิธีด้วย อาทิเช่น ประกาศวันสวดมนต์พระราชพิธีถือน้ำ ประกาศโองการแช่งน้ำ ประกาศพระราชพิธีพืชมงคลแลจรดพระนังคัลอย่างเก่า และอย่างใหม่ ประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล ฉบับแรก ประกาศพระราชพิธีสารท ประกาศสังเวยเทวดา เป็นต้น




          กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอเชิญเยาวชนร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเยาวชน (ภาคฤดูร้อน) กิจกรรม “พิพิธภัณฑ์บันดาลไทย” ร่วมเรียนรู้ สร้างสรรค์ Clip Art จากแรงบันดาลใจในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๘ เมษายน ๒๕๖๕ ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก) และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๕ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โทร. ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๑๑ หรือ เฟสบุ๊ก เพจ Office of National Museums, Thailand          กรมศิลปากรมีนโยบายในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรม ให้แก่ เยาวชน เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างสมสืบมา และรู้รักในความเป็นชาติที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน และเพื่อเป็นการส่งต่อการเรียนรู้และต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมให้เกิดเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างมีเอกลักษณ์ กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร่วมกับกลุ่มเซียมไล้ จัดทำโครงการกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเยาวชน (ภาคฤดูร้อน) “พิพิธภัณฑ์บันดาลไทย” ขึ้น ตามโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเยาวชน (ภาคฤดูร้อน) โดยออกแบบการอบรมเพื่อกระตุ้นให้เยาวชนได้แสวงหาและสร้างแรงบันดาลใจจากงานประณีตศิลป์ โบราณวัตถุ ตลอดจนโบราณสถานภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ที่รวบรวมมรดกศิลปกรรมและวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของชาติไทยไว้อย่างครบถ้วน และนำแรงบันดาลใจเหล่านั้นไปสร้างสรรค์ให้เกิดงานศิลปะประยุกต์ในรูปแบบ Digital Clip Art ซึ่งผลงานที่เยาวชนสร้างสรรค์ขึ้นมานี้ นอกจากจะเป็นผลงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว ยังสามารถนำไปพัฒนาสู่การผลิตสินค้าที่ระลึกหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ในโอกาสต่อไปอีกด้วย           ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องเป็นเยาวชนที่มีอายุระหว่าง ๑๕ – ๑๘ ปี สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ทั้ง ๔ วัน (ไป – กลับ) พร้อมอุปกรณ์ถ่ายภาพ เช่น กล้องจากโทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายภาพดิจิทัล Notebook หรือ Tablet ที่สามารถใช้โปรแกรม Adobe Photoshop/Illustrator/Canva โดยสมาชิกในทีมอย่างน้อย ๑ คน ต้องสามารถใช้โปรแกรมดังกล่าวได้ รับจำนวน ๒๐ ทีม (ทีมละ ๕ คน) ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ผู้สนใจดูรายละเอียดการลงทะเบียนได้ที่ เฟสบุ๊ก เพจ Office of National Museums, Thailand


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันสงกรานต์ 13 เมษายน” วันสงกรานต์ ตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุกปี คำว่า "สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า การเคลื่อนที่ หรือการ เคลื่อนย้าย หมายถึงการเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์จากราศีหนึ่งสู่อีกราศีหนึ่ง คือวันขึ้นปีใหม่นั่นเองตามความหมายในภาษาสันสกฤตสงกรานต์จึงเกิดขึ้นทุกเดือน ส่วนระยะเวลาที่คนไทยเรียก "สงกรานต์” นั้น เป็นช่วงที่พระอาทิตย์เคลื่อนย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ นับว่าเป็นมหาสงกรานต์ เพราะเป็นวันและเวลาตั้งต้นปีใหม่ตามสรุยคติ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ คือ วันที่ 13-14-15 เมษายน โดยเรียกวันที่ 13 เมษายน ว่าวันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนา วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก สมัยก่อนถือวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย ตรงกับช่วงหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหาร คนสมัยโบราณจึงคิดทำกิจกรรมเพื่อเป็นการพักผ่อนหลังจากทำงาน และเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบกันและเล่นสาดน้ำกัน เพื่อคลายความร้อนในเดือนเมษายน ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงให้พิธีสงกรานต์นั้นเป็นเทศกาลสงกรานต์ ในพิธีสงกรานต์จะใช้ น้ำ เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นองค์ประกอบหลักของพิธี แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ในวันนี้จะใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ มีการรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ต่อมาในสังคมไทยสมัยใหม่เกิดเป็นประเพณีกลับบ้านในช่วงเทศกาลสงกรานต์ นับว่าวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว อีกทั้งยังมีประเพณีที่สืบทอดมาตั้งแต่ดั้งเดิม อย่าง การสรงน้ำพระที่นำมาซึ่งความเป็นสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข การสรงน้ำพระ การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ การเล่นสาดน้ำในคนรุ่นราวคราวเดียวกัน หรือเยาว์กว่า เป็นความงดงามของประเพณี การสืบทอดจรรโลงประเพณีสงกรานต์จึงน่าจะช่วยกันรักษาคุณค่าทางใจ ความมีน้ำใจ การมีสัมมาคารวะและกตัญญู การช่วยเหลือเกื้อกูลต่อธรรมชาติต่อสิ่งแวดล้อม เชื่อว่า คนไทยทุกคนรู้จัก "นางสงกรานต์" แต่เราอาจจะยังไม่รู้ว่า นางสงกรานต์ มีที่มาจากไหน โดยตำนานเกี่ยวกับนางสงกรานต์นั้น ได้มีปรากฏในศิลาจารึกที่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ วัดโพธิ์ ท่าเตียน โดยย่อว่า เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดในแต่ละปี ก็จะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้นๆ เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดในแต่ละปี ก็จะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้นๆ ตรงกับวันอาทิตย์ จะชื่อ “ทุงษเทวี” ตรงกับจันทร์ ชื่อ “โคราดเทวี” ตรงกับวันอังคาร ชื่อ”รากษสเทวี” ” ตรงกับวันพุธ ชื่อ”มัณฑาเทวี” ตรงกับวันพฤหัสบดีชื่อ “กิริณีเทวี” ตรงกับวันศุกร์ ชื่อ “กิมิทาเทวี” ตรงกับวันเสาร์ ชื่อ”มโหทรเทวี” ธรรมบาลกุมาร เป็นเทพบุตรที่พระอินทร์ประทานให้ลงไปเกิดในครรภ์ภรรยาเศรษฐี เมื่อโตขึ้นก็ได้เรียนรู้ภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เพียง 7 ขวบ จึงได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่างๆ แก่คนทั้งหลาย จนวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ โดยถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสียเอง โดยธรรมบาลกุมารได้ขอตอบคำถามใน 7 วัน เมื่อถึงเวลา ท้าวกบิลพรหม ก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ ธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบกับท้าวกบิลพรหม ทำให้ท้าวกบิลพรหมแพ้ในการตอบคำถามครั้งนี้ และก่อนจะตัดเศียร ท้าวกบิลพรหม ได้เรียก ธิดาทั้ง 7 องค์ ซึ่งเป็นนางฟ้า ให้เอาพานมารองรับ เนื่องจากเศียรของท้าวกบิลพรหมเป็นที่รวมแห่งความไม่ดีทั้งปวง ถ้าวางไว้บนแผ่นดินไฟจะไหม้โลก ถ้าโยนขึ้นไปบนอากาศฝนจะแล้ง ถ้าทิ้งลงในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง ธิดาทั้ง 7 จึงมีหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันดูแลเศียรของท้าวกบิลพรหม และในทุกๆ ปี ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหม แห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ จึงเป็นที่มาของ นางสงกรานต์ โดยแต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์นั่นเอง คติความเชื่อของไทยถือว่าในวันสงกรานต์ถ้าหากได้มีการปล่อยนกปล่อยปลาแล้ว จะเป็นการล้างบาปที่ทำไว้ และเป็นการสะเดาะเคราะห์ร้าย ให้คงไว้แต่ความสุขความเจริญในวันขึ้นปีใหม่ การปล่อยนกปล่อยปลาที่ทำเป็นพิธีและติดต่อกันทุกๆปี จะเห็นได้ที่ปากลัดที่มีขบวนแห่ที่สวยงาม และเอกเกริกในตอนเย็น ตอนกลางคืนจะมีการละเล่นต่างๆ เช่น การเล่นสะบ้า คนหนุ่มสาวจะมีโอก่าสได้ใกล้ชิดกัน วันที่เกี่ยวข้องกับวันสงกรานต์คือวันตรุษไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งถือว่าเป็นวันสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ของไทยในสมัยโบราณคู่กับวันสงกรานต์ ที่เรียกว่า “ตรุษสงกรานต์” ตรุษ แปลว่า ยินดี หมายถึงยินดีที่มีชีวิตยั่งยืนจนถึงวันนี้ จึงจัดพิธีแสดงความยินดี โดยการทำบุญ ไม่ให้ประมาทในชีวิต ปกติจะจัด 3 วัน วันแรก คือแรม 14 ค่ำ เป็นวันจ่าย วันกลาง คือแรม 15 ค่ำ เป็นวันทำบุญ มีการละเล่นจนถึงวันที่ 3 คือขึ่น 1 ค่ำ เดือน 5 ปัจจุบันนิยมรวบยอดมาทำบุญและเล่นสนุกสนานในวันสงกรานต์ช่วงเดียว อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี




ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           28/3ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               28 หน้า : กว้าง 4.9 ซม. ยาว 54.7 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ปี ๒๔๙๒ สภาวัฒนธรรมแห่งชาติเผยแพร่วัฒนธรรมในการดูกีฬา . >> พ.ศ.๒๔๘๕ รัฐบาลภายใต้การนำของจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้จัดตั้ง “สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ” ขึ้น โดยมีหน้าที่ดังนี้ ๑) ค้นคว้า ดัดแปลง รักษา และส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งชาติที่มีอยู่ ๒) ค้นคว้า ดัดแปลง และกำหนดวัฒนธรรมที่ควรรับไว้หรือปรับปรุงต่อไป ๓) เผยแพร่วัฒนธรรมแห่งชาติให้เหมาะสมกับกาลสมัย ๔) ควบคุมและหาวิธีปลูกฝังวัฒนธรรมแห่งชาติในจิตใจของประชาชนจนเป็นนิสัย ๕) ให้ความเห็น รับปรึกษาและปฏิบัติการตามความมุ่งหมายของรัฐบาลในกิจกรรมอันเกี่ยวกับวัฒนธรรมแห่งชาติ โดยกำหนดให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติเป็น ๔ สำนัก คือ สำนักวัฒนธรรมทางจิตใจ สำนักวัฒนธรรมทางระเบียบประเพณี สำนักวัฒนธรรมทางศิลปกรรม และสำนักวัฒนธรรมทางวรรณกรรม โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ . >> จากเอกสารจดหมายเหตุชุดจังหวัดจันทบุรี ปี ๒๔๙๒ สภาวัฒนธรรมแห่งชาติได้ขอความร่วมมือคณะกรมการจังหวัดจันทบุรีเผยแพร่เรื่อง “วัฒนธรรมในการดูกีฬา” ให้ข้าราชการและประชาชนทราบ เพื่อเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมประจำชาติให้ดียิ่งขึ้น โดยระบุถึงข้อควรปฏิบัติของผู้ดูการเล่นกีฬาไว้ดังนี้ ข้อ ๑. ผู้ดูพึงปรบมือแสดงความยินดีต้อนรับผู้แข่งขันทุกฝ่ายขณะเข้าสู่สนาม และปรบมือให้เกียรติแก่ผู้เล่นดี ไม่ว่าฝ่ายไหนด้วย ข้อ ๒. ผู้ดูไม่บังควรเย้ยหยันผู้แข่งขันและเจ้าหน้าที่ด้วยประการใดๆ ข้อ ๓. ผู้ดูไม่บังควรรบกวนผู้แข่งขันหรือเจ้าหน้าที่ และไม่บังควรก่อให้เกิดการแตกสามัคคีระหว่างผู้แข่งขันด้วยกันหรือกับผู้ดู ข้อ ๔. ผู้ดูพึงยอมรับคำตัดสินของเจ้าหน้าที่อย่างเด็ดขาด และเคารพกฎข้อบังคับและกติกาทั้งปวง ข้อ ๕. ผู้ดูไม่บังควรเปล่งวาจาสนับสนุนผู้เล่นไปในทางที่ผิด >> ทั้งนี้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ให้เหตุผลว่าการเล่นกีฬาเป็นคุณและเป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เล่น เพราะก่อให้เกิดพลานามัย และเป็นประโยชน์แก่ชาติทั้งในทางสมรรถภาพและความสามัคคี ถ้าผู้เล่น ผู้ดู รู้ตัวและระลึกอยู่เสมอถึงประโยชน์ดังกล่าว ไม่เผลอตนปล่อยใจให้ตกอยู่ในทางอคติ ก็จะเป็นการส่งเสริมและเพิ่มพูนวัฒนธรรมประจำชาติของคนไทยให้สูงยิ่งขึ้น . ผู้สนใจสามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี และระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ https://archives.nat.go.th ผู้เรียบเรียง นางสาวสุจิณา พานิชกุล นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี ------------------------------ อ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดจังหวัดจันทบุรี จบ ๑.๑.๑.๙/๗๒ เรื่องขอความร่วมมือเผยแพร่วัฒนธรรมในการดูกีฬา (๑๐ ตุลาคม ๒๔๙๒). ประวัติกระทรวงวัฒนธรรม. เข้าถึงได้จาก https://www.m-culture.go.th/th/article_view.php?nid=3092 สืบค้นเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕. อดีต – ปัจจุบัน สนามหลักในซีเกมส์ ๑๙๕๙-๒๐๑๗. เข้าถึงได้จาก https://pantip.com/topic/39443628 สืบค้นเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕.



สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 137/1เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 172/5เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อผู้แต่ง          ไข่มุกด์ มิลินทะเลข. ชื่อเรื่อง           บรรณานุกรมพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเรื่องที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๔ จำนวนหน้า       ๙๒ หน้า รายละเอียด           บรรณานุกรมพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเรื่องที่เกี่ยวข้อง เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่เป็นอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะนักปราชญ์คนสำคัญของโลก เนื้อหาประกอบด้วย บรรณานุกรมพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาษาไทย บรรณานุกรมพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาษาอังกฤษ บรรณานุกรมสำเนาลายพระราชหัตถ์ ภาษาไทย บรรณานุกรมสำเนาลายพระราชหัตถ์ ภาษาอังกฤษ และ บรรณานุกรมหนังสือที่มีผู้ประพันธ์เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


ประสงค์ ปัทมานุช (พ.ศ. 2461 – 2523) ประสงค์ ปัทมานุช เกิดเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2461 ที่กรุงเทพฯ มีความสนใจทางด้านศิลปะและการวาดภาพมาตั้งแต่เด็ก ประสงค์เริ่มเรียนศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่างในปี 2480 จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม แผนกช่าง จนจบการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2483 ในปีต่อมาประสงค์เข้ารับราชการที่แผนกหัตถศิลป์ กรมศิลปากร และเป็นอาจารย์สอนวิชาจิตรกรรมที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2492 ลาออกจากกรมศิลปากร และเข้าทำงานที่แผนกช่างเขียน กองโฆษณาการ ธนาคารออมสิน เป็นที่รู้จักในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกงานด้านการออกแบบนิเทศศิลป์ ประสงค์เป็นศิลปินที่มีผลงานโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ มีความหลากหลายทั้งรูปแบบของผลงานและการใช้สี อาทิ ผลงานแบบไทยประยุกต์ ผลงานแบบคิวบิสม์ และผลงานนิเทศศิลป์ ประสงค์สร้างสรรค์ผลงานแบบไทยประยุกต์ โดยการนำภาพจิตรกรรมแบบไทยประเพณีมาสร้างสรรค์ด้วยวิธีการจัดองค์ประกอบแบบสมัยใหม่ นิยมใช้ “ภาพกาก” หรือภาพที่อยู่นอกเหนือจากเรื่องราวหลักในงานจิตรกรรมแบบไทยประเพณี เช่น ภาพวิถีชีวิตของชาวบ้าน มาใช้เป็นหัวข้อหลักในการเขียนภาพ นอกจากนี้ ประสงค์นำเทคนิคของศิลปะแนวคิวบิสม์ (Cubism) มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานด้วย เช่น ภาพ “เจดีย์วัดโพธิ์” ที่นำเสนอภาพทิวทัศน์แบบไทย โดยใช้เส้นและสีตัดกันไปมาเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่ประกอบกันเป็นอาคารและเจดีย์ของวัดโพธิ์ ผลงานมีลักษณะสองมิติ มีการจัดน้ำหนักของสีให้มีความสดใสและสมดุล ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวถึงผลงานของประสงค์ไว้ว่า “…ภาพเขียนอันวิจิตนของนายประสงค์ ปัทมานุช แสดงให้เห็นถึงความฉลาดในการจัดโครงสร้างสีให้เข้ากันอย่างสวยงาม นายประสงค์มีความรู้สึกทางสีสูงยิ่ง ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศิลปโบราณของเราอย่างแท้จริง นายประสงค์เป็นผู้ที่รักศิลปของตน แม้จำต้องทำงานซึ่งไม่ตรงกับอุปนิสัยของตนก็ตาม ก็พยายามส่งงานจิตรกรรมแสดงทุกปี นี่คือการเรียกร้องที่แท้จริงของศิลป และด้วยเหตุนี้เองที่เรากล่าวกันว่าศิลปเพื่อศิลป…” ประสงค์ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 1 – 6 (พ.ศ. 2492 - 2498) ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง 2 ครั้ง เกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน 3 ครั้ง เกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง 1 ครั้ง และได้รับการยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยม สาขาทัศนศิลป์ (มัณฑนศิลป์) ในปี 2497 นอกจากนี้ ประสงค์ยังทำงานเกี่ยวกับการซ่อมแซมและบูรณะงานศิลปกรรมของชาติหลายแห่ง รวมทั้งยังแต่งตำราลายไทยและวิธีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ประสงค์ ปัทมานุช ได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. 2529 และถึงแก่กรรมด้วยโรคเบาหวาน เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2532 สิริอายุ 71 ปี #ประสงค์ปัทมานุช #ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่๙ #ศิลปินแห่งนวสมัย #หอศิลป์แห่งชาติ #หอศิลป์แห่งชาติถนนเจ้าฟ้า ที่มา 1. หนังสือ “5 ทศวรรษศิลปกรรมแห่งชาติ 2492 – 2541” โดย หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2. หนังสือ “นิทรรศการพิเศษเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส ประสงค์ ปัทมานุช” โดย กรมศิลปากร 3. หนังสือ “บทความ ข้อเขียน และงานศิลปกรรมของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี” โดย หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 4. หนังสือ “ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ประจำปีพุทธศักราช 2528 – 2531” โดย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ



Messenger