ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
ภาชนะแบบมีปุ่มแหลม(Knobbed ware) เป็นภาชนะที่นำเข้าจากต่างประเทศ วัตถุดิบที่ใช้ผลิตภาชนะรูปแบบนี้มีทั้งหิน โลหะ และดินเผา ซึ่งมีรูปทรงที่แตกต่างกันออกไป อาทิ ทรงจานก้นโค้งและจานก้นแบน เป็นต้น แต่มีลักษณะเด่นที่เหมือนกัน คือมีปุ่มแหลมตรงกลางด้านในของภาชนะ ภาชนะบางใบอาจมีร่องวงกลมล้อมรอบนักวิชาการได้ให้ความคิดเห็นว่าภาชนะแบบมีปุ่มแหลม ไม่ใช่ภาชนะที่ใช้สำหรับหุงต้มในชีวิตประจำวัน โดยเอียน โกลเวอร์ (Ian Glover) นักโบราณคดีผู้ทำการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร ให้ความคิดเห็นว่าภาชนะรูปแบบนี้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมต่างๆ อาทิ การฝังศพ และยังได้ตีความว่า ปุ่มแหลมของภาชนะ หมายถึง เขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
ในต่างประเทศได้พบภาชนะแบบมีปุ่มแหลมที่แหล่งโบราณคดี Wari-Bateshwar ประเทศบังกลาเทศ ซึ่งเป็นเมืองท่าที่เจริญอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๓ – ๘ ในบริเวณอ่าวเบงกอลและพบในรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย นอกจากนี้ยังพบภาชนะแบบมีปุ่มแหลมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประเทศเวียดนาม จังหวัดธันฮัว(Than Hoa) และในประเทศไทย
สำหรับในประเทศไทยพบในภาคกลางที่แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี ที่ภาคใต้พบในสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้วจังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นเมืองท่าที่เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓ - ๙ นอกจากนี้ยังพบที่แหล่งโบราณคดีถ้ำเสือและแหล่งโบราณคดีหาดปากคลองกล้วย จังหวัดระนอง ภาชนะแบบมีปุ่มแหลมใบนี้จึงเป็นตัวแทนของวัตถุที่ถูกนำเข้ามาในสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ของภาคใต้ เป็นโบราณวัตถุชิ้นเด่นของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
สาระสังเขป : สุนทรพจน์นายกรัฐมนตรี กล่าวทางวิทยุกระจ่ายเสียง แด่ประชาชนชาวไทย เนื่องในวันเฉลิมฉลองวันชาติ และสนธิสัญญา ประกาศรัฐนิยม 12 ฉบับ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2482ผู้แต่ง : อาทิตย์ทิพอาภา, พระเจ้าวรวงศ์เทอ พระองค์เจ้าโรงพิมพ์ : กรมแผนที่ปีที่พิมพ์ : 2485ภาษา : ไทยรูปแบบ : PDFเลขทะเบียน : น. 31 บ. 13525เลขหมู่ : 895.9115 อ 622 ล
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง ภาษาบาลี ไวยากรณ์/คัมภีร์มูลกัจจายน์ การศึกษาและการสอนประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 62 หน้า : กว้าง 6 ซม. ยาว 58 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากพระครูวิมลสังวร วัดแค ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.47/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.6 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 29 (295-307) ผูก 5หัวเรื่อง : มหาวคฺคปาลิ ทีฆนิกาย --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง : บทละครเรื่อง อิเหนา เล่ม 5
ชื่อผู้แต่ง : พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2510
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา
จำนวนหน้า : 319 หน้า
สาระสังเขป : บทละครเรื่องอิเหนานี้ วรรณคดีสโมสรได้ตัดสินว่าเป็นยอดของบทละครรำเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2459 เพราะแต่งดีพร้อมทั้งความทั้งกลอนทั้งกระบวนที่จะเล่นละคร นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการศึกษาประเพณีไทยแต่โบราณขนบธรรมเนียมบ้านเมือง และอัธยาศัยคนในสมัยนั้นอีกด้วย บทละครเรื่อง อิเหนา เล่ม 5 เริ่มจากตอนย่าหรันทูลขอโทษระตูมะงาดา อภิเษกอิเหนาและราชบุตรราชธิดาสี่พระนคร จนถึงตอนอิเหนาตั้งระเด่นเจ็ดคนไปครองเมือง และต่อด้วยเพลงยาวท้ายบทละคร
ชื่อเรื่อง : ทศชาติ
ชื่อผู้แต่ง : กรมศิปากร
ครั้งที่พิมพ์ : -
สถานทีพิมพ์ : ม.ป.ท.
สำนักพิมพ์ : -
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๘
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูพินิจสมาจาร (หลวงพ่อโด่อินฺทโชโต) วัดนามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ๑๖ มีนาคม ๒๕๑๘
ว่าด้วยการบำเพ็ญบารมีในสิบชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะได้ตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ ชาติที่ ๑ เสวยพระชาติเป็นพระเตมีย์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ชาติที่ ๒ เสวยพระชาติเป็นพระมหาชนก ทรงบำเพ็ญวิริยบารมี ชาติที่ ๓ เสวยพระชาติเป็นพระสุวรรณสามทรงบำเพ็ญเมตตาบารมี ชาติที่ ๔ เสวยพระชาติเป็นพระเนมิราชทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี ชาติที่ ๕ เสวยพระชาติเป็นพระมโหสถทรงบำเพ็ญบารมี ชาติที่ ๖ เสวยพระชาติเป็นพระภูริทัตทรงบำเพ็ญศีลบารมี ชาติที่ ๗ เสวยพระชาติเป็นพระจันทกุมารทรงบำเพ็ญขันติบารมี ชาติที่ ๘ เสวยพระชาติเป็นพรหมนารททรงบพเพ็ญอุเบกขาบารมี ชาติที่ ๙ เสวยพระชาติเป็นพระวิธูรบัณฑิตทรงบำเพ็ญสัจจบารมี ชาติที่ ๑๐ ชาติสุดท้ายเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญทานบารมี
ชื่อเรื่อง นิติเวชวิทยาพิมพ์ครั้งที่ 8ผู้แต่ง สงกรานต์ นิยมเสนประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ แพทยศาสตร์เลขหมู่ 614.1 ส132นสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรมปีที่พิมพ์ 2513ลักษณะวัสดุ 222 หน้า หัวเรื่อง นิติเวชวิทยา การพิสูจน์หลักฐานภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกนิติเวชวิทยาคือสาขาหนึ่งของแพทย์ที่เกี่ยวกับกฎหมาย วิชานี้ช่วยอธิบายหรือแสดงเหตุผลในทางแพทย์ให้แก่ผู้ใช้กฎหมาย การศึกษานิติเวชวิทยาเป็นหน้าที่ของแพทย์เมื่อมีคดีเกี่ยวกับแพทย์
วันศุกร์ที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๓๐ น.
นายขจร มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา
เข้าร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำภาคเอกชน และผู้นำองค์กรสาธารณะ
ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา