ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
ยามเย็น : Yam Yen (Love at Sundown)
เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 2
พระราชนิพนธ์ในพุทธศักราช 2489 ขณะยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงนิพนธ์คำร้องภาษาไทยและท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา แต่งคำร้องภาษาอังกฤษและพระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีคำร้องสมบูรณ์ให้นายเอื้อ สุนทรสนานนำออกมาบรรเลงในงานของสมาคมปราบวัณโรค ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พุทธศักราช 2489 นับเป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกที่ออกบรรเลงสู่ประชาชนเป็นเพลงที่ร่าเริงแจ่มใสเหมาะสำหรับการเต้นรำในสมัยนั้น จึงเป็นเพลงยอดนิยมของพสกนิกรไทยทันที
Royal Composition Number 2
The song was composed in 1946, while His Majesty was entitled the Royal Younger Brother. He gave it to His Royal Highness Prince Chakrabhand Pensiri to write the lyrics in Thai, and Thanpuying Nopakhun Thongyai Na Ayudhya the English version. He then gave the song complete with lyrics to Mr. Ua Suthornsanan to be performed in the fundraising event of the Anti – Tuberculosis Association at Ambara Dance Hall on Saturday, 4 May 1946, as the first royal composition to be presented in a public performance. It is cheerful and fit for a ballroom dance at that time. Thus it became an instant hit with the Thai public.
เมื่อวันพุธที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๓๐ น ณ ห้องรับรอง กรมศิลปากร นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ให้สัมภาษณ์พิเศษนิตยสารโพสต์ทูเดย์@Weekly เนื่องในโอกาส ๑๐๕ ปี แห่งการสถาปนา กรมศิลปากร ในประเด็นเกี่ยวกับนโยบายและภารกิจของ กรมศิลปากร ผลการดำเนินงานสำคัญของกรมศิลปากร นโยบายขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมของกรมศิลปากรใน ปี ๒๕๕๙ และทิศทางในอนาคตของกรมศิลปากร เพื่อลงพิมพ์ฉบับวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๙
เมื่อวันพุธ ที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕ คณะอาจารย์และนักศึกษา จากวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี เข้าศึกษาเรียนรู้ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ประกอบด้วย นักศึกษาระดับชั้น ปวช.๒ สาขาการประชาสัมพันธ์ และนักศึกษาระดับชั้น ปวส.๒ สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว รวมจำนวน ๖๑ คน และอาจารย์ ๓ คน ทั้งนี้ เพื่อเป็นส่งเสริมการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ และด้านโบราณคดี และพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ให้มีความรู้มากยิ่งขึ้น
วัสดุ สำริด
แบบศิลปะ ศิลปะเขมรในประเทศไทย
อายุสมัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18
สถานที่พบ พบในเขตอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
กระดิ่งหล่อจากสำริด ตัวกระดิ่งและด้ามแยกออกจากกันได้ ตัวด้ามทำเป็นปล้องคล้ายลูกมะหวด ยอดทำเป็นแฉก 5 แฉก ด้านในร้อยแท่งเหล็กกลม เวลาสั่นจะเกิดเสียง
กระดิ่ง (ฆัณฏา) เป็นเครื่องมงคลที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ทั้งในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ เช่น ใช้ร่วมกับวัชระในพิธีทำวัตรในศาสนาพุทธมหายาน นิกายวัชรยาน
ภาพเก่า-เล่าอดีต : อิตาลีเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส ร.ศ.๑๒๖
บทความจากนิตยสารศิลปากร ปี่ที่ ๕๔ ฉบับที่ ๕ เดือนกันยายน-ตุลาคม ๒๕๕๔ คอลัมน์ภาพเก่า-เล่าอดีต : อิตาลีเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส ร.ศ.๑๒๖ เขียนโดยนางสาวนัยนา แย้มสาขา เหตุการณ์ครั้งนั้นมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ภาพเก่าจะเล่าประวัติศาสตร์ให้ท่านได้รับทราบ อยากรู้ต้องอ่่านต่อ...
โครงการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2556 ครั้งที่ 2 ณ โรงเรียนบ้านคำสว่าง อ.เมือง จ.นครพนม ร่วมกับโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ ด้วยจังหวัดนครพนม ได้จัดทำโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ฯ เพื่อนำบริการของรัฐทุกประเภทเข้าไปให้บริการและแก้ไขปัญหาความเดือนดร้อน แก่ประชาชนในพื้นที่หมู่บ้านชุมชน โดยบูรณาการการปฏิบัติของทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตลอดจนองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น องค์กรเอกชนและภาคประชาชน ในโอกาสนี้่หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรม ราชินีนาถ นครพนม ได้จัดทำโครงการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชนเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หน่วยงาน ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ กิจกรรมที่จัดได้แก่จัดแสดงนิทรรศการส่งเสริมการอ่านเรื่อง โลกของเด็ก..กับนิทานเบาปัญญาน่ารู้ชุด...ทำไมน๊า... พร้อมแจกเอกสารนิทานประกอบนิทรรศการ และเอกสารเผยแพร่ความรู้ที่น่าสนใจ อาทิ การเลี้ยงกบ เลี้ยงจิ้งหรีด การทำความสะอาดคราบสกปรกต่างๆ และการทำน้ำผลไม้ เป็นต้น
ภาพโครงการนำศิลปวัฒนธรรมสู่สถานศึกษาณ
โรงเรียนชุมชน ๘ ราษฎร์อุทิศพิทยา ต.เนินเพิ่ม
อ.นครไทย จ.พิษณุโลก วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘
โคมป่อง และโคมปราสาท สร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์สำหรับจุดดวงประทีปถวายเป็นพุทธบูชา แด่องค์พระธาตุเจดีย์ รอบฐานมีจารึกบนปล่องประทีป (ลพ. ๔๒) ความว่า
“ศักราชได้ 870 ตัว รัตนะปัญญาเป็นเค้า มหาสามีสีระวิสุทธเจ้าอยู่วัดต้นแก้ว ชวนชักนักบุญชาวญางหวานทั้งหลาย หนวันตก วันออก ใต้เหนือ ได้ทองหื้อช่างหล่อเป็นผราสาทหลังนี้ 58,000 น้ำ มาไว้ให้เป็นปล่องทีป บูชาพระมหาธาตุเจ้า ตราบต่อเท่า 5,000 วัสสาดีหลีแล”
แปลเป็นภาษาไทยกลางดังนี้
“จ.ศ.870 (พ.ศ.2051) พระรัตนปัญญา เป็นประธาน พร้อมด้วย พระมหาสวามีศีลวิสุทธิ์ วัดต้นแก้ว ชักชวนผู้มีศรัทธา ชาวยางหวานทั้งหลายที่อยู่ทิศตะวันตก ออก ใต้ และเหนือ ให้เก็บรวบรวมทองสัมฤทธิ์เพื่อหล่อรูปปราสาทน้ำหนัก 58,000 (ประมาณ 60 กิโลกรัม) สำหรับใช้เป็นประทีปบูชาพระมหาธาตุเจ้า (พระธาตุหริภุญไชย) ตราบจนถึง 5,000 วัสสะเทอญ”
***บรรณานุกรม***
พระธรรมสิริชัย เจ้าคณะภาค 14
เทศมหาชาติ เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์วรมหาวิหารพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานทำบุญอายุครบ 6 รอบ ณ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม วันที่ 22 มีนาคม พุทธศักราช 2514
พระนคร
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
2514
***บรรณานุกรม***
หนังสือหายาก
สมุดบันทึกวิชาประวัติศาสตร์ไทย ชั้นมัธยมปลายตอน 2. พระนคร : ไทยวัฒนาพานิช, ๒๔๙๔.
ข่าว และกิจกรรมต่าง ๆ ที่กรมศิลปากรจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ รวมถึงบทความที่หน้าสนใจ แก่ประชาชน
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า จากกรณีที่เกิดการชำรุดขึ้นภายในวิหารวัดเจดีย์หลวง ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และมีการตั้งข้อสงสัยว่ากรมศิลปากรปล่อยให้ผู้รับเหมานำไม้ไม่ได้คุณภาพมาบูรณะวิหารหรือไม่ ขอเรียนว่าโครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์วัดเจดีย์หลวง ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ได้รับงบประมาณในการดำเนินการทั้งสิ้น ๔๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท เป็นการตั้งโครงการขอรับเงินงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๖ โดยได้รับงบประมาณจากทางราชการ ซึ่งกรมศิลปากรได้รับงบประมาณรายจ่ายประเภทเงินงบอุดหนุน ตามแผนงานพัฒนาและเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวและบริการ โครงการพัฒนาแหล่งศิลปวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการท่องเที่ยว จำนวน ๔๔,๘๕๐,๐๐๐ บาท และวัดเจดีย์หลวงสมทบงบประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท การดำเนินงานแบ่งออกเป็น ๓ ระยะ คือ ปีงบประมาณ ๒๕๕๗ ดำเนินการบูรณะอาคารหลังคาคลุมวิหาร งบประมาณ ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ดำเนินการบูรณะอาคารหลังคาคลุมวิหาร งบประมาณ ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ดำเนินการบูรณะอาคารหลังคาคลุมวิหาร งบประมาณ ๕,๔๐๐,๐๐๐ บาท และงานก่อสร้างปรับปรุงส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ งบประมาณ ๙,๖๐๐,๐๐๐ บาท กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ได้โอนเงินงบประมาณให้กับวัดเจดีย์หลวง ซึ่งทางวัดจะเป็นผู้ว่าจ้างและเป็นคู่สัญญากับเอกชนที่เข้ามารับงานจ้าง ส่วนการบริหารสัญญาจ้างทางวัดได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่จากสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ร่วมกับกรรมการที่วัดคัดสรรแล้วให้เป็นคณะกรรมการตรวจงานจ้างและควบคุมงาน มีหน้าที่กำกับงานให้เป็นไปตามรูปแบบรายการที่กรมศิลปากรอนุมัติ ซึ่งสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ได้ตรวจสอบเสาไม้ที่นำมาใช้งาน พบว่าเป็นเสาไม้เนื้อแข็ง และในระหว่างการก่อสร้างได้มีการขออนุมัติใช้วัสดุจากผู้รับจ้างถูกต้องตามข้อกำหนดในสัญญาจ้าง สำหรับกรณีที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงานระยะที่ ๑ ส่งผลให้ยอดฉัตรเหนือพระธาตุวัดเจดีย์หลวงหักพับลงมา และพบรอยแตกร้าวรอบองค์พระธาตุเพิ่มเติมบางส่วน ทางสำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่ (ในขณะนั้น) ได้รับงบประมาณรายการเงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ และได้รับเงินสนับสนุนจากสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง ๗ จำนวน ๕๕๐,๐๐๐ บาท ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๗ แล้วเสร็จในเดือนมีนาคม ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นงบประมาณที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์วัดเจดีย์หลวง จำนวน ๔๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่อย่างใด ทั้งนี้ จากการสำรวจความเสียหายอาคารหลังคาคลุมวิหารวัดเจดีย์หลวง เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๓ พบว่า เกิดจากแมลง (ปลวก, แมลงภู่) กินและเจาะเนื้อไม้ ทำให้เสาไม้บางต้นสูญเสียกำลังและความสามารถในการรับน้ำหนักโครงสร้างหลังคาที่มีน้ำหนักมาก จึงเกิดการถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาไม้ต้นอื่นๆ ให้รับน้ำหนักจากโครงสร้างหลังคาเพิ่มขึ้นไปจากเดิม อาจจะต้องจำกัดการใช้งานอาคาร พร้อมทั้งดำเนินการติดตั้งค้ำยันเสาอาคารทุกต้นโดยใช้เหล็กรูปพรรณ เพื่อช่วยในการรับน้ำหนักโครงสร้างหลังคาไว้ก่อน โดยกรมศิลปากรได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความเสียหายดังกล่าวตามหลักวิศวกรรมและพิจารณาหาทางแก้ไขโดยด่วนแล้ว *ขอบคุณ : ภาพประกอบจากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์เดลินิวส์