ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ

          วันเสาร์ที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๕ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จัดกิจกรรมบรรยายทางวิชาการในหัวข้อ การค้าของเมืองถลาง ตีความจากจดหมายสมัยกรุงธนบุรี - รัตนโกสินทร์ตอนต้น การค้าระหว่างเมืองถลาง - ปีนัง โดยนายกานต์ รับสมบัติ  หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง และ "ภารา" มาตราชั่งน้ำหนัก โดยนายธัชวิทย์ ทวีสุข ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง            ผู้สนใจสามารถติดตามรับฟังการบรรยายได้ทาง Facebook Live : Thalang National Museum พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ น. เป็นต้นไป  


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           28/2ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               38 หน้า : กว้าง 4.9 ซม. ยาว 54.7 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ปี ๒๔๗๔ “สตางค์” เปลี่ยนอักษรย่อจาก ส.ต. เป็น สต. . เอกสารจดหมายเหตุชุดมณฑลจันทบุรี ระบุว่า พ.ศ.๒๔๗๔ กรมพลำภัง กระทรวงมหาดไทย (ปัจจุบันคือกรมการปกครอง) แจ้งเรื่องการเขียนย่อคำว่า “สตางค์” ด้วยในการประชุมเสนาบดี กรมราชเลขาธิการ ที่ประชุมได้มีมติเรื่องเขียนย่อคำ “สตางค์” ว่าควรใช้ “สต.” (ไม่ใช้ “ส.ต.”) ส่วนอักษรฝรั่งใช้ “st.” (ไม่ใช่ “stg.”) จึงแจ้งมณฑลจันทบุรีมาให้ทราบ เพื่อใช้เป็นระเบียบเดียวกัน . วิวัฒนาการเงินตรา “สตางค์” ในสมัยรัชกาลที่ ๕ - รัชกาลที่ ๗ สมัยรัชกาลที่ ๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเงินที่สำคัญ พระองค์มีพระราชดำริว่า มาตราของไทยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น คือ ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง เป็นระบบที่ยากต่อการคำนวณ และการจัดทำบัญชี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงใหม่ โดยใช้หน่วยเป็นบาท และสตางค์ คือ ๑๐๐ สตางค์ เป็น ๑ บาท ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๑ อันเป็นมาตราเงินตราไทยมาจนถึงปัจจุบัน . จากหนังสือเรื่อง ตำนานเงินตรา (พ.ศ.๒๔๗๔) ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ ระบุถึง “สตางค์” ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ไว้ว่า “...ถึงปีจอ พ.ศ.๒๔๔๑ รัฐบาลคิดเห็นกันว่า ลักษณการทำบัญชีเงินแต่เดิมนั้นมีช่องบอกว่า ชั่ง บาท อัฐ เมื่อพ้นชั่งขึ้นไปจึงนับเป็นเรือนร้อยเรือนพัน บัญชีมักไขว้กันไม่สะดวก จึงคิดทำเหรียญทองขาวขึ้นใช้เรียกว่า สตางค์ (ส่วนของร้อย) คือ ๑๐๐ สตางค์เป็น ๑ บาท เพื่อง่ายแก่การบัญชี มีช่องแต่เพียงบาทกับสตางค์เท่านั้น เงินจะมากน้อยเท่าใดก็ต่อตัวเลขขึ้นไปเป็นสิบเป็นร้อย ไม่ต้องหักต้องทอน เป็นการง่ายรวดเร็วกว่าของเดิม สตางค์ที่สร้างขึ้นคราวนี้สร้างด้วยทองขาวเป็น ๔ ขนาด ด้านหนึ่งมีรูปช้าง ๓ เศียร มีอักษรว่า "สยามราชอาณาจักร" เหมือนกันทั้ง ๔ ขนาด ๆ ที่ ๑ ด้านหนึ่งมีตัวอักษรว่า ยี่สิบสตางค์ และมีเลข ๒๐ ตัวใหญ่อยู่ตรงกลาง เป็นราคา ๒๐ สตางค์ ใช้ ๕ อันเป็น ๑ บาท ขนาดที่ ๒ มีตัวอักษรว่า สิบสตางค์ มีเลข ๑๐ ตัวใหญ่อยู่กลาง ราคา ๑๐ สตางค์ ใช้ ๑๐ อันเป็นหนึ่งบาท ขนาดที่ ๓ มีตัวอักษรว่า ห้าสตางค์ มีเลข ๕ ตัวใหญ่อยู่กลาง ราคา ๕ สตางค์ ใช้ ๒๐ อันเป็น ๑ บาท ขนาดที่ ๔ มีตัวอักษรว่า สองสตางค์กึ่ง มีเลข ๒ ๑/๒ ตัวใหญ่อยู่กลาง ราคา ๒ สตางค์กึ่ง ใช้ ๔๐ อันเป็น ๑ บาท…” . สมัยรัชกาลที่ ๖ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ออกใช้แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบมากนัก ส่วนใหญ่เป็นเหรียญกษาปณ์ที่มีราคาไม่สูงนัก คือ ๑ บาท, ๕๐ สตางค์, ๒๕ สตางค์, ๑๐ สตางค์, ๕ สตางค์, และ ๑ สตางค์ โดยในช่วงต้นรัชกาลยังคงใช้เหรียญที่ผลิตในรัชกาลที่ ๕ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๖ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ผลิตเหรียญเงินหนึ่งบาทประจำรัชกาล เป็นเหรียญตราพระบรมรูป-ไอราพต . สมัยรัชกาลที่ ๗ ในรัชกาลนี้มีการผลิตเหรียญหมุนเวียนออกใช้ไม่มากนัก เนื่องจากอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เหรียญประจำรัชกาลที่นำออกใช้เป็นเหรียญชนิดราคา ๕๐ และ ๒๕ สตางค์ ตราพระบรมรูป-ช้างทรงเครื่อง . ในปัจจุบันพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้อธิบายคำว่า “สตางค์” คือเหรียญกระษาปณ์ปลีกย่อย ๑๐๐ สตางค์ เป็น ๑ บาท ใช้อักษรย่อว่า สต. นอกจากนี้คำบางคำยังนำมาใช้ในความหมายอื่น เช่น สตางค์ใช้ในความหมายโดยปริยาย หมายถึงเงินที่ใช้สอย เช่น วันนี้ไม่มีสตางค์ติดตัวมาเลย, เขาเป็นคนมีสตางค์ **คำว่า “กษาปณ์” และ “กระษาปณ์” สามารถเขียนได้ทั้งคู่ โดยพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๐ ได้ลงท้ายบทนิยามคำว่า “กระษาปณ์” ไว้ว่า “กษาปณ์ ก็ใช้” . ผู้สนใจสามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี และระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ https://archives.nat.go.th ผู้เรียบเรียง นางสาวสุจิณา พานิชกุล นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี ------------------------------ อ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี (๑๓)มท ๒.๒.๑/๕๙ เรื่องกรมพลำพังแจ้งระเบียบการเขียนย่อคำว่า “สตางค์” เป็น “สต.” มาให้ทราบเพื่อใช้เป็นระเบียบเดียวกัน (๗ พ.ค. - ๑๐ ส.ค. ๒๔๗๔). ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา, ๒๔๐๕-๒๔๘๖ (๒๔๗๔). ตำนานเงินตรา. โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร. ไขปัญหาภาษาไทย จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน. เข้าถึงได้จาก https://www.orst.go.th/.../DATA0000/00000152.FLP/html/8/... สืบค้นเมื่อ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๕. เงินตรา กองกษาปณ์. เข้าถึงได้จาก http://www.royalthaimint.net/.../mint_web/ewt_news.php... สืบค้นเมื่อ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๕. มาตราเงิน สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. เข้าถึงได้จาก http://legacy.orst.go.th/?knowledges=มาตราเงิน-๓-พฤศจิกายน-๒๕ สืบค้นเมื่อ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๕.





สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 136/7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 172/4กเอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อผู้แต่ง          ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้. ชื่อเรื่อง           ใต้...หรอย มีลุย : บอกเล่าเรื่องราว ความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของภาคใต้  ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.  ปีที่พิมพ์          ๒๕๔๗ จำนวนหน้า      ๒๐๕ หน้า รายละเอียด           ใต้...หรอย มีลุย : บอกเล่าเรื่องราว ความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของภาคใต้ จัดพิมพ์ขึ้นเป็นที่ระลึก เนื่องในโอกาสที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ ครบรอบ ๔๐ ปี เนื้อหาหนังสือนอกจากจะมี สารจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย สารจากรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย สารจากผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และ สารจากผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานภาคใต้ ยังมีแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวแห่งคาบสมุทรมลายู ความเชื่อ ประเพณี การแสดงต่างๆ รวมทั้งอาหาร และ อาชีพของชาวใต้ รูปเล่ม และภาพประกอบสวยงาม    


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           56/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                92 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           10/2ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              38 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


เปิดเบื้องหลังการอนุรักษ์ ภาพร่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ (รัชกาลที่ 6) เมื่อ พ.ศ. 2454 วาดโดย กาลิเลโอ คินี (Galileo Chini) ซึ่งทำการอนุรักษ์และจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป การอนุรักษ์ภาพร่างจิตรกรรมฯ ของ กาลิเลโอ คินี เปิดให้เข้าชม ทุกวันพุธ – อาทิตย์ เวลา 10.00 – 15.00 น. (นักอนุรักษ์เข้าทำงานระหว่างวันพุธ – ศุกร์ โปรดโทรศัพท์สอบถามล่วงหน้า เนื่องจากนักอนุรักษ์อาจไม่ได้เข้าทำงานทุกวัน) หากคณะหรือกลุ่มใดต้องการวิทยากรนำชม สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 0 2281 2224 (ในวันทำการ วันพุธ – อาทิตย์ เวลา 9.00 - 16.00 น.)


เลขวัตถุ ชื่อวัตถุ ขนาด (ซม.) ชนิด สมัยหรือฝีมือช่าง ประวัติการได้มา ภาพวัตถุจัดแสดง 36/2553 (7/2549) ขวานหินกะเทาะ ย.14 ก.6.8 หนา 2 หิน สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 2,500-2,000 ปีมาแล้ว   ได้จากบ้านเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จ.นครนายก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539


เลขทะเบียน : นพ.บ.503/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 167  (205-215) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : รามชาตก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


           กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “กว่าจะมาเป็นนางโขน”  วิทยากร นางสิริวรรณ อาจมังกร ผู้อำนวยการกลุ่มนาฏศิลป์ สำนักการสังคีต, ผู้ดำเนินรายการ นายรัฐศาสตร์ จั่นเจริญ นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ สำนักการสังคีต, พิธีกร นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.            ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


โคลงนิราสหริภุญชัย  พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2471.


Messenger